สาปรักไอยคุปต์ (อีบุ๊ค 2 เล่มจบ)
ราชินีผู้เลอโฉมหัวร่ออย่างเบิกบานยามสังหารผู้คนมากมายในคราวเดียว นางจ้องมองผู้คนล้มตายด้วยความสุขใจอย่างยิ่ง เหตุใดนางจึงเหี้ยมโหด ผิดจากรูปโฉมอันงดงามของนาง พวกเจ้าคิดว่าเพราะเหตุใด
ผู้เข้าชมรวม
199,556
ผู้เข้าชมเดือนนี้
108
ผู้เข้าชมรวม
ความรัก นิยายรัก ซึ้งกินใจ ดราม่า แก้แค้น นางเอกฉลาด แฟนตาซี รักดราม่า อดีต ฟาโรห์ อียิปต์ ทะเลทราย ชายหญิง นางเอกร้าย อียิปต์โบราณ
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
‘สาปรักไอยคุปต์’ เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์อียิปต์ แต่จะเรียกว่านิยายอิงประวัติศาสตร์เหมือน ‘รักนิรันดร์ราชันสองแผ่นดิน’ ก็คงเรียกได้ไม่เต็มปาก เพราะ ‘สาปรักไอยคุปต์’ เป็นนิยายที่อิงประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งและอิงเรื่องเล่าส่วนหนึ่ง แต่จะเป็นเรื่องเล่าเรื่องไหนในประวัติศาสตร์ ผู้เขียนจะยังไม่เฉลย เพราะเป็นพล็อตหลักของนิยายเรื่องนี้
ลองมาเดากันดูว่าเรื่องนี้จะดำเนินไปอย่างไร และเมื่อจบเรื่องแล้ว ผู้เขียนจะมาเฉลยให้ทราบว่าเรื่องเล่าที่ว่านี้เป็นอย่างไรและเป็นสาเหตุว่าทำไมนิยายเรื่องนี้จึงต้องดำเนินเรื่องและจบแบบนี้ แต่ตอนจบของเรื่องหลังจากที่จบตามเรื่องเล่าแล้ว ผู้เขียนก็แต่งเติม เสริมให้เป็นไปอย่างที่คิดว่ามันควรจะเป็น แต่เชื่อว่านักอ่านน่าจะเดาจากชื่อเรื่อง ‘สาปรักไอยคุปต์’ ได้ว่าทิศทางของเรื่องนี้เป็นอย่างไร และมันจะจบแบบไหน
Trigger Warning สำหรับ ‘สาปรักไอยคุปต์’ คือ เรื่องนี้เป็น Incest ถ้าถามว่าทำไมถึงเป็น Incest นี่เป็นเพราะในสมัยอียิปต์โบราณ มีการแต่งงานกันในหมู่เครือญาติเพื่อรักษาสายเลือดของราชวงศ์ ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมของชาวอียิปต์โบราณ ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้บรรทัดฐานของสังคมปัจจุบันมาตัดสินว่าเรื่องนี้ผิด
นักอ่านโปรดเข้าใจก่อนว่า ‘สาปรักไอยคุปต์’ เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ การดำเนินเรื่องต้องยึดตามสังคมและสภาพแวดล้อมในสมัยโบราณ แต่สบายใจได้ว่าเรื่องนี้ไม่มีฉาก NC แน่นอน
นิยายเรื่อง ‘สาปรักไอยคุปต์’ ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อบอกว่า Incest เป็นเรื่องถูกต้องนะคะ เพียงแต่ในสมัยโบราณ มันเป็นขนบธรรมเนียมที่ถูกปฏิบัติกันเป็นปกติ นิยายเรื่องนี้เพียงนำเสนอเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์และเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์เท่านั้น ไม่มีการเน้นเรื่อง Incest แต่อย่างใด ดังนั้น ถ้านักอ่านท่านใดไม่สะดวกใจที่จะอ่านนิยายเรื่องนี้เพราะเป็น Incest ผู้เขียนก็ขอแนะนำให้ผ่านเรื่อง ‘สาปรักไอยคุปต์’ ไปได้เลยค่ะ
Incest ในเรื่องแบ่งเป็นสี่ชุดตามที่ระบุด้านล่าง รายชื่อที่ปรากฏในแต่ละชุด เป็นชื่อของบุคคลที่มีตัวตนจริงและมีความสัมพันธ์เช่นนี้จริงตามประวัติศาสตร์ ผู้เขียนใช้ชุดที่สามและสี่ในการดำเนินเรื่อง
ชุดที่หนึ่ง
ฟาโรห์เพปิที่หนึ่ง + ราชินีอังเคเซนเพปิที่หนึ่ง = ฟาโรห์เมอเรนเร เนมตี้เอมแซฟที่หนึ่ง และ ราชินีนีต
ฟาโรห์เพปิที่หนึ่ง + ราชินีอังเคเซนเพปิที่สอง = ราชินีเมริไทส์ที่สี่
ชุดที่สอง
ฟาโรห์เมอเรนเร เนมตี้เอมแซฟที่หนึ่ง + ราชินีอังเคเซนเพปิที่สอง = ฟาโรห์เพปิที่สอง เนเฟอร์คาเร และ ราชินีอิพอตที่สอง
ฟาโรห์เมอเรนเร เนมตี้เอมแซฟที่หนึ่ง + ราชินีนีต = ราชินีอังเคเซนเพปิที่สาม (และอาจจะมีราชินีอังเคเซนเพปิที่สี่)
ชุดที่สาม
ฟาโรห์เพปิที่สอง เนเฟอร์คาเร + ราชินีนีต = ฟาโรห์เมอเรนเร เนมตี้เอมแซฟที่สอง และ ราชินีนิติเครตี
ฟาโรห์เพปิที่สอง เนเฟอร์คาเร + ราชินีเมริไทส์ที่สี่
ฟาโรห์เพปิที่สอง เนเฟอร์คาเร + ราชินีอิพอตที่สอง
ฟาโรห์เพปิที่สอง เนเฟอร์คาเร + ราชินีอังเคเซนเพปิที่สาม
ฟาโรห์เพปิที่สอง เนเฟอร์คาเร + ราชินีอังเคเซนเพปิที่สี่
ชุดที่สี่
ฟาโรห์เมอเรนเร เนมตี้เอมแซฟที่สอง + ราชินีนิติเครตี
บทแรกของนิยายเรื่องนี้ จะเป็นพระราชประวัติโดยย่อของฟาโรห์สามพระองค์ คือ ฟาโรห์เมอเรนเร เนมตี้เอมแซฟที่หนึ่ง, ฟาโรห์เพปิที่สอง เนเฟอร์คาเร และฟาโรห์เมอเรนเร เนมตี้เอมแซฟที่สอง ที่ต้องเป็นบทแรกก็เพื่อปูพื้นทางประวัติศาสตร์ก่อนว่าอียิปต์โบราณในช่วงนั้นอยู่ในสถานการณ์เช่นไร
แต่ถ้าจะข้ามไปไม่อ่าน ก็ได้ค่ะ เพราะในนิยายก็จะสอดแทรกสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นไว้อยู่แล้ว เพียงแต่การอ่านพระราชประวัติของฟาโรห์ทั้งสามพระองค์ก่อน จะทำให้เข้าใจสถานการณ์และเห็นภาพในนิยายได้ง่ายขึ้น
ตัวละครในนิยายที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ได้แก่ ฟาโรห์เพปิที่สอง เนเฟอร์คาเร, ราชินีนีต, ราชินีเมริไทส์ที่สี่, ราชินีอิพอตที่สอง, ราชินีอังเคเซนเพปิที่สาม, ราชินีอังเคเซนเพปิที่สี่, ราชินีอัดเจบเทน และฟาโรห์เมอเรนเร เนมตี้เอมแซฟที่สอง
ไม่ต้องกังวลว่าจะจำชื่อตัวละครไม่ได้นะคะ ช่วงเริ่มต้นเรื่องจะมีตัวละครออกมาเยอะสักหน่อย แล้วตัวละครเหล่านี้จะค่อยๆ ลดลงไป จนเหลือเพียงตัวละครเอกที่ต้องต่อสู้กันไปจนจบเรื่อง
ตัวละครที่เหลือนอกจากที่บอก จะเป็นตัวละครที่ผู้เขียนสร้างขึ้นทั้งหมด ส่วนนางเอกของเรื่อง แต่จริงๆ ควรเรียกว่า ‘ตัวเอก’ แท้ที่จริงแล้วเป็นใครกันแน่ในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ ผู้เขียนจะเฉลยเมื่อจบเรื่องเช่นกันค่ะ
ผู้เขียนจะกล่าวถึงและหยิบยืมตัวละครจาก ‘รักนิรันดร์ราชันสองแผ่นดิน’ มาใช้ในนิยายเรื่องนี้ในบางช่วงของเรื่อง แต่ผู้อ่านที่ไม่ได้อ่าน ‘รักนิรันดร์ราชันสองแผ่นดิน’ มาก่อน สามารถอ่าน ‘สาปรักไอยคุปต์’ รู้เรื่องแน่นอน เพียงแค่จะสงสัยว่าตัวละครนี้มีที่มาอย่างไรเท่านั้น อยากหายสงสัย ก็ต้องรบกวนไปอ่าน ‘รักนิรันดร์ราชันสองแผ่นดิน’ ค่ะ ผู้เขียนจะทิ้งลิงค์ไว้ให้ที่นี่
https://writer.dek-d.com/grace1969/writer/view.php?id=2425176
ชื่อเมืองต่างๆ ใน ‘สาปรักไอยคุปต์’ จะเป็นเมืองจริงตามประวัติศาสตร์ ผู้อ่านที่อ่าน ‘รักนิรันดร์ราชันสองแผ่นดิน’ มาแล้ว จะคุ้นตาไม่มากก็น้อย เมืองเหล่านี้ยังคงพอมีซากเมืองเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
ชื่อตัวละครซึ่งเป็นชาวอียิปต์ ผู้เขียนตั้งตามชื่อคนอียิปต์โบราณ และจะไม่มีชื่อไหนที่อ่านแล้วรู้สึกว่านี่ไม่น่าจะใช่ชื่อคนอียิปต์โบราณ และจะมีเชิงอรรถไว้ท้ายตอนในตอนที่มีคำเฉพาะของอียิปต์โบราณ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายค่ะ
คลิปโปรโมตสาปรักไอยคุปต์ค่ะ ลองดูกันนะคะ
https://www.facebook.com/100000982443929/videos/950304763300746/
SET สาปรักไอยคุปต์ใน Mebmarket: https://www.mebmarket.com/web/index.php?action=BookDetails&data=YToyOntzOjc6InVzZXJfaWQiO3M6NzoiNzgzNzg4MCI7czo3OiJib29rX2lkIjtzOjY6IjI1NjE2MiI7fQ
ฟาโรห์เมอเรนเร เนมตี้เอมแซฟที่สอง และราชินีนิติเครตีผู้เลอโฉม ก้าวขึ้นครองบัลลังก์อียิปต์ท่ามกลางความเสื่อมถอยของอำนาจแห่งฟาโรห์และเหล่าเชื้อพระวงศ์ ขณะที่อำนาจและอิทธิพลของโนมาร์ชและขุนนางมีแต่จะเพิ่มพูนขึ้นทุกวัน
ความกดดันรอบด้านบีบคั้นฟาโรห์เนมตี้เอมแซฟที่สองและราชินีนิติเครตีจนแทบจะรั้งบัลลังก์ไว้ไม่อยู่ แต่เหตุการณ์เลวร้ายอย่างที่สุดก็เกิดขึ้นในวันหนึ่ง ความอดทนของราชินีนิติเครตีจึงหมดสิ้นลงในวันนั้น และความเคียดแค้นของพระนางก็ปะทุขึ้นในวันเดียวกันนั้นเอง
ทว่าพระนางกลับต้องอับจนหนทางที่จะจัดการเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น พระนางจะดำรงอยู่และทำอย่างไรเมื่อต้องเผชิญหน้ากับศัตรูรอบด้านและอำนาจสิทธิ์ขาดในมือที่ถูกลิดรอนไปมากมาย ชี้พระหัตถ์สั่งการออกไปก็ทำได้เพียงอียิปต์บน หากอียิปต์ล่างนั้น ดูเหมือนพระนางจะไร้ซึ่งอำนาจชี้นำ
ราชินีผู้ถือครองอำนาจสิทธิ์ขาดเหนือแผ่นดินอียิปต์ต้องอยู่ในสภาพน่าอดสูถึงเพียงนี้เลยหรือ ช่างน่าสมเพชนัก ! !
ผลงานอื่นๆ ของ สวรรยสร ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ สวรรยสร
ความคิดเห็น