ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #415 : และแล้ว C-Kids ก็ไปอีกราย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.33K
      2
      13 ต.ค. 59

    เชื่อว่าหลายคนในที่นี้คงรู้จักซีคิดส์ C-Kids ไม่มากก็ไม่น้อย เพราะถือว่าเป็นหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ ที่สมัยก่อนได้รับความนิยมมาก เล่มหนึ่ง (ถ้าจำไม่ผิดถึงขั้นโฆษณาในทีวีด้วย) ซึ่งในยุคนั้นอินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลาย สแกนยังไม่มี สิ่งเดียวที่หลายคนติดตามการ์ตูนใหม่แบบใกล้ชิด (แม้มันจะแห้งก็ตาม) เท่าที่จะทำได้ก็คือซีคิดส์นี้แหละ

    C-Kids -ซีคิดส์   (และ C-Kids Express) เป็นหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ ของ สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ในเครือสยามกีฬา ยักษ์ใหญ่สิ่งพิมพ์ในแวดวงกีฬาของประเทศไทย และในอดีตนั้นก็เป็นอีกเจ้าหนึ่งที่ตีพิมพ์การ์ตูนไพเรทในบ้านเรา

    ในปี 1993 เกิดการเปลี่ยนแปลงสื่อพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นในบ้านเรา เมื่อบ้านเราเริ่มสนใจธุรกิจลิขสิทธิ์การ์ตูนญี่ปุ่นถูกกฎหมาย และสยามกับบูมก็เริ่มซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนของโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ โดยบูมได้ลักกี้แมน, สแลมดังก์, ทาร์ซาน (กระรอกบิน), ดราก้อนบอล ฯลฯ ส่วนของสยาม ส่วนสยามได้ ไดตะลุยเวทมนต์, ซามูไรพเนจร,  นูเบ, กัปตันซึบาสะ, จอมเกบลูส์ ฯลฯ ซึ่งเป็นการ์ตูนยุคแรกๆ ของจัมป์ ที่เรียกว่าทุกเรื่องดัง คุ้นตาคนไทยจนถึงบัดนี้

    ซีคิดส์เรื่องแรกวางจำหน่ายในวันที่ 22 สิงหาคม 1994 ไล่เลี่ยกับบูม แต่สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดไม่ใช่การ์ตูนญี่ปุ่นเหล่านี้ หากแต่หนึ่งในการ์ตูนที่ลงซีคิดส์เวลานั้น มีการ์ตูนไทยลงด้วย เนื่องจากเป็นสัญญาที่ทำกับนิตยสารญี่ปุ่นที่ต้องมีการ์ตูนที่เป็นผลงานของคนไทยลงในนิตยสารควบคู่ด้วยหนึ่งเรื่อง (เหมือนกับบูม) ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ได้สนับสนุนฝีมือคนไทย ทำให้เวลานั้นทำให้สำนักพิมพ์ต่างๆ สนับสนุนการ์ตูนไทยสร้างสรรค์เองบ้าง ซึ่งวิบูลย์กิจก็มีไทยคอมิกที่สร้างผลงานการ์ตูนไทยสไตล์มังงะ สวนกระแสสังคมพวกคลั่งไทยที่ไม่เห็นด้วยที่คนไทยวาดการ์ตูนแบบมังงะ (โดยหารู้ไม่ว่าการ์ตูน 5 บาทก็เอามาจากการ์ตูนคอมิกส์ของฝรั่งด้วยซ้ำ) ส่วนสยามก็มีซูเปอร์ตูนส์ (และหลายนิตยสารต่อมา  แต่ส่วนใหญ่จะอายุสั้นจนต้องปิดตัวไปแล้ว และที่เจ็บใจคือผมตามเยอะด้วย)

                    ส่วนใหญ่นักเขียนการ์ตูนไทยในซีคิดส์ ก็มาจากนักเขียนสำนักพิมพ์อีกแห่งที่ปิดตัวลงไป และส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสั้นตอนเดียวจบ เนื้อหาก็ออกไปทางผู้ใหญ่ (กลิ่นการ์ตูน 5 บาท)  ลายเส้นไม่โมเอะ (เวลานั้นหลายคนเกลียดโมเอะ และยังไม่มีการบัญญัติเป็นรูปเป็นร่าง) ซึ่งกว่าที่การ์ตูนไทยของสยามจะบูมได้ก็รออย่างยาวนาน จนกระทั่ง EXE   ผลงานของ ภานุวัฒน์ วัฒนนุกูล ดังเป็นพลุแตกขึ้นมา (แต่ผมไม่อวยนะ)  ส่วนบูมช่วงแรกมีมีดที่ 13 และพระอภัยมณีเซก้า  (แต่ตอนหลังหลายคนบ่นมาเยอะเหมือนกัน)

                    เรื่องการ์ตูนไทยในสยามไม่ขอเจาะลึกมากนัก หากอยากดูรายละเอียดมากกว่านี้ก็ดูจากเว็บอื่นๆ ก็ได้  แต่ในบทความนี้จะเอาเรื่องส่วนตัวนิดๆ มาใส่ลงไปเล็กน้อย

     

     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ C-Kids

     

                    โดยความเห็นส่วนตัวแล้วซีคิดส์ เป็นนิตยสารการ์ตูนที่ผมผูกพันน้อยที่สุดกว่าบูม สาเหตุเพราะผมแทบไม่ได้ซื้อนิตยสารนี้มาอ่านเลย เพราะจังหวัดผมไม่ขาย (สมัยผมประถม) สาเหตุที่ผมได้อ่านคือมีญาติที่ชอบการ์ตูน และซื้อซีคิดส์มาอ่าน และอ่านเสร็จก็เอาไปใส่เป็นลังๆ แล้วเอามาให้ผมอ่านอีกที ถือว่าเป็นการติดตามนิตยสารที่ไม่เสียเงินสักบาท (แต่อนาถจิต)

                   สำหรับการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกๆ ที่ลงซีคิดส์เล่มแรกๆ ก็มี กัปตันซึบาสะ, จอมเกบลูลส์, ไดตะลุยแดนเวทมนต์, นูเบมืออสูรล่าปีศาจ, ซามูไรพเนจร และจอมคนขุนพลเงา (แนวประวัติศาสตร์ช่วงสุดท้ายของเซงโกคุ) ซึ่งผมก็ไม่ได้อ่านเล่มเปิดตัวเลยแม้แต่น้อย (สำหรับเนื้อหา แต่ละเรื่องก็ถึงช่วงไคเม็กซ์แล้ว ไม่ใช่ว่าเปิดตอนแรกแต่อย่างใด)

    ใช่ครับ มันมีแค่ 6 เรื่องเท่านั้นเอง และ คุณสามารถอ่านการ์ตูนเหล่านี้ได้ในราคา 25 บาท (ราคาเท่ากับการ์ตูนรวมเล่มหนึ่ง กับไพเรทเล่มบางๆ ในเวลานั้น)

    ผมอ่านซีคิดส์ครั้งแรก ก็เป็นช่วงจอมพลขุนพลเงาจบ (เป็นการ์ตูนที่ตอนแรกอย่างสนุกแต่ตอนหลังห่วย)  ซึ่งสิ่งที่ผมจำอันดับแรกๆ เลยคือ ซึบาสะไปบาร์โซโลน่าละมั้ง แต่ถ้าถามผมว่าตั้งแต่อ่านซีคิดส์มา ผมประทับใจการ์ตูนเรื่องไหนมากที่สุด คำตอบคือ นูเบ มืออสูรล่าปีศาจนี้แหละ คือสมัยก่อนผมตื่นตาตื่นใจภูตผีปีศาจในเรื่องค่อนข้างมาก แต่หลังๆ เริ่มไม่ค่อยชอบสักเท่าไหร่ คือตอนแรกๆ มันแนวต่อสู้แอ็คชั่น ตอนหลังๆ กลายเป็นตลก เอจจิไป แถมเป็นการ์ตูนเรื่องแรกๆ ที่ผมไม่ชอบจบแต่งงานน้อยมั้ง (กลายเป็นคนไม่ชอบวินก็เรื่องนี้แหละ) และก็กลายเป็นการ์ตูนดังเรื่องเดียวคนแต่ง เพราะหลังจากนั้นก็ไม่มีผลงานไหนยาวเท่านูเบ โดนตัดจบเกือบทุกเรื่อง จนมาถึงนูเบภาคใหม่ที่ออกอยู่ตอนนี้แหละ

    ซีคิดส์ได้รับการตอบรับดีเรื่อยมา และได้รับความนิยม ในช่วง รีบอร์น, ยูกิเกมอัจฉริยะ, ชาแมน คิง เข้ามา ซึ่งก็ยังมีคนติดตามอย่างเหนียวแน่น ต่อมาก็ยุควันพีช, กินทามะ และปัจจุบันซีคิดส์ก็ยังลิขสิทธิ์การ์ตูนดังจัมป์เกือบหมด ไม่ว่าจะเป็น นิโค่ย, โซมะ, โรงเรียนนักฆ่า, โรงเรียนฮีโร่  (ในขณะที่บูม ลิขสิทธิ์การ์ตูนจัมป์เกรด B และตัดจบ เป็นส่วนมาก และช่วงหลังๆ ก็ไม่มีลิขสิทธิ์ที่น่าสนใจ จนกระทั่งปิดตัวไปในที่สุด)

    นอกจากนี้ซีคิดส์ก็เป็นนิตยสารการ์ตูนเล่มแรกๆ ที่เปิดจากขวาไปมาซ้ายตามต้นฉบับญี่ปุ่น 2004 ตั้งแต่ฉบับ เมื่อ 20 ธันวาคม ซึ่งตอนแรกๆ หลายคนมีดราม่ากัน (อย่าลืมว่าสมัยก่อนคนยังชินอ่านจากซ้ายไปขวา) เพราะอ่านยาก ซึ่งกว่าจะชิน ทำใจได้ก็นานพอดู

    การ์ตูนซีคิดส์ดำเนินอย่างยาวนานกว่า 26 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวมาก็มา จนกระทั่งมาถึงยุคขาลงอย่างแท้จริง นั้นคือการมาถึงเว็บสแกนเถื่อนที่เกิดขึ้นในโลกโซเชี่ยลที่มีอยู่มากมาย ซึ่งเจ้าเว็บสแกนเนี้ย มันลงต้นฉบับจัมป์ญี่ปุ่นแบบสดๆ ร้อนๆ ข้ามทะเลญี่ปุ่นมาอยู่หน้าจอไทยเพียงไม่กี่นาที แม้จะแปลไม่ออก แคต่แค่ดูภาพก็เข้าใจเนื้อเรื่อง แถมไม่กี่วันก็มีแปลสแกนอย่างรวดเร็วตามมาอีก แบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องดูรายสัปดาห์ของไทยอีก เพราะว่าการ์ตูนซีคิดส์เป็นของแห้งๆ ไปแล้ว (แถมยังออกช้ากว่าของญี่ปุ่นไปหลายตอนด้วยมั้ง)

    ซึ่งผมก็ยอมรับว่าผมไม่อ่านซีคิดส์เลย อันเนื่องมาจากญาติผมไม่ส่งการ์ตูนมาให้อ่านอีกแล้ว และส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้ชื่นชอบการ์ตูนจัมป์สักเท่าไหร่ คือแทบไม่อ่านเลย  จะมีบ้างที่ผมอ่านยูกิโอ, นิโค่ย (โดยนึกว่าจะจบฮาเร็ม แต่ตอนหลังรู้ว่าไม่จบฮาเร็ม เลยเลิกซื้อ) ซึ่งเป็นแบบรวมเล่ม เพราะผมก็ไม่ได้มีความกระตือรือร้นรีบอ่านตอนใหม่ๆ สักเท่าไหร่ แบบว่าผมคนไทยใจเย็น รอได้

    ก็ใช่ว่าซีคิดส์จะไม่ทราบเรื่องเหล่านี้ ซึ่งก็เป็นเหมือนสำนักพิมพ์อื่นๆ ของไทยที่พยายามปรับตัวการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สู้โลกโซเชี่ยลให้ได้ ซึ่งหลังบูมได้ปิดตัวลง ซีคิดส์พยายามที่แก้ลำปัญหาแสกนเถื่อนด้วยการปรับเป็น C-KIDs EXPRESS ที่พิมพ์ชนต้นฉบับ Weekly Shonen Jump เริ่มฉบับแรกเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2014

    อย่างไรก็ตาม สุดท้ายซีคิดส์ก็ไปไม่รอด และแล้วในปี 2016 ซีคิสด์ก็ประกาศปิดตัวอย่างเป็นทางการ หลังจากนิโยอวสาน (!?) เป็นอันปิดตำนานหัวเรือใหญ่นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นในไทยไปในที่สุด

                 การปิดตัวของซีคิดส์ ที่เป็นหัวเรือใหญ่นิตยสารรวมเล่มการ์ตูนญี่ปุ่นของไทยนั้น มีอะไรหลายอย่างให้พูดถึงเหมือนกัน โดยเฉพาะมันเป็นการตอกย้ำเกี่ยวกับเทคโนโลยีโซเซียลที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันไปดูสแกนฟรีที่สดใหม่กันมากขึ้น โดยไม่สนนิตยสารแห้งๆ อีกต่อไป  (อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่สูญพันธุ์นะครับ เพราะยังเหลือ  KC ของวิบูลย์กิจที่ยังทำต่อ ซึ่งเป็นแบบอีบุ๊ค)

                 แม้ว่าตัวนิตยสารจะปรับตัวแล้วก็ตาม แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจาก ในตอนนี้การ์ตูนจัมป์ไม่ใช่พ่ออีกต่อไป เมื่อผู้บริโภคเองก็ต้องการอะไรใหม่ แม้ว่าการ์ตูนจัมป์จะได้รับความนิยม แต่อย่าลืมว่ามันก็เป็นการ์ตูนที่สแกนเป็นอันดับแรกๆ ดังนั้นผู้บริโภคจึงหาการ์ตูนที่ไม่มีสแกน และไม่ใช่จัมป์กันมากขึ้น บวกกับช่วงนี้การ์ตูนยาโอย แนวชายรักชาย (ใสๆ) กำลังบูม บงกตเองได้เจาะตลาดกลุ่มเหล่านี้ ทำให้สำนักพิมพ์สามารถไปได้สบาย ท่ามกลางหนังสือการ์ตูนซบเซา  ในขณะที่คนซื้อหนังสือการ์ตูนที่เป็นเพศชายน้อยลง คนซื้อจัมป์น้อยลงด้วย

                 ผมเองก็เคยมองว่านิตยสารแบบนี้อายุไม่ค่อยยืนมาตั้งแต่เด็กแล้ว อันเนื่องมาจากบ้านเราไม่ใช่ญี่ปุ่น ที่ญี่ปุ่นการ์ตูนญี่ปุ่นถือว่าเป็นชีวิตประจำวัน แต่บ้านเราไม่ใช่ นิตยสารบ้านเรามาจากจัมป์ที่แห้งๆ ที่มีแค่ 6 เรื่อง และใช้เงินมากพอดูในการซื้อ (25 บาท สมัยก่อนถือว่าแพงครับ) ไม่เหมือนของจัมป์ของญั่ปุ่น รู้ไหมว่าจัมป์ญี่ปุ่นนั้นเล่มหนามากๆ หนาประมาณว่าซีคิดส์ 2 เล่ม มเย็บรวมกัน ยังไม่หนาพอจัมป์เลย แถมจัมป์ราคาเพียง 80-90 บาท (นิดๆ) การ์ตูนเยอะมาก เพียงแต่กระดาษที่ใช้เป็นการ์ตูนรีไซเคิลที่บาง กรอบ มากๆ ซึ่งส่วนมากจะอ่านจบและเอาไปทิ้งเลย

               ความจริงบ้านเราก็เคยคิดจะใช้กระดาษทำแบบจัมป์ญี่ปุ่นเหมือนกัน เพื่อลดต้นทุน แต่ปรากฏว่าหลายคนไม่เห็นด้วย ไม่ชอบกระดาษบางๆ กากๆ ผลปรากฏว่าต้องใช้กระดาษที่คุณภาพพอสมควรนำการทำนิตยสารซีคิดส์ ผลคือมีราคาค่อนข้างสูงอย่างที่เห็น ผลคือหลายคนไม่อยากซื้อ หันมาอ่านสแกนกันดีกว่า

              นอกจากนี้ ซีคิดส์ยังปิดตัวลงในการ์ตูนจัมป์กำลังอยู่ในช่วงผลัดใบด้วย เพราะการ์ตูนหลายเรื่องกำลังอิ่มตัว และกำลังหาอะไรใหม่ๆ มาทดแทนของเก่าที่จบไป (แบบสาปส่งตอนท้าย) แม้ว่า วันพีช, โซมะ, โรงเรียนยอดมนุษย์จะดัง แต่คุณไม่สามารถซื้อการ์ตูนเล่มหนึ่ง เพื่อมาอ่านการ์ตูนวันพีชแน่นอน (และวันพีชเองก็เรื่องแรกๆ ที่แสกนเยอะด้วย) ดังนั้นการปิดตัวของซีดิดส์ก็ไม่ได้น่าเกลียดมากนักตามความรู้สึกของผม


              และแล้วซีคิดส์ก็หายไปจากแผงหนังสืออีกราย แต่ถ้ามันส่งกระทบกับหนังสือการ์ตูนของแผงหนังสือไทยไหม ก็มากพอดู เพราะผลที่ตามมามีเยอะ มันบ่บอกอะไรได้หลายอย่าง แม้รวมเล่มก็ยังอยู่ ยังติดตามได้ และหลายคนชอบอ่านรวมเล่มมากกว่าอ่านนิตยสาร แต่อย่างที่รู้ว่า เดี่ยวนี้รวมเล่มสยามและวิบูลย์กิจหลายเรื่องดอง

               นอกจากสแกนจะทำให้นิตยสารปิดตัวลงแล้ว มันก็ส่งผลทำให้ลิขสิทธิ์การ์ตูนใหม่ๆ ออกมาน้อยด้วย ทั้งๆ ที่ยังมีการ์ตูนหลายเรื่องที่มันไม่มีสแกน แต่สำนักพิมพ์ก็ไม่กล้าลิขสิทธิ์เพราะไม่คุ้มทุน (เพราะการ์ตูนไม่ดัง)

                ดังนั้น สิ่งที่สำนักพิมพ์ต้องทำคือการปรับปรุงคุณภาพรูปเล่มของหนังสือให้ออกมาดี ให้เหมาะแก่การสะสม แน่นอนว่า ราคาเล่มอาจมากขึ้น  แต่ถ้าคุณภาพเหมาะสม ก็ไม่มีใครบ่นว่าหรอก


     

    และนอกจากนี้ สำนักพิมพ์อื่นๆ ก็เริ่มหันไปตลาดใหม่ อย่างสยามเริ่มหันไปสนใจนิยายจีนแทน (คนอ่านเยอะขนาดนี้เชียวเหรอ?) รวมไปถึงบงกตที่ยังแข็งแกร่งเรื่องการ์ตูนตาหวานและเริ่มสนใจตลาดบอยเลิฟ  สรุปก็คือมันเป็นอนาคตที่ยังคงต้องติดตามต่อไปว่ามันจะออกมาในรูปแบบใด





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×