ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #192 : 14 สัตว์หิมพานต์ INTER

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.54K
      54
      2 ก.ค. 62

    #วรรณคดีTOPTEN วันนี้ขอเสนอ 14 สัตว์หิมพานต์สุดอินเตอร์ที่ตำนานไม่ได้ปรากฏแค่เมืองสยามที่เดียว [เจ็ดเข้!!] จะมีตัวอะไรบ้างนั้น เราไปดูพร้อมกันเลย!!
    .
    .
    .
    1. นกหัสดิน VS นกร็อก



    นกหัสดิน เป็นนกยักษ์ ตัวเป็นนก มีจงอยปากเป็นงวงช้าง โฉบเฉี่ยวเอาช้างไปกินเป็นอาหาร

    ส่วน ร็อก (Rocเป็นนกยักษ์ในตำนานของอาหรับ เชื่อกันว่ามีขนาดใหญ่โตมากและแข็งแรงถึงขนาดจับช้างทั้งตัว 
    .
    .
    .
    2. กินนร VS ไซเรน  



    กินนร (ตัวผู้) และ กินรี (ตัวเมีย) เป็นสัตว์หิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ (สามารถถอดปีกและหางได้) ตามตำนานเล่าว่าอาศัยเชิงเขาไกรลาส 

    ส่วน ไซเรน (Sirenเป็นปีศาจในเทพปกรณัมกรีก บ้างก็ว่าชีเป็นครึ่งคนครึ่งปลาเหมือนเงือก บ้างก็ว่าชีเป็นครึ่งคนครึ่งนกเหมือนกินรี 

    แต่ที่พูดเหมือนกันก็คือ นางมีเสียงที่ไพเราะยั่วยวน จนสะกดให้เหล่าลูกเรือหลงใหลจนกระโดดลงทะเล หรือไม่ก็ขับเรือชนหินจนอับปางลง
    .
    .
    .
    3. อรหัน VS ฮาร์ปี้



    อรหัน เป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ มีตัวและปีกเป็นนก มี 2 เท้า แต่มีหัวเป็นมนุษย์หรือยักษ์ 

    ส่วน ฮาร์ปี้ (Harpyเป็นปีศาจในเทพปกรณัมกรีก ตัวเป็นนก มีหัวเป็นหญิงสาว 

    ในเรื่องเจสันกับขนแกะทองคำนั้น ฮาร์ปี้ได้ถูกกล่าวถึงว่าเป็นสุนัขล่าเนื้อของซุส การปรากฏตัวของฮาร์ปี้จะสร้างความขยะแขยงไว้ทุกๆที่ที่มันไป ฮาร์ปี้จะกินทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า
    .
    .
    .
    4. หงส์ VS เฟิ่งหวง



    หงส์ เป็นนกในตระกูลสูง มีความสง่างาม มีเสียงไพเราะ และเป็นพาหนะของพระพรหม ชาวมอญถือว่าหงส์เป็นสัญลักษณ์ของชาวมอญ 

    ตำนานการสร้างเมืองหงสาวดี (Hongsawatoi) กล่าวว่า หลังพระพุทธเจ้า ตรัสรู้แล้ว 8 พรรษา ได้จาริกมายังท้องทะเล ท่านผินหน้าไปทางตะวันออก เห็นหงส์ทองสองตัวลงเล่นน้ำ จึงทำนายว่าจะมีมหานครเกิดขึ้น

    ส่วน เฟิ่งหวง (Fenghuangเป็นหงส์ของชาวจีน เป็นนกวิเศษเหนือนกทั้งปวง เป็นราชาแห่งนก มีสีสันสวยงาม 

    เฟิ่งหวงมีรูปร่างสวยงาม สะโอดสะอง อ่อนหวาน จึงแทนหงส์เป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิงที่มีอำนาจ เฟิ่งหวงเป็นดั่งเทพเจ้าสามารถหยั่งรู้ความสุข ความทุกข์ ความวุ่นวายบนโลกมนุษย์ได้ 

    เฟิ่งหวงมีอายุยืนยาวประมาณ 500 ปี จากนั้นก็บินไปยังดวงอาทิตย์เพื่อให้ความร้อนแผดเผาร่างกายเป็นเถ้าถ่าน
    .
    .
    .
    5. สิงห์ VS สิงโตจีน



    สิงห์ ก็คือสิงโต หรือ Lion นี้แหละ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ สิงห์ยังเป็นสัญลักษณ์ของคณะรัฐศาสตร์ และหน่วยงานด้านการปกครองหลายแห่ง

    ส่วน สิงโตจีน (Shishiเป็นสัตว์มงคลของชาวจีน เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความกล้าหาญ และความภักดี นอกจากนี้ยังเชื่อว่าแม้เพียงเสียงคำรามก็สามารถปัดเป่าวิญญาณและสิ่งชั่วร้ายได้สิงโตถูกนิยมนำมาใช้เป็นรูปปั้นผู้พิทักษ์สถานที่ ก่อนที่วัฒนธรรมนี้จะแพร่หลายไปทั่วเอเชีย

    (ทำไมเราดูคล้ายหมาเชาเชา มากกว่าคล้ายสิงโตว่ะ!!)
    .
    .
    .
    6. นรสิงห์ VS สฟิงซ์



    ตามฮินดูเล่าว่า นรสิงห์ เป็นอวตารร่างที่ 4 ของลูกพี่วิษณุ มีร่างกายเป็นมนุษย์ หัวเป็นสิงโต ส่วนนรสิงห์ตามคติของพม่า จะมีร่างเป็นสิงโต หัวเป็นมนุษย์แทน (ไทยรับมาเป็นสัตว์หิมพานต์ด้วย)

    ส่วน สฟิงซ์ (Sphinxเป็นสัตว์ผสม ตามแต่วัฒนธรรม ของกรีกจะเป็นสัตว์ที่มีหัวเป็นมนุษย์ ตัวเป็นสิงโตแถมมีปีก สฟิงซ์กรีกจะชอบตั้งปริศนา

    ส่วนสฟิงซ์ของอียิปต์นั้น จะเป็นรูปหน้ามนุษย์แต่มีร่างกายเป็นสิงโต ว่ากันว่าสฟิงซ์คือรูปเหมือนของเทพฮาร์มาชิส (Haremakhet) เทพแห่งรุ่งอรุณ
    .
    .
    .
    7. คชสีห์ VS วยาละ



    คชสีห์ เป็นสิงห์ผสมที่มีกายเป็นสิงห์ และมีช่วงหัวเป็นช้าง ตามตำรากล่าวว่าคชสีห์มีพลังเทียบเท่าช้างและสิงห์รวมกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่น่าเกรงขาม

    ส่วน วยาละ (Vyalaเป็นสัตว์ในจินตนาการตามวิหารของฮินดู เป็นสัตว์ที่มีหัวเป็นช้าง ลำตัวเป็นม้า และขาสองข้างเป็นสิงโต มักพบเห็นตามเสาวิหารทางอินเดียตอนใต้ เชื่อว่าวยาละจะนำเสน่หาและการบูชาไปถึงเหล่าทวยเทพได้เร็วตามปรารถนา
    .
    .
    .
    8. ดุรงค์ปักษิณ VS เปกาซัส



    ดุรงค์ปักษิณ เป็นสัตว์หิมพานต์ที่ผสมระหว่างม้ากับนก คือม้าที่มีปีกและหางเหมือนนก มีกายสีขาวบริสุทธิ์ ส่วนขนคอ กีบและหางมีสีดำสนิท 

    ส่วน เปกาซัส (Pegasusเป็นม้ามีปีกในตำนานกรีก เกิดจากเมดูซ่า (Medusa) ที่ถูกเพอร์ซิอุส (Perseus) ฟันคอ ในขณะที่เลือดพุ่งกระเซ็นนั้น เปกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง 

    ไม่มีใครสามารถปราบเปกาซัสได้เลย ตอนที่เปกาซัสออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าก่อให้เกิดน้ำพุที่สวยงามคือ น้ำพุฮิปโปครีนี (Hippocrene) ว่ากันว่าใครที่ได้ดื่มน้ำจากน้ำพุนี้แล้ว โอกาสที่จะเป็นกวีเอกอยู่แค่เอื้อม 
    .
    .
    .
    9. สินธพนที VS ฮิปโปแคมปัส



    สินธพนที เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำหรือทะเลสาป มีตัวเป็นม้า หางเป็นปลา พื้นสีขาว ครีบและหางมีสีแดงชาด

    ส่วน ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) เป็นม้าทะเลในตำนานของกรีก โดยมีท่อนบนเป็นม้า และมีท่อนล่างเป็นปลา 

    ฮิปโปแคมปัสเป็นสัตว์เลี้ยงของเทพโพไซดอน แถมยังเป็นสัตว์เทียมรถศึกของโพไซดอนอีกด้วย
    .
    .
    .
    10. ไกรสรปักษา VS กริฟฟิน



    ไกรสรปักษา เป็นสัตว์ผสมระหว่างสิงห์กับนก มีหัวเป็นพญาอินทรี ตัวเป็นราชสีห์ แต่มีเกล็ดคลุม นอกจากนั้นยังมีปีกเหมือนนกอีกด้วย 

    ส่วน กริฟฟิน (Griffin) มีหัว ขาคู่หน้าและปีกเป็นนกอินทรี ส่วน]eตัวและขาคู่หลังเป็นสิงโต 

    ตามตำนานกรีก กริฟฟินเป็นผู้พิทักษ์เหมืองทองคำของดินแดนไฮเปอร์โบเรีย (Hyperborea) เป็นรูปจำแลงของเทพีเนเมซิส (Nemesis) เทพีแห่งความพยาบาท และนอกจากนี้ยังเป็นผู้ลากรถม้าของเทพอพอลโลอีกด้วย (เป็นทุกอย่างให้เธอแล้วจริงๆ)

    กริฟฟินเป็นสัญลักษณ์ของพลังอำนาจ และบางครั้งยังถือว่ากริฟฟินเป็นสัญลักษณ์ของความหยิ่งยโสอีกด้วย ศัตรูของกริฟฟินคือ บาซิลิสก์ (Basilisk)

    .
    .
    .
    11. กบิลปักษา VS ลิงติดปีก



    กบิลปักษา เป็นสัตว์ผสมระหว่างลิงกับนก ตัวเป็นลิง มีปีกเหมือนนก

    ส่วน ลิงติดปีก (Winged monkey) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง พ่อมดมหัศจรรย์แห่งเมืองออซ (The Wonderful Wizard of Oz) ของแอล. แฟรงก์ บอม (L. Frank Baum)

    ในนิยายเล่าว่าลิงติดปีกนี้จะทำตามบัญชาของผู้ที่ครอบครองหมวกทอง โดยต้องยืนด้วยเท้าซ้ายแล้วร่ายคาถาว่า " เอ็ป-ปี เป็ป-ปี แก๊ก-กี (Ep-pe, pep-pe, kak-ke) " จากนั้นยืนด้วยเท้าขวาแล้วร่ายคาถาว่า " ฮัล-โล ฮอล-โล เฮล-โล (Hil-lo, hol-lo, hel-lo) " ก่อนที่จะยืนสองขาแล้วร่ายคาถาว่า " ซิส-ซี ซุส-ซี ซิก (Ziz-zy, zuz-zy, zik) "
    .
    .
    .
    12. นารีผล VS แมนเดรก



    นารีผล หรือ มักกะลีผล เป็นต้นไม้จากป่าหิมพานต์ เป็นพืชที่ออกลูกเป็นหญิงสาวแรกรุ่น (อายุ 16) เมื่อผลสุกแล้ว บรรดาผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายจะพากันนำไปซั่ม แต่นารีผลมีชีวิตอยู่ได้เพียงแค่ 7 วันเท่านั้น ก่อนจะเน่าเปื่อยไป

    ส่วน แมนเดรก (Mandrakeชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Mandragora officinarum เป็นพืชที่มีตัวตนจริงๆ รากของมันมีลักษณะคล้ายมนุษย์ จึงถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมทางเวทมนตร์ต่างๆ

    แมนเดรก (ในตำนาน) มีเสียงกรีดร้องที่แหลมสูงมาก ได้ยินอาจถึงตาย ถ้าเป็นต้นอ่อนอาจทำให้สลบ เชื่อกันว่าน้ำยาของแมนเดรกสามารถนำมาสกัดเพื่อล้างคำสาปทุกชนิด (ถ้านึกไม่ออก ให้ไปดูแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ)
    .
    .
    .
    13. ปลาเสือ VS ชาจิโฮโกะ



    ปลาเสือ ในที่นี่ไม่ใช่ปลาลายเสือที่พ่นน้ำนะ แต่เป็นสัตว์หิมพานต์ที่มีหัวเป็นเสือ ลำตัวเป็นปลา

    ส่วน ชาจิโฮโกะ (Shachihokoเป็นสัตว์ในตำนานของญี่ปุ่น มีหัวเป็นเสือ ร่างเป็นปลาคาร์ฟที่ปกคลุมไปด้วยหนามแหลมมีพิษ เมื่ออยู่บนบก สามารถแปลงร่างเป็นเสือได้ 

    เชื่อกันว่ามีอำนาจสามารถบันดาลฟ้าฝน ด้วยเหตุนี้เอง ตามจั่วของสิ่งก่อสร้างมักจะประดับด้วยรูปปั้นชาจิโฮโกะ เพื่อให้เป็นเทพผู้พิทักษ์ที่ช่วยดับไฟเวลาเกิดเพลิงไหม้ 
    .
    .
    .
    14. ปลาอานนท์ VS ปลานามาซุ



    ปลาอานนท์ เป็นหนึ่งใน 7 ปลายักษ์แห่งหิมพานต์ [ ติรณะ , ติมิงคละ ตรปิงคละ , อานนท์ , 
    นิรยะ , อัชฌนาโรหะ มหาติมิ ]

    ปลาอานนท์เป็นปลาลำดับที่ 4 มีขนาด 1,000 โยชน์ (1,600,000 เมตร) คอยหนุนแผ่นดินชมพูทวีป คราใดที่ที่ปลาอานนท์เคลื่อนไหวพลิกตัว เมื่อนั้นโลกจะเกิดแผ่นดินไหว

    ส่วน นามาซุ (Namazuเป็นปลาดุกขนาดยักษ์ที่อาศัยอยู่ใต้เกาะญี่ปุ่น มีก้อนหินขนาดใหญ่ที่เทพเจ้าแห่งลม คาซิมะ (Kazuchi) นำมาถ่วงไว้ที่หัว เมื่อมันขยับตัวก็ทำให้เกิดแผ่นดินไหว 

    มาจากการที่ชาวประมงในสมัยโบราณที่เห็นการเคลื่อนไหวผิดปกติของปลาดุกยักษ์ทะเลสาบบิวะพร้อมๆกัน ก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวไม่นาน 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×