Puzzle หลีกทางหน่อย นักสืบที่คอยมาเเล้ว
เขาเเละเธอทั้งสี่จำเป็นต้องเเข่งกัน 'สืบคดี' เเต่งานนี้ไม่หมูซะเเล้ว เพราะยิ่งสืบมากเท่าไหร่ ปมปริศนากลับยุ่งเหยิงจนแก้ไม่ออก
ผู้เข้าชมรวม
8,426
ผู้เข้าชมเดือนนี้
15
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ให้ตายเถอะ! ทำไมบอสต้องสั่งให้พวกเราแข่ง ‘สืบคดี’ กันด้วย
ไม่ต้องเดายังรู้ คู่ของฉันมีแววชนะยัยสกั๊งค์กับนายของเซ่นอยู่แล้ว
อะไรนะ? ถามว่ารู้ได้ไงน่ะเหรอ โฮะๆ ก็มีถ้วยฟูคนสวยอยู่ทั้งคน ; )
แต่ทว่า… คดีนี้ดันไม่ง่ายอย่างที่คิด
เพราะยิ่งสืบมากเท่าไหร่ ปมปริศนากลับยุ่งเหยิงจนแก้ไม่ออก
เป็นนักเขียนหน้าใหม่ (หรา55)
|
|
ทักทายเซย์ไฮบนเเฟนเพจ
ไลค์หนึ่งที เเถมฟรีจุ๊บจากไรท์เตอร์ ฮิ้ววว
(เดี๋ยวก็ไม่มีคนไลค์หรอก (' '):เจเเปน)
ผลงานอื่นๆ ของ นัตโตะ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ นัตโตะ
"วิจารณ์ Puzzle หลีกทางหน่อย นักสืบที่คอยมาเเล้ว"
(แจ้งลบ)Puzzle หลีกทางหน่อย นักสืบที่คอยมาแล้ว นิยายรักหวานแหววผสานการสืบสวนสอบสวน ผลงานของ นัตโตะ ที่เพิ่งเริ่มต้น โพสต์ไว้แค่ 11 ตอนเท่านั้น แต่ก็นับว่าเริ่มต้นเรื่องไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยเปิดเรื่องให้ถ้วยฟูและเจแปนคู่หูคู่เก่งของสำนักงานนักสืบต้องปลอมตัวมาเป็นนักเรียนชั้น ม. 6 ในโรงเรียนประจำสุดหรู “ฟาเนดิน” เพื่อตามหาตัวคนร้ายท ... อ่านเพิ่มเติม
Puzzle หลีกทางหน่อย นักสืบที่คอยมาแล้ว นิยายรักหวานแหววผสานการสืบสวนสอบสวน ผลงานของ นัตโตะ ที่เพิ่งเริ่มต้น โพสต์ไว้แค่ 11 ตอนเท่านั้น แต่ก็นับว่าเริ่มต้นเรื่องไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยเปิดเรื่องให้ถ้วยฟูและเจแปนคู่หูคู่เก่งของสำนักงานนักสืบต้องปลอมตัวมาเป็นนักเรียนชั้น ม. 6 ในโรงเรียนประจำสุดหรู “ฟาเนดิน” เพื่อตามหาตัวคนร้ายที่อยู่ในโรงเรียน แต่การสืบคดีครั้งนี้นับเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะนอกจากที่ต้องหาตัวคนร้ายให้ได้แล้ว พวกเขายังต้องสืบหาตัวคนร้ายให้เร็วกว่าคู่แข่งกับสกายและเซนนักสืบคู่แข่งในสำนักงานเดียวกันด้วย เพราะการเดิมพันในการแข่งขันกันสืบคดีของนักสืบคนเก่งทั้งสี่ ทั้งมิได้เป็นเพียงการเดิมพันกันในเรื่องของศักดิ์ศรีเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของความก้าวหน้าในอาชีพนักสืบอีกด้วย เนื่องจากใครชนะจะได้เลื่อนขั้น ขณะที่ผู้แพ้ต้องลดระดับกลับไปเป็นนักสืบขั้นแรก ทว่าการสืบสวนครั้งนี้ก็ใช่ว่าจะคลี่คลายกันได้ง่ายๆ เพราะยิ่งสืบ ปมปริศนาก็ยิ่งมากและยิ่งยุ่งเหยิง ก็คงต้องตามดูว่านักสืบคนเก่งทั้งสองคู่จะมีวิธีการสืบหาความจริงอย่างไร และคู่ของใครจะเป็นฝ่ายชนะ เมื่ออ่านในช่วงต้นเรื่องพบว่า นัตโตะ ยังไม่ได้เน้นเรื่องไปที่ความรักมากเท่าใดนัก แต่ทำเพียงการปูพื้นฐานความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างถ้วยฟูกับเจแปน ที่แม้จะทำงานร่วมกันมา 3 ปี ก็ยังคบกันในฐานะเพื่อนสนิทที่เป็นเพื่อนร่วมงานด้วยเท่านั้น แต่เมื่อทั้งคู่ต้องมาอยู่ด้วยกันตลอดทั้งวันในฐานะนักเรียนประจำ เพื่อสืบหาตัวคนร้ายที่ฆ่านักเรียนชาย ม. ปลาย พัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งคู่จึงเริ่มต้นขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะแปรเปลี่ยนเป็นความรักในที่สุด ขณะเดียวกันเรื่องราวในช่วง 11 ตอนแรกนี้ดูเหมือนว่าจะเน้นไปที่เรื่องราวของการสืบสวนสอบสวนและการแข่งขันกันระหว่างคู่ของถ้วยฟูกับเจแปน กับคู่ของสกายกับเซนมากกว่าด้วย นิยายเรื่องนี้มีความโดดเด่นในการทิ้งท้ายเรื่องแต่ละบทได้อย่างน่าสนใจ ที่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นให้ผู้อ่านติดตามและรอคอยที่จะอ่านในตอนต่อไปอยู่เสมอ ซึ่งมีการทิ้งท้ายเรื่องในหลายลักษณะ ทั้งการให้ตัวละครพบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ อันจะเป็นเบาะแสที่ช่วยคลี่คลายคดีหรือเป็นแนวทางในการสืบสวนต่อไป เช่น การทิ้งท้ายว่าพบหนึ่งในผู้ต้องสงสัย ซึ่งผู้อ่านก็ต้องตามอ่านตอนต่อไปเพื่อที่จะทราบว่าผู้ต้องสงสัยคนนั้นเป็นใคร หรือการพบข้อความสำคัญในไดอารี่ของลมพัด ซึ่งผู้อ่านก็ต้องตามอ่านตอนต่อไปเพื่อที่จะทราบว่าข้อความที่ถ้วยฟูสะดุดใจคืออะไร และมีความสำคัญกับการสืบสวนอย่างไร หรือ การให้ตัวละครเผชิญเหตุการณ์ที่ยุ่งยาก และไม่รู้ว่าตัวละครจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้านี้ได้อย่างไร เช่น ผู้เขียนทิ้งท้ายให้ถ้วยฟูและเจแปนกำลังจะถูกเจ้าของห้องจับได้ว่าแอบเข้าไปค้นห้องเขา ซึ่งทำให้ผู้อ่านก็ต้องตามไปลุ้นในตอนต่อไปว่าทั้งคู่จะถูกจับได้หรือไม่ และจะรอดพ้นเหตุการณ์นี้ไปได้อย่างไร ความโดดเด่นประการต่อไปในเรื่องคือ การสร้างตัวละครได้อย่างมีชีวิตชีวา และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนสร้างให้เรื่องน่าสนใจและน่าติดตามได้ โดยเฉพาะตัวละครเอกทั้งสี่ตัว นั่นคือ ถ้วยฟู สาวน้อยร่าเริง ช่างพูด ช่างเจรจา เจแปน หนุ่มหล่อ มาดขรึม ช่างสังเกต แสนฉลาด ที่ซ่อนความกวนประสาทไว้อย่างแนบเนียน สกาย สาวไฮโซสุดหรู แต่งตัวเก่ง หยิ่งยะโส และปากจัด เซน ชายหนุ่มหน้าตาดี แต่ขี้หลีอย่างร้ายกาจ และยิ่งฉากใดที่ตัวละครทั้งสี่โคจรมาพบกัน ก็จะเต็มไปด้วยความปั่นป่วน การทะเลาะถกเถียง และแข่งขันในการเอาชนะคะคานของคู่อริระหว่างถ้วยฟูและสกาย และลีลาการจีบสาวซึ่งๆ หน้าของเซนที่จีบถ้วยฟูทุกครั้งที่มีโอกาส แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า นัตโตะ ละเลยการบรรยายรูปร่างหน้าตาของตัวละครไป จนผู้อ่านไม่อาจจะจินตนาการรูปร่างหน้าตาของตัวละครทั้งสี่ได้จากการอ่านเรื่องเพียงอย่างเดียว แม้ว่าผู้เขียนให้ภาพอิมเมจของตัวละครทั้งสี่ไว้แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่ายังมีตัวละครอื่นๆ เป็นจำนวนมากที่นอกเหนือจากตัวละครหลักทั้งสี่ที่อยู่ในเรื่อง ที่ไม่มีภาพอิมเมจไว้ให้ ซึ่งผู้เขียนยังละเลยที่จะบรรยายหรือถ้ามีการบรรยายก็บรรยายไว้อย่างคร่าวๆ จนผู้อ่านไม่อาจสร้างภาพของตัวละครเหล่านี้ได้อย่างเด่นชัดในจินตนาการได้ นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตประการหนึ่งที่สะดุดใจเมื่ออ่านนิยายเรื่องนี้ นั่นก็คือ นิยายเรื่องนี้แม้ผู้เขียนตั้งใจว่าจะเขียนงานแนวหวานแหวว ซึ่งลักษณะเด่นประการหนึ่งที่พบในงานประเภทนี้ก็คือ การมีอีโมติคอนปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งในเรื่องนี้ก็มีปรากฏด้วยเช่นกัน แต่ต้องไม่ลืมว่านิยายเรื่องนี้มิได้เป็นงานแนวหวานแหววแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังผสานกับความเป็นนิยายสืบสวนสอบสวนไว้ด้วย งานสืบสอนสอบสวนมักให้ความรู้สึกเคร่งขรึมจริงจัง ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่มีอีโมติคอนปรากฏในฉากหรือเหตุการณ์ที่เป็นการสืบสอนสอบสวน ก็จะดูประหนึ่งว่าได้ลดทอนความเคร่งขรึมจริงจัง และความน่าเชื่อถือในการสืบสวนลงอย่างน่าเสียดาย เช่น ฉันเดินต๊อกแต๊กไปจนถึงโต๊ะทำงาน ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าตัวไหนของผู้ต้องสงสัย อืม ขอนึกชื่อก่อนนะ ... -_-? รู้สึกว่าจะชื่อ “นายธนาธิป ธัญฐะกิจติทรัพย์” ... เจอแล้ว 0.0! โต๊ะนี้นี่เอง ... แล้วนี่อะไรอีกเนี่ย ... สมุดบัญชี? ของสำคัญแบบนี้เก็บทิ้งๆ ขว้างๆ ได้อย่างไร -_-^ หึ ชอบทำตัวรกนักใช่มั้ย ลองให้ไอ้นี่หายไปสักครั้งคงดีเหมือนกัน ... ฉันไล่สายตาไปตามสมุดบัญชีและตัวเลขที่ขึ้นบนนั้นก็ทำเอาฉันแทบตาถลนออกมา 0.0 ในแง่นี้ ผู้วิจารณ์เห็นว่า ผู้เขียนสามารถใช้อีโมติคอนในนิยายเรื่องนี้ได้ แต่ควรจะเลือกใช่เฉพาะตอนที่เน้นในเรื่องราวความรักกุ๊กกิ๊ก หรือว่าตอนอื่นๆ ที่มิใช่ฉากหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนก็น่าจะเหมาะสมกว่า การเขียนนิยายแนวสืบสวนสอบสวนนับเป็นงานเขียนอีกแนวหนึ่งที่จะเขียนในลงตัวยาก เพราะนอกจากผู้เขียนจะต้องสร้างปมปัญหาไว้อย่างแยบยลแล้ว ยังต้องวางแนวทางคลี่คลายหรือสร้างเบาะแสที่สมเหตุสมผลควบคู่ไปด้วย ในเรื่องนี้ นัตโตะ สร้างนักสืบวัยรุ่นอัจฉริยะขึ้นมากลุ่มหนึ่ง คือ เจแปน ถ้วยฟู สกาย และเซน ซึ่งทั้งสี่คนนี้นอกจากจะเรียนจบปริญญาตรีขณะอายุยังน้อยคือไม่เกิน 15 ปีแล้ว แต่ก็มีความสามารถพิเศษทางการสืบสวนที่โดดเด่นแตกต่างกันไปด้วย การที่สร้างเรื่องให้นักสืบอัจฉริยะทั้งคนต้องมาแข่งขันกับในด้านการสืบสวน คดีที่เกิดขึ้นก็น่าจะเป็นคดีที่ท้าทาย ซับซ้อนและยุ่งยากมากพอสมควร แต่เมื่อลงมือสืบสวนจริงๆ ผู้วิจารณ์กลับรู้สึกว่าตัวละครแต่ละตัวค้นพบเบาะแสได้อย่างง่ายดายเกินไปหรือเปล่า คือ การที่สกายขโมยไดอารี่ของทาม หนึ่งในผู้ต้องสงสัยได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่พบกัน ถ้วยฟูเดินชนโต๊ะของลมพัดเพื่อนร่วมห้องที่หอพัก ทำให้พบไดอารี่ของเธอ ตั้งแต่ครั้งแรกที่พบกันเช่นกัน เมื่อเปิดอ่านก็พบข้อความสำคัญที่ทำให้เธอหันมาจับตามมองลมพัดในฐานะผู้ต้องสงสัย ทั้งๆ ที่เดิมไม่มีใครสงสัยลมพัดมาก่อนเลย หรือถ้วยฟูกับเจแปนก็ได้พบสมุดบัญชีของชิน ผู้ต้องสงสัยอีกคน และสมุดบัญชีที่พบโดยบังเอิญนี้กลับกลายเป็นเบาะแสสำคัญที่ทำให้ทั้งคู่สงสัยยอดเงินฝากและเงินถอนสูงผิดปกติของชิน เพราะในความเป็นจริง ผู้ร้ายที่ฆ่า ปาติณัช องค์ขนารักษ์สกุล หรือ พอตเตอร์ ซึ่งทำลายหลักฐานการฆ่าได้อย่างแนบเนียน ไม่น่าจะเลินเล่อมากพอที่จะเก็บอะไรก็ตามที่เป็นหลักฐานชี้ตัวหรือเอาผิดตนเองไว้ให้หาได้ง่ายๆ มากเพียงนี้ ขณะเดียวกัน การเข้ามาเรียนกลางเทอมของนักสืบทั้งสี่ก็ดูจะโดดเด่นจนเป็นที่น่าจับตามมองยู่แล้ว เพราะเข้ามาเรียนหลังจากที่เพิ่งเกิดเหตุฆาตกรรมไม่นาน และทั้งสี่ยังได้เรียนหนังสือห้องเดียวกับผู้ต้องสงสัยทั้งสามคนในคดีอีกด้วย หากคนร้ายเป็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัยทั้งสาม หรือเป็นคนอื่น ซึ่งก็คาดว่าคนร้ายน่าจะเป็นคนที่อยู่ในแวดวงใกล้ชิดกับผู้ตายด้วยเช่นกัน การเข้ามาอย่างผิดปกติของนักสืบทั้งสี่ก็น่าที่จะทำให้คนร้ายฉุกคิดและเริ่มระวังตัวกับความผิดปกติในครั้งนี้เป็นแน่ นอกจากนี้ คณะนักสืบ โดยเฉพาะถ้วยฟูกับเจแปนก็ขยันสร้างความโดดเด่นให้ตัวเองเหลือเกิน ทั้งการเข้าห้องเรียนสายในวันเปิดเทอมวันแรก และการโดดเรียนภาคเช้าในวันถัดมา ทั้งๆ ที่นักสืบส่วนใหญ่จะต้องแฝงตัวเข้ามาสืบสวนมักจะต้องทำตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมมากที่สุด เพื่อให้เป็นจุดสนใจน้อยที่สุด แต่ในเรื่องนี้ ดูเหมือนว่าความโดดเด่นของนักสืบกลุ่มนี้ อาจจะเป็นดาบสองคมที่น่าจะเป็นการแหวกหญ้าให้งูตื่น ก็จะยิ่งทำให้คนร้ายระวังตัวมากขึ้นกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นรอบตัวเขาเช่นนี้ สำหรับข้อบกพร่องที่พบในนิยายเรื่องนี้คือ แม้ว่าในนิยายเรื่องนี้จะมีบทบรรยายสลับกับบทสนทนา ทว่า บทบรรยายที่ปรากฏส่วนใหญ่เป็นบทบรรยายที่เขียนด้วยภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน เมื่ออ่านรวมไปกับบทสนทนาที่มีอยู่เป็นจำนวนมาแล้ว ก็ทำให้บทบรรยายและบทสนทนาดูจะกลืนเข้าหากัน จนรู้สึกว่านิยายเรื่องนี้ดำเนินเรื่องด้วยบทสนทนามากกว่าบทบรรยาย ด้วยเหตุนี้ จงอยากให้ผู้เขียนปรับบทบรรยายให้เป็นภาษาเขียนเพิ่มมากขึ้น ก็จะช่วยแก้ปัญหาในประเด็นนี้ได้ ในเรื่องของคำผิดนั้นมีไม่มากนัก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนเอาใจใส่และให้ความระมัดระวังในเรื่องนี้เป็นอย่างดี และเพื่อให้เรื่องนี้สมบูรณ์มากขึ้น จึงขอยกตัวอย่างคำผิดที่พบไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เขียนจะได้แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป เช่น โอ๊ย เขียนเป็น โอ้ย อุตส่าห์ เขียนเป็น อุส่าห์ กะพริบตา เขียนเป็น กระพริบตา คาดการณ์ เขียนเป็น คาดการ ดีเลิศ เขียนเป็น ดีเริศ ขมวดคิ้ว เขียนเป็น ขวดคิ้ว หยู้ด เขียนเป็น หยู๊ด เหลอหลา เขียนเป็น เหลอลา กิตติศัพท์ เขียนเป็น กิติศัพท์ เตร็ดเตร่ เขียนเป็น เตร่ดเตร่ นอกจากนี้ยังมีการใช้คำผิดความหมาย เช่น ถลนตามอง (ถลน หมายความว่า โปนออก ปลิ้นออก) ควรจะเขียนว่า ถลึงตามอง (ถลึงตา หมายความว่า เบิกเปลือกตาโพลง แสดงอาการดุหรือไม่พอใจ) หมุนหัวไป (ให้ความรู้สึกเหมือนว่าหัวหมุนได้ 360 องศา ซึ่งคำนี้มักใช้บรรยายถึงผีที่สามารถหันหัวได้รอบตัว) ควรจะเขียนว่า เบือนหน้าไป หรือ หันไปมอง แทน และ เม้าท์แตกสาแหรกขาด คำว่า แตกสาแหรกขาด มักจะเป็นสำนวนที่ขยายคำว่า “บ้าน” จะมีความหมายว่า “ครอบครัวที่กระจัดกระจายแยกย้ายกันไปคนละทิศคนละทาง” ดังนั้น คำว่า “เม้าท์” จึงไม่สามารถใช้คำว่า “แตกสาแหรกขาด” มาขยายได้ เพราะจะไม่ได้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการ เนื่องจากผู้เขียนต้องการใช้คำนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวละครตัวนี้พูดมาก แต่ว่าหากใช้คำว่า “เม้าท์แตกสาแหรกขาด” จะแปลว่า “พูดแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไปคนละทิศคนละทาง” ซึ่งไม่มีความ จึงควรใช้คำตรงๆ อย่าง พูดมาก หรือถ้าจะใช้สำนวน อาจใช้ว่า พูดเป็นต่อยหอย ปากเป็นชักยนต์ หรือ พูดจ้อไม่หยุด แทนได้ นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำอธิบายในวงเล็บที่อธิบายการสำเร็จการศึกษาของตัวละครว่าควรที่จะเปลี่ยน ในขณะที่อธิบายว่าถ้วยฟู จบปริญญาตรี (ตั้งแต่มอสาม) ควรที่จะเปลี่ยนเป็น “จบปริญญาตรีตั้งแต่อายุ 15” หรือ “จบปริญญาตรีในขณะที่เด็กในวัยเดียวกันเรียนอยู่ชั้น ม. 3” และเจแปน “จบปริญญาตรี (ตั้งแต่ปอหก)” ก็เปลี่ยนเป็น “จบปริญญาตรีตั้งแต่อายุ 12 หรือ จบปริญญาตรีในขณะที่เด็กในวัยเดียวกันเรียนอยู่ชั้น ป.6” ----------------------- อ่านน้อยลง
bluewhale | 26 พ.ย. 55
7
1
"วิจารณ์ Puzzle หลีกทางหน่อย นักสืบที่คอยมาเเล้ว"
(แจ้งลบ)Puzzle หลีกทางหน่อย นักสืบที่คอยมาแล้ว นิยายรักหวานแหววผสานการสืบสวนสอบสวน ผลงานของ นัตโตะ ที่เพิ่งเริ่มต้น โพสต์ไว้แค่ 11 ตอนเท่านั้น แต่ก็นับว่าเริ่มต้นเรื่องไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยเปิดเรื่องให้ถ้วยฟูและเจแปนคู่หูคู่เก่งของสำนักงานนักสืบต้องปลอมตัวมาเป็นนักเรียนชั้น ม. 6 ในโรงเรียนประจำสุดหรู “ฟาเนดิน” เพื่อตามหาตัวคนร้ายท ... อ่านเพิ่มเติม
Puzzle หลีกทางหน่อย นักสืบที่คอยมาแล้ว นิยายรักหวานแหววผสานการสืบสวนสอบสวน ผลงานของ นัตโตะ ที่เพิ่งเริ่มต้น โพสต์ไว้แค่ 11 ตอนเท่านั้น แต่ก็นับว่าเริ่มต้นเรื่องไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยเปิดเรื่องให้ถ้วยฟูและเจแปนคู่หูคู่เก่งของสำนักงานนักสืบต้องปลอมตัวมาเป็นนักเรียนชั้น ม. 6 ในโรงเรียนประจำสุดหรู “ฟาเนดิน” เพื่อตามหาตัวคนร้ายที่อยู่ในโรงเรียน แต่การสืบคดีครั้งนี้นับเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะนอกจากที่ต้องหาตัวคนร้ายให้ได้แล้ว พวกเขายังต้องสืบหาตัวคนร้ายให้เร็วกว่าคู่แข่งกับสกายและเซนนักสืบคู่แข่งในสำนักงานเดียวกันด้วย เพราะการเดิมพันในการแข่งขันกันสืบคดีของนักสืบคนเก่งทั้งสี่ ทั้งมิได้เป็นเพียงการเดิมพันกันในเรื่องของศักดิ์ศรีเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของความก้าวหน้าในอาชีพนักสืบอีกด้วย เนื่องจากใครชนะจะได้เลื่อนขั้น ขณะที่ผู้แพ้ต้องลดระดับกลับไปเป็นนักสืบขั้นแรก ทว่าการสืบสวนครั้งนี้ก็ใช่ว่าจะคลี่คลายกันได้ง่ายๆ เพราะยิ่งสืบ ปมปริศนาก็ยิ่งมากและยิ่งยุ่งเหยิง ก็คงต้องตามดูว่านักสืบคนเก่งทั้งสองคู่จะมีวิธีการสืบหาความจริงอย่างไร และคู่ของใครจะเป็นฝ่ายชนะ เมื่ออ่านในช่วงต้นเรื่องพบว่า นัตโตะ ยังไม่ได้เน้นเรื่องไปที่ความรักมากเท่าใดนัก แต่ทำเพียงการปูพื้นฐานความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างถ้วยฟูกับเจแปน ที่แม้จะทำงานร่วมกันมา 3 ปี ก็ยังคบกันในฐานะเพื่อนสนิทที่เป็นเพื่อนร่วมงานด้วยเท่านั้น แต่เมื่อทั้งคู่ต้องมาอยู่ด้วยกันตลอดทั้งวันในฐานะนักเรียนประจำ เพื่อสืบหาตัวคนร้ายที่ฆ่านักเรียนชาย ม. ปลาย พัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งคู่จึงเริ่มต้นขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะแปรเปลี่ยนเป็นความรักในที่สุด ขณะเดียวกันเรื่องราวในช่วง 11 ตอนแรกนี้ดูเหมือนว่าจะเน้นไปที่เรื่องราวของการสืบสวนสอบสวนและการแข่งขันกันระหว่างคู่ของถ้วยฟูกับเจแปน กับคู่ของสกายกับเซนมากกว่าด้วย นิยายเรื่องนี้มีความโดดเด่นในการทิ้งท้ายเรื่องแต่ละบทได้อย่างน่าสนใจ ที่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นให้ผู้อ่านติดตามและรอคอยที่จะอ่านในตอนต่อไปอยู่เสมอ ซึ่งมีการทิ้งท้ายเรื่องในหลายลักษณะ ทั้งการให้ตัวละครพบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ อันจะเป็นเบาะแสที่ช่วยคลี่คลายคดีหรือเป็นแนวทางในการสืบสวนต่อไป เช่น การทิ้งท้ายว่าพบหนึ่งในผู้ต้องสงสัย ซึ่งผู้อ่านก็ต้องตามอ่านตอนต่อไปเพื่อที่จะทราบว่าผู้ต้องสงสัยคนนั้นเป็นใคร หรือการพบข้อความสำคัญในไดอารี่ของลมพัด ซึ่งผู้อ่านก็ต้องตามอ่านตอนต่อไปเพื่อที่จะทราบว่าข้อความที่ถ้วยฟูสะดุดใจคืออะไร และมีความสำคัญกับการสืบสวนอย่างไร หรือ การให้ตัวละครเผชิญเหตุการณ์ที่ยุ่งยาก และไม่รู้ว่าตัวละครจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้านี้ได้อย่างไร เช่น ผู้เขียนทิ้งท้ายให้ถ้วยฟูและเจแปนกำลังจะถูกเจ้าของห้องจับได้ว่าแอบเข้าไปค้นห้องเขา ซึ่งทำให้ผู้อ่านก็ต้องตามไปลุ้นในตอนต่อไปว่าทั้งคู่จะถูกจับได้หรือไม่ และจะรอดพ้นเหตุการณ์นี้ไปได้อย่างไร ความโดดเด่นประการต่อไปในเรื่องคือ การสร้างตัวละครได้อย่างมีชีวิตชีวา และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนสร้างให้เรื่องน่าสนใจและน่าติดตามได้ โดยเฉพาะตัวละครเอกทั้งสี่ตัว นั่นคือ ถ้วยฟู สาวน้อยร่าเริง ช่างพูด ช่างเจรจา เจแปน หนุ่มหล่อ มาดขรึม ช่างสังเกต แสนฉลาด ที่ซ่อนความกวนประสาทไว้อย่างแนบเนียน สกาย สาวไฮโซสุดหรู แต่งตัวเก่ง หยิ่งยะโส และปากจัด เซน ชายหนุ่มหน้าตาดี แต่ขี้หลีอย่างร้ายกาจ และยิ่งฉากใดที่ตัวละครทั้งสี่โคจรมาพบกัน ก็จะเต็มไปด้วยความปั่นป่วน การทะเลาะถกเถียง และแข่งขันในการเอาชนะคะคานของคู่อริระหว่างถ้วยฟูและสกาย และลีลาการจีบสาวซึ่งๆ หน้าของเซนที่จีบถ้วยฟูทุกครั้งที่มีโอกาส แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า นัตโตะ ละเลยการบรรยายรูปร่างหน้าตาของตัวละครไป จนผู้อ่านไม่อาจจะจินตนาการรูปร่างหน้าตาของตัวละครทั้งสี่ได้จากการอ่านเรื่องเพียงอย่างเดียว แม้ว่าผู้เขียนให้ภาพอิมเมจของตัวละครทั้งสี่ไว้แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่ายังมีตัวละครอื่นๆ เป็นจำนวนมากที่นอกเหนือจากตัวละครหลักทั้งสี่ที่อยู่ในเรื่อง ที่ไม่มีภาพอิมเมจไว้ให้ ซึ่งผู้เขียนยังละเลยที่จะบรรยายหรือถ้ามีการบรรยายก็บรรยายไว้อย่างคร่าวๆ จนผู้อ่านไม่อาจสร้างภาพของตัวละครเหล่านี้ได้อย่างเด่นชัดในจินตนาการได้ นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตประการหนึ่งที่สะดุดใจเมื่ออ่านนิยายเรื่องนี้ นั่นก็คือ นิยายเรื่องนี้แม้ผู้เขียนตั้งใจว่าจะเขียนงานแนวหวานแหวว ซึ่งลักษณะเด่นประการหนึ่งที่พบในงานประเภทนี้ก็คือ การมีอีโมติคอนปรากฏให้เห็นอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งในเรื่องนี้ก็มีปรากฏด้วยเช่นกัน แต่ต้องไม่ลืมว่านิยายเรื่องนี้มิได้เป็นงานแนวหวานแหววแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังผสานกับความเป็นนิยายสืบสวนสอบสวนไว้ด้วย งานสืบสอนสอบสวนมักให้ความรู้สึกเคร่งขรึมจริงจัง ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่มีอีโมติคอนปรากฏในฉากหรือเหตุการณ์ที่เป็นการสืบสอนสอบสวน ก็จะดูประหนึ่งว่าได้ลดทอนความเคร่งขรึมจริงจัง และความน่าเชื่อถือในการสืบสวนลงอย่างน่าเสียดาย เช่น ฉันเดินต๊อกแต๊กไปจนถึงโต๊ะทำงาน ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าตัวไหนของผู้ต้องสงสัย อืม ขอนึกชื่อก่อนนะ ... -_-? รู้สึกว่าจะชื่อ “นายธนาธิป ธัญฐะกิจติทรัพย์” ... เจอแล้ว 0.0! โต๊ะนี้นี่เอง ... แล้วนี่อะไรอีกเนี่ย ... สมุดบัญชี? ของสำคัญแบบนี้เก็บทิ้งๆ ขว้างๆ ได้อย่างไร -_-^ หึ ชอบทำตัวรกนักใช่มั้ย ลองให้ไอ้นี่หายไปสักครั้งคงดีเหมือนกัน ... ฉันไล่สายตาไปตามสมุดบัญชีและตัวเลขที่ขึ้นบนนั้นก็ทำเอาฉันแทบตาถลนออกมา 0.0 ในแง่นี้ ผู้วิจารณ์เห็นว่า ผู้เขียนสามารถใช้อีโมติคอนในนิยายเรื่องนี้ได้ แต่ควรจะเลือกใช่เฉพาะตอนที่เน้นในเรื่องราวความรักกุ๊กกิ๊ก หรือว่าตอนอื่นๆ ที่มิใช่ฉากหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนก็น่าจะเหมาะสมกว่า การเขียนนิยายแนวสืบสวนสอบสวนนับเป็นงานเขียนอีกแนวหนึ่งที่จะเขียนในลงตัวยาก เพราะนอกจากผู้เขียนจะต้องสร้างปมปัญหาไว้อย่างแยบยลแล้ว ยังต้องวางแนวทางคลี่คลายหรือสร้างเบาะแสที่สมเหตุสมผลควบคู่ไปด้วย ในเรื่องนี้ นัตโตะ สร้างนักสืบวัยรุ่นอัจฉริยะขึ้นมากลุ่มหนึ่ง คือ เจแปน ถ้วยฟู สกาย และเซน ซึ่งทั้งสี่คนนี้นอกจากจะเรียนจบปริญญาตรีขณะอายุยังน้อยคือไม่เกิน 15 ปีแล้ว แต่ก็มีความสามารถพิเศษทางการสืบสวนที่โดดเด่นแตกต่างกันไปด้วย การที่สร้างเรื่องให้นักสืบอัจฉริยะทั้งคนต้องมาแข่งขันกับในด้านการสืบสวน คดีที่เกิดขึ้นก็น่าจะเป็นคดีที่ท้าทาย ซับซ้อนและยุ่งยากมากพอสมควร แต่เมื่อลงมือสืบสวนจริงๆ ผู้วิจารณ์กลับรู้สึกว่าตัวละครแต่ละตัวค้นพบเบาะแสได้อย่างง่ายดายเกินไปหรือเปล่า คือ การที่สกายขโมยไดอารี่ของทาม หนึ่งในผู้ต้องสงสัยได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่พบกัน ถ้วยฟูเดินชนโต๊ะของลมพัดเพื่อนร่วมห้องที่หอพัก ทำให้พบไดอารี่ของเธอ ตั้งแต่ครั้งแรกที่พบกันเช่นกัน เมื่อเปิดอ่านก็พบข้อความสำคัญที่ทำให้เธอหันมาจับตามมองลมพัดในฐานะผู้ต้องสงสัย ทั้งๆ ที่เดิมไม่มีใครสงสัยลมพัดมาก่อนเลย หรือถ้วยฟูกับเจแปนก็ได้พบสมุดบัญชีของชิน ผู้ต้องสงสัยอีกคน และสมุดบัญชีที่พบโดยบังเอิญนี้กลับกลายเป็นเบาะแสสำคัญที่ทำให้ทั้งคู่สงสัยยอดเงินฝากและเงินถอนสูงผิดปกติของชิน เพราะในความเป็นจริง ผู้ร้ายที่ฆ่า ปาติณัช องค์ขนารักษ์สกุล หรือ พอตเตอร์ ซึ่งทำลายหลักฐานการฆ่าได้อย่างแนบเนียน ไม่น่าจะเลินเล่อมากพอที่จะเก็บอะไรก็ตามที่เป็นหลักฐานชี้ตัวหรือเอาผิดตนเองไว้ให้หาได้ง่ายๆ มากเพียงนี้ ขณะเดียวกัน การเข้ามาเรียนกลางเทอมของนักสืบทั้งสี่ก็ดูจะโดดเด่นจนเป็นที่น่าจับตามมองยู่แล้ว เพราะเข้ามาเรียนหลังจากที่เพิ่งเกิดเหตุฆาตกรรมไม่นาน และทั้งสี่ยังได้เรียนหนังสือห้องเดียวกับผู้ต้องสงสัยทั้งสามคนในคดีอีกด้วย หากคนร้ายเป็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัยทั้งสาม หรือเป็นคนอื่น ซึ่งก็คาดว่าคนร้ายน่าจะเป็นคนที่อยู่ในแวดวงใกล้ชิดกับผู้ตายด้วยเช่นกัน การเข้ามาอย่างผิดปกติของนักสืบทั้งสี่ก็น่าที่จะทำให้คนร้ายฉุกคิดและเริ่มระวังตัวกับความผิดปกติในครั้งนี้เป็นแน่ นอกจากนี้ คณะนักสืบ โดยเฉพาะถ้วยฟูกับเจแปนก็ขยันสร้างความโดดเด่นให้ตัวเองเหลือเกิน ทั้งการเข้าห้องเรียนสายในวันเปิดเทอมวันแรก และการโดดเรียนภาคเช้าในวันถัดมา ทั้งๆ ที่นักสืบส่วนใหญ่จะต้องแฝงตัวเข้ามาสืบสวนมักจะต้องทำตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมมากที่สุด เพื่อให้เป็นจุดสนใจน้อยที่สุด แต่ในเรื่องนี้ ดูเหมือนว่าความโดดเด่นของนักสืบกลุ่มนี้ อาจจะเป็นดาบสองคมที่น่าจะเป็นการแหวกหญ้าให้งูตื่น ก็จะยิ่งทำให้คนร้ายระวังตัวมากขึ้นกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นรอบตัวเขาเช่นนี้ สำหรับข้อบกพร่องที่พบในนิยายเรื่องนี้คือ แม้ว่าในนิยายเรื่องนี้จะมีบทบรรยายสลับกับบทสนทนา ทว่า บทบรรยายที่ปรากฏส่วนใหญ่เป็นบทบรรยายที่เขียนด้วยภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน เมื่ออ่านรวมไปกับบทสนทนาที่มีอยู่เป็นจำนวนมาแล้ว ก็ทำให้บทบรรยายและบทสนทนาดูจะกลืนเข้าหากัน จนรู้สึกว่านิยายเรื่องนี้ดำเนินเรื่องด้วยบทสนทนามากกว่าบทบรรยาย ด้วยเหตุนี้ จงอยากให้ผู้เขียนปรับบทบรรยายให้เป็นภาษาเขียนเพิ่มมากขึ้น ก็จะช่วยแก้ปัญหาในประเด็นนี้ได้ ในเรื่องของคำผิดนั้นมีไม่มากนัก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนเอาใจใส่และให้ความระมัดระวังในเรื่องนี้เป็นอย่างดี และเพื่อให้เรื่องนี้สมบูรณ์มากขึ้น จึงขอยกตัวอย่างคำผิดที่พบไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เขียนจะได้แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป เช่น โอ๊ย เขียนเป็น โอ้ย อุตส่าห์ เขียนเป็น อุส่าห์ กะพริบตา เขียนเป็น กระพริบตา คาดการณ์ เขียนเป็น คาดการ ดีเลิศ เขียนเป็น ดีเริศ ขมวดคิ้ว เขียนเป็น ขวดคิ้ว หยู้ด เขียนเป็น หยู๊ด เหลอหลา เขียนเป็น เหลอลา กิตติศัพท์ เขียนเป็น กิติศัพท์ เตร็ดเตร่ เขียนเป็น เตร่ดเตร่ นอกจากนี้ยังมีการใช้คำผิดความหมาย เช่น ถลนตามอง (ถลน หมายความว่า โปนออก ปลิ้นออก) ควรจะเขียนว่า ถลึงตามอง (ถลึงตา หมายความว่า เบิกเปลือกตาโพลง แสดงอาการดุหรือไม่พอใจ) หมุนหัวไป (ให้ความรู้สึกเหมือนว่าหัวหมุนได้ 360 องศา ซึ่งคำนี้มักใช้บรรยายถึงผีที่สามารถหันหัวได้รอบตัว) ควรจะเขียนว่า เบือนหน้าไป หรือ หันไปมอง แทน และ เม้าท์แตกสาแหรกขาด คำว่า แตกสาแหรกขาด มักจะเป็นสำนวนที่ขยายคำว่า “บ้าน” จะมีความหมายว่า “ครอบครัวที่กระจัดกระจายแยกย้ายกันไปคนละทิศคนละทาง” ดังนั้น คำว่า “เม้าท์” จึงไม่สามารถใช้คำว่า “แตกสาแหรกขาด” มาขยายได้ เพราะจะไม่ได้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการ เนื่องจากผู้เขียนต้องการใช้คำนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวละครตัวนี้พูดมาก แต่ว่าหากใช้คำว่า “เม้าท์แตกสาแหรกขาด” จะแปลว่า “พูดแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไปคนละทิศคนละทาง” ซึ่งไม่มีความ จึงควรใช้คำตรงๆ อย่าง พูดมาก หรือถ้าจะใช้สำนวน อาจใช้ว่า พูดเป็นต่อยหอย ปากเป็นชักยนต์ หรือ พูดจ้อไม่หยุด แทนได้ นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับคำอธิบายในวงเล็บที่อธิบายการสำเร็จการศึกษาของตัวละครว่าควรที่จะเปลี่ยน ในขณะที่อธิบายว่าถ้วยฟู จบปริญญาตรี (ตั้งแต่มอสาม) ควรที่จะเปลี่ยนเป็น “จบปริญญาตรีตั้งแต่อายุ 15” หรือ “จบปริญญาตรีในขณะที่เด็กในวัยเดียวกันเรียนอยู่ชั้น ม. 3” และเจแปน “จบปริญญาตรี (ตั้งแต่ปอหก)” ก็เปลี่ยนเป็น “จบปริญญาตรีตั้งแต่อายุ 12 หรือ จบปริญญาตรีในขณะที่เด็กในวัยเดียวกันเรียนอยู่ชั้น ป.6” ----------------------- อ่านน้อยลง
bluewhale | 26 พ.ย. 55
7
1
ความคิดเห็น