ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สาระ(แนว)การ์ตูน

    ลำดับตอนที่ #33 : แกะรอยค่าต้นฉบับนักเขียนในญี่ปุ่นรายได้และรายรับเป็นอย่างไร[เวอร์ชั่นละเอียด]

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 297
      0
      4 ธ.ค. 52

    แกะรอยค่าต้นฉบับนักเขียนในญี่ปุ่น รายได้และรายรับเป็นอย่างไร

    ต้องบอกว่า เป็นข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการนะครับ แต่ว่าเป็นข้อมูลมาจาก Blog ของอ.ชูโฮ ซาโตะ ผู้เขียนเรื่อง Say Hello to Black Jack ซึ่งอนุมานได้เหมือนกันว่าเป็นนักเขียนที่ขายดีอีกคนหนึ่ง เขาได้เปิดเผยเรื่องรายได้และรายจ่ายในอาชีพนักเขียนการ์ตูนออกมา ซึ่งก็ปรากฏว่าแม้ว่าจะรายได้เยอะแต่ว่ารายจ่ายกลับเยอะยิ่งกว่า ซึ่งรายละเอียดเป็นดังนี้ครับ
    อ.ชูโฮได้เผิดเผยออกมาว่าในแต่ละปีนั้นเขา จะเขียนการ์ตูนราวๆ 450 หน้า ซึ่งด้วยค่าต้นฉบับนี้ทำให้เขาจะได้รับเงินราวๆ 16 ล้าน เยนต่อปี จากการลงตีพิมพ์ในนิตยสาร แต่ว่าเขากลับต้องจ่ายเงินมากถึง 18 ล้านเยน เพื่อเป็นค่าทีมงานผู้ช่วยอีก 6 คน
    ถ้าดูจากจำนวนตัวเลขนี้แล้ว ต้องบอกว่าแบบนี้ก็แสดงว่าขาดทุน แต่ไม่ใช่ครับ อ.ชูโฮยังมีรายได้จากการได้ค่าลิขสิทธิ์จากการรวมเล่มอีก 10% จากราคาขายของหนังสือนั่นก็คือหนังสือรวมเล่มราคา 580 เยน เขาจะได้ 58 เยน ซึ่งผลงานเล่มล่าสุดของ Say Hello to Black Jack ที่เป็นเล่มที่ 5 นั้นขายได้ 98,579 เล่ม ก็จะทำให้เขาได้เงินอีกราวๆ 5.7 ล้านเยน นั่นเอง ถ้าปีหนึ่งสามารถออกรวมเล่มได้ซัก 4 เล่ม ก็จะทำให้เขามีรายได้รวมแล้วอีกราวๆ 22 ล้านเยน หักลบกลบหนี้แล้วก็เหลือเงินอีกราวๆ 20 ล้านเยนต่อปีนั่นเอง (อ.ชูโฮยังบอกด้วยว่าในกลุ่มนักเขียนการ์ตูนผู้หญิงจะได้ค่าลิขสิทธิ์ตรงนี้ น้อยกว่าอยู่ที่ราวๆ 8-9% เท่านั้น)

    อ.ชูโฮยังได้พูดถึงผลงานก่อน หน้านี่อย่าง Umizaru (ที่ได้ทำเป็นหนังและละคร) ว่าในการเขียนงานตอนนั้นเขาต้องขายทุนราวๆ เดือนละ 200,000 เยน ก่อนที่เขาจะได้รับค่าลิขสิทธิ์

    โดยแจกแจงเป็นรายได้รายจ่ายดังนี้
    - ค่าต้นฉบับ 1 หน้าอยู่ที่ 10,000 เยนต่อหน้า
    - เขียน 80 หน้าต่อเดือน (รายสัปดาห์ ครั้งละ 20 หน้า) ได้เงิน 800,000 เยน
    - เสียภาษีต่อเดือน 80,000 เยน (10%)
    - ค่าใช้จ่ายสำหรับทีมงาน 3 คน 470,000 เยน
    - ค่าใช้อาหารสำหรับทีมงาน 100,000 เยน
    - ค่าอุปกรณ์สำหรับงานเขียน 100,000 เยน
    - ค่าเช่าสตูดิโอ 70,000 เยน
    - ค่าน้ำมันและรายจ่ายอื่นๆ 50,000 เยน
    - ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอื่นๆ รวมแล้วติดลบต่อเดือน 200,000 เยน

    สำหรับ ปัจจุบันนั้นอ.ชูโฮได้รับค่าต้นฉบับจาก Say Hello to Black Jack ราวๆ หน้าละ 35,000 เยน (เป็นที่มาของรายได้ 16 ล้านเยน) และได้รับเงินล่วงหน้ามาก่อนราว 150,000 เยนต่อการเขียนงานต่อตอน และสำหรับผู้ช่วยของเขานั้นเมื่อรวมรายได้แล้วจะได้เงินแค่ราวๆ 3 ล้านเยนต่อไป ซึ่งต้องบอกว่าเป็นรายได้ที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับพนักงานกินเงินเดือนทั่วไปในช่วงอายุ 20 ต้นๆ เช่นนี้

    ที่มา Getnews.jp
    Anime News Network

    เสริม ข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ว่าในปี 2003 อ.ทาคาฮาชิ รูมิโกะ ถูกบันทึกว่าเป็นนักเขียนที่ต้องจ่ายเงินค่าภาษีสูงถึง 171 ล้านเยน ซึ่งทำให้มีการประมาณว่าเธอน่าจะมีรายได้ตลอดทั้งปีนั้นราวๆ 450 ล้านเยนต่อไป ลองคิดเอาละกันว่าอ.ทาคาฮาชิ จะมีรายได้จากการเขียนต้นฉบับต่อหน้าในการเขียนการ์ตูนรายสัปดาห์เท่าไหร่ เอ่ย??
    ที่มา : สำนักข่าวQuest News

    ที่ท่านจะได้อ่านดังต่อไปนี้คือการชี้แจงรายละเอียดในเรื่องค่าใช้จ่ายราย รับรายได้ทั้งหมดของอ.ซาโต้ ชูโฮ
    ผู้เขียนเรื่อง Blackjack ni Yoroshiku ซึ่งได้เคยออกมาเปิดเผยรายละเอียดคร่าวๆ ไปเมื่อก่อนหน้านี้
    แต่ว่านี่คือชุดเวอร์ชั่นสุดละเอียดที่คุณอ่านแล้วอาจจะรู้สึกได้ว่าไม่อยากเป็นนักเขียนการ์ตูนเลยก็เป็นได้

    มาเริ่มกันเถอะ

    "เริ่มลงตีพิมพ์รายสัปดาห์"
    ผลงานเรื่องแรกของอ.ชูโฮ ที่เริ่มลงตีพิมพ์รายสัปดาห์ก็คือ Umizaru ซึ่งตอนนั้น
    เขาได้รับค่าต้นฉบับจำนวน 10,000 เยนต่อหน้า โดยเขามีกำหนดการเขียนก็คือ 20 หน้าต่อสัปดาห์
    ทำให้เขาจะได้รับเงิน 800,000 เยนต่อเดือนหากเขียนตอนละสัปดาห์

    โดยแจกแจงเป็นรายได้รายจ่ายดังนี้
    - ค่าต้นฉบับ 1 หน้าอยู่ที่ 10,000 เยนต่อหน้า
    - เขียน 80 หน้าต่อเดือน (รายสัปดาห์ ครั้งละ 20 หน้า) ได้เงิน 800,000 เยน
    - เสียภาษีต่อเดือน 80,000 เยน (10%)
    - ค่าใช้จ่ายสำหรับทีมงาน 3 คน 470,000 เยน
    - ค่าใช้อาหารสำหรับทีมงาน 100,000 เยน
    - ค่าอุปกรณ์สำหรับงานเขียน 100,000 เยน
    - ค่าเช่าส...ิโอ 70,000 เยน
    - ค่าน้ำมันและรายจ่ายอื่นๆ 50,000 เยน
    - ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอื่นๆ รวมแล้วติดลบต่อเดือน 200,000 เยน

    ในสัปดาห์หนึ่งเขาจำเป็นต้องทำงานถึง 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะใช้ส...ิโอเป็นบ้านที่พักอาศัยด้วย
    โดยก่อนที่จะเริ่มเขียนการ์ตูนลงตีพิมพ์นั้นเขามีเงินเก็บอยู่ราวๆ 2,000,000 เยน
    แต่ว่ากว่าฉบับรวมเล่ม เล่มแรกออกวางจำหน่ายเงินเก็บของเขาก็เหลือเพียงแค่ 70,000 เยนเท่านั้น
    แน่นอนว่ามันเป็นไปได้เหมือนกันที่เขาจะขอยืมเงินจากฝ่ายกองบรรณาธิการ
    แต่ว่าเขาไม่อยากจะทำอย่างนั้น เพราะไม่งั้นมันจะกลายเป็นว่าเขาต้องเขียนการ์ตูนเพื่อใช้หนี้กองบรรณาธิการ ไปซะอย่างงั้น
    ซึ่งทางกองบรรณาธิการมักจะบอกกับเขาหลายครั้งว่า ตอนที่ฉบับรวมเล่มออกวางขาย
    ปัญหาเรื่องเงินของเขาจะหมดไป และเขาจะได้เงินคืน แต่ว่ามันก็ไม่ได้มีการทำเป็นสัญญาอะไรออกมาว่าทางสนพ.จะรวมเล่มการ์ตูนออกมา

    มีในหลายๆ ครั้งที่การ์ตูนฮิตหลายๆ เรื่องถูกสั่งให้ตัดจบหลังจากมีการเปลี่ยนหัวหน้าบก.
    ที่ต้องการเปลี่ยนทิศทางของนิตยสาร และก็มีหลายๆ เคสที่การ์ตูนที่นักเขียนเขียนแล้วได้รับปฎิเสธ
    ให้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารทั้งที่เขียนเสร็จแล้ว ซึ่งในกรณีนี้ทางสนพ.ก็จะจ่ายให้กับเฉพาะหน้าที่เขียนเสร็จแล้วเท่านั้น

    ซึ่งในกรณีนี้ อ.ซาโต้ ชูโฮ เป็นคนเดียวเท่านั้นที่ทำสัญญากับทางสนพ.โชกาคุคัง ซึ่งเป็นการระบุเลยว่า
    เขาจะได้รับค่าต้นฉบับเท่าไหร่ และการ์ตูนของเขานั้นจะตีพิมพ์ยาวเท่าไหร่ ซึ่งอ.ซาโต้ยังบอกด้วยว่า
    เขาอาจจะเป็นนักเขียนการ์ตูนคนแรกเลยก็ได้ที่ได้ทำ สัญญา และแจกแจงทุกอย่างอย่างชัดเจนขนาดนี้

    ย้อนกลับมาพูดถึงการ์ตูนอย่าง Umizaru หลังจากลงตีพิมพ์มาได้ 6 เดือนและพบปัญหาเรื่องการเงิน
    อ.ซาโต้ได้รวบรวมความกล้าทั้งหมดเพื่อที่จะเจรจาขอขึ้นค่าต้นฉบับ ที่ต้องบอกว่าต้องใช้ความกล้าอย่างมาก
    ที่จะขอขึ้นค่าต้นฉบับก็เพราะว่า ทุกอย่างจะจบลงอย่างแน่นอนถ้ากองบก.ตอบกลับมาว่า
    "เราไม่ต้องการงานของ อ.อีกแล้ว" (หมายถึงตัดจบ) ซึ่งสุดท้ายแล้วคำร้องขอขึ้นค่าต้นฉบับนี้ก็เป็นหมัน
    และกองบก.ก็ไม่ได้สั่งให้ตัดจบหรือว่าทำอะไรทั้งสิ้น

    แต่ว่าด้วยสถานการณ์อันแสนดุเดือดในปัจจุบันนั้นแตกต่างกับ 10 ปีที่แล้วอย่างสิ้นเชิง
    สภาพตลาดไม่ได้ดีเหมือนสมัยก่อน หลายๆ สำนักพิมพ์กดค่าต้นฉบับ
    สำหรับนักเขียนการ์ตูนหน้าใหม่ลงเหลือเพียง 1,000 เยนต่อหน้าก็ยังมี

    ใน ขณะที่ยอดขายแมกกาซีนก็เข้าขั้นสุดวิกฤต เพราะว่าหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์นั้นจะขาดทุนถึง 20 ล้านเยนต่อฉบับที่ออกจำหน่ายในแต่ละสัปดาห์
    และการที่นิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์นั้นต้องวางจำหน่ายประมาณ 50 ฉบับต่อปี ทำให้ในแต่ละปีทางสนพ.
    ต้องขาดทุนถึง 1 พันล้านเยนต่อไป ซึ่งรายได้ที่จะได้คืนมาก็มีแต่การขายฉบับรวมเล่มเท่านั้น
    แน่นอนว่าในนิตยสารบางเล่มสามารถเอาตัวรอดอยู่ได้ด้วยกำไรจากการขายแมกกาซีน
    แต่ว่ามากกว่าร้อยละ 90% ของนิตยสารการ์ตูนที่ออกวางจำหน่ายนั้นล้วนแล้วแต่ขาดทุนทั้งนั้น
    ด้วยเหตุผลเช่นนี้ อ.ซาโต้ จึงมองว่ารูปแบบธุรกิจแบบนี้นั้นใช้ไม่ได้เสียแล้ว
    และเขาก็เตรียมพร้อมเอาไว้แล้วยามที่รูปแบบของนิตยสารที่ต้องตีพิมพ์นี้หมดลง

    "ยามเมื่อหลายปีที่ผ่านมา"

    ค่าต้นฉบับของ Shin Blackjack ni Yoroshiku อยู่ที่หน้าละ 35,000 เยน
    ค่าต้นฉบับของ Tokkou no shima อยู่ที่หน้าละ 25,000 เยน

    สำหรับการ์ตูน 4 ช่องจบนั้น จะได้รับเงิน 10,000 - 20,000 เยน ต่อชุด (บางคนก็จะได้เงินน้อยกว่านั้น)
    จำนวนหน้าที่จะได้ลงในแมกกาซีนก็น้อย และต้องใส่ไอเดียลงให้จบใน 4 ช่อง ซึ่งเมื่อเทียบกับการ์ตูนเป็นเรื่องๆ
    ที่ใช้ไอเดียเดียวแต่สามารถเขียนลากได้ยาวถึง 3-4 ตอนก็ค่อนข้างจะเสียเปรียบ แต่ว่ากลับไปได้เปรียบตรงที่
    การ์ตูน 4 ช่องจบนั้นสามารถเขียนด้วยตัวคนเดียวได้ ในขณะที่การ์ตูนแบบยาวนั้นต้องใช้ผู้ช่วยในการเขียน
    ซึ่งแน่นอนว่าจะต้อง เสี่ยงกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

    ยังมีในกรณีที่มีคนแต่งเรื่องทำงานคู่กับนักเขียนการ์ตูน คนแต่งเรื่องก็จะได้รับเงินค่าแต่งเรื่องเท่ากับที่จ่ายให้กับ
    นักเขียน แต่ว่าถ้านักเขียนที่ทั้งแต่งเรื่องและเขียนรูปเอง กลับไม่ได้รับค่าเรื่องเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด อ.ชูโฮ เคยถาม
    ว่าเป็นไปได้ไหมว่าเขาจะแบ่งตัวออก 2 คน โดยให้ "ซาโต้" เป็นคนแต่งเรื่อง และคนเขียนรูปเป็น "ชูโฮ" จะทำ
    ให้ได้รับค่าต้นฉบับเป็นสองเท่า ซึ่งแน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้ กลับกันถ้ามองในมุมของกองบก.แล้ว ก็จะบอกว่าเงิน
    ที่จ่ายให้กับคนแต่งเรื่องนั้นถือเป็นโบนัสจากทางสนพ. จริงๆ แล้วพวกเขาไม่ได้อยากจะจ่ายเงินนั้นเลยด้วยซ้ำ

    ในเรื่องของค่าลิขสิทธิ์ของผู้แต่ง 10% จากการ์ตูนรวมเล่มที่ออกวางจำหน่าย ตัวเลขนี้จะไม่เปลี่ยนเมื่อเทียบกับ
    จำนวนยอดขาย ดังนั้นถ้ามองในมุมนี้แล้วสนพ.ก็จะได้รับเงินมากขึ้นต่อเล่มถ้าหนังสือเล่ม นั้นๆ ขายดี
    ซึ่ง อ.ซาโต้ พยายามที่จะขอค่าลิขสิทธิ์มากขึ้นเมื่อหนังสือของเขาขายดี แต่ว่ากลับถูกปฏิเสธ (ก็แหงซิ)
    โดยทาง สนพ.ให้เหตุผลว่าตัวนักเขียนคนจะพอใจกับอัตราค่าลิขสิทธิ์ 10% เพราะว่าตัวนักเขียนไม่ต้องมากังวลกับสต๊อกหนังสือที่เหลืออยู่

    การคิดคำนวนค่าลิขสิทธิ์ 10% จากจำนวนที่หนังสือขายเป็นเรื่องการคิดง่ายๆ เช่นหนังสือ 500 เยน
    ผู้แต่งจะได้รับ 50 เยนต่อเล่ม และค่าลิขสิทธิ์ที่ได้ไม่ได้มาจากการนับตรงที่หนังสือจำหน่ายไปได้เท่าไหร่
    แต่ว่านับจากหนังสือที่พิมพ์ขึ้นมาจริงๆ ในกรณีของการพิมพ์ซ้ำนั้นจะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นอีก
    แต่ว่าค่อนข้างจะซับซ้อนเหมือนกัน

    แต่ว่าไม่ว่าหนังสือจะขายไปได้เท่าไหร่ ผู้แต่งก็จะได้รับเงินเพียงแค่ 50 เยนต่อเล่ม
    ในทางกลับกันสนพ.ก็จะได้กำไรมากขึ้นหากขายหนังสือได้มาก
    เพราะว่าค่าการผลิตต่อเล่มหรือว่าค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะลดลง เมื่อพวกเขาผลิตในจำนวนมากขึ้น

    ปัจจุบันอ.ชูโฮเขียนการ์ตูนราวๆ 450 หน้าต่อไป สามารถทำเงินได้ราวๆ 16 ล้านเยนต่อปี
    ซึ่งในการเขียน Shin Blackjack ni Yoroshiku นั้นเขาต้องใช้เงินประมาณ 150,000 เยนต่อตอน
    ทำให้เขามีค่าใช้จ่าย 18 ล้านเยนต่อปีจากการจ้างผู้ช่วยทั้งหมด 6 คน เมื่อหักลบกลบหนี้แล้วปรากฏว่า
    แทบ จะไม่เหลืออะไร และยิ่งเมื่อรวมกับค่าวัตถุดิบในการวาดรูป,การหาข้อมูล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ แล้วก็เรียกได้ว่าเงินไม่พอใช้เลยทีเดียว

    อ.ชูโฮ ตั้งคำถามกับตัวเองว่าทุกอย่างมันเป็นเพราะว่าเขาวาดช้าเกินไป หรือว่าใช้ผู้ช่วยมากเกินไปหรือเปล่า
    แต่ก็รู้สึกด้วยตัวเองว่าจำนวนเงิน 18 ล้านเยนนี้คือค่าใช้จ่ายต่ำสุดเท่าที่เขาจะจ่ายผู้ช่วยและจะทำให้เขาสามารถ
    ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติได้ สำหรับผู้ช่วยของเขาทีมีรายได้แค่ 3 ล้านเยนต่อปีนั้น
    ต้องบอกว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับคนในวัยเดียวกันที่ทำงานเป็นพนักงานบริษัท
    ในกรณีของผู้ช่วยนี้อ.ซาโต้บอกว่ามีหลายครั้งที่นักเขียนจ่ายเงินผู้ช่วยต่ำ กว่าความเป็นจริง
    และยังบังคับให้ผู้ช่วยทำงานเกินเวลา ตัวเขาเองก็เคยมีประสบการณ์ในการเป็นผู้ช่วยนักเขียนการ์ตูนมาก่อน
    โดยค่าจ้างที่ถูกที่สุดเท่าที่เขาเคยได้รับมาก็คือประมาณ 120 เยนต่อชั่วโมง

    สำหรับในการเขียนการ์ตูนอย่าง Umizaru นั้นเขามีผู้ช่วยเพียงแค่ 3 คน และก็ไม่สามาถจ่ายโบนัสได้
    และสิ่งที่ทำให้เขาสามารถเขียนการ์ตูนลงรายสัปดาห์ได้อย่างต่อเนื่องมีเพียง แค่วิธีการแลกเลือด
    ทิ้งชีวิตส่วนตัวของตัวเองทิ้งไป ซึ่งเป็นเวลากว่า 2 ปีครึ่งที่เขาไม่ได้พัก
    และใช้ชีวิตอยู่กับการเขียนการ์ตูนอย่างเดียว เพราะว่าฉากหลังกว่าครึ่งในการ์ตูนนั้นเขาต้องเป็นคนเขียนเองทั้งหมด

    สำหรับการ์ตูนเรื่อง Blackjack ni yoroshiku และ Shin Blackjack ni yoroshiku นั้นสามารถขายรวมกันได้
    มากกว่า 10 ล้านเล่ม แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังได้ 50 เยนต่อเล่ม แม้ว่าผลรวมจะดูเป็นจำนวนมหาศาล
    แต่ว่ากว่าครึ่งก็ต้องเสียไปกับภาษี และก็ต้องใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในส...ิโอซึ่งมีรูปแบบการทำงานไม่ต่างกับบริษัท

    สำหรับสตูดิโอของ อ.ชูโฮะ นั้น ทีมงาน (ที่ไม่ใช่ผู้ช่วย) นั้นจะได้รับการจ่ายเงิน 100%
    แม้ว่าการ์ตูนจะหยุดเขียนทั้งปี และการหยุดเขียนนี้ก็เป็นความรับผิดชอบของตัว อ.ชูโฮ เองไม่ใช่ความผิดของตัว ผู้ช่วย

    ในฐานะเจ้าของสตูดิโอ เขาจ่ายเงินตัวเขาเองอยู่ที่ "700,000 เยน" ต่อเดือน
    ซึ่ง อ.ชูโฮ บอกว่าคิดเป็นเงินเดือนประมาณ 2 ใน 3 ของบก.จากสนพใหญ่ๆ

    สำหรับค่าการพิมพ์หนังสือ 1 เล่ม
    อ.ซาโต้แกะรอยจนได้ราคาว่าอยู่ที่ประมาณเล่มละ 150 เยนหลังจากรวมค่าลิขสิทธิ์ที่จ่ายให้กับนักเขียนแล้ว

    โดยหนังสือหนึ่งเล่มขายอยู่ที่ 515 เยน
    มีจำนวนพิมพ์อยู่ที่ 50,291 เล่ม
    รายได้จากการขายอยู่ที่ 17,352,910 เยน

    ค่ากระดาษ 1,725,210 เยน
    ค่าเพลท 12,800 เยน
    ค่าตัวเรียงพิมพ์ 1,100 เยน
    ค่าจัดรูป 28,700 เยน
    ค่าพิมพ์ 853,705 เยน
    ค่าเข้าเล่ม 1,081,256 เยน
    ค่าดำเนินการและวัตถุดิบอื่นๆ 201,629 เยน
    ค่าธรรมเนียม 8,000 เยน
    ค่าลิขสิทธิ์ 2,584,837 เยน
    ค่าแรงงาน 989,682
    รวมทั้งสิ้น 7,486,919 เยน

    เฉลี่ยแล้ว 150.30 เยนต่อเล่ม

    ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้จะเปลี่ยนไปตามจำนวนการพิมพ์ อย่างที่คำนวนนี้เป็น 50,000 เยน
    แต่ว่าถ้าหากพิมพ์เป็น 100,000 เล่มแล้ว ทั้งค่าเพลท,ค่าตัวเรียงพิมพ์,ค่าจัดรูป และค่าธรรมเนียมนั้น
    จะยังคงเท่าเดิม ส่วนค่าแรงงานนั้นก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก
    ดังนั้นหากคำนวนค่าการพิมพ์จำนวน 100,000 เล่ม
    ตามปัจจัยดังกล่าวแล้วค่าการผลิตก็จะเหลือ 12,490,016 เยน หรือว่า 125 เยนต่อเล่มเท่านั้น

    สรุปก็คือพิมพ์ 50,000 เล่ม ค่าใช้จ่ายต่อเล่มอยู่ที่ 150 เยน
    ถ้าพิมพ์ 100,000 เล่ม ค่าใช้จ่ายต่อเล่มอยู่ที่ 125 เยน

    กำไรที่สนพ.จะได้จากหนังสือแต่ละเล่มนั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนการพิมพ์ในรอบแรก
    แต่ว่ากำไรพิเศษนอกเหลือจากนั้นจะตรงเข้าหาสนพ.ทั้งหมด แต่นักเขียนก็จะยังคงได้ตามมาตรฐานเดิมแต่ละเล่ม

    แน่นอนว่าการที่ Blackjack ni yoroshiku ขายได้ 1 ล้านเล่มต่อเล่ม
    ทางสนพ.จะได้กำไรมากกว่าปกติถึง 50 ล้านเยนจากความแตกต่างในค่าการผลิต
    เมื่อเทียบกับการพิมพ์จำนวน 50,000 เล่ม ซึ่งจากการออกวางจำหน่ายมาแล้ว 13 เล่ม
    ทางสนพ.จะได้กำไรไปแล้ว 600 ล้านเยน แต่ อ.ชูโฮก็ไม่ได้รับเงินอะไรจากตรงนั้นเลยแม้แต่น้อย
    (ซึ่งผมก็ว่าเป็นเรื่องปกติของสนพ.นะ ถ้ามองในมุมมองของสนพ.)
    แม้ว่าอ.ซาโต้จะขอขึ้นค่าลิขสิทธิ์แต่ค่าลิขสิทธิ์ก็ยังคงเป็น 10% จนถึงทุกวันนี้ไม่มีทางเปลี่ยนได้

    อ.ซาโต้เคยลองพยายามหาทางที่จะพิมพ์หนังสือด้วยตัวเอง แต่ว่าเขาพบว่าถ้าเขาพิมพ์หนังสือแค่ 1000 เล่ม
    ต้องใช้เงินมากถึง 1200 เยนต่อเล่ม ถ้าเขาพิมพ์ 100,000 เล่ม ก็เป็นไปไม่ได้ที่เขาจะสามารถขายหนังสือได้ถึง
    100,000 เล่ม เพราะว่าร้านหนังสือคงไม่ยอมวางหนังสือของเขาทั้งหมดแน่ๆ นอกจากนี้เขาก็ไม่มีความสามารถ
    ทางด้านการทำธุรกิจ รวมถึงไม่มีเงินจ้างคนมาทำให้แทนด้วย และแน่นอนว่าเขาไม่มีเงินที่จะไปลงโฆษณาที่ไหนด้วย

    และต่อให้มีร้านหนังสือที่อยากจะขายหนังสือของเขา เขาก็มีปัญหาเรื่องการจัดจำหน่าย
    เพราะว่าเขาคงไม่สามารถขับรถบรรทุกออกไปทั่วญี่ปุ่นเพื่อวางหนังสือให้ทั่วได้

    เมื่อคิดว่าไม่สามารถทำได้อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้ว
    มันก็หมายความว่าเขาจำเป็นจะต้องฟังทุกอย่างที่สนพ.บอกมาอย่างนั้นหรือ
    จะดีกว่าไหมว่าถ้าจะเลิกเขียนการ์ตูนมันไปซะเลย?

    ความสัมพันธ์ระหว่างนักเขียนและสนพ.นั้น
    นักเขียนก็เหมือนกับผู้รับเหมา ไม่มีทางที่จะเท่าเทียมกันเด็ดขาด

    Arden Endrain + "สำนักข่าว Questnews"
    ที่มา สำนักข่าว Questnews

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง

    ผู้เขียน Say Hello to Blackjack ตั้งเป้าเขียนการ์ตูนออนไลน์ต่อ

    หลัง จากเป็นผู้ออกมาเปิดเผยถึงเรื่องค่าต้นฉบับของตัวเองและเรื่องค่าลิขสิทธิ์ ล่าสุดอ.ซาโต้ ชูโฮ ผู้เขียนเรื่อง Say Hello to Blackjack นั้นก็ออกมาประกาศว่าเขาจะเปิดให้อ่านการ์ตูนเรื่อง Say Hello to Blackjack ที่เขียนลงประจำอยู่ในหนังสือ Big Comic Spirits ผ่านทางเวปไซต์ของเขาเอง โดยจะมีการเก็บเงินเล็กน้อยเพื่อจะได้เข้ามาอ่านได้

    สำหรับที่มาของ ความคิดนี้นั้นมาจากการที่ทางอาจารย์ชูโฮรู้ว่าทางสนพ.นั้นมีสิทธิ์เพียงแค่ การนำการ์ตูนที่เขาเขียนขึ้นไปลงตีพิมพ์ในนิตยสารเท่านั้น แต่ว่าสิทธิ์ในส่วนของต้นฉบับการ์ตูนนั้นยังคงอยู่กับผู้เขียน ดังนั้นเขาจึงมีสิทธิทำอะไรก็ได้ รวมถึงในทางเทคนิคแล้ว ผู้เขียนนั้นมีสิทธิที่จะทำอะไรกับต้นฉบับของตัวเองก็ได้ หลังจากต้นฉบับนั้นได้ตีพิมพ์ไปแล้ว
    การเปิดให้อ่านแบบออนไลน์นี้เป็นการ ทดลองการทำธุรกิจแบบใหม่ๆ ที่ผู้เขียนไม่จำเป็นจะต้องพึ่งสนพ.อีกต่อไป และอ.ชูโฮเองก็อยากรู้ด้วยว่าจะเป็นไปได้ไหมที่นักเขียนนั้นจะเขียนการ์ตูน โดยที่สามารถคงคุณภาพและความเร็วเอาไว้ได้หากไม่มีสนพ.คอยช่วยหนุนหลังแล้ว
    ซึ่ง การที่เขาเริ่มทำธุรกิจแนวนี้ก็เพราะเขาเชื่อว่าผลงานเรื่อง Say Hello to Blackjack นี้คงจะเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของเขาแล้วที่จะเขียนให้กับนิตยสาร และส่วนหนึ่งก็คือว่าทางนิตยสารคงไม่เรียกร้องให้อ.ชูโฮเขียนผลงานชิ้นใหม่ อีกต่อไปแล้ว

    หากแนวคิดและหลักการของอ.ชูโฮเป็นจริง และสามารถทำธุรกิจนี้ได้ งานนี้ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าอาจจะมีนักเขียนยึดหลักการอย่างนี้และทำเองเพิ่ม มากขึ้นก็ได้นะ

    ที่มา : Yahoo Japan

    นักเขียนอื่นโต้ อ.ซาโต้ ใช้ผู้ช่วยเปลือง แถมไม่รู้ระบบจริง (ยาวมากๆ)

    ที่ ท่านจะได้อ่านกันต่อไปนี้ยาวมากครับ ยาวจนขี้เกียจจะพิมพ์แต่ก็อยากจะให้คนที่เป็นทั้งนักเขียนและนักอ่านการ์ตูน ได้อ่านกันถึงของระบบนักเขียนการ์ตูนในญี่ปุ่นกันว่า เบื้องหน้าและเบื้องหลังมันก็ไม่ได้สวยหรูอย่างที่ท่านได้อ่านสินค้าที่ สำเร็จเป็นเล่มๆ แล้ว และนี่ก็คือข้อความจากนักเขียนคนหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Masuda ซึ่ง เขียนตอบโต้ที่อ.ซาโต้ ชูโฮ ผู้เขียน Say Hello to Blackjack ถึงเรื่องค่าลิขสิทธิ์และค่าใช้จ่ายในการเป็นนักเขียนการ์ตูน

    "ต่อ ให้อ.ซาโต้ใช้เงินเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 700,000 เยนต่อเดือนก็ไม่เกี่ยวอะไรกับการที่สตูดิโอของเขาดำเนินงานในรูปแบบบริษัท"

    ค่า ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือว่ารายจ่ายอื่นๆ โดยพื้นฐานแล้วก็ย่อมต้องแตกต่างกันไปตามผู้เขียนแต่ละคน ของใหญ่ๆ อย่างทีวีจอยักษ์,เครื่อง PC,แอร์,เกม,ค่าเช่า สามารถใช้ในการลดภาษีได้ รวมถึงการไปเที่ยว,ค่าอาหาร หรือว่าแม้กระทั่งการไปคาบาเร่ต์ ก็สามารถใช้เป็นส่วนลดในการหักภาษีได้

    และก็เงินจำนวน 700,000 เยนนั้นก็ไม่ได้มากเกินไปเลยสำหรับการที่เขาจะจ่ายให้กับตัวเองเพื่อใช้ใน ชีวิตประจำวัน สำหรับการซื้อของใช้ส่วนตัวอย่างเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย หรือว่าเอาไปเล่นปาจิงโกะ

    แน่นอนว่าการเป็นนักเขียนการ์ตูนนั้นเป็น การเสี่ยงครั้งใหญ่ในชีวิต ในขณะที่เป็นบรรณาธิการซึ่งปกติแล้วจะเป็นคนวัยกลางคนก็แค่ถูกลดอำนาจใน บริษัท และมีความเสี่ยงน้อยกว่าถ้าหากว่าการ์ตูนที่ดูแลอยู่เกิดทำท่าไปได้ไม่ดีซัก เรื่อง 2 เรื่อง แม้แต่คนที่ไม่เคยมีผลงานอะไรในมือก็ยังมีเงินเดือนรวม 8,000,000 เยนต่อปี ในขณะที่คนมีอายุหน่อยมีเงินเดือนรวม 10,000,000 - 20,000,000 เยนต่อปี คิดดูแล้วเมื่อเทียบกับนักเขียนยังไงก็ไม่แฟร์

    แต่ ว่าบรรณาธิการก็ยังเป็นบรรณาธิการอยู่วันยังค่ำ ในท้ายที่สุดแล้วนักเขียนคือคนที่ได้นำเสนอผลงานสู่สายตาโลกภายนอก มีแต่นักเขียนเท่านั้นที่จะมีแฟนๆ คอยติดตามผลงาน ไม่ใช่กองบรรณาธิการ นั่นทำให้กองบรรณาธิการต่างพากันอิจฉานักเขียนตรงนี้ การเป็นนักเขียนเป็นความเสี่ยงสูง แต่ถ้าได้กลับมาก็ได้กลับมาสูงเช่นกัน ถ้าเกิดอยากได้เงินเดือนประจำก็ไปเป็นพนักงานกินเงินเดือนเถอะ

    การที่ อ.ซาโต้บอกว่าทำรายได้เพียงแค่ 16,000,000 เยนต่อปีโดยการได้รับค่าใช้จ่ายต่อหน้าตามมาตรฐาน แต่ว่ากลับมีรายจ่ายมากถึง 18,000,000 เยนต่อปี ก็เป็นแค่ข้ออ้างสำหรับสำนักงานตรวจภาษีเท่านั้น

    ฟังดูเหมือนแล้วจะ เป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับเขากับการจ่าย 3,000,000 เยนต่อปีสำหรับผู้ช่วย 6 คน แต่ว่าจำนวนหน้าการ์ตูนที่เขาเขียนต่อปีนั้นมีเพียงแค่ 450 หน้า หากนับว่าเขาเขียนแต่การ์ตูนรายสัปดาห์แล้ว ในหนึ่งปีการ์ตูนรายสัปดาห์จะมีเพียงแค่ประมาณ 50 ฉบับ และการ์ตูนรายสัปดาห์จะเขียนกันยาวประมาณตอนละ 20 หน้า นั่นหมายความว่าจริงๆ แล้วหากลงตีพิมพ์ประจำเขาจะต้องเขียนการ์ตูนประมาณ 800-1000 หน้าต่อปี แต่อ.ซาโต้กลับเขียนน้อยกว่า เพราะว่าเขียนแค่ 450 หน้าเท่านั้น

    ดังนั้นการที่เขาเขียนการ์ตูนได้ไม่ถึงครึ่งของที่ควร จะเขียน ก็หมายความว่าเขาไม่ควรจะใช้ผู้ช่วยถึง 6 คนสำหรับการเขียนการ์ตูน 450 หน้าต่อปี อุตสาหกรรมในการผลิตการ์ตูนนั้นมักจะขาดแรงงานเสมอ เหล่าผู้ช่วยทั้งหลายสามารถหางานใหม่ได้ง่ายๆ แม้ว่าจะโดนไล่ออก และยิ่งถ้าเป็นผู้ช่วยของอ.ซาโต้ แล้วแสดงว่าก็ต้องมีฝืมือดีมาก ไปสมัครงานที่ไหนต่อก็ได้ และถ้าคำนวนไปให้ลึกกว่านั้นในจำนวนการ์ตูน 450 หน้า ถ้าหารด้วย 6 คนก็หมายความว่าคนหนึ่งต้องเขียน 75 หน้าต่อไป ถ้าหารด้วย 12 เดือนก็จะเหลือแค่ 6 หน้าต่อเดือน

    ถ้าถามว่าการที่ผู้ ช่วยคนหนึ่งจะใช้เวลาในการเขียนการ์ตูนหน้าหนึ่งจะต้อง ใช้เวลาเท่าไหร่ แน่นอนว่าคงจะแตกต่างกันไป แต่มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้สำหรับการ์ตูนหนึ่งหน้าก็คือไม่เกิน 24 ชั่วโมง และสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ก็จะใช้เวลา 3 วันต่อหน้า ถ้าใช้เวลา 9 วันในการทำ 3 หน้า ก็จะหลุดจากตารางการทำงานของการเขียนการ์ตูนรายสัปดาห์ โอเค เราจะพักเรื่องนี้เอาไว้ก่อน แม้ว่าเราจะรู้ว่าผู้ช่วยของอ.ซาโต้ทำงานน้อยกว่า 10 วันต่อเดือนก็ตาม

    การที่ อ.ซาโต้บอกว่าต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้กับผู้ช่วยก็จริง แต่ค่าใช้จ่ายนั้นก็เอาไว้ใช้ในการหักลดภาษี ซึ่งเป็นการขาดดุลที่เขาทำขึ้นมาเอง

    ในเรื่องของค่าลิขสิทธิ์ อ.ซาโต้บ่นเรื่องที่ค่าลิขสิทธิ์นั้นต่ำเกินไป ทีนี้เรามาดูสัดส่วนเปอร์เซนต์ที่ได้จากการขายการ์ตูน 1 เล่มกัน

    ผู้แต่ง 10%
    สำนักพิมพ์ 60%
    สายส่ง 10%
    ร้านค้า 20%

    โดย พื้นฐานแล้วแม้ว่าสำนักพิมพ์จะได้ผลตอบแทนถึง 60% แต่ถ้าคิดแล้วสายส่งไม่ยิ่งหนักกว่าหรือเพราะว่าได้เพียงแค่ 10% จากการไปส่งหนังสือทั้งๆ ที่อาจจะไม่ได้เป็นงานที่น่าพอใจเลยก็ได้
    นอก จากนี้ในจำนวน 60% ที่สนพ.ได้ พวกเขาก็ต้องทนแบกรับค่าใช้จ่ายในการผลิต และก็ต้องพบกับความเสี่ยงในกรณีที่เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดถ้าเกิด หนังสือขายไม่ได้ และต้องเก็บสต็อกเอาไว้ แน่นอนว่าการพิมพ์หนังสือรวมเล่มของนักเขียนที่ขายดีก็เหมือนกับการพิมพ์ แบงก์ขึ้นมา แต่เงินที่ได้มาจากส่วนนี้ก็ต้องเอามาใช้ในการดำเนินงานในการทำนิตยสาร คนทั่วไปส่วนใหญ่จะรู้ดีกว่าพวกนิตยสารนี้ขายยังไงก็ขาดทุน และเหตุผลที่ว่าทำไมนักเขียนชื่อดังถึงสามารถทำให้การดำเนินงานของนิตยสาร ถึงกับกระเทือนได้นั่นก็เพราะว่าการที่มีนักเขียนชื่อดังอยู่คือเหตุผลที่ทำ ให้นิตยสารยังคงพิมพ์ต่อไปได้ (ก็ลองคิดดูว่านิตยสารมีแต่คนที่ไม่รู้จักจะมีคนซื้อไหมละ)

    การที่ บรรณาธิการจะได้รับค่าตอบแทนสูงส่วนใหญ่ก็ต้องขอบคุณนักเขียน ฟังดูแล้วก็เหมือนกองบรรณาธิการนั้นเป็นปลิงคอยดูดเงินนักเขียนดังๆ แต่ว่านักเขียนดังๆ เหล่านั้นก็ใช่ว่าจะได้รับความนิยมมาตั้งแต่ต้นซักหน่อย ทุกๆ คนก็ล้วนแล้วไต่ขึ้นมาจากศูนย์ทั้งนั้น และเมื่อเขาเริ่มจากศูนย์ ก็เป็นไปได้ทั้งการที่เรื่องที่ลงตีพิมพ์อยู่จะโดนตัดจบ,หรือว่าได้เขียนแค่ เรื่องสั้น หรือได้เงินมาจากรางวัลนักเขียนหน้าใหม่จากการประกวดนักเขียนในนิตยสาร ซึ่งเงินทั้งหมดที่ว่ามาก็เป็นเงินที่สนพ.ต้องหามาจ่ายและแบกรับค่าใช้จ่าย เอาไว้ทั้งหมด

    ส่วนเงินที่เอามาใช้ในการดำเนินการทั้งหมดนี้ก็มาจาก ที่ได้มาจากนักเขียนที่ เคยได้รับความนิยมในนิตยสาร เหล่าคนที่ทำงานในนิตยสารก็ต้องได้แต่ทำนิตยสาร ,ขาย,และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนิตยสาร และใช้ความแข็งแกร่งของหัวหนังสือนั้นในการสร้างนักเขียนหน้าใหม่ๆ ขึ้นมา เป็นวัฎจักรที่ไม่รู้จักจบสิ้น

    ซึ่งถ้าพูดกันแบบตรงๆ แล้วถ้าการ์ตูนเรื่อง Say Hello to Blackjack นั้นไม่ได้ลงตีพิมพ์ลงในหนังสือ Morning มันก็คงไม่ได้รับความนิยมมากถึงขนาดนี้ เหมือนอย่างการ์ตูนเรื่อง Tokkou no Shima ซึ่งเขียนโดยอ.คนเดียวกัน ซึ่งเขียนลงในหนังสือหัวที่เล็กกว่านี้ ก็ไม่ได้ขายรวมเล่มได้มากเท่านี้
    ถ้ามีการเพิ่มค่าลิขสิทธิ์จริงๆ จะต้องมีผลกระทบกับใครซักคนอย่างแน่นอน เช่นอาจจะดีก็ได้ถ้าไล่บรรณาธิการที่ใช้ไม่ได้เรื่องออก หรืองบประมาณในการที่เฟ้นหานักเขียนหน้าใหม่ก็อาจจะลดลงก็ได้ พวกนิตยสารหัวเล็กๆ นั้นมีเงินหมุนเวียนไม่มาก ถ้าอยากจะถูกยกให้เป็นนักเขียนชั้นแนวหน้าคุณต้องไปลงตีพิมพ์กับพวกหนังสือ หัวใหญ่ๆ

    นักเขียนที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นมาได้จากความพยายามของ หลายคนที่ช่วยกัน จะไม่มีอะไรดีเลยถ้าเอาแต่หยิ่งและวางอำนาจหลังจากประสบความสำเร็จแล้ว คนที่เคยได้รับไม้มาก็เหมือนมีหน้าที่ๆ จะต้องส่งไม้ต่อไปยังคนรุ่นหลัง ซาโต้ควรจะหยุดเห็นแก่ตัวได้แล้ว

    ถ้าอยากจะได้เงินมากกว่านี้ ก็ต้องทำงานให้มากกว่านี้ ถ้าอยากจะได้เงินมาง่ายๆ แบบตอนที่ยังนอนอยู่ก็ควรจะไปเล่นหุ้นซะเลย แต่นั่นยิ่งเสี่ยงเข้าไปใหญ่ และทางทีดีถ้าบอกว่าเรื่อง Say Hello to Blackjack นี้จะเป็นเรื่องสุดท้ายที่เขียนลงนิตยสารแล้วละก็ยิ่งเป็นเรื่องดี ทางทีดีอย่ากลับมาเขียนการ์ตูนเลยดีกว่า

    ได้โปรดอย่าเชื่อทุกอย่าง ที่ซาโต้ ชูโฮบอก แม้ว่าจริงๆ แล้วจะมีคนที่จนมากๆ แม้ว่าจะมีการ์ตูนลงตีพิมพ์ต่อเนื่อง แต่ว่าโดยส่วนมากพวกนั้นจะเป็นคนที่ไม่สามารถบริหารการเงินของตัวเองได้ และทำงานช้ามาก การเขียนการ์ตูนสามารถทำรายได้ได้จริงๆ อย่ามองว่านักเขียนการ์ตูนเหมือนพวกคนที่ทำงานแล้วได้ค่าตอบแทนไม่คุ้มกับ ที่ทำงาน

    ทีนี้มาพูดถึงเรื่องของผู้ช่วยบ้าง แม้จะบอกว่ารายได้ของผู้ช่วย 3,000,000 เยนนั้นจะน้อยเมื่อเทียบกับงานทั่วๆ ไป แต่ว่าถ้าคิดว่าคนที่ทำงานเป็นผู้ช่วยนั้นก็เหมือนการได้ฝึกฝนตัวเองและได้ ประสบการณ์ในการเขียนงานซึ่งอาจจะมีสิทธิได้กลายเป็นนักเขียนการ์ตูนจริงๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เขาจะได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าปกติ
    นอกจากนี้แล้วก็ ยังมีบางคนที่ยึดอาชีพเป็นผู้ช่วยมืออาชีพเลยก็มีเช่นกัน แต่ก็น่าแปลกใจเหมือนกันที่บางคนเลือกที่จะเป็นผู้ช่วยมืออาชีพตั้งแต่แรก เลยก็มีด้วย ซึ่งกลุ่มผู้ช่วยเหล่านี้จะทำงานกับนักเขียนหลายคนในเวลาเดียวกัน แทนที่จะทำงานกับอ.คนเดียว มันไม่จำเป็นเลยที่จะต้องยึดติดกับนักเขียนคนเดียวเพื่อรับรายได้ทางเดียว ผู้ช่วยส่วนมากจะได้รับค่าจ้างประมาณ 1,000,000 เยนจากนักเขียน A 2,000,000 เยนจากนักเขียน B และ 1,000,000 เยนจากนักเขียน C แม้ว่าการ์ตูนของนักเขียนบางคนจะจบลงไป เขาก็ยังมีสิทธิ์ได้รับรายได้จากนักเขียนคนอื่น พวกนี้ต้องหางานทำในช่วงที่ยังมีช่วงเวลาว่า และก็มักจะมีงานด่วนๆ ให้ทำเป็นประจำอยู่แล้วด้วย
    นั่นก็คือจริงๆ แล้วถ้านักเขียนอยากจะประหยัดด้วยการไม่จ้างผู้ช่วยก็ทำได้ และผู้ช่วยก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรด้วย ในทางกลับกัน อ.ซาโต้ใช้ผู้ช่วยมากเกินไปในการทำงาน ถ้าในกรณีอย่างนี้แสดงว่าตัวซาโต้นั่นแหละมีปัญหาในการบริหารงานทางธุรกิจ เหมือนกับคนอื่นๆ ที่มีปัญหาเรื่องการเงิน
    ถ้าซาโต้ยังคงจะพูดถึงแต่ เรื่องเงินต่อไป เขาควรจะระแวดระวังและทำตัวเหมือนคนที่กำลังทำธุรกิจเล็กๆ อยู่จริงๆ มากกว่านี้ ไอ้การทำตัวเป็นคนดีแต่ว่าอยากได้เงินทั้งหมดดูยังไงก็แค่คนอวดดี สำหรับคนที่มองว่าเขาออกมาแฉเรื่องอย่างโน้นอย่างนี้ และทำตัวเป็นคนที่จะปฏิวัติระบบในวงการการ์ตูนยังไงก็คงไม่เข้าใจหรอก
    ถาม ว่าคนที่สนับสนุนความคิดเขา จะยอมซื้อผลงานเขาแบบออนไลน์จริงๆ อย่างงั้นหรือ ไม่ว่าจะ 10 เยน หรือว่า 30 เยนมันไม่สำคัญ ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ชอบยุ่งยากกับการซื้อขายของออนไลน์เมื่อเทียบกับกร ไปซื้อการ์ตูนที่ร้านที่สะดวกสบายกว่าอยู่แล้ว ซาโต้ เอ้ย อย่าได้ดูถูกพฤติกรรมของมนุษย์เราผิดไป
    มันเป็นเรื่องที่ชัดเจนอยู่แล้ว ว่าไม่นานในอนาคต นิตยสารทั้งหลายคงย้ายกันไปอยู่บนอินเตอร์เน็ตแน่ๆ แต่ว่ามันเป็นคำถามที่แตกต่างกันไม่ว่าความพยายามของซาโต้ออกมาดีหรือไม่ก็ ตาม เพราะว่าถ้าเกิดเมื่อไหร่ที่เขาเงินทุนหมด เขาก็แค่ขอโทษใครบางคนแล้วก็กลับมาเขียนใหม่ หรือว่าเขาจะไปเขียนการ์ตูนลงมือถือต่อเพราะว่าเขาไม่มีเซนส์ทางด้านธุรกิจ และทำได้แค่เพียงทำงานเป็นอิสระโดยที่พึ่งแต่ตัวเองเท่านั้น

    ที่มา
    Canned Dog1 (ภาษาอังกฤษ)
    Canned Dog2 (ภาษาอังกฤษ)
    สำนักข่าวQuest News (ภาษาไทย)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×