ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #289 : (สปอย Gokukoku no Brynhildr) เดชจอมมารผมขาว

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.96K
      1
      10 ส.ค. 57

    มีทฤษฏีทางจิตวิทยาหนึ่งที่เรียกว่า "การสำนึกรู้ที่เข้าใจผิดทางอารมณ์ " (Misattribution of arousal) ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดเรื่องใจเต้นเพราะความรักกับการใจเต้นเพราะอารมณ์หวาดกลัว หากชายหญิงอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมหรือสภาพที่มีขีดจำกัดจะทำให้ตกหลุมรักกันง่าย

    ทฤษฏีนี้เรียกอีกอย่างว่า ทฤษฏีสองปัจจัยทางอารมณ์ (Two-Factor Theory of Emotion) โดยลักษณะของทฤษฏีนี้จะเริ่มขึ้นเมื่อคนอยู่ในสภาพตื่นตัวทางสรีรวิทยา จากนั้นก็เร้าอารมณ์ จากนั้นเหตุผลก็ตามมา และตามด้วยอารมณ์ความรู้สึก

    ทฤษฏีนี้หลายคนอาจ งง แต่ถ้าพูดว่า ทฤษฏีสะพานแขวนหลายคนคงพอรู้จักกันบ้าง ชื่อนี้คาดว่ามาจากการทดลองของดัตตันส์และแอรอน (1974)  ซึ่งมีการทดลองให้อาสาสมัครหญิงและอาสาสมัครชาย ให้อยู่บนสะพานเชือกไหว 450 ฟุตเหนือแม่น้ำ กับอยู่พื้นดินเฉยๆ ซึ่งก็พบว่ากว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ชายหนุ่มเกิดความรู้สึกกับผู้หญิงเพราะหัวใจเต้นเร็วและหายใจเร็วจากความตื่นเต้นจากสะพานแขวน  ทำให้เขาคิดว่าตนมีความรู้สึกกับผู้หญิงคนนั้น หากแต่เมื่อพวกเขาข้ามสะพานและพักผ่านก็จะกลับมาเป็นปกติ ส่วนบนพื้นดินมีเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นหรือแทบไม่ได้เกิดอะไรเลย แสดงให้เห็นความความกลัวการอยู่สะพานเชือกทำให้เกิดเร้าอารมณ์และเกิดความรู้สึก

    ดังนั้นจึงไม่แปลกแต่อย่างใดเวลาจะออกเดท คู่รักมักสร้างความใกล้ชิดกับผู้หญิงที่สวนสนุก ซึ่งมักเข้าไปในบ้านผีสิง หรือนั่งแจ๊คโคสเตอร์ เพื่อให้การเดทประสบความสำเร็จมาขึ้น

    ถ้าจะพูดภาษาชาวบ้านหน่อย ตามความเข้าใจของผมก็คงเป็น “ตกหลุมรักครั้งแรก” นั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นมุกที่พบเห็นในสื่อบันเทิงมากที่สุด เมื่อพระเอกช่วยนางเอกจากอันตรายไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ (เช่น โดนผู้หญิงจิ๊กโก๋รุม, โดนสัตว์ประหลาดไล่ล่า, ภัยพิบัติ ฯลฯ) ผู้หญิงจะเกิดอาการใจเต้นแก่ผู้มาช่วยเหลือ เกิดความประทับใจ และรู้สึกสนใจผู้มาช่วยเหลือ และเป็นจุดเริ่มต้นของความรักในเวลาต่อมา

    สื่อบันเทิงมักใช้มุกนี้ทำให้ความสัมพันธ์ตัวละครผูกกันง่าย ทำให้ตัวละครทั้งสองได้มาพบกัน และเข้าหัน แน่นอนว่าความรู้สึกตกหลุมรักครั้งแรกนั้นมันยังไม่ใช่ความรักแท้ เพราะความรักนั้นมันต้องใช้ระยะเวลา ต้องทำความรู้จักกัน รู้ตัวตนของอีกฝ่าย และนั่นถึงจะเกิดความรักที่แท้จริง

     แต่อย่างไรก็ตาม มีตัวละครคนหนึ่งที่ยังคิดว่า “การตกหลุมรักครั้งแรก” นั้นเป็นรักแท้ ตนรักคนนั้น เพราะเขามาช่วยเหลือชีวิตเรา และนั้นทำให้ตนต้องอุทิศชีวิตให้แก่คนนั้น โดยไม่สนว่ามันจะผิดหรือถูกก็ตาม

    ตัวละครที่ผมเขียนถึงนั้นก็คือ วัลคีรี่  จาก Gokukoku no Brynhild นั่นเอง


     

    ทฤษฏีสะพานแขวน

     

    ตอนที่เขียนบทความนี้ ตอนนี้ Gokukoku no Brynhildr ดำเนินเรื่องถึงตอนที่ 105 แล้ว และพึ่งผ่านภัยพิบัติวัลคีรี่ (มังงะตอน 58-100) ซึ่งถือว่าเป็นช่วงมีครบทุกรส ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินเรื่องน่าดื่นต้น โหดเลือดสาด ชิบหายวายวอด ดราม่า โรแมนติก ตลก รวมไปถึงบทบาทตัวร้ายผมขาวจิซาโตะ อิชิจิคุ และ วัลคีรี่ เดชมารผมขาว ที่สร้างความหมั่นไส้ให้แก่ผม (และคนดู) ไม่มากก็ไม่น้อย

    วัลคีรี่ (ชื่อจริง มาโกะ ฟุจิซากิ) เป็นหนึ่งในบอสจาก Gokukoku no Brynhildr ซึ่งผมก็อดไม่ได้ที่จะเขียนถึงเธอสักหน่อย เพราะถือว่าบอสที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องก็ว่าได้

    Gokukoku no Brynhildr เป็นเรื่องราวของพระเอก มุราคามิ ที่ได้พบกับเด็กสาวลึกลับ คุโรฮะ เนโกะ และเพื่อนของเธออีกหลายคน  (ประกอบด้วย คานะ, คาซูมิ รวมถึง โคโตริ และ ฮารุฮิมาที่หลัง) ซึ่งทั้งหมดเป็น สาวน้อยเวทมนตร์ ที่เป็นมนุษย์ทดลองที่หลบหนีการตามล่าของสถาบันวิจัยลึกลับที่มีอำนาจถึงขั้นคุมประเทศ  และมุราคิพยายามที่จะปกป้องพวกเธอ พยายามให้พวกเธอใช้ชีวิตแบบเด็กสาวธรรมดาทั่วไป แม้เขาเองก็อาจจะถูกสถาบันวิจัยฆ่าเพราะไปรู้ความลับเช่นกัน

    (ตอนที่เขียนบทความอยู่นี้ ยังไม่รู้วัตถุประสงค์ของสถาบันวิจัย, ตัวตนจริงๆ ของพวกนางเอก)

    ความจริงนายมุราคามิกับพวกสาวๆ ต้องการที่จะอยู่อย่างสงบ สบายใจ แต่สถาบันวิจัยนั้นไม่อยากให้สาวน้อยเวทมนต์ลอยนวล และต้องการนำตัวสาวน้อยเวทมนตร์กลับ (ไม่ว่าจะจับเป็นหรือตายก็ตาม) พวกเขาจึงส่งมือสังหารที่เป็นสาวน้อยเวทมนตร์พวกเดียวกัน (แต่เกรดพลังดีกว่า) ออกตามล่า แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสถาบันวิจัยส่งอะไรมา มุราคามิและพรรคพวกก็รับมือได้หมด (แม้จะยากลำบากก็ตาม)

    จนกระทั่งมาถึงบทวัลคีรี่


     

    วัลคีรี่ไม่ได้โมเอะแบบนี้หรอก


                   วัลคีรี่ เป็นสาวน้อยเวทมนต์ระดับสูง (SS) ที่สามารถใช้เวทมนตร์ 11 ชนิดตามที่ต้องการ ซึ่งประกอบไปด้วย ต่อต้านการสร้างใหม่, พลังจิตเคลื่อนย้ายสิ่งของ (Telekinesis), เทเลพอร์ต (Teleportation). เวทย์ค้นหา, การฟื้นฟู, การจัดองค์ประกอบ, ลอย, สร้างสสาร, กระแสจิต, การจัดการแรงโน้มถ่วง พูดง่ายๆ เธอเทพชัดๆ

    ในมังงะกับอนิเมะนั้น บทของวัลคีรี่ถูกปรับเปลี่ยนค่อนข้างมาก (เทพจริงๆ มังงะหลายสิบตอน ถูกย่อเพียงไม่กี่ตอน) จึงขอเล่าแบบโดยอ้างอิงมังงะแบบย่อๆ ว่า ยัยผมยาวขาว ตาสีม่วง จนลักษณะเกือบเหมือนเนโกะนี้ ปรากฏในตอน 58 ซึ่งตอนที่จิซาโตะ อิชิจิคุ หนึ่งในหัวหน้าสถาบันวิจัย ได้ตัดสินใจปล่อยเธอออกมาสู่โลกภายนอก หลังจากความพยายามล้มเหลวในการติดตาม โคโตริ ซึ่งมีพระเอกปกป้องอยู่ อย่างไรก็ตามแม้ว่าวัลคีรี่จะออกมาข้างนอกเพื่อทำภารกิจ แต่เธอก็สนใจโลกภายนอก (เพราะชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในสถาบันวิจัย) เลยคิดจะทำตามใจตนเอง  เลยฆ่าพวกสาวเวทย์มนตร์ที่มาจับตาเธอจนหมด และก่อเรื่องวุ่นวายไปทั่ว  (ในมังงะอธิบายเหตุผลที่ฆ่าพวกสาวน้อยเวทมนตร์ก็เพราะเพื่อขโมยยา)

    ต่อมา วัลคีรี่ก็สัมผัสที่อยู่ของเนโกะได้เลย ใช้พลังเทเลพอร์ตไปหาที่หอดูดาว ซึ่งพบทั้งพระเอก, เนโกะ และเพื่อนเนโกะ พร้อมหน้า ซึ่งวัลคีรี่อ้างว่าเธอเป็นพี่สาวของเนโกะ (โคลน?) แต่เนโกะจำไม่ได้ และเนโกะได้ขอร้องให้วัลคีรี่ให้ไว้ชีวิตทุกคนเพราะทุกคนเป็นเพื่อนของเธอ ซึ่งวัลคีรี่ยอมทำตามเนโกะร้องขอ

    หลังจากนั้นวัลคีรี่ก็ใช้ชีวิตอยู่ข้างนอกอยู่พักใหญ่ จนกระทั่งเธอได้พบจิซาโตะ อิชิจิคุ หัวหน้าของเธออีกครั้ง  และอิชิจิคุก็ตบเธอ และดุด่าว่ากล่าว และบอกให้วัลคีรี่ทำหน้าที่ของเธอที่รับมอบหมายให้เรียบร้อย แต่แทนที่วัลคีรี่จะโกรธอิชิจิคุ และฆ่าเหมือนคนอื่นๆ เธอกลับร้องไห้แบบผู้หญิงทั่วไป ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือผิดจากตอนแรกที่เป็นเดชนางพญามารผมขาวโดยสิ้นเชิง

    หากเรามองแบบผ่านๆ พญามารผมขาว วัลคีรี่ก็น่ารักไม่เบา เพราะลึกๆ ก็มีนิสัยเหมือนนางเอกเนโกะ แบบไร้เดียงสา อ่อนต่อโลก ขี้อ้อน แถมยังน่ารักและโครตเก่งอีกต่างหาก ปกติคงมีคนชอบคาแร็คเตอร์แบบนี้ไม่มากไม่น้อย (คาแร็คเตอร์จิตหลุดๆ โหด และอีกด้านก็น่ารักกำลังเป็นที่นิยมสำหรับหลายคนน่ะเออ)

    แต่อนิจจาแม้ว่าวัลคีรี่จะมีความน่ารักยังไงก็ตาม  แต่หลายคนอวยไม่ลง เพราะวัลคีรี่แทนที่จะชอบพระเอกเหมือนตัวละครสาวคนอื่นๆ ในเรื่อง เธอกับแหกแหวกหลงรักตัวละครชายที่ไม่ใช่พระเอก  และมีนิสัยไม่ดี ชนิดว่าหมดสิทธิเป็นมนุษย์ เลวร้ายที่สุดในเรื่องนี้ (ในเวลานี้) นั่นคือ  เจ้าจิซาโตะ อิชิจิคุนั้นแหละ

    ตัวร้ายผมขาวจิซาโตะ อิชิจิคุ หน้าตานิ่ง เบื่อโลกผู้นี้ เป็นอำนวยการ มีหน้าที่กำกับดูแล “สาวเวทมนต์” ในสถาบันวิจัย ทำหน้าที่เลื่อนเกรดแม่มดให้สูงขึ้น (หากใครไม่สามารถทำได้ก็ถูกกำจัด) และถือว่ามีบทบาทเป็นตัวร้าย ที่มีนิสัยโหดเหี้ยมคนหนึ่งในเรื่อง 

    จิซาโตะ อิชิจิคุตอนแรกเป็นอัจฉริยะ และยังคงเป็นคนธรรมดา ที่ยังคงมีความคิด “ทุกชีวิตมีค่าเท่าเทียมกัน” หากแต่หลังจากสูญเสียน้องสาวของตนเองแล้ว (เป็นซิสคอน) ก็เริ่มมีความคิดที่เปลี่ยนไป “มองทุกชีวิตมีค่าไม่เท่า” และจะทำทุกอย่างให้น้องสาวฟื้นคืนชีพโดยไม่สนว่าจะต้องเสียสละมนุษย์คนอื่นมากเท่าไหร่ก็ตาม และเมื่อเขาถูกมอบหมายจากคนใหญ่คนโต ให้เป็นผู้อำนวยการ เขาก็กลายเป็นคนเย็นชาและโหดเหี้ยม

    สาเหตุที่อิชิจิคุ ถือว่าเป็นตัวละครประเภทผมค่อนข้างเกลียด เพราะเขาเป็นผู้ร้ายประเภท “เดินเส้นทางผิดจนยากเลี้ยวกลับ” คือมันเกินที่เยียวยา ไม่มีจุดน่าสงสาร  จุดที่น่าเห็นใจได้กลายเป็นน่าสมเพชเวทนา เพราะการกระทำที่กลบความเห็นใจ จนไม่สามารถให้อภัยเลยแม้แต่น้อย

    วีรกรรมของนายผมขาวนี้หากไล่เลียงนี้ล้วนชวนเลวร้ายทั้งสิ้น  เพราะตลอดทั้งเรื่อง นายคนนี้ทำเรื่องไม่สมควรให้อภัยสารพัด สิ่งที่เขาทำไม่แตกต่างอะไรจากการรับบทเป็นพระเจ้า ไม่ว่าจะเป็นการทดลองท้าทายธรรมชาติ การทดลองมนุษย์ที่ไม่มีมนุษยธรรม ชี้เป็นชี้ตายผู้อื่น เห็นสาวเวทมนต์ (แม่มด) เป็นเพียงแค่แมลง หรือผลิตภัณฑ์อะไรบางอย่างที่ล้มเหลว และมองคนอื่นเป็นเพียงแค่ผลประโยชน์

     

    และนอกจากนี้นายผมขาวยังมีนิสัยชอบใช้ความรุนแรง ทั้งที่อีกฝ่ายเป็นผู้หญิง ตบผู้หญิงฮาเร็มกันเกือบถ้วนหน้า และยังบังคับโคโตริ (หรือเรน่า) เสียสละเพื่อเขาอีก แม้ว่าตอนท้ายเขาอาจกลับใจ (หรือเปล่า?) และมีความดีครั้งสุดท้ายจากฉากปกป้องวัลคิรี่จากห่ากระสุนจนต้องจบชีวิตลง แต่การกระทำของเขาก็ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น (เพราะวีรกรรมเลวๆ เยอะกว่า แถมยังทำให้วัลคีรี่เป็นบ้าเลวร้ายเข้าไปใหญ่อีกต่างหาก)

    ก็แปลก ที่วัลคีรี่รักนายผมขาวนั้นมากๆ ชนิดว่านายผมขาวจะสั่งอะไร วัลคีรี่ทำหมด แม้จะเป็นเรื่องไม่ดีไม่ถูกต้องก็ตาม ทำไมวัลคีรี่ถึงหลงรักนายผมขาว ที่นิสัยแสนโฉดชั่วขนาดนั้น

    สาเหตุที่วัลคีรี่รักนายผมขาวมากๆ นั้นก็เกิดจาก “ความประทับใจครั้งแรก” ที่นายผมขาวได้ช่วยชีวิตเธอ จากการทดลองอันโหดร้าย ซึ่งเข้าทำนอง “ทฤษฏีสะพานแขวน” เมื่อหญิงสาวประสบกับอันตราย หากมีคนมาช่วยเหลือ เธอก็ประทับใจแบบสุดซึ้ง และแปลเปลี่ยนเป็นความรัก ลุ่มหลงในที่สุด

    แน่นอนว่านายผมขาวนั้นตอนแรกไม่ได้ช่วยวัลคีรี่ด้วยความรักอะไรทั้งสิ้น หากแต่ที่ช่วยเหลือเพื่อหวังผลประโยชน์ภายภาพหน้า ซึ่งวัลคีรี่แม้จะรู้เรื่องนี้ แทนที่จะโกรธ แต่ก็ยังคงรักนายผมขาวอยู่เช่นเดิม (ถึงโดนหลอก แต่ยอมให้หลอก เพราะรัก)

    น่าเสียดายที่วัลคีรี่รักผิดคน ถ้าเธอเจอนาย มุราคามิ” ก่อนนายผมขาวล่ะก็ เธอคงตกหลุมรักพระเอกมุรามิไปแล้ว

                    ในขณะที่นายผมขาวช่วยวัลคีรี่เพื่อผลประโยชน์ แต่นายมุราคามินั้นช่วยเหลือเหล่านางเอกโดยไม่หวังผลประโยชน์ใดๆ เลยแม้แต่น้อย หรือแม้แต่ชีวิตเขาก็ยินดีที่จะเสียสละเพื่อให้พวกเธอรอด และนั้นเองทำให้นายมุราคามิเหนือกว่าผมขาวมาก

     

     

    นายผมขาว

     

    Gokukoku no Brynhildr กับ Elfen Lied  มีความเหมือนอะไรหลายๆ อย่าง นอกเหนือจากพล็อตดำเนินเรื่องแล้ว ตัวละครในเรื่องก็ยังคงเหมือนกัน ด้วย อย่างพระเอกมุราคามิมีนิสัยคล้ายๆ กับโคตะพระเอกจาก Elfen Lied  คืออ่อนโยน (แต่มีความตรงกันข้ามแบบโลกคู่ขนานคือ มุราคามิมีความจำที่ไม่มีวันลืม แต่พระเอกโคตะลืมอะไรหลายอย่าง) ส่วนเนโกะนั้นเธอมีส่วนคล้ายๆ ยูกะลูกพี่ลูกน้องของพระเอกโคตะตรงที่เป็นเพื่อนสมัยเด็กเหมือนกัน (แต่ต่างตรงที่ยูกะนั้นจำอะไรได้แม่น แต่เนโกะนั้นจำอะไรไม่ค่อยได้เลย)

    แล้วลูซี่นางเอกจาก  Elfen Lied ล่ะ เหมือนใคร เธอมีส่วนคล้ายกับวัลคีรี่อะไรหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความเก่งกาจ ความโหดเหี้ยม เกลียด เคียดแค้นมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นคนดีหรือคนชั่ว แต่อย่างไรก็ตามอีกด้านหนึ่งเธอก็เป็นเด็กสาวที่ขี้เหงา ขี้อาย ไร้เดียงสา อยากรู้อยากเห็น อยากจะอ้อนใครสักคน และหากเธอรักใคร ก็จะรักจนวันตาย และเปลี่ยนจากสาวโหดเหี้ยมกลายเป็นสาวขี้อ้อนเมื่ออยู่ต่อหน้าชายที่ตนรัก  (และหลายคนอาจไม่มีใครรู้ว่าคนให้เสียงวัลคีรี่นั้น เป็นคนเดียวกับยูกะจาก Elfen Lied)

    ลูซี่นั้นรักโคตะก็เหมือนวัลคีรี่ ซึ่งเกิดจากความประทับใจครั้งแรกเช่นกัน มันอาจจะเป็นความประทับใจธรรมดาสำหรับเด็กประถมตัวเล็กๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่กระนั้นสำหรับทั้งคู่แล้วมันคือประสบการณ์ที่มีค่า   แม้ว่าในตอนท้ายความรักของทั้งคู่ไม่สมหวัง แต่ลูซี่ก็ไม่ได้เสียใจที่จะรักโคตะ และโคตะเองก็ยังรักลูซี่และคิดถึงลูซี่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ก็ตาม

    แต่อนิจจาวัลคีรี่ไม่ได้รักพระเอก เธอรักนายผมขาวมากกว่า

                    ความรักของวัลคีรี่คือความประทับใจครั้งแรก หากเปรียบกันแล้ว ก็เหมือนเด็กสาวที่รอเจ้าชายขี่ม้าขาวมาช่วยจากอันตราย  หากเป็นเจ้าชายที่ดีก็ดีไป แต่เจ้าชายของวัลคีรี่กลับเป็นชายที่แย่มาก  แต่นั้นมันก็เพียงพอที่ความประทับใจนี้ทำให้วัลคีรี่มีความผิดปกติในความคิด ความรู้สึกในแง่บวก ในแง่ดี ตรึงใจตามมา ได้กลายเป็นความชอบที่ไร้ซึ้งความผิดชอบชั่วดี

    สำหรับนายผมขาวนั้น แน่นอนว่าเขาเหมือนนายแว่นคุรามะ จาก Elfen Lied ไม่ว่าจะเป็นอดีตที่สูญเสียคนรัก การเข้าองค์กรเพื่อคนที่เขารัก  อีกทั้งยังมีความเกรียนเหมือนกัน มองสาวกลายพันธุ์ไม่ใช่มนุษย์ เป็นคนใจเย็น เงียบๆ  แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ไม่เหมือนกัน ก็คือนายคุรามะมีความเมตตากับสาวกลายพันธุ์ นานะ” อีกทั้งยังช่วยเหลือเธอแบบจริงใจ ไม่ได้หวังผลตอบแทน ผิดจากนายผมขาวที่ช่วยวัลคีรี่เพราะผลประโยชน์ของตนเอง

                    แม้ว่าวัลคีรี่จะรู้เกี่ยวกับผมขาวหลอกใช้เธอเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง แต่เธอก็ยังรักนายผมขาว ซึ่งผมมองว่าวัลคีรี่นั้นน่าสงสาร รู้ว่าเป็นความรักไม่ถูกต้อง เป็นไปได้ แต่แทนที่จะหนี หรือกลับตัว กลับถลำลึกรักมากยิ่งกว่าเดิม

    ความรักของวัลคีรี่ ไม่ได้เป็นความรักที่ยั่งยืน ความรักที่แท้จริงนั้นต้องเกิดจากหลายปัจจัย มันอยู่ที่ระยะเวลาในการดูใจซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือเพียงครั้งเดียวกันไม่เพียงพอ แม้ว่าจะช่วยชีวิตก็ตาม แต่หากมองว่าเป็นผู้มีพระคุณก็ยังพอได้ แต่มองว่าเป็นคนรักนั้นถือว่าผิดปกติ เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าชีวิตเราได้

    และด้วยความรักที่แสนผิดปกตินี้ ทำให้ไม่มีใครอยากอวยพรความรักของเธอมากนัก มันกลายเป็นความรักที่ผิดพลาด เพราะรักคนที่หมดสิทธิความเป็นมนุษย์ เป็นความรักที่มืดบอด และสุดท้ายความรักของเธอก็ไม่ได้สมหวัง (แถมยังสะใจใครบางคนด้วยซ้ำ)

     

     

    มุราคามิโชว์หล่อ

     

    ไม่ว่าจะเป็นวัลคีรี่หรือนายผมขาวก็ถือว่าเป็นตัวร้าย ที่ร้ายแบบเน้นๆ สไตล์ของคนเขียน คนหนึ่งโหดเหี้ยมแบบไร้เดียงสา และมั่วเมาความรัก คิดว่าความรักแบบประทับใจนั้นคือรักแท้ ในขณะที่อีกคนก็ร้ายสไตล์นักวิทยาศาสตร์ที่เห็นแก่ตัว และเห็นชีวิตมนุษย์

    นายคุรามะนั้นไม่ได้พบพระเอกโคตะเลยแม้แต่น้อย  (อนิเมะ Elfen Lied) แต่ใน Gokukoku no Brynhildr นายผมขาวนั้นได้เผชิญกับนายมุราคามิถึงสองครั้งสองคา และทั้งสองครั้งล้วนทำให้มุราคามิเบ่งรัศมีพระเอกฮาเร็ม

    ครั้งแรก (มังงะเป็นตอน 70-74) สองมารผมขาวบุกรังฮาเร็มของพวกพระเอก มุราคามิพยายามปกป้องฮาเร็ม โดยแลกกับชีวิตเพื่อปกป้อง แม้มุราคามิจะพยายามเจรจาให้ปล่อยทุกคนในฐานะมนุษย์ แต่นายผมขาวพูดตอบกลับว่า “นายเคยมีความคิดที่จะกำจัดสิ่งที่ผิดพลาดหรือเปล่า...สิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดมีเพียงหนึ่งเดียว นั่นคือตัวเอง” และแล้วมุราคามิถูกพลังของวัลคิรี่จากการปกป้องเนโกะเข้าจนบาดเจ็บสาหัสจนเกือบถึงชีวิต

    มุราคามิจึงโต้ตอบไปว่า “อย่าเอาชั้นไปเทียบกับแก สำหรับชั้นแล้ว ชีวิตของทุกคนมีค่ามากที่สุดชีวิตของผมเสียอีก” (ฟินโครต ในเมื่อมีฟินวายได้ ผมก็ฟินฮาเร็มแหละ)

    ข้อดีของตัวร้ายมีอยู่อย่างคือการทำให้พระเอกมีบทได้โชว์เมพตอกกลับความตัวร้าย ถ้าพระเอกบ้าพลังก็จะชกถล่มให้สะใจพระเดชพระคุณ แต่ถ้าเป็นพระเอกแบบบุ๋นก็จะใช้คำพูดเมพๆ ที่พวกตัวร้ายไม่สามารถโต้กลับได้เลย

    นอกจากนี้ในช่วงนี้แสดงให้เห็นชัดเลยว่าความผูกพันธ์ระหว่างมุราคามิ กับพวกนางเอก ว่าทั้งหมดมีความแน่นแฟ้นขนาดไหน

    ในขณะที่ความรักของวัลคีรี่เป็นเพียงแค่ของปลอม ความรักที่เกิดจากความผิดปกติ แต่ความรักของเหล่าสาวๆ ที่มีต่อมุราคามินั้นมีมากกว่าของวัลคิรี่ด้วยซ้ำ เพราะมุราคามิแสดงให้เห็นว่าเขาสามารถสละชีวิตตนเองเพื่อพวกเธอได้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเลยแม้แต่น้อย

     

     

    คันโตนากังฟูคิก (ในอนิเมะนี้ถ่ายหลายมุม)

     

    ครั้งที่สอง (ตอนที่ 83)  ถือว่าเป็นหนึ่งที่ผมชอบน่ะ (และแน่นอนว่าก็เป็นอีกตอนที่ผมช็อก เจ็บปวด และฮ่าในเวลาเดียวกัน) คราวนี้มุราคามิและพวกเนโกะบุกรังนายผมขาวเพื่อช่วยเหลือโคโตริ และเมื่อมุราคามิเห็นนายผมขาว เขาก็สวมวิญญาณคันโตนากังฟูคิกกระดูกถีบยอดหน้านายผมขาวจนหน้าแหก เวลาพระเอกแนวบุ๋นไร้พลังโชว์ต๋อยถีบตัวร้ายนี้ถือว่าสะใจพระเดชพระคุณเป็นอย่างมาก (วัลคีรี่หน้าเหวอไปเลย)

    จะไม่ให้สะใจได้ยังไง เพราะการที่มุราคามิต่อยนายผมขาวมันก็เหมือนการปลดปล่อยความอัดอั้นที่ผ่านมา เพราะเขาต้องเห็นเรื่องราวโหดร้ายมากมาย โดยมีนายผมขาวเป็นต้นเหตุ  ไหนจะทำเรื่องชั่วเพียบ ทำร้ายผู้หญิง มองสิ่งมีชีวิตไร้ค่า คิดว่าตนเองเป็นฝ่ายถูกฝ่ายเดียว อย่างนี้มันต่อยถีบให้มันหายบ้าง

     

     

    อยากให้ Gokukoku no Brynhildr จบแบบนี้

     

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามุราคามิจะโชว์หล่อ และพูดเตือนสติสองจอมมารหัวขาวหลายครั้ง แต่พวกเขาก็ไม่ได้รู้สึกสำนึกกลับใจแม้แต่น้อย อาจเป็นเพราะความเป็นอีโก้ และความรู้สึกที่ตนไม่กลับเป็นคนดีได้เพราะเดินในเส้นทางที่ยากจะกลับตัวได้แล้ว

    มองดูไปมุราคามิกับนายผมขาวนั้น มีความเหมือนกัน นั้นคือทั้งคู่สูญเสียคนรักเหมือนกัน มุราคามิสูญเสียเพื่อนสมัยเด็กและเขาโทษตัวเขาเอง ไม่ได้โทษพระเจ้าหรือโชคชะตา และพยายามชดเชยของทั้งคู่ที่สัญญากันตั้งแต่เด็ก แต่ของนายผมขาวนั้นเขาสูญเสียน้องสาวที่เขารัก แต่เขาโทษพระเจ้า และพยายามเล่นบทพระเจ้า ใช้วิทยาศาสตร์ในทางที่ผิด ด้วยการคืนชีพมนุษย์ โดยแลกกับชีวิตมนุษย์คนอื่นๆ พร้อมกับมองมนุษย์เหล่านี้ว่าขยะ

    ทั้งคู่เหมือนกัน แต่แนวคิดเส้นทางชีวิตแตกต่างกัน มุราคามิเลือกเส้นทางที่เป็นมนุษย์ธรรมดา แต่นายผมขาวเลือกเส้นทางที่หมดสิทธิ์ความเป็นมนุษย์ผลสุดท้ายนายผมขาวก็จบชีวิตอย่างอนาถ

     ส่วนผมขาวผู้น่าสงสารที่ถูกนายผมขาวสร้างความประทับใจห่วยๆ ก็บ้าคลั่ง เมื่อผมขาวตายก็จะคิดฆ่ามนุษย์ทุกคนบางโลก แต่นางมารผมขาวก็ถูกเนโกะสั่งสอนด้วยพลังที่ยิ่งใหญ่กว่า  พลังของเนโกะนั้นเกิดขึ้นได้เพราะความรู้สึกต้องการปกป้องทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนรัก, เพื่อน หรือแม้แต่คนทั้งโลก   ความรู้สึกมันแตกต่างกัน มันเหนือกว่าความรู้สึกรักข้างเดียว ผลก็คือวัลคีรี่ ก็ตายโดยที่ไม่รู้จักรักแท้จริงแม้แต่น้อย

    น่าเสียดายที่อนิเมะ Gokukoku no Brynhildr นั้นช่วงตอนหลังๆ ค่อนข้างจะรวบรัด (จาก 20-30 ตอนย่อเหลือ 2 ตอน) ทำให้บทบาทตัวละครจอมมารทั้งสองดร็อปลงไปค่อนข้างเยอะ อีกทั้งอนิเมะฉายในช่วงเวลาแด็กดู ทำให้มีการตัดทอนฉากโหดเลือดสาดออก  คงเป็นไปได้ยากแล้วมั้งที่เราจะได้เห็นอนิเมะโหดเลือดสาดแบบ Elfen Lied เกิดขึ้นในปัจจุบัน

    แม้ว่าสองจอมมารผมขาวจะตายโหงตายห่าไปแล้วก็ตาม แต่ร่องรอยความเสียหายยังคงปรากฏหลงเหลือ พร้อมกับความทรงจำอันโหดร้ายของมุราคามิที่ไม่มีวันลืมเลือน และท่ามกลางปริศนาที่ยังไม่ไดรับการคลี่คลาย สถาบันวิจัยยังคงไม่เลิกล้มในการตามล่าสาวเวทมนตร์ที่หลบหนี แต่มุราคามิยังคงทำหน้าที่ปกป้องฮาเร็มของเขาต่อไป ทั้งทั้งหมดพยายามใช้ชีวิตอย่างสงบสุข แม้ในอนาคตพวกเขาจะพบเรื่องโหดร้ายที่มากยิ่งขึ้นก็ตาม

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×