ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Movement เขียนนิยายอย่างไรให้น่าสนใจ?

    ลำดับตอนที่ #12 : โครงเรื่อง : กระดูกสันหลังของนิยาย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.57K
      2
      11 ธ.ค. 49

     


              โครงเรื่อง : กระดูกสันหลังของนิยาย


              โครงเรื่อง...เปรียบได้กับกระดูกสันหลังของนิยาย เป็นส่วนที่สำคัญมาก...นิยายทุกเรื่องต้องมี...

              ยกเว้นว่านิยายคุณจะเป็นนิยายไม่มีกระดูกสันหลัง... (ห๊ะ!! =[]=)

              โครงเรื่องคืออะไรคะเพ่?
              โครงเรื่องก็คือพล็อตเรื่อง แต่แบ่งรายละเอียดลงไปมากกว่าน่ะเองแหละไอ้น้อง

               ตัวอย่าง

               This isพล็อตเรื่อง

              คุณแม่ของเด็กชายอูจุ้ยตื่นมาเปิดตู้เย็นกลางดึกด้วยความหิว เธอได้พบกับทางเข้าประหลาดเหมือนอุโมงค์ และเมื่อคุณแม่พลัดหลงเข้าไปอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จึงกลายเป็นหน้าที่ของอูจุ้ยวัยห้าขวบกับคุณพ่อที่ต้องเข้าไปตามหาคุณแม่กลับมา!

              This is โครงเรื่อง

              1. อธิบายสภาพครอบครัวนี้
              2. ตัดมากลางดึก คุณแม่ลงมาหาอะไรกิน (แม่ชอบกินแตงกวาดอง)
              3. แม่เจอทางเข้าประหลาด
              4. แม่ตกใจ แม่ปิดตู้เย็น แม่ขึ้นไปนอนซะงั้น (คิดว่าตัวเองละเมอ)
              5. เช้าวันต่อมา ทางเข้านั่นมันยังอยู่ในตู้เย็น แม่ทำอาหารไม่ได้เพราะไม่มีของในตู้เย็นให้ทำ แม่โมโห เลยเข้าไปในอุโมงค์ซะงั้น
              6. ลูกกับพ่อตื่น พบว่าแม่หายไป มีรองเท้าใส่ในบ้านอยู่หน้าตู้เย็น
              7. เปิดตู้เย็น เจออุโมงค์
              8. อูจุ้ยชวนพ่อเข้าไปในนั้น พ่อเลยไปด้วย
              9......................... (เขียนสถานการณ์ไปเรื่อย ๆ จนจบ)

              โครงเรื่องนั้นจะทำละเอียดแค่ไหนก็ได้ หรือไม่ละเอียดก็ไม่เป็นไร แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน แบบละเอียดอาจจะเขียนรายละเอียดต่างๆเอาไว้ในวงเล็บด้านหลังก็ได้ ส่วนแบบไม่ละเอียด อาจจะทำแค่ว่าใครทำอะไรที่ไหนเมื่อไหร่อย่างไรเป็นข้อๆแบบสรุปสั้นกว่าที่ยกตัวอย่างมา ทั้งนี้ต้องขึ้นกับแนวเรื่องด้วย ถ้าไม่ซับซ้อนมาก ก็อาจไม่ต้องทำแบบละเอียด

              ยุ่งยากจังเลยค่ะพี่ ทำไมต้องทำโครงเรื่องด้วยล่ะคะ
              ยุ่งก็ต้องทนน้อง เอ่อ...ก็เพื่อบางคนจำรายละเอียดเนื้อเรื่องไม่ได้ แล้วที่กำหนดโครงเรื่อง ก็จะได้กำหนดความยาวที่จะเขียนได้ด้วยไงล่ะ

              ลองดูพล็อตเรื่องสองอันต่อไปนี้นะ

              1. อาโออิและฮาคาตะเป็นนักเขียนนิยายทั้งคู่และยังเป็นเพื่อนที่สนิทกันและหน้าตาคล้ายกันราวกับฝาแฝดอีกด้วย พวกเขาแอบชอบผู้หญิงคนหนึ่งเข้าพร้อมกัน เลยจะตัดสินกันว่าถ้าใครชนะการประกวดเรื่องสั้นครั้งนี้ในตำแหน่งที่สูงกว่าจะได้จีบผู้หญิงคนนั้นก่อน 

              (แต่กลายเป็นว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นนักเขียนนิยายเหมือนกัน แถมยังชนะการประกวดครั้งนั้นในอันดับที่หนึ่งที่สำคัญยังเป็นลูกสาวนักเขียนชื่อก้อง แล้วพวกเขาจะงัดวิธีไหนออกมาชนะใจดอกฟ้าคนนี้ได้ล่ะเนี่ย?)

              2. "ปลายดาบทลายผา" ประมุขพรรคมารประมือกับ "ฝ่ามือจักพรรดิ"ประมุขพรรคสวรรค์จนเป็นเหตุให้ประมุขพรรคสวรรค์ถึงแก่ความตาย ถึงสองกลุ่มชนจึงเตรียมเข้าปะทะกัน โดยมีกองทัพจากราชวงศ์หนุนหลังฝ่ายพรรคสวรรค์ ส่วน "บุปผาโลหิต" ยอดหญิงยอดฝีมือแห่งยุทธภพก็ยุยงให้ฝ่ายพรรคมารรวมมือกับกองโจร "กบฎฝ่ายเหนือ" เพื่อที่นางจะได้เข้าลอบชิงเป็นจักพรรดินีแห่งราชวงศ์ 

              แต่ฝ่ายราชวงศ์กลับผ่ายแพ้ เมื่อสงครามครั้งใหญ่ยุติแต่กลับไม่เป็นไปตามใจนางบุปผาโลหิต การสงครามครั้งใหม่จึงต้องปะทุขึ้นอีกครั้งเพื่อให้ทุกสิ่งมาอยู่ในเงื้อมมือของนาง...

              เอาแบบไม่นับเนื้อเรื่องในวงเล็บข้อแรกก็จะเห็นว่าอันที่สองน่าจะซับซ้อนกว่า เพราะเกี่ยวข้องกับสงคราม มีคนมากมายมาเกี่ยวข้อง ในขณะที่อันแรกมีตัวละครหลักแค่สามสี่คนเป็นอย่างมาก ส่วนเนื้อเรื่องในวงเล็บนั้นสามารถเพิ่มเพื่อความซับซ้อนได้มากขึ้น

              อย่างอันแรก ไม่มีโครงเรื่องเป็นชิ้นเป็นอันยังไม่เท่าไร แต่อันที่สองถ้าไม่มีเขียนโครงเรื่องไว้ก็จะลำบากหน่อย ใครตายเมื่อไร ใครฆ่า ใครต้องการอะไร ใช้กลยุทธ์อย่างไรบ้าง เรื่องพวกนี้เราอาจจะลืมไปได้บ้างก็ได้

              ทั้งนี้โครงเรื่องยังช่วยเราเน้นบางจุดได้ เพื่อจดอารมณ์ในตอนนั้นไว้กันลืม ในเวลาที่เรายังไม่ได้เขียน เช่น

              ตอนที่15 : ราชวงศ์อันเศร้าโศก
              1. แม่ทัพไร้พ่ายเข้ารายงาน (เข้มแข็งแฝงโศกเศร้า)
              2. ฮองเฮารู้ข่าวการเสียชีวิตของฮ่องเต้ เสียใจจนล้มไป
              3.เน้น : บรรยายความเสียใจของภรรยาผู้เสียสามี
              4. ความเศร้าของแม่ทัพที่ลาออกไป
              ตัดฉาก : สมรภูมิ
              5. ปลายดาบทลายผาปะทะฝ่าเท้าไร้เงา (เน้นความดุเดือดบ้าคลั่งของฝ่าเท้าไร้เงา)
              6. การพิชิตชัยของปลายดาบทลายผา
              7...................................

              การวางโครงเรื่อง ใช้ได้ดีกับนักเขียนมือใหม่ คนที่ขี้ลืม คนที่คิดเรื่องใหม่ๆออกมาได้บ่อยๆ จนจำได้ไม่หมด คนที่ควบคุมความยาวเรื่องไม่ได้ กะว่าจะเขียนสองร้อยหน้า อีซาร่าเขียนไปแล้วห้าร้อยหน้าเพิ่งได้ครึ่งเรื่องอะไรทำนองนั้น อีซาร่าคงแซดมาก...

              โห พี่คะ...ยุ่งยากเหมือนกันนะเนี่ย งั้นพี่ใช้เวลาวางโครงเรื่องแต่ละเรื่องนานมั้ยคะ?

              พี่ก็ไม่รู้ พี่ไม่เคยวางโครงเรื่อง...

              อ้าว เฮ้ย...

              อย่าเพิ่งแซดไปน้อง คือมันอย่างนี้... ไอ้การที่เราวางพล็อตเรื่องเนี่ย ยังไงมันก็ต้องมีอยู่ในหัวทุกคนใช่มั้ย คือพล็อตเรื่องก็คือการคิดเนื้อเรื่องออกนั่นเอง แต่โครงเรื่องเนี่ย มันเมื่อกับเราเขียนบทขึ้นมาเสร็จแล้ว รู้ตอนจบเรียบร้อยแล้ว ถึงจะเอามากำกับจริง

              แล้วทำไมพี่ไม่วางโครงเรื่องล่ะคะ?

              ก็รู้ตอนจบแล้วมันจะไปสนุกอะไรเล่า เหมือนจะอ่านนิยายสักเรื่องนึงแล้วรู้ตอนจบอยู่แล้วน่ะ จะไปอ่านมันทำไม? งานไม่สนุกแบบนั้นไม่เอาด้วยหรอก น่าเบื่อจะตาย คนเขียนยังไม่สนุก คนอ่านจะสนุกได้ไง...

              ดังนั้น สำหรับส่วนโครงเรื่องนั้น นักเขียนบางคนก็ต้องทำเอาไว้ บางคนก็ทำไม่ได้ เพราะสาเหตุต่างๆ เช่นเบื่อ เขียนโครงเรื่องแล้วไม่สามารถเขียนเรื่องจริงๆได้ (คิดไม่ออกแล้ว เคยเจอปัญหามาแค่นี้)

              สรุปแล้ว ขอให้ลองเขียนโครงเรื่องดูก่อน ถ้าทำได้ก็ทำ ทำไม่ได้ก็อย่าฝืน ปล่อยไปตามธรรมชาติดีกว่า... ไม่มีโครงเรื่องที่เป็นกระดูกสันหลัง เราก็เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังก็ได้ เพราะนั่นคือธรรมชาติของเรา

              เขียนให้ตัวเราสนุกไปด้วยก่อน แล้วคนอ่านจะสนุกกับเราด้วยเอง

         


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×