ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สาระ(แนว)การ์ตูน

    ลำดับตอนที่ #31 : ย้อนรอย Comiket งานคนการ์ตูนที่ใหญ่ที่สุด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 366
      0
      4 ธ.ค. 52

    เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ก็เลยแปลมาให้อ่านกันครับสำหรับ ประวัติความเป็นมาของงานรวมพลคนการ์ตูนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Comic Market หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ Comiket ซึ่งปัจจุบันจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง โดยช่วงแรกที่เรียกว่า Summer นั้นจะจัดขึ้นช่วงกลางเดือนส.ค. และที่เรียกว่า Winter นั้นจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนธ.ค. (ซึ่งหลังๆ ก็จะชนกับช่วงปีใหม่ทุกที) แน่นอนว่าสถานที่จัดนั้นก็คือ Tokyo Big Sight ที่โอไดบะนั่นเอง สำหรับงาน Comiket ครั้งที่ 72 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17-19 ส.ค.ที่ผ่านมา มีรายงานว่ามีแฟนๆ ไปเข้าร่วมงานมากกว่า 170,000 คนในวันแรก ซึ่งมากกว่าที่จัดเมื่อปลายเดือนธ.ค.ปีที่แล้วถึง 40,000 คนเลยทีเดียว

    พูดถึงคอมมิคเก็ตแล้ว ถ้าจะอธิบายง่ายๆ ก็คือสถานที่ๆ นักวาดโดจินที่ทั้งเป็นศิลปินเดี่ยวหรือว่ากลุ่มจะได้มารวมตัวกันเพื่อขาย งานของตัวเอง แน่นอนว่าก็มีหลายกลุ่มที่ทำผลงานออกมาแล้วเข้าเนื้อ แต่คอมมิคเก็ตยังคงเป็นสถานที่พวกเขาจะได้ทดลองทำ และสร้างชื่อให้กับตัวเองอยู่ดีนั่นเอง ในปัจจุบันมีนักเขียนชื่อดังหลายคนรวมถึงกลายกลุ่มที่สร้างชื่อมาจากงานคอม มิคเก็ตจนได้มาอยู่แนวหน้า ไม่ว่าจะเป็นอ.รูมิโกะ ทาคาฮาชิ หรือแม้แต่ 4 จตุinw CLAMP และแน่นอนว่าอย่าง Type-Moon และ 07th Expansion ก็ได้ก้าวขึ้นมาอยู่แนวหน้าและได้รับความนิยมจนสามารถกลายเป็นมืออาชีพที่ทำ รายได้เป็นกอบเป็นกำ

    ประวัติศาสตร์ของคอมมิคเก็ตเริ่มต้นขึ้นในปี 1975 และก็กลายเป็นงานการ์ตูนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนผู้เข้าชมในแต่ละวันที่มากกว่า 100,000 คน และรวมทุกวันแล้วไม่ต่ำกว่า 510,000 คน อะไรทำให้งานนี้ได้รับความนิยมมากขนาดนี้กันนะ

    ยุคเริ่มต้นแห่ง Comiket

    ใน ช่วงราวๆ ยุคปี 1970 แฟนๆ ของภาพยนตร์และนิยายวิทยาศาสตร์ได้เริ่มเขียนโดจินชิขึ้น แน่นอนว่าพวกเขาย่อมต้องการสถานที่สำหรับการขายและซื้อผลงานของพวกเขากันเอง งาน Comic Market หรือ Comiket เลยเกิดขึ้นตามความต้องการตรงนั้น อันที่จริงแล้วคอมมิคก็ไม่ได้เริ่มต้นด้วยความสวยหรูอะไรมากนัก งานถูกจัดขึ้นเพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่าง Meiku กลุ่มเซอร์เคิลโดจินที่เป็นผู้ริเริ่มจัดงานนี้ และ Japan Manga Convention (JMC) ซึ่งได้ปฎิเสธที่จะรับพวกเขาเข้าร่วมงาน และคนอื่นๆ ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ JMC ดังนั้นคอมมิคเก็ตจึงถูกจัดขึ้นโดยโดยมีนโยบายอย่างกว้างๆ ว่า "จะไม่ปฏิเสธใคร" พวกเขาตั้งมั่นที่จะเป็นงานของแฟน โดยแฟน เพื่อแฟน

    ครั้งแรก

    งาน คอมมิคเก็ตครั้งแรก หรือว่า C1 นั้นจัดขึ้นที่ห้องประชุมของตึกหน่วยป้องกันอัคคีภัยแห่งญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ปี 1975 โดยทางเซอร์เคิล Meiku มีกลุ่มเซอร์เคิลเข้าร่วม 32 กลุ่ม และมีผู้เข้าเยี่ยมชมถึง 700 คน แถมยังมีข่าวลือด้วยว่าในคืนก่อนวันจัดงาน มีกลุ่มแฟนๆ นั้นได้ออกมาค้างคืนรอเข้างาน และจับกลุ่มกันร้องเพลงอนิเม (ซึ่งในยุคนั้นมันมีอนิเมอะไรเยอะซะที่ไหนกันละ) สำหรับเซอร์เคิลที่เข้าร่วมงานนั้นกว่าครึ่งก็เป็นสมาชิกของชมรมการ์ตูนจากม .ปลายและม.ต้น และบางส่วนนั้นก็เป็นแฟนคลับของอ.โมโตะ ฮางิโอะ (ซึ่งถือได้ว่าเป็นมารดาแห่งการ์ตูนผู้หญิงยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง YAOI) ซึ่งกว่า 90% ของกลุ่มแฟนคลับนี้ก็เป็นนักเรียนหญิงที่ชื่นชอบในการ์ตูนผู้หญิงเหล่านั้น
    หลัง จากงาน C1 คอมมิคเก็ตก็จัดขึ้นอีก 3 ครั้งในอีกปีนั้น ในช่วงระหว่างปิดภาคเรียน Meiku ที่เป็นผู้เริ่มต้นในการจัดงานก็เลิกจากการเป็นผู้จัด แต่พวกเขาก็ยังคงได้เกียรติและสิทธิชั่วนิรันดร์ในการได้พื้นที่ในงานจนถึง ในปัจจุบัน

    ในปี 1976 C2-C4 งานถูกจัดขึ้นที่ตึกของสมาพันธ์อุตสาหกรรมอิตาบาชิ จำนวนของเซอร์เคิลที่เข้าร่วมยังคงมีไม่เกิน 100 กลุ่มในช่วงนั้น และงาน C5 สถานที่จัดก็ถูกเปลี่ยนไปที่ตึกอุตสาหกรรมโอตะ และงานก็ยังคงจัดที่นั่นเรื่อยมาจนกระทั่งถึงงาน C13 ในปี 1979 จำนวนเซอร์เคิลก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้เข้าร่วมงานนั้นต้องต่อคิวเป็นแถวยาวหน้าประตูทางเข้า ซึ่งเมื่อนับจำนวนแล้วก็พวกว่ามีเซอร์เคิลมากถึงเกือบ 300 และจำนวนผู้เข้าชมกว่า 4,000 คน ซึ่งแม้ว่าจำนวนเซอร์เคิลจากสมาชิกชมรมนั้นจะลดลง แต่ว่าเซอร์เคิลจากกลุ่มอนิเมนั้นมีมากขึ้น แน่นอนว่าคงต้องยกความดีความชอบให้กับอนิเมอย่างเรือรบอวกาศยามาโต้ และกันดั้มที่ฉายในยุคนั้น ซึ่งกลุ่มแฟนเหล่านี้เนี่ยแหละที่เป็นบรรพบุรุษที่ทำให้เกิดโอตาคุใน ปัจจุบัน และความมุ่งมั่นของพวกเขาที่ทำให้งานคอมมิคเก็ตยังคงพัฒนาต่อไป ในช่วงเวลานี้ที่ Meiku ไม่ได้เป็นผู้จัดงานแล้ว คอมมิคเก็ตก็กลายเป็นองค์กรอิสระไป

    ตั้งแต่ปี 1980-1981 คอมมิคเก็ตย้ายไปจัดกันที่คาวาซากิชิมินพลาซ่า ยอดคนเข้างานเพิ่มเป็น 7000 คนและมีเซอร์เคิลถึง 350-400 กลุ่ม แน่นอนว่าคนแน่นเอี้ยด จนใน C18 งานก็ย้ายไปจัดที่โยโกฮาม่าซันโบะโฮล คนเข้าชมงานพุ่งทะลุ 10,000 คน ซึ่งในงานนี้กลุ่มเซอร์เคิลที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับ "Urusei Yatsura" หรือลามูทรามวัยต่างดาวนั้นได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้เซอร์เคิลที่เข้าร่วมงานมักจะเป็นผู้หญิง แต่ว่าด้วยความนิยมของเรื่องนี้ก็ทำให้มีผู้ชายเพิ่มมากขึ้น

    ในงาน C19 เกิดความขัดแย้งในกลุ่มผู้จัดงาน โดยกลุ่มที่ต่อต้านสมาชิกกลุ่มหลักซึ่งเรียกตัวเองว่า Revolutionaries นั้นได้เข้าจองคาวาซากิชิมินพลาซ่าตัดหน้า บางคนบอกว่าต้นเหตุของความขัดแย้งมาจากการที่พวกต่อต้านนี้ได้ยืนกรานที่จะ ให้มีการจำกัดผู้เข้างาน บางกระแสก็บอกว่าพวกนี้พยายามที่จะฮุบงานคอมมิคเก็ตเป็นของตัวเองเพื่อหา ประโยชน์เข้าตัว หรือบางพวกก็บอกว่าพวกต่อต้านนี้ต้องการจะเชิญนักพากย์มาเป็นเกสท์ แต่ทว่าความพยายามของพวกเขาก็ถูกกลุ่มผู้จัดหลักปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากมีการย้ายงานไปที่ World International Trade Show Hall ที่ฮารุมิแทน ทำให้กลุ่มต่อต้านนี้ต้องเปลี่ยนชื่องานเป็น "New Comiket" และภายหลังก็เปลี่ยนชื่อเป็น "Comic Squire" แทน

    เวลาผ่านไปอีก 6 ปีคอมมิคเก็ตก็ยังคงยืนหยัดจัดที่ฮารุมิมาตลอด จำนวนผู้เข้าร่วมงานก็เพิ่มมากขึ้น โดยในงาน C30 มีคนเข้างานมากถึง 35,000 คน กับ 3,900 เซอร์เคิล และในช่วงปี 1985 นี่เองที่กัปตันสึบาสะนั้นดังเป็นพลุแตกในหมู่พวกผู้หญิง การ์ตูนหมวดพวก yaoi จึงได้ถึอกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้ และ Yaoi นี่เองที่กลายเป็นแรงขับดันให้กลุ่มผู้ร่วมงานผู้หญิงนั้นมามากขึ้นแบบไม่ น่าเชื่อ โดยมีการบันทึกเอาไว้ว่าหัวหน้ากลุ่มของเซอร์เคิลที่ชื่นชอบกัปตันสึบาสะ นั้นมีเพียงแค่ 6 คน ส่วนอีก 1,083 คนนั้นเป็นผู้หญิง
    และสิ่งที่น่าจดจำ อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่คุณซึกุโอะ อิวาตะ ที่เข้ามาเป็นกลุ่มผู้จัดงานคอมมิคเก็ตในปี 1983 นั้นเริ่มมีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้การจัดการข้อมูลเพื่อรองรับกับงาน ที่ขยายตัวมากขึ้น และเขาก็ยังมีส่วนร่วมในการงานแผนจัดงานอีกหลายครั้งจนกระทั่งเขาลาออก และเสียชีวิตเมื่อปี 2004 ที่ผ่านมา

    ในปี 1988 งาน C33 จำเป็นต้องย้ายไปจัดที่ Tokyo Logistic Center (TLC) เพราะว่าฮารุมินั้นมีการจัดงานอื่นอยู่ การจัดงานเลยต้องมีเพิ่มขึ้นเป็น 2 วันเนื่องจากว่าพื้นที่จัดงานนั้นแคบและเล็กกว่าที่เดิม ซึ่งในงานนี้มีเข้าร่วมถึง 40,000-60,000 คน และมีเซอร์เคิลเข้าร่วมมากว่า 4,400 กลุ่ม งานนี้ยังเป็นงานแรกที่เริ่มมีใช้ระบบจัดหมวดหมู่ของเซอร์เคิลต่างๆ เข้ามาใช้แล้วด้วย แต่แน่นอนว่าแม้งานจะมี 2 วันแต่ว่าสถานที่จัดงานก็ยังไม่สามารถรองรับจำนวนคนมหาศาลนี้ได้ จนในงาน C34 ปี 1988 จึงต้องย้ายกลับไปจัดกันที่ฮารุมิอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการจัดการนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทำให้มีเซอร์เคิลกว่า 9,200 กลุ่มซึ่งมากกว่างานที่แล้วถึงกว่า 2 เท่าเข้าร่วมงานนี้ ส่วนงาน C35 นั้นหลังจากที่กลุ่มผู้จัดพยายามหาสถานที่ใหม่แต่ก็ไม่สามารถทำได้ ทำงานงานต้องเลื่อนมาจัดในเดือนมี.ค.ปี 1989 และในงาน C36 ช่วงฤดูร้อนปี 1989 ยอดคนเข้างานก็ทะลุล้านคน พร้อมกับเซอร์เคิลที่มีมากถึง 10,000 กลุ่ม

    แต่ ทว่าในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนงานคอมมิคเก็ต ก็เกิดคดีฆาตกรรมเด็กสาวถึง 4 คนโดยนายมิยาซากิ ที่เป็นโอตาคุ และยังเป็นสมาชิกในกลุ่มเซอร์เคิลที่เข้าร่วมงานคอมมิคเก็ตในครั้งนั้น ทำให้สื่อมวลชนทั้งทีวีและหนังสือพิมพ์พากันประโคมข่าวประณามงานคอมมิคเก็ต ที่ส่วนทำให้เกิดคนอย่างมิยาซากิขึ้น ถึงขนาดนี้รายการทอลค์โชว์เข้าไปทำรายการและตะโกนใส่ผู้ที่เข้าร่วมงานว่า เขาเห็นคนอย่างมิยาซากินับล้านคนอยู่ที่นี่ เลยทีเดียว

    ด้วยจำนวนคน เข้างานที่มหาศาลมากมายเกินรับได้ของฮารุมิ ทำให้งาน C37 ต้องย้ายกันไปจัดกันที่มาคุฮาริ เมซเซ่ในจิบะ ซึ่งเป็นหนึ่งในฮอลจัดงานที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น และก็มีบันทึกด้วยว่าในงาน C39 ช่วงฤดูหนาวปีถัดมานั้นมีผู้เข้าร่วมชมงานมากถึง 2.5 ล้านคน ด้วยความสำเร็จนี้งานคอมมิคเก็ตก็ควรที่จะอยู่ที่มาคุฮาริเมซเซ่ต่อไปหากไม่ เกิดเหตุการณ์ว่าทางมาคุฮาริเมซเซ่นั้นเกิดปฏิเสธไมให้มีการจัดงานที่นี่ ขึ้นมา เนื่องจากพบว่าในงานนั้นมีโดจินชิที่เป็นการ์ตูนโป๊มากมาย เหตุการณ์ในครั้งนี้ถูกจัดว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของการจัด งานคอมมิคเก็ต และเชื่อว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานครั้งนั้นก็ยังคงเกลียดมาคุฮาริเมซเซ่จน ถึงทุกวันนี้ ซึ่งการปฏิเสธการจัดงานครั้งนี้ส่งผลกระทบมากมายตั้งแต่โรงแรมบริเวณรอบๆ มาคุฮาริและจิบะนั้นถูกยกเลิกการจองเพียบ ทำให้สูญเสียรายได้มากกว่าร้อยล้านเยน ไฟจากโรงแรมและร้านค้าที่เคยส่องแสงระยิบระยับในช่วงกลางคืนเหมือนปีที่แล้ว ต้องมืดลงอย่างช่วยไม่ได้ ร้านอาหารและร้านสะดวกซื้อที่ตุนอาหารและเครื่องดื่มเอาไว้รองรับเหล่าคน การ์ตูนโดยอาศัยข้อมูลจากงานที่จัดครั้งที่แล้วก็ต้องพบกับปัญหาสต็อกบวมแบบ เจ็บปวด ยอดขายของร้านอาหารรอบๆ มาคุฮารินั้นตกลงมาต่ำกว่า 10% เมื่อเทียบกับที่ทำได้ในงานครั้งที่แล้ว

    แต่ถึงกระนั้นคอมมิคเก็ตก็ ยังคงดำเนินต่อไป โดยงาน C40 นั้นก็ย้ายกลับไปจัดกันที่ฮารุมิจนกระทั่งถึงงาน C49 ใน C40 นี้เองระบบที่ใช้ในการตรวจสอบภาพโดจินชิที่โป๊เปลือยอย่างเข้มงวดก็เริ่ม ขึ้นในงานนี้ โดจินชิทุกเรื่องที่ขายในงานนั้นต้องได้รับการตรวจสอบก่อนที่จะออกวางขาย และในงาน C42 ช่วงฤดูร้อนปี 1995 มีแฟนๆ กว่าร้อยคนที่เป็นลมแดดระหว่างที่รอต่อแถวเข้างานจนต้องหามส่งเต้นท์พยาบาล จนใครก็ขนาดนามคอมมิคเก็ตครั้งนั้นว่า Genocide Comiket และในงาน C48 ซึ่งเป็นการฉลองครบรอบ 2 ทศวรรษของการจัดงานคอมมิคเก็ต งานก็ถูกขยายขึ้นเป็น 3 วันเต็ม ในช่วงเวลานี้นี่เองที่การ์ตูนอย่างกลุ่มอัศวินสาวแห่งดารา "เซเลอร์มูน" ได้รับความนิยมอย่างสูง พร้อมกับการ์ตูนในตำนานอย่างอีวานเกเลี่ยน และเซนต์เซย์ย่ารวมถึงซามูไรทรูปเปอร์ มีโดจินชิมากมายถูกสร้างมาจากเรื่องเหล่านี้และแน่นอนว่าส่วนมากก็เป็น Yaoi ทั้งนั้น แม้ว่าบริษัทอนิเมชั่นทั้งหลายนั้นไม่ยอมรับว่าเทรนด์เรื่องแนวนี้นั้นมาแรง แต่ก็มีหลายๆ บริษัทที่เปลี่ยนแนวความคิดดังกล่าวและออกผลงานที่ออกมาเจาะกลุ่มแนวนี้โดย เฉพาะก็มีเหมือนกัน สำหรับ C49 ที่จัดในปี 1995 นั้นถือได้ว่าเป็นงานครั้งสุดท้ายที่จัดขึ้นที่ฮารุมิเพราะว่า World Trade Fair Hall นั้นปิดตัวลง ซึ่งทำให้ช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 1996 มีการจัดงานทิ้งท้าย "Sayonara Harumi Comiket Special" ขึ้นมาเพื่ออำลาที่แห่งนี้ด้วย

    นับตั้งแต่งาน C50 ในปี 1996 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันคอมมิคเก็ตก็ย้ายมาจัดกันที่โตเกียวบิ๊กไซท์ที่อาริ อาเกะ บนเกาะโอไดบะที่ถูกถมทะเลสร้างขึ้นมา รูปแบบงานก็ยังคงมี 3 วันเช่นเดิม ในงาน C52 ในปี 1997 จำนวนเซอร์เคิลก็พุ่งทะลุ 30,000 กลุ่ม งาน C71 และ C73 ถือได้ว่าเป็นงานที่แปลกงานหนึ่งเพราะว่าจัดกันช่วงปลายปีแบบว่าจบงานก็ขึ้น ปีใหม่เลยทีเดียว
    พูดถึงแนวงานในช่วงนี้แล้วด้วยกระแสความแรงของอีวาน เกเลี่ยนรวมถึงเซเลอร์มูน และเกมแนวไฟท์ติ้งทำให้โดจินชิเปลี่ยนจากแนววิทยาศาสตร์ไปเป็นแนวโมเอะเต็ม ตัว และก็ทำให้คนภายนอกมองภาพตลาดโดจินชิส่วนใหญ่นั้นเป็นแนว Hentai ไปเสียหมด

    ในช่วงปี 2000 กลุ่มโดจินเกมอย่าง Tsukihime,Higurashi no Naku Koroni และ Toho Project ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก จนถึงขึ้นเกิดโดจินชิล้อโดจินชิอีกที เมื่อโดจินชิกลายเป็นงานออริจินั่ลขึ้นมาก็เลยทำให้ TYPE-MOON ที่เป็นผู้สร้าง Tsukihime นั้นผันตัวเองกลายเป็นคนสร้างเกมอย่างจริงจังแทนที่จะเป็นแค่เซอร์เคิล ธรรมดา กลุ่มเซอร์เคิลที่เกี่ยวกับเพลงอย่าง Sound Horizon และ Rakka Katagiri นั้นก็กลายเป็นมืออาชีพ

    ปัจจุบันคอมมิคเก็ตกลายเป็นประตู สู่หนทางแห่งมืออาชีพสำหรับหลายๆ เซอร์เคิล ในช่วงตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมามีผู้เข้าร่วมงานมากว่า 5 ล้านคน และจำนวนของรูปแบบหมวดหมู่สินค้าก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันเรียกได้ว่าถ้าเรื่องไหนฮิตๆ จะต้องมีอยู่ที่งานนี้แน่นอน

    จุด น่าสนใจอย่างหนึ่งที่น่าจับตาก็คือในงาน C51 มีบางส่วนของพื้นที่จัดงานนั้นถูกจัดเป็นพื้นที่ให้กับบริษัทเจ้าของ ลิขสิทธิ์ทั้งหลาย ทำให้มีแฟนๆ บางส่วนวิจารณ์ตรงนี้ว่าเป็นการทำลายชื่อเสียงของคอมมิคเก็ตที่เปิดโอกาสให้ กลุ่มมือสมัครเล่น แต่ว่าส่วนนี้กลับเป็นการช่วยให้กลุ่มบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ทั้งหลายยอมรับ ในงานที่แฟนๆ สร้างสรรค์ขึ้นในงานคอมมิคเก็ต จนทำให้มีแฟนๆ บางส่วนมาที่งานคอมมิคเก็ตเพื่อที่จะมายังบูธของบริษัทต่างๆ นี้ แถมบริษัทต่างๆ นี้ก็ยังใช้งานคอมมิคเก็ตเพื่อเป็นที่โปรโมทด้วย แต่ว่าก็ยังมีบางบริษัทที่ได้รับการปฏิเสธไม่ให้มาเข้าร่วมงานนี้ก็มีเช่น กัน

    ด้วยความนิยมของคอมมิคเก็ตที่สูงมากขึ้นทุกๆ ปี กลุ่มนักวาดมืออาชีพ และบริษัทเกมมากมายซึ่งส่วนมากเป็นพวกเกมโป๊ทั้งหลายก็เริ่มเข้ามามีส่วน ร่วมในงานนี้มากขึ้น จนทำให้เกิดเป็นพื้นที่พิเศษซึ่งจะกันเอาไว้ให้พวกมืออาชีพทั้งหลาย และแม้ว่างานคอมมิคเก็ตนี้จะเป็นงานของโดจินจากทั้งการ์ตูน,อนิเมและเกม แต่ว่ากลุ่มคนที่ออกแบบแฟชั่นสไตล์ก็อธธิคโลลิต้าและวงดนตรีต่างๆ ก็พากันมางานนี้เพื่อขายงานของตัวเองเช่นกัน

    จบแล้วคร้าบ

    ที่มา http://www.comipress.com/article/2008/08/03/3636
    Arden Endrain "สำนักข่าว Questnews"
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×