ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือตำนานเทพเจ้ากรีก-โรมัน

    ลำดับตอนที่ #31 : อโฟรไดท์-Aphrodite คณะเทพวงศ์โอลิมเปียน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.32K
      29
      19 เม.ย. 61





    อโฟรไดท์หรือวีนัสในภาษาโรมัน เป็นเทพีแห่งความรักและความงาม ธิดาแห่งเทพอูรานอส โดยเล่าว่าหลังจากเทพโครนอสทรงใช้เคียวตัดอวัยวะเพศของเทพบิดาอูรานอสเป็นชินๆแล้วนำไปโยนที่ทะเล ขณะที่อวัยวะเพศของอูรานอสกำลังจมลงในฟองคลื่น ในตอนนั้นเองก็มีเทพีองค์หนึ่งผุดขึ้นมาจากฟองคลื่น เทพีองค์นั้นคือเทพีอโฟรไดท์(แต่ก็มีบางตำนานอ้างว่าพระนางเป็นธิดาแห่งซุสกับนางพรายน้ำไดโอเน่) สัญลักษณ์ของเทพีอโฟรไดท์คือนกพิราบ หงส์ ต้นเมอร์เทิล แอปเปิลและกุหลาบ ว่ากันว่านางเป็นเทพีองค์หนึ่งสวยที่สุดก็ว่าได้ 



    ภาพการกำเนิดของเทพีอโฟรไดท์ โดยจิตรกร  painter William-Adolphe Bouguereau (1879)


    ความงามของพระนางเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสวรรค์ ถึงขนาดกล่าวได้ว่าความงามของพระนางสามารถสะกดใจชายใดก็ตามให้หลงรักตั้งแต่แรกพบได้ มีตำนานกล่าวว่าอโฟรไดท์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสงครามแห่งทรอย โดยเล่าว่าจุดเริ่มต้นของสงครามนั้นเริ่มขึ้นเมื่อ เพเลอุส-กษัตริย์แห่งเมอมิดอนส์ และ เธติส-เทพีแห่งทะเล ได้จัดงานอภิเษกสมรสขึ้น แต่ทั้งคู่กลับไม่ได้เชิญ อีริส-เทพีแห่งความขัดแย้)  เพราะทั้งคู่เกรงว่าพระนางจะทำให้งานมงคลนี้ต้องวุ่นวายได้ 


    กระนั้น เมื่อข่าวนี้รู้ไปถึงหูของ เทพีอีริส เธอจึงรีบไปร่วมงานของทั้งคู่ทันทีด้วยความอาฆาตแค้น(แบบว่าไปเสนอหน้าน่ะครับ)เมื่อไปถึงงาน เทพีอีริสจึงเริ่มแผนสร้างความแตกแยกขึ้น ด้วยการโยนแอปเปิลทองคำ(ซึ่งแอปเปิลผลนี้ถูกเรียกว่า "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" ) ลงไปลานงานแต่ง บนแอปเปิลนั้นมีอักษรจารึกไว้ว่า “แด่ผู้ที่งดงามที่สุดที่สุด” 


    ว่ากันว่าในตอนนั้นก็เกิดความอลหม่านขึ้นทันที ต่างคนก็ต่างอยากเป็นผู้ครอบครองแอปเปิล แต่ในที่สุดก็มีผู้ถอดใจไม่เอาผลแอปเปิลไปที่ละคนจนที่สุดก็เพียงเทพีสามองค์นั่นคือ เฮร่า อาธีนาและอโฟรไดท์  ซึ่งต่างคิดว่าตัวเองเป็นผู้ที่เลอโฉมที่สุดจึงแย่งกันเป็นเจ้าของแอปเปิลทองคำผลนั้นต่อไป 


    เมื่อไม่มีมีใครยอมใครเทพีทั้งสามจึงลงความเห็นกันว่าให้ซุสที่เป็นมหาเทพเป็นคนตัดสิน ซึ่งมหาเทพอย่างซุสรู้ดีว่าการตัดสินของเขานั้นอาจจะสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองได้ จึงโยนผลแอปเปิลไปให้ชายหนุ่มรูปงามนามว่าปารีสเป็นผู้ตัดสินแทน



    ปารีสแห่งทรอย รูปปั้นหินอ่อนที่บริติชมิวเซียม สร้างเมื่อประมาณศตวรรษที่ 2 


    (ว่ากันว่าปารีสเป็นคนเลี้ยงแกะ หรือพูดให้สวยหรูหน่อยก็คือ คนดูแลฝูงแกะนั่นแหละครับ ผู้อ่านบางคนเมื่อมาถึงจุดนี้อาจสงสัยว่าเอแล้วทำไมต้องให้คนเลี้ยงแกะเป็นคนตัดสินด้วยล่ะ ความจริงแล้วชาติภูมิของไอ้หนุ่มปารีสผู้นี้ไม่ธรรมดาเลยนะครับ เพราะเป็นถึงลูกของพระเจ้าไพรอัม กษัตริย์แห่งกรุงทรอย) กษัตริย์ที่ว่านี้ชื่อว่ากษัตริย์ไพรอัม ว่ากันว่าตอนที่ปารีสถือกำเนิดขึ้นมีโหรมาทำนายว่าชะตาเด็กผู้นี้จะทำให้กรุงทรอยพินาศล่มจม 


    กษัตริย์ไพรอัมจึงสั่งให้คนเอาตัวปารีสที่ยังเป็นทารกไปทิ้งไว้ที่หุบเขาแห่งหนึ่ง แต่ไม่รู้ว่าโชคดีหรือร้ายนะครับ เพราะก็เผอิญมีคนเลี้ยงแกะมาเจอทารกน้อยปารีสเข้า คนเลี้ยงแกะเลยเอาปารีสไปเลี้ยง นายปารีสที่ว่าก็เลยต้องมีอาชีพเลี้ยงแกะตั้งแต่นั้นมา) ทีนี้เมื่อรู้ว่าปารีสจะทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน สามเทพีจึงไปติดสินกับหนุ่มปารีส 



    การตัดสินของปารีส ภาพโดย ปีเตอร์ พอล รูเบนส์


    โดยเฮร่าบอกกับปารีสว่าหากเขาเลือกเฮร่า เขาจะได้เป็นมหาราชใหญ่ ได้ครอบครองแผ่นดินทั่วทั้งเอเชียและยุโรป ส่วนอาธีนาบอกว่าหากเลือกพระนาง อำนาจแห่งการรบและพลังอันแข็งแกร่งจะตกเป็นของปารีส และหากรบที่ไหนจะชนะที่นั่น แต่พอมาถึงอโฟรไดท์พระนางไม่ติดสินบนอะไรกับปารีสไว้ แค่ให้ปารีสเชยชมร่างอันสวยงามตั้งแต่หัวจรดเท้าของพระนาง 


    มีการกล่าวกันว่าเมื่อปารีสเห็นเทพีอโฟรไดท์เข้าปารีสก็ตกอยู่ภายใต้เสน่ห์ของเทพีและยอมเลือกให้อโฟรไดท์เป็นผู้ที่ได้ครอบครองแอปเปิลแห่งความบาดหมาง เทพีอโฟรไดท์สุดแสนจะดีใจ และให้พรว่า ปารีสจะได้หญิงที่เขาปรารถนามาเป็นคู่ครอง อะไรๆก็จะดีและลงตัวหากหญิงที่ปารีสปรารถนาไม่ใช่เฮเลน ควีน ออฟ สปาต้า 



    เฮเลนและปารีส ภาพโดย ชาลีส์ เมเนียร์-Charles Meynies (1832)


    (และเฮเลนมีผัวแล้ว)  ด้วยเหตุนี้สงครามแห่งรักจึงเกิดขึ้น โดยเมเนเลอัส-สามีของเฮเลน ทรงโกรธแค้นเมื่อทรงพบว่าปารีสได้พานางเฮเลนไป พระองค์ทรงรวบรวมกำลังทัพกรีกเท่าที่มีออกค้นหากรุงทรอย กองทัพอันยิ่งใหญ่ของกรีกที่มีเรือกว่า 1,000 ลำนี้ต้องใช้เวลานานกว่าที่คิดที่จะไปถึงเมืองทรอยเนื่องจากไม่มีผู้ใดรู้ถึงที่ตั้งอันแน่ชัดของเมืองทรอย 


    อย่างไรก็ตาม การค้นหากรุงทรอยพิสูจน์ได้ว่าเป็นไปด้วยความยากลำบาก กองทัพกรีกขึ้นฝั่งที่แรกในไมซิอา  ชาวกรีกเชื่อว่านางเฮเลนอยู่ในทูเธรเนียน แม้ว่าชาวทูเธรเนียนจะยืนยันปฏิเสธ แต่ชาวกรีกก็ยังคงกระจายกำลังปิดล้อมเมือง ในที่สุดชาวกรีกก็มีชัยชนะ แต่ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงด้วยมือของพระเจ้าเทเลฟัส-กษัตริย์แห่งทูเธรเนียน และยังคงไม่พบนางเฮเลน 


    พระเจ้าเทเลฟัสได้รับบาดเจ็บโดยอคิลลีส-หนึ่งในวีรบุรุษสงครามทรอย ในสงคราม ด้วยไม่มีที่ใดให้ไป ชาวกรีกจึงกลับบ้าน สงครามกรุงทรอยอาจจะไม่เกิดขึ้นหากพระเจ้าเทเลฟัสไม่ไปยังกรีซด้วยความหวังว่าจะมีทางรักษาบาดแผลของพระองค์ พระองค์ได้รับการบอกกล่าวจากโหรว่า ผู้ที่สร้างบาดแผลให้พระองค์เท่านั้น(ในกรณีนี้คืออคิลลีส)จะรักษาพระองค์ได้ ซึ่งอคิลลีสตกลง และพระเจ้าเทเลฟัสจึงบอกชาวกรีกถึงวิธีไปยังกรุงทรอย 


    โอดิสซิอุส-วีรบุรุษในสงคราม และพระเจ้าเมเนเลอัสส่งไปเป็นราชทูตถึงพระเจ้าไพรอัม พวกเขาต้องการนางเฮเลนและทรัพย์สมบัติที่ถูกขโมยกลับคืน พระเจ้าไพรอัมทรงปฏิเสธ โอดิสซิอุสกับพระเจ้าเมเนเลอัสจึงกลับไปยังกองทัพเรือกรีกพร้อมกับประกาศว่าสงครามจะเกิดขึ้นแน่นอน


     สงครามระหว่างกรีกและทรอยนั้นต้องใช้เวลาสู้รบกันยาวนานกว่า 10 ปีด้วยกัน เก้าปีแรกของสงครามดำรงอยู่ในกรุงทรอยและสงครามประชิดกับแคว้นใกล้เคียง พวกกรีกสำนึกได้ว่ากรุงทรอยได้รับการเสริมกำลังโดยอาณาจักรใกล้เคียง ดังนั้นชาวกรีกจึงส่งกองกำลังไปกำจัดอาณาเขตเหล่านี้ สงครามเหล่านี้ทำให้ชาวกรีกรวบรวมแหล่งทรัพยากรและของที่ปล้นมาได้จากสงครามรวมถึงหญิงสาวได้เป็นจำนวนมาก ชาวกรีกชนะสงครามครั้งสำคัญหลายครั้ง และเจ้าชายเฮคเตอร์-วีรบุรุษชาวทรอย ถูกฆ่าตาย เช่นเดียวกับเพนธีสิเลีย-พันธมิตรชาวทรอย 


    อย่างไรก็ตามชาวกรีกก็ไม่สามารถทำลายกำแพงกรุงทรอยได้ แต่ว่ากันว่าในที่สุดกองทัพกรีกก็ทะลวงกำแพงกรุงทรอยได้  และหลังจากนั้นไม่นาน อคิลลีสก็ถูกฆ่าตายโดยปารีส เจ้าชายเฮเลนัส บุตรชายของพระเจ้าไพรอัม ถูกจับได้โดยโอดีสซีอุส ในตอนมีโหรคนหนึ่งบอกชาวกรีกว่าทรอยจะไม่มีวันพ่ายแพ้นอกจาก


    1) ไพร์รัส(Pyrrhus) บุตรชายของอคิลลีสร่วมรบในสงคราม

    2) คันธนูและลูกธนูของเฮอร์คิวลีส-Herculesถูกใช้โดยชาวกรีกที่ต่อต้านชาวทรอย

    3) ศพของพีลอพส์ วีรบุรุษอีลีเอียนผู้มีชื่อเสียงถูกนำมาสู่กรุงทรอย

    และ

    4)  อาธีนาพาร์เธนอส รูปปั้นเทพีอาธีนาที่มีชื่อเสียงที่สุดตลอดกาล ถูกขโมยไปจากกรุงทรอย


    เจ้าชายฟีนิกซ์-Phoenix แห่งกรีก ชักจูงไพร์รัสเข้าร่วมสงคราม ฟิลอคทีทีสส-Philoctetes มีคันธนูและลูกธนูของอคิลลีส และถูกทิ้งโดยกองทัพเรือกรีกในเลมนอส เพราะเขาถูกงูกัดและบาดแผลของเขาส่งกลิ่นเหม็น 


    ฟิลอคทีทีสขมขื่นอย่างมาก แต่สุดท้ายก็ยอมเข้าร่วมกับชาวกรีก ศพของพีลอพส์ถูกนำมา และโอดิสซิอุสแทรกซึมไปเป็นองครักษ์ชาวทรอยและขโมยพาลเลเดียม 


    ชาวกรีกยังคงแสวงหาทางเข้าไปในกรุงทรอย โอดีสซีอุสผู้เฉลียวฉลาด (บ้างก็ว่าด้วยความช่วยเหลือของเทพีอธีนา) สั่งให้สร้างม้าที่ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่ โดยข้างในของมันมีลักษณะกลวง ดังนั้นเหล่าทหารกรีกจึงสามารถซ่อนตัวภายในนั้นได้ ไซนอน-Sinonเป็นชายคนเดียวที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง 


    เมื่อชาวทรอยพากันมาดูด้วยความประหลาดใจที่สิ่งก่อสร้างมหึมา ไซนอนก็แสร้งทำเป็นโกรธพวกกรีกและกล่าวว่าพวกเขาทอดทิ้งเขาไว้ เขายืนยันกับพวกทรอยว่าม้าที่ทำด้วยไม้นี้ไม่มีภัยและจะนำพาความโชคดีมาสู่ชาวทรอย ชาวทรอยเฉลิมฉลองสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นชัยชนะของพวกเขา และลากม้าไม้เข้าสู่กรุงทรอย คืนนั้น หลังจากชาวทรอยส่วนใหญ่นอนหลับหรืออยู่ในอาการมึนงงด้วยความเมา ไซนอนปล่อยให้พวกนักรบกรีกออกมาจากม้าไม้และพวกเขาเข่นฆ่าชาวทรอยอย่างทารุณ พระเจ้าไพรอัมถูกฆ่าขณะที่พระองค์เบียดอยู่ข้างแท่นบูชาของมหาเทพซุส หลังจากสังหารไพรอัม กองทัพกรีกก็ทำลายกรุงทรอยจนพังพินาศ 


    หลังสงคราม เจ้าชายอีเนียส-Aeneas แห่งทรอยได้จัดการที่จะหลบหนีการทำลายกรุงทรอย และเรื่องอีเนียด-Aeneid ของกวีเวอร์จิล-Virgil ก็ได้เล่าถึงการหลบหนีจากกรุงทรอยของเขาไว้ 


    หลายๆแหล่งข้อมูลบอกว่าเจ้าชายอีเนียสเป็นเจ้าชายทรอยคนเดียวเท่านั้นที่อยู่รอด แต่เรื่องนี้ขัดแย้งกับเรื่องราวทั่วไปที่ว่าเจ้าหญิงแอนโดรมาคี-Andromache ได้แต่งงานกับเจ้าชายเฮเลนัส ฝาแฝดของเจ้าหญิงคาสซานดร้าหลังสงคราม พระเจ้าเมเนเลอัสผู้ตัดสินใจที่จะฆ่าภรรยาผู้ไม่ซื่อสัตย์ของพระองค์ได้ติดสงสารเฮเลนทัน จึงฆ่าเฮเลนไม่ลงและทำให้พระองค์อนุญาตให้นางมีชีวิตอยู่ หญิงสาวชาวทรอยที่ยังมีชีวิตอยู่ถูกแบ่งปันในหมู่เหล่าชายกรีกรวมถึงของที่ปล้นมาได้อื่นๆด้วย จากนั้นพวกกรีกก็แล่นเรือกลับบ้าน ที่ซึ่งสำหรับบางคนเป็นไปด้วยความยากลำบากและใช้เวลายาวนานเช่นเดียวกับสงครามกรุงทรอย



    กลศึกม้าไม้ ภาพโดย ฮาวเวิร์ด เดวิด จอห์นสัน-Howard David Johnson


     นอกจากตำนานนี้แล้วยังกล่าวกันว่าเทพีอโฟรไดท์เป็นชายาของเทพเฮฟเฟสตัส-เทพแห่งการช่าง แต่กลับหลงรักเทพแอรีส-เทพแห่งสงคราม มีตำนานกล่าวว่าเมื่อเทพเฮฟเฟสตัสทรงรู้ว่าเทพีอโฟรไดท์นอกใจตน พระองค์จึงคิดตลบหลังโดยวางกลไกกับดักไว้ที่เตียงนอนเมื่อเทพแอรีสมาเล่นบทรักกับเทพีอโฟรไดท์ที่เตียงนอนกำดักของเทพเฮฟเฟสตัสกำทำงานทันทีมันทำงานตอนที่ทั้งสองทิ้งตัวลงที่เตียงโดยตัวเตียงส่งตาข่ายออกมารัดทั้งสองไว้ เมื่อกับดักสำเร็จผลเทพเฮฟเฟสตัสก็เชิญเทพองค์อื่นให้มาเชยชมความอัปยศของเทพทั้งสอง ทั้งแอรีสและอโฟรไดท์ต้องอับอายทนดูเทพทั้งหลายจ้องดูร่างเปลือยเปล่าของตนเป็นเวลานาน



    เทพแอรีสและเทพีอโฟรไดท์ ภาพโดย ฌัก-หลุยส์ ดาวีด-Jacques-Louis David


    เมื่อเทพแอรีสมาเล่นบทรักกับเทพีอโฟรไดท์ที่เตียงนอนกำดักของเทพเฮฟเฟสตัสกำทำงานทันทีมันทำงานตอนที่ทั้งสองทิ้งตัวลงที่เตียงโดยตัวเตียงส่งตาข่ายออกมารัดทั้งสองไว้ เมื่อกับดักสำเร็จผลเทพเฮฟเฟสตัสก็เชิญเทพองค์อื่นให้มาเชยชมความอัปยศของเทพทั้งสอง ทั้งแอรีสและอโฟรไดท์ต้องอับอายทนดูเทพทั้งหลายจ้องดูร่างเปลือยเปล่าของตนเป็นเวลานาน


    เรื่องราวความรักของเทพีอโฟไดท์ผู้เป็นเทพีแห่งความงามยังไม่จบลงเพียงเท่านี้ เพราะด้วยความงดงามของพระนาง ทำให้เธอเที่ยวหว่านเสน่ห์ไปยังเทพหรือมนุษย์ไปทั่ว ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่เทพีอโฟรไดท์ไปมีสัมพัทธ์เสน่หากับเทพเฮอร์มีส จนให้กำเนิดโอรสองค์หนึ่งที่มีชื่อว่า เฮอร์มาโฟร์ดิตัส-Hermahroditus(ซึ่งต่อมาเฮอร์มาโฟร์ดิตัสกลายเป็นเทพแห่งกระเทย) ออกมา



    เทพเฮอร์มิทและเทพีอโฟรไดท์


    ส่วนในด้านความสัมพันธ์กับมนุษย์ธรรมดา เทพีอโฟรไดท์ก็ยังเคยแอบไปมีสัมพันธ์แนบชิดกับบุรุษเดินดิน ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่เทวีอโฟรไดท์แอบไปชอบพอกับเจ้าชายแอนคิซีส-Anchises ชาวโทรยัน  จนให้กำเนิดโอรสครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ออกมา โดยตั้งชื่อว่า เอนิแอส-Aenias ซึ่งเขาผู้นี้ถือเป็นต้นตระกูลของชาวโรมันบางกลุ่มด้วย 


    แต่เรื่องเล่าที่เป็นที่นิยมที่สุดคงหนีไม่พ้นตำนานของเทพีอโฟรไดท์กับหนุ่มที่ชื่ออโดนิสหรอกครับ โดยเล่ากันว่าวันหนึ่ง ในขณะที่เทพีอโฟรไดท์กำลังเล่นหยอกล้ออยู่กับอีรอสซึ่งเป็นบุตรของตน ก็บังเอิญถูกศรของอีรอสสะกิดโดนที่อุระ และถึงแม้ว่าอุบัติเหตุครั้งนี้จะทำให้เกิดเป็นแผลเพียงเล็กน้อย แต่ด้วยอำนาจของพิษศรก็มากเพียงพอที่จะทำให้เจ้าแม่เกิดความผิดปกติด้วยอำนาจนี้ได้(ว่ากันว่าหากใครโดนศรของอีรอสเข้าจะหลงรักคนที่เห็นเป็นคนแรกหลังจากโดนศร แต่จะไม่หลงรักคนยิงศรนอกจากเสียว่าเจ้าของศรจะปรารถนา) 


    และยังไม่ทันที่แผลจะหายดี อโฟรไดท์ก็ได้บังเอิญพบกับ อโดนิส-Adonis ผู้เป็นชายหนุ่มที่ร่อนเร่พเนจรอยู่ในป่า ด้วยอำนาจของศรอีรอสทำให้อโฟรไดท์เกิดความพิสมัยในตัวของอโดนิสเข้าอย่างจัง จนห้ามใจไว้ไม่อยู่ 


    เจ้าแม่จึงรีบลงมาจากสวรรค์เพื่อมาตามหาอโดนิส เพื่อหวังที่จะได้ใกล้ชิดสนิทสนมกันไปตลอด ไม่ว่าอโดนิสจะไปทางไหน อโฟรไดท์ก็จะติดตามไปด้วยทุกทาง 


    ด้วยความที่เทพีอโฟรไดท์รู้สึกหลงใหลและเป็นห่วงอโดนิสเอามากๆ ทำให้เทพีอโฟรไดท์เที่ยวติดตามอโดนิสไปในป่าตลอดเวลา แถมยังคอยตักเตือน พะเน้าพะนอเอาใจ และกำชับอโดนิสในการล่าสัตว์ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เขาเสี่ยงภัยอันตรายมากเกินไป และยังบอกให้หลีกเลี่ยงสัตว์ใหญ่ และให้เขาล่าแต่สัตว์ตัวเล็กๆเท่าที่จะพอล่าได้เท่านั้น 


    แต่ความรักที่อโฟรไดท์มีต่ออโดนิสกลับเป็นความรักเพียงข้างเดียว เพราะเจ้าหนุ่มโดนิสไม่ได้มอบความรักตอบแก่เทพีองค์นี้เสียเลย ซึ่งคงเป็นเพราะ อีรอสไม่ได้แผลงศรรักปักเข้าที่ชายหนุ่มด้วยละมั้ง ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ และด้วยเหตุผลที่อโดนิสไม่ได้รักเทพีอโฟรไดท์ตอบ จึงทำให้เขาไม่แยแสสนใจในคำกำชับตักเตือนของเจ้าแม่เลย และยังคงเที่ยวล่าสัตว์ใหญ่น้อยไปเรื่อยตามความต้องการของตน 


    ในวันหนึ่ง ขณะที่อโฟรไดท์จำเป็นต้องจากอโดนิสไปเพราะมีธุระ เทพีอโฟรไดท์จึงแปลงเป็นหงส์เหินบินเหาะไปในอากาศ ส่วนฝ่ายอโดนิสก็เดินทางไปล่าสัตว์ตามปกติ และได้พบกับหมูป่าแสนดุร้ายตัวหนึ่ง (บางตำนานเล่ากันว่า เทพแอรีสเสกหมูป่าตัวนี้ขึ้นมา เนื่องจากความหึงหวงในตัวของเทพีอโฟรไดท์ที่มีให้ต่ออโดนิส) เขาจึงตามล่าหมูป่าไปจนมันจนมุม 


    อโดนิสก็ซัดหอกไปหวังฆ่าหมูป่า แต่โชคร้ายที่หอกไม่ได้ปักเข้าที่ตำแหน่งสำคัญ จึงทำให้หมูป่าได้รับความเจ็บปวดและทวีความโหดร้ายมากขึ้น หมูป่าจึงตรงรี่เข้าขวิดจนอโดนิสถึงแก่ความตายในที่สุด 


    เมื่อเทพีอโฟรไดท์ได้ยินเสียงร้องของอโดนิสขณะที่บินอยู่กลางอากาศ เทพีที่อยู่ในร่างหงส์ก็ตัดสินใจบินกลับทันที เพื่อที่จะลงมายังพื้นปฐพีและรีบตรงปรี่เข้าหาอโดนิสทันที เจ้าแม่ก้มลงจุมพิตอโดนิสที่กำลังจะขาดใจตายด้วยความเจ็บปวด พร้อมทั้งครวญคร่ำรำพึงพันด้วยความรักสุดแสนอาลัย อโฟรไดท์รู้สึกว่าตนเองช่างโชคร้าย และรำพึงรำพันต่อสามเทพีแห่งโชคชะตา ว่าเหตุใดจึงต้องพลัดพลาดชายผู้เป็นที่รักของนางไป ความเจ็บช้ำครั้งนี้คล้ายกับการควักเอาดวงเนตรของเจ้าแม่ออกไปก็ไม่ปาน 


    หลังจากที่ความโศกเศร้าเริ่มจางหายไปแล้ว อโฟรไดท์ก็เอื้อนเอ่นตั้งปณิธานขึ้นมาว่า ถึงการณ์ดังนั้นก็อย่าคิดเลยว่า ผู้เป็นที่รักของข้าจะต้องอยู่ในยมโลกตลอดกาล หยาดโลหิตของอโดนิสผู้เป็นแก้วตาของข้า จงกลายเป็นบุปผาชาติชนิดหนึ่ง เพื่อแสดงถึงความโศกเศร้าของข้า และให้ข้าได้ระลึกถึงเหตุการณ์อันเศร้าสลดครั้งนี้เป็นประจำปีเถิด”  


    หลังจากเอ่ยปณิธานออกไปดังนั้นแล้ว อโฟรไดท์ก็ปะพรมน้ำต้อยเกสรอันศักดิ์สิทธิ์ลงไปบนเม็ดเลือดของอโดนิส และทันใดนั้นเอง ก็ปรากฏเป็นพันธุ์ไม้ที่มีดอกสีแดงดั่งสีทับทิมผุดขึ้นมา และดอกไม้นั้นก็ถูกเรียกชื่อสืบต่อกันมาว่า ดอกอโดนิส หรือ ดอกอเนโมเน่-Anemone”  ที่มีความหมายว่า ดอกตามลม (หรือบางตำนานก็ว่าเป็นดอกกุหลาบนั่นเอง) ซึ่งมีเหตุผลมาจากธรรมชาติของลมที่ทำให้ดอกไม้ดอกนี้สามารถแย้มบานได้ และก็จะต้องมีช่วงเวลาที่พัดกลีบให้ร่วงหล่นไป ทำให้มีอายุอยู่ได้เพียงไม่นานแค่ 3-4 เดือนเท่านั้น 



    เทพีอโฟรไดท์และอโดนิส ภาพโดย ฟร็องซัว เลอมวน-Francois Lemyone (1729)








    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×