ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #210 : ตำนานชื่อบ้านเมือง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 463
      0
      15 เม.ย. 53

        -ดูโทรทัศน์ เขาพูดถึงจังหวัดฉะเชิงเทราที่เรียกกันว่า ‘แปดริ้ว’ ว่า มาจากชาวบ้านสมัยก่อน เมื่อจับปลาได้ ทำปลาตากโดยริ้วปลาเป็นแปดริ้ว จึงเรียกกันว่าบ้านแปดริ้วและเมืองแปดริ้ว ฟังดูเป็นตำนานนะ-

                ชื่อบ้านชื่อเมืองมักมีตำนาน คือมีเรื่องราวอันเป็นเหตุให้เรียกกันว่าบ้านนั้นเมืองนี้ อาจเป็นเรื่องจริงบ้าง เรื่องเล่าต่อๆกันมาทำนองนิทานบ้าง เหล่านี้แล้วแต่จะน่าเชื่อหรือไม่น่าเชื่อเพียงใด

                สำหรับชื่อเมืองแปดริ้ว เหตุผลที่เรียกว่าแปดริ้ว ดูออกจะน่าเชื่ออยู่ เพราะเดิมเป็นเมืองในแผ่นดินเขมรหรือขอมแต่โบราณ อยู่ในส่วนที่เรียกกันมาแต่โบราณว่า ‘ขอมแปรพักตร์’ หรือ ‘เขมรไทย’ มีอาณาเขตตั้งแต่ฟากแม่น้ำบางปะกง (เขมรเรียกว่าแม่น้ำปะดง) เลยไปถึงฟากตะวันตกทะเลสาบเขมร)

    สมเด็จพระมณีวงศ์ รัชกาลที่ ๖ ขึ้นสืบราชสันตติวงศ์ ต่อจากพระราชบิดา เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ ในภาพเสด็จตามพระศพสมเด็จพระศรีสวัสดิ์ รัชกาลที่ ๕ (ทรงฉลองพระองค์ครุย กั้นพระกลด)

                ชื่อ ฉะเชิงเทรา เป็นชื่อเขมรตั้ง ส่วนชื่อแปดริ้ว เป็นชื่อไทยตั้ง ด้วยราษฎรซึ่งมีทั้งเขมรและไทยอยู่ปะปนกัน มีอาชีพหาปลา ได้มามากก็ริ้วตากเอาไว้ (แปดริ้ว)

                แผ่นดินเขมรหรือขอมโบราณส่วนนี้ แต่เดิมมาเป็นที่ตั้งของนครหลวงซึ่งอยู่ใกล้ๆกับเมืองเสียมราฐ (ชื่อไทย เขมรโบราณเรียกว่าเรียมเรียบ) ดินแดนส่วนนี้เมื่อเขมรยังครอบครองอยู่นั้น รบพุ่งกับไทยอยู่เสมอ เมื่อใดไทยมีอำนาจก็ครอบงำเข้าไว้ เมื่อใดเขมรมีอำนาจก็ครอบงำ ส่วนนี้จึงมีราษฎรทั้งเขมรไทยปะปนกันอยู่ บางทีจึงเรียกกันว่า ‘เขมรไทย’

                และจึงมีชื่อทั้งที่เขมรตั้งและไทยตั้ง ดังเช่นเมืองฉะเชิงเทรา-เขมรตั้ง แปดริ้ว-ไทยตั้ง เมืองนครนายก-เขมรตั้ง บ้านนา-ไทยตั้งเมืองปราจีนบุรี (ประจิม) เขมรตั้ง บางคาง (บางคล้า?) -ไทยตั้ง

                ส่วนเรื่องที่เรียกกันว่า ‘ขอมแปรพักตร์’ หรือ ‘เขมรแปรพักตร์’ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

                “ก็เมื่อพวกไทยมีกำลังเจริญขึ้น ยกทัพไปรบกวนเนืองๆ ทำให้บ้านแตกเมืองเสียเป็นหลายครั้ง จนเจ้านายฝ่ายเขมรเห็นว่าเมืองนั้นอยู่ไกลไทยนัก (อยุธยา) อีกอย่างหนึ่งรังเกียจว่าเป็นเมืองเก่า (เป็นที่) อาลัยของเจ้านายฝ่ายเขมรที่ตายแล้วซ้ำซากมา เป็นผีสิงอิจฉาหึงหวงเจ้านายที่เป็นขึ้นใหม่ๆให้ตายเร็วๆง่ายๆบ่อยๆนัก จึงล่าเลิกถอยไปเสียข้างใต้” ที่เรียกว่าขอมแปรพักตร์ หมายถึงจากที่เดิมตั้งหน้าไปหาที่ใหม่ ‘ข้างใต้’ ก็คือส่วนที่เป็นเขมรใหญ่ตอนกลางเรียกกันว่าเขมรกลาง

                เมืองในแผ่นดินเขมรไทย หรือขอมแปรพักตร์เหล่านี้ ได้ตกเป็นของไทยโดยสิทธิขาด ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๒๕ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งไทยได้ไปตั้งบ้านเมืองลงใหม่หลายเมือง  คือ เมืองมงคลบุรี เมืองศรีโสภณเมืองวัฒนานคร เมืองอรัญญประเทศ ถึงเมืองปัตบอง (หรือพระตะบอง) เมืองเสียมเรียบ (เสียมราฐ)

                ไหนๆได้เล่าถึงเขมรส่วนที่ ๑ คือ เขมรไทยแล้ว ขอเล่าเสียให้ครบตามพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๔ ที่ว่า แต่โบราณมาแผ่นดินเขมรนั้นเป็น ๔ ภาคด้วยกัน

                อีก ๓ ภาค  คือ

                ส่วนที่ ๒ เรียกว่า ‘เขมรป่าดง’ คำนี้จะพบในพระราชพงศาวดารบ่อยๆ บางทีเรียกว่า ‘เขมรลาว’

                ส่วนที่ ๓ เรียกว่า ‘เขมรใหญ่’ หรือ ‘เขมรละแวก’ ตามพระนามพระเจ้าแผ่นดินเขมรที่เขมรนับถือ

                ส่วนที่ ๔ เรียกว่า ‘เขมรญวน’

                เพราะแผ่นดินเขมรอยู่ตรงกลาง มีชายแดนติดกับไทย ลาว ญวน ล้อมรอบอยู่ ราษฎรในเมืองชายแดนจึงปะปนกันกับชนชาติที่อยู่ใกล้ ใกล้ไทยก็เป็นเขมรไทยใกล้ลาวก็เป็นเขมรลาว ใกล้ญวนก็เป็นเขมรญวน ชื่อเมืองตามชายแดนส่วนมากจึงมักมีสองชื่อ

                ส่วนที่ ๒  ‘เขมรป่าดง’ นั้น มีเมืองพุทไธรสง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ และเมืองพิมาย เมืองเหล่านี้เป็นของไทยสิทธิขาดมาแต่ต้นจนไม่รู้ว่าเมื่อใด ต่อมาแทบจะไม่มีเขมรอยู่ มีแต่ไทยกับลาวอยู่

                ส่วนที่ ๔ ‘เขมรญวน’ หรือเขมรใต้กล่าวถึงส่วนนี้ก่อน ส่วนนี้ติดกับญวน ซึ่งเป็นประเทศใหญ่ เขมรจึงต้องพึ่งทั้งญวนและไทย ในรัชกาลที่ ๓ เขมรเกิดจลาจลวุ่นวายแย่งชิงราชสมบัติฝ่ายหนึ่งพึ่งไทย อีกฝ่ายหนึ่งพึ่งญวน ไทยต้องยกกองทัพไปช่วยปราบปรามความสงบ (โปรดฯให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา เป็นแม่ทัพใหญ่ ไปรบกวนอยู่นานถึง ๑๖ ปี) จนได้เขมรคืนมาเป็นของไทยตามเดิม

                บ้านเมืองแถบนี้จึงมักมี ๒ ชื่อ เขมรและญวนเช่นเมืองบันทายมาศ (ไผทมาศ) เป็นชื่อเขมร ญวนเรียก ฮาเตี้ยน เมืองมัจรก เป็นชื่อเขมร ญวนเรียก เมืองโจดกหรือโชดก เมืองพนมเปญ เป็นชื่อเขมร ญวนเรียก เมืองนามวัน เป็นต้น

                ทีนี้ เขมรส่วนที่ ๔ หรือ เขมรใหญ่ หรือ เขมรกลาง เป็นที่ที่เจ้านายฝ่ายเขมรทิ้งนครหลวงในแดนเขมรไทย (ส่วนที่ ๑) ดังกล่าวมาสร้างนครหลวงขึ้นใหม่เป็นประเทศเขมรจนมาถึงปัจจุบันนี้

                เขมรใหญ่ เขมรญวนนี้ แต่เดิมมาก็ขึ้นกับญวนบ้างไทยบ้าง  แล้วแต่ความจำเป็น หรือ ‘นโยบาย’ ของกษัตริย์ และแล้วแต่ความเข้มแข็งของไทยหรือญวน

                จนกระทั่งถึงสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ทั้งญวนทั้งเขมร เกิดจลาจลแย่งชิงอำนาจราชบัลลังก์กันขึ้น

                บุตรชายเจ้าเมืองญวนที่เกิดกบฏ ชื่อ องเชียงสือหนีมาพึ่งไทย (มีปรากฏอยู่ในเรื่อง ‘บุญบรรพ์’ บรรพ ๑)

                ขณะเดียวกันทางเมืองเขมร ก็เกิดเรื่องวุ่นวายจนขุนนางเขมร ต้องพาพระเจ้าแผ่นดินอายุเพียง ๑๑ ขวบ หนีเข้ามาพึ่งพระบารมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ คือนักองเอง หรือ นักพระองค์เอง (ปรากฎอยู่ในเรื่อง ‘บุญบรรพ์’ บรรพ ๑ เช่นกัน)

                นี่เป็นเรื่องเท้าความแต่ในรัชกาลที่ ๑  เพราะทั้งเขมรและญวน ต่อไปยังมีเรื่องเกี่ยวกับ ‘เวียงวัง’ ไทยอีกมาก โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งประเทศราชต่างๆ ส่วนมากเข้าใจว่า อ่อนแอ เพราะนักรบเก่งๆในสมัยรัชกาลที่ ๑  ต่างสิ้นชีวิตไปแล้วบ้าง ชราภาพบ้าง เมื่อญวนกำเริบจะยึดเอาเขมรซึ่งกำลังวุ่นวาย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงโปรดฯให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนา) ขุนพลแก้วคู่บัลลังก์ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกออกไปทำศึกกับญวน ปราบปรามการจลาจลในเขมรอยู่นานถึง ๑๕ ปี มิให้เขมรถูกญวนกลืนเสีย จนกระทั่งตั้งเมืองหลวง และพระราชวังใหม่ขึ้นที่เมืองอุดงภาชัยเมืองหลวงเก่า ให้ราชวงศ์ของนักองเองครอบครองเป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมรสืบกันต่อมา

                ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงอภิเษกให้นักองเอง เป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมรใหญ่ มีพระเจ้าแผ่นดินสืบราชสมบัติกันต่อๆมา ๘ รัชกาล เป็นสาขาดังนี้

    รัชกาลที่ ๑ นักองเอง (สมเด็จพระนารายณ์ราชาธิราช)
    ร. ๒ นักองจันทร์
    (สมเด็จพระอุไทยราชาธิราช)
    ร. ๓ นักองด้วง
    (สมเด็จพระหริรักษ์ราชาธิบดี)
    ร. ๔ นักองราชาวดี (โอรสใหญ่ ร.๓)
    (สมเด็จพระนโรดม)
    ร.๕ นักองศรีสุวัตถ
    (สมเด็จพระศรีสวัสดิ์)
    พระองค์สุธารส
    ร.๖ สมเด็จพระมณีวงศ์
    (ถึง ร.๖ นี้ เขมรเป็นของฝรั่งเศส
    แล้วการสืบราชสันตติวงศ์หันกลับ
    ไปทางสายเหลนของนักองราชาวดี
    คือเจ้าชายสีหนุ อายุ ๑๘ ปี เพราะ
    ฝรั่งเศสเห็นว่าคงบังคับบัญชาง่าย)
    ร. ๘ พระองค์สุรามฤต
    ร. ๗ พระเจ้านโรดมสีหนุ
    (ถึง ร.๗ ต่อมาเมื่อหลัง
    สงครามโลกครั้งที่ ๒
    เจ้าชายสีหนุ
    สละราชบัลลังก์ถวายพระราชบิดา
    การสืบราชสันตติวงศ์จึงย้อนขึ้นจากลูกขึ้นไปหาพ่อ
    ซึ่งดูเหมือน
    จะไม่เคยปรากฏ
    ในประวัติศาสตร์
    การสืบราชสมบัติ)

                พระเจ้าแผ่นดินเขมรนั้นตั้งแต่ ร.๑ - ร.๕ ล้วนอยู่วังในกรุงเทพฯ และตั้งแต่ ร.๑ - ร.๔ ได้รับอภิเษกจากพระเจ้าแผ่นดินกรุงรัตนโกสินทร์ให้ขึ้นครองราชย์ทุกพระองค์จนกระทั่งตกอยู่ในอำนาจของฝรั่งเศส

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×