ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #250 : ทำไมที่ผ่านมาอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวหลายเรื่องถึงสอบตก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.22K
      2
      29 ก.ย. 56

                  

                    พูดตามตรงว่าช่วงนี้ผมหมดมุกไม่รู้จะเขียนอะไรดี เพราะว่าช่วงนี้ไม่ว่าจะเป็นอนิเมะและมังงะอยู่ในสภาพแช่แข็ง ยังไม่มีสิ่งที่น่าสนใจที่จะมาเขียนสักเท่าไหร่

                    ระหว่างที่เบื่อนี้ ผมก็ไปดูโปรแกรมการ์ตูนอนิเมะซีซั่นหน้าเสียหน่อยว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ปรากฏว่าซีซั่นหน้ามีอนิเมะหลายเรื่องที่ผมสนใจเยอะ (เยอะกว่าซีซั่นนี้ละกัน) มีเรื่อง Coppelion (โมเอะกว่าต้นฉบับอีก), Ore mo Mounai (ที่ประทับใจในมังงะมาแล้ว), Pupa (ผมเชื่อว่าคงไม่ทำตรงต้นฉบับ) และ Non Non Biyori (น่ารัก) ส่วนที่เหลือค่อยตัดสินใจอีกทีหากมีแฟนซับออกมา (ส่วน Kakumeiki Valvrave ถ้าคุณทำโชโกะตาย เป็นอันเลิกกัน)

                    อย่างไรก็ตาม วันนี้ผมไม่พูดถึงการ์ตูนซีซั่นหน้าเหล่านี้หรอก แต่จะพูดถึงแนวการ์ตูนหนึ่งมากกว่า สังเกตว่าซีซั่นไหนๆ มักมีแนวอนิเมะการ์ตูนหลากหลายแตกต่างกัน รวมไปถึงที่มา ไม่ว่าจะเป็น ออริจินอล, ดัดแปลงจากต้นฉบับมังงะ หรือไลท์โนเวล และที่ขาดไม่ได้ก็คืออนิเมะดัดแปลงจากเกม

                    แต่วันนี้เราจะพูดถึงอนิเมะที่ดัดแปลงจากตัวเกม และไม่ใช่เกมธรรมดา มันคือเกมจีบสาว

                    เกือบทุกซีซั่นจะมีอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวสักเรื่องแหละ (แต่ซีซั่น Anime Summer 2013นี้ไม่มีน่ะ จะมีก็ดัดแปลงจากเกม แต่ไม่ใช่เกมจีบสาว )

     

     

    Walkure Romanze

     

                    สำหรับซีซั่นหน้าอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาว +18 จะมีสองเรื่องคือเรื่อง Walkure Romanze และ Whitr Album 2

                    ปกติทุกซีซั่นผมจะดูอนิเมะแนวนี้ทุกครั้ง (ส่วนจะดูจนจบหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) แต่ซีซั่นหน้าผมพูดเต็มปากว่า ไม่ดูแน่นอนแม้แต่ Walkure Romanze และ Whitr Album 2

                    Whitr Album 2 เป็นแนวรักสามเศร้า  (แต่ในเกมมีรูทพิเศษสาวคนที่สามและสี่ด้วย) ส่วน Walkure Romanze เห็นหน้าพระเอกแล้วพล่านไม่อยากดู (เป็นหน้าพระเอกเหลี่ยมยังไงชอบกล) และหากใครจำได้ผมเคยพูดแขวะเกม Walkure Romanze ว่า เอากันตอนใส่เกราะ เกราะไม่บาดผิวหนังแกหรือว่ะ (ความจริงเกมนี้ดังพอสมควรน่ะไม่แปลกหรอกที่จะดัดแปลงเป็นอนิเมะ แต่มันจะสนุกหรือตอบรับดีหรือเปล่าก็เป็นอีกเรื่อง)

                    พูดถึงอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาว ที่ผ่านมาก็มีหลายเรื่อง หลายคนคงนึกถึงเรื่อง Clannad เป็นอันดับแรก เพราะเป็นอนิเมะที่หลายคนประทับใจ (แต่ผมไม่ได้ดู)

                    อย่างไรก็ตาม สำหรับผม ที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มดูและติดตามอนิเมะอย่างจริงจัง ก็เห็นอนิเมะแนวนี้มาหลายเรื่อง (แต่ส่วนมากดูไม่จบ) และหากถามว่าผมถูกใจอนิเมะแยวนี้เรื่องใด ผมก็ส่ายหน้า เพราะตามมาตรฐานของผมแล้ว ผมให้อนิเมะแนวดัดแปลงจากเกมจีบสาว เกือบทุกเรื่องสอบตกหมด!!

                   

                   

    WhitrAlbum2

                   

                    พูดถึงเกมจีบสาวแน่นอนว่าหลายคนรู้จักกันดี เกมจีบสาว (Ren-ai game หรือ SIM Date Game หรือ Bishoujo game หรือ Gal Game) เป็นเกมที่ดำเนินเนื้อเรื่องโดยเรา (ผู้เล่น) รับบทผู้ชายที่ต้องพิชิตใจตัวละครอื่นๆ ที่เป็นผู้หญิงน่ารัก สาวสวยโมเอะ (แน่นอนว่าไม่มีคุณป้า คุณยาย หน้าเหี่ยวๆ แน่แท้) มีรูท หรือเนื้อเรื่องหลายเนื้อเรื่องในเกมเดียว ซึ่งเนื้อเรื่องนั้นก็เกี่ยวกับตัวละครสาวๆ เหล่านั้น

                    สำหรับเนื้อหาเกมจีบสาว (ที่มักเอาไปทำอนิเมะเสียส่วนใหญ่) เนื้อหาส่วนใหญ่จะมีเวทีเป็นโรงเรียนมัธยมปลาย (โรงเรียนธรรมดา ไปจนถึงโรงเรียนเวทมนต์) พระเอกเป็นคนธรรมดา (บางเรื่องก็คนไม่ธรรมดา) ที่ได้รู้จักสาวๆ ในเกม ซึ่งส่วนมากเกิมหนึ่งจะมีตัวละครหญิงหลักอยู่ 3 – 5 คน (บางเรื่องก็มากกว่า) และทุกตัวละครหญิงกำหนดลักษณะไปในทางโมเอะ เช่น เพื่อนสมัยเด็ก, ประธานรุ่นพี่, สาวแว่นเพื่อนร่วมห้อง เป็นต้น

                    แน่นอนหากเราชอบคนใดเราก็เลือกที่จะไปเนื้อเรื่องคนนั้น หรือทำเงื่อนไขเพื่อจีบคนใดคนหนึ่ง การจีบคุณเธอนั้นก็แล้วแต่การตอบคำถามหรือกิจกรรมในเกมที่จะเพิ่มหรือลดความสัมพันธ์กับตัวละครอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื้อเรื่องที่จะออกมาดีหรือร้ายในกลางเรื่องหรือตอนจบ และบางเกมยังผสมผสานกับเกมแนวอื่นด้วย เช่น เกมต่อสู้, เกมวางแผน, แก้ปริศนา เป็นต้น

                    ระบบเกมจีบสาวนั้นมีหลายประเภท แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือเกมจีบสาวแบบเลือกตัวเลือกถาม-ตอบ ที่เลือกตัวเลือกเพื่อให้เนื้อเรื่องดำเนินต่อไปซึ่งจะออกมาดีหรือร้ายก็ขึ้นอยู่กับการตอบคำถามของเรา และ เกมจีบสาว “Dating sim” หรือ เกมจำลองเดทซึ่งเป็นเกมจีบสาวที่เราต้องทำเงื่อนไขบางประการเพื่อสามารถจีบเธอมาเป็นแฟนได้ เช่นการเพิ่มสถานะร่างกาย (เช่น การเรียน, พละกำลัง, เสน่ห์ซึ่งมาตอนแรกสถานะพระเอกแทบไม่มีอะไรดีเลย), วางแผนออกเดท,การทำสถิตอะไรบางอย่าง เป็นต้น

                    หลายคนมักมองเกมจีบสาวว่าเป็นเกมที่สร้างให้คนหื่นกามได้เสพ ความจริงก็ไม่ผิดหนัก เพราเกมจีบสาวส่วนมากนั้น (เกมคอนโซลหรือเกมมือถือ) มักมาจากเกมจีบสาว +18 ของคอมพิวเตอร์หลายเกม (ความจริงก็มีรักใสๆ ที่ไม่ได้มาจากเกม +18 ก็มี ) เพียงแต่เกมจีบสาวของเครื่องคอนโซลหรือเกมมือถือจะตัดฉากมีเพศสัมพันธ์ออกเท่านั้น (แต่ไม่ตัดฉากเซอร์วิสออก)

                    เกมจีบสาว +18 นั้นเรียกอีกอย่างว่า เอะโระเก” (eroge) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่กร่อนมาจากคำ "เอะโระชิกกุเกมุ" (erochikkugemu) ซึ่งทับศัพท์จากภาษาอังกฤษว่ าerotic game หมายถึง เกมวีดิทัศน์หรือเกมคอมพิวเตอร์ญี่ปุ่นที่ใช้ศิลปะแบบอะนิเมะมีเนื้อหาลามกอนาจาร และแสดงการร่วมประเวณีเพื่อเร้ากามารมณ์เป็นสำคัญ

                    โดยมุกที่หลายคนรู้จักเกี่ยวกับเอะโระเกะก็คือ หากตัวเราสามารถปักธง (flag)ให้ตัวละครที่เราจีบ จนเกิดมีปฏิสัมพันธ์กันแล้ว จะนำไปสู่สมสู่กับตัวละครนั้นๆ ซึ่งถือว่าเป็นฉากที่หลายคนตั้งหน้าตั้งตารอคอยที่สุดในการเล่นเกมเอะโระเกะ (แต่จะมีโมเลสปิดทับอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง เพราะญี่ปุ่นการวาดอวัยวะเพศเป็นสิ่งต้องห้าม)

                    สำหรับโลกตะวันตกแล้วไม่ถูกกับแนวแบบนี้สักเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะเรื่องภาษาที่ส่วนมากเป็นภาษาญี่ปุ่น และไม่นิยมคาแร็คเตอร์สาวน้อยน่ารักโมเอะ อีกทั้งยังเป็นสื่อลามกอนาจาร อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันก็มีบางเกมที่เป็นภาษาอังกฤษให้ได้อ่านเข้าใจบ้าง

                    ส่วนบ้านเราแน่นอนว่า เกมจีบสาวเอะโระโกะนั้นเป็นสื่อลามกต้องห้าม ส่วนแบบสายสว่างคอนโซลและเกมมือถือก็ไม่ค่อยมีใครเล่นมากนัก เพราะกำแพงภาษา แต่กระนั้นก็ไม่เป็นอุปสรรค์สำหรับโอตากุเลือดไทยแลนด์ เพราะเกมพวกนี้ภาพสวย มั่วก็พอรู้เรื่องบ้าง ส่วนแบบโป๊สายมืดพวกเขาใช้วิชามาร หรือไม่ก็อ่านตามเว็บต่างประเทศ จนมีความรู้ความแตกฉานเกมพวกนี้ ชนิดแฟนพันธุ์แท้เลยทีเดียว ถ้าไม่เชื่อก็ลองหาบล็อกรีวิวเกมพวกนี้ดู หรือเอาง่ายๆ หากซีซั่นไหนมีอนิเมะแนวที่สร้างจากเกมจีบสาวมาไปดูกระทู้รีวิว แต่ละคนพูดภาษาชนิดหลายคน งง พูดแบบฉากต่อฉษก จนหลายคิดคิดไทม่ออกเลยว่า พวกนั้นเล่นเกมกันตอนไหนถึงรู้ละเอียดขนาดนี้

     

      

    สิ่งที่ขาดไม่ได้ในห้องโอตากุคือเกมจีบสาว (ไม่ว่าจะมืดหรือสว่าง)

     

    แน่นอนว่าสำหรับเกมจีบสาวไม่ว่าจะสายสว่างหรือมืด หรือมืดไปหาสว่าง ยังคงเป็นอุตสาหกรรมเกมที่ยังขายได้ปัจจุบัน หากจะพูดว่าเกมจีบสาวที่ขายตัวละครน่ารักโมเอะเป็นสิ่งควบคู่อยู่กับสะท้อนสังคมญี่ปุ่นก็ไม่ผิดหนัก เห็นได้จากภาพที่เราเห็นบ่อยๆ ที่ห้องโอตากุอุดมเต็มไปด้วยการ์ตูนโมเอะและเกมจีบสาวจนชาชิน หรือภาพที่คนสนใจหาซื้อเกมจีบสาวที่ว่าจำหน่ายไม่ว่าจะเป็นร้านหรือสรรพสินค้าก็มีให้พบเห็น

    สาเหตุที่คนญี่ปุ่น (และเราหลายคน) หลงใหลเกมจีบสาว นอกจากการขายตัวละครที่ออกแบบน่ารัก คาแร็คเตอร์ในฝันของบรรดาชายหนุ่มแล้ว เนื้อหาของเกมนั้นค่อนข้างโรแมนติก ดราม่า ซาบซึ้ง แม้ว่าเนื้อหาของเกมนั้นอาจส่วนผสมระหว่างความเพ้อฝัน และความสมจริง แต่มันกลับถูกใจหลายคนถึคงขั้นลืมโลก จนหลายคนคิดว่าตัวละครนี้มีอยู่จริง

     

     

    HMX-17c ซิลฟ่า

     

    ยกตัวอย่างเช่นรูทเนื้อเรื่องของ HMX-17c ซิลฟ่า ซึ่งเป็นตัวละครที่เป็นเมดโรโบ้ใน To Heart 2 Another Days ซึ่งเป็นหุ่นสาวใช้ที่มาช่วยเหลืองานบ้านพระเอก ซึ่งเป้นสาวน่าตาน่ารัก ใส่ชุดสาวใช้ หากแต่นิสัยของเธอกลับมีปัญหาคือเป็นโรคกลัวคนจนทำงานไม่ได้ (ทำอาหารไม่เก่ง) อีกทั้งปากเสียชอบด่าเจ้านาย จนพระเอกต้องดัดนิสัยเธอ จนเกิดความรักเกิดขึ้น หากแต่ต่อมามีดราม่าที่ทำให้เธอต้องจากพระเอก แต่ในตอรจบเธอก็กลับหาพระเอกเพื่อเป็นเมดของพระเอกตลอดไป ทั้งซึ่งและโรแมนติกจริงๆ  (ที่ยกตัวอย่างเพราะผมเล่นมาแล้วอ่ะนะ แม้อ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออกก็เถอะ)

    หากจะว่าไปรูทของสาวๆ ในเกมจีบสาวแต่ละคนก็ไม่ได้แปลกแหวกแนวเท่าใดนัก เพราะเนื้อหาก็ซ้ำอยู่เพียงแค่นั้น ( ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสมัยเด็ก, ประธานรุ่นพี่ หรือโลลิ หากแต่สิ่งที่จะปรุงอย่างไรให้ออกมาน่าสนใจมากกว่า

    และด้วยความชอบเกมจีบสาวนั้นเอง ทำให้เกิดความหลงใหลตัวละคร 2D เกิดขึ้น ซึ่งเรามักได้ยินโอตากุพวกคลั่งอนิเมะ, มังงะ และเกมจีบสาวพูดเสมอว่า “ตรูไม่สนสาว 3D หรอก สนใจ 2D” ต่างหาก คือพวกเขาสนใจหญิงสาวที่เกิดจากลายเส้นมากกว่าผู้หญิงที่มีเลือดเนื้อจริงๆ เพราะพวกเธอมีรูปร่างและความงามปกติ  (เคยมีผลออกแบบสำรวจคนญี่ปุ่นที่เป็นโอตากุ 500 คน ก็พบเรื่องน่าสนใจเพราะผลสำรวจระบุชัดเจนว่าพวกเขาชาวสาว 3D 3D หรือสาวตัวจริงตัวเป็น ๆ ที่มีจำนวนสูงถึง 66% ส่วนที่บอกว่าขอเลือก 2.5D นั้นมีอยู่ 9.6% และที่ยอมรับว่าตัวเองชอบสาว 2D ก็มีถึง 23% เลยทีเดียว)

    จึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่เราเห็นพฤติกรรมแปลกๆ คนญี่ปุ่นที่แสดงออกของความรักต่อสาว 2D ไม่ว่าจะเป็น แต่งงาน, จัดงานวันเกิด, การเอาหมอนข้างไปอวดคนข้างนอก และตัวละคร 2D ส่วนใหญ่ล้วนมาจากเกมจีบสาวทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Little Busters!, To Heart 2 หรือจะเป็น Love+ ฯลฯ

     ปัจจุบันตลาดเกมแนวจีบสาวยังคงยั่งยืน แม้ว่ากระแสเกมญี่ปุ่นจะเสื่อมถอยลง (จากการเข้ามาของเกมตะวันตก) ก็ตาม แม้อาจจะไม่มีเกมที่ดังเปรี้ยงเหมือนเมื่อก่อน แต่ตลาดยังมีเกมประเภทนี้ยังออกมาเรื่อยๆ จนดูเหมือนไม่มีวันหมด (ไม่เชื่อดูเว็บ g.e.) แม้ว่าเนื้อหา ระบบเกม ยังคงย้ำอยู่กับที แต่นั้นก็ไม่ใช่เหตุผลที่เหล่าผู้ชื่นชอบหรือโอตากุจะไม่ซื้อแม้แต่น้อย เพราะพวกเขาซื้อมาเพื่อเสพเนื้อหาไม่ได้อยู่ที่ความสนุกของระบบการเล่น


     

    Little Busters! อนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวเรื่องเดียวที่ผมให้ผ่าน

    และเป็นอนิเมะน้ำดีที่แนะนำให้ดู

     

    ก่อนจะออกไปนอกเรื่องไปกว่านี้ก็ขอสรุปว่าสำหรับญี่ปุ่นแล้วเกมจีบสาวนั้นเป็นที่นิยมมาก เพราะคาแร็คเตอร์น่ารัก ถูกใจสำหรับหลายคน เนื้อหาก็เต็มไปด้วยความซาบซึ้ง ประทับใจ  ดังนั้นจึงแปลกแต่อย่างใดที่จะนำเกมจีบสาวหลายเกมมาดัดแปลงเป็นอนิเมะ

    เกมจีบสาวถือว่าเป็นวัตถุชั้นดีในการทำอนิเมะ (นอกเหนืออนิเมะแล้วยังมีมังงะ) เพราะมันมีตัวละคร เนื้อเรื่อง มาให้แล้ว อีกทั้งยังฐานแฟนเกมที่รอติดตาม ทำแล้วขายได้แน่นอน

    แน่นอนว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีเกมจีบสาวมากมายถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมะ และส่วนมากเป็นเกมจีบสาวดังๆ ที่คุ้นหู คุ้นตาบ้านเราดีทั้งสิ้น (แม้บางเรื่องหลายคนยัง งง ว่านี่มันเรื่องหยังว่ะก็เถอะ)

                    แต่อนิจจาที่ผ่านมาอนิเมะที่ทำจากเกมจีบสาวเกือบทุกเรื่อง ผมสอบตกเกือบหมด

                   มันน่าเจ็บปวดจริงๆ สำหรับผมแล้ว ค่อนข้างเข็ดขยาดกับอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวพอสมควร โดยเฉพาะ Hoshizora e kakaru Hashi ได้กลายเป็นอนิเมะสำหรับเป็นฝันร้ายสำหรับผมด้วยซ้ำ (พูดตามตรงแค่พิมพ์ชื่อผมก็มือไม้อ่อนแล้วล่ะ) และเท่าที่ผ่านมาอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวก็ทำไม่ค่อยถูกใจผมเลย และจนถึงตอนี้มีอนิเมะจีบสาวเรื่องเดียวที่ผมให้ผ่านคือเรื่อง LittleBusters!

                   แน่นอนหากซีซั่นไหน อนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวเรื่องใดมา ผมให้คะแนนด้านลบ และดูแบบทำใจมากๆ เป็นอันดับ แรก (และส่วนใหญ่มันก็เป็นไปตามคาด)

                    นี้ไม่ใช่ความคิดของผมคนเดียว หากคุณไปอ่านกระทู้หรือความคิดเห็นของใครหลายคนที่มีต่ออนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวเรื่องใดก็ตาม ส่วนใหญ่มักเป็นความคิดเห็นด้านลบ บางคนบอกว่าอนิเมะเรื่องนี้แย่ และผมเชื่อว่าในที่นี้หลายคงฝันร้ายในการดูอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวเรื่องใดเรื่องหนึ่งแน่นอน (ตอนนี้หลายคนพูดเสียงเดียวกันว่า Princess Lover  ห่วยสนิท!!)

                    น่าแปลก ทำไมอนิเมะที่สร้างจากมังงะหรือไลท์โนเวลถึงทำได้ดีระดับหนึ่ง (ดีเยอะ แย่บางเรื่อง) แต่ทำไมอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวแล้วกลับมีอัตราแย่และสอบตกมากกว่า  อนิมะที่ทำจากต้นฉบับอื่นๆ

     

     

    Hoshizorae kakaru Hashi

    ถือว่าเป็นอนิเมะฝันร้ายของผมมากๆ

     

    คำถามต่อมามีเหตุใดส่วนมากอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวส่วนมากไม่ค่อยสร้างความประทับใจแก่คนดูมากนัก แน่นอนว่ามีคำตอบอธิบายเรื่องนี้มากมาย

    เริ่มจาก หากคุณไปอ่านกระทู้รีวิวอนิเมะเรื่องใดก็ตามที่สร้างจากเกมจีบสาว สิ่งแรกที่คุณพบในการบ่นถึงอนิเมะประเภทนี้คือ “ทำไม่ตรงต้นฉบับ”

    หลากหลายสิ่งที่เขายกขึ้นมาว่า “ทำไม่ตรงต้นฉบับ” ไม่ว่าจะเป็นกราฟฟิกห่วยบรม, บทตัวละครตัดบาน, เนื้อหาดัดแปลงแบบไม่เอาอ่าว ฯลฯ

    อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าอนิเมะจะสร้างจากต้นฉบับอะไรก็ตาม มันย่อมไม่มีทางทำตรงต้นฉบับร้อยเปอร์เซ็นต์ แม้แต่ Clannad ที่หลายคนชมนักชมหนาก็ไม่มีทางเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์

    ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือจะทำอย่างไรให้อนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวสามารถทำให้คนดูรับได้ ดูแล้วรู้สึกอารมณ์ถึงความ “ตรงต่อต้นฉบับ” ไม่ใช่ “ทำให้มันเลวร้ายลงจนยากจะรับได้”

    โอเคไม่ว่าจะเป็นอนิเมะสร้างจากอะไรล้วนไม่ตรงต้นฉบับหมด แต่เหตุใดอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวส่วนมากจะมีได้รับเสียงบ่นจากคนอื่นและสอบตกเกือบหมด เพราะผู้กำกับฝีมือไม่ถึงเหรอ นั้นก็มีส่วนหนึ่ง (และนอกจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้กำกับด้วย)

    สาเหตุก็ง่ายๆ เพราะว่าอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวมีข้อจำกัดมากกว่าอนิเมะที่สร้างจากสื่ออื่นๆ โดยเฉพาะการถ่ายทอดเนื้อหา เพราะปกติแล้วการเล่นเกมจีบสาวนั้นเราได้เห็นภาพตัวละครกึ่งเคลื่อนไหว (อย่างน้อยก็เปลี่ยนท่าทาง กระพริบตา) มีทั้งเสียง และเนื้อหา ในขณะที่ไลท์โนเวลนั้นมีเพียงตัวหนังสือและภาพการ์ตูนไม่กี่ภาพ ส่วนมังงะมีแต่ภาพไม่มีเสียง ดังนั้นตัวอนิเมะรับบทหนักที่จะต้องถ่ายทอดภาพและเสียง รวมไปถึงเนื้อเรื่องให้ผู้ชมรับได้

    แน่นอนว่าจำนวนตอนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

    ในปัจจุบันอนิเมะส่วนมากมักทำ 12-13 ตอนเป็นส่วนมาก โอกาสที่จะทำเกิน 26 ตอนนั้นไมค่อยมีเหมือนเมื่อก่อน แต่ด้วยเนื้อหาของอนิเมะในเกมจีบสาวนั้นต้องใช้จำนวนตอนอย่างต่ำถึง 26 ถึงจะทำออกมาดูดี

    ปกติแล้วแนวทางการดำเนินเรื่องอนิเมะในเกมจีบสาวนั้น เริ่มแรกคือการปูพื้นพระเอกกับพวกสาวๆ ในเรื่องทั้งหมดให้ครบก่อน (หรือตัวละครสาวคนอื่นๆ จะปรากฏตัวตอนหลังๆ ก็ว่ากันไป) จากนั้นเนื้อหาตอนต่อไป จะเป็นช่วงรูทของสาวแต่ละคน ชนิดว่าช่วงนี้เธอเป็นนางเอกแต่เพียงผู้เดียว เช่น ตัวละครประเภทเพื่อนสมัยเด็ก เนื้อหาก็แยกว่า ช่วงแรกก็ตลกก่อน กลางเรื่องก็บทดราม่า สุดท้ายพระเอกก็คลี่คลายปัญหาและปักธง ให้เพื่อนสมัยเด็กคนนั้นรู้สึกชอบพระเอกแบบจริงจัง เป็นอันจบเนื้อหาของรูทสาวคนนั้น ก่อนที่เนื้อหาคนนั้นในตอนต่อไป

    หากคำนวณ (อย่างแมวๆ) ตัวละครหญิงหลักแต่ละคนควรใช้อย่างต่ำสามตอนในการถ่ายทอดเรื่องราวของเธอ

    แน่นอนว่าเกมจีบสาวไม่ใช่มีตัวละครหลักหญิงเพียงคนเดียวแน่นอน ส่วนมากทุกเกมมีจะมีตัวละครหลักหญิงถึง 3 คนขึ้นไป  และหากอนิเมะจะทำจะต้องใส่รูทเหล่าสาวๆ เหล่านั้นให้ครบรูท สมมุติว่าหากมีตัวละครเอกมีตัวเอกหญิง 3 คน จะต้องมี 9 ตอนที่พูดถึงพวกเธอล้วนๆ และบางเกมถ้ามีตัวละครหญิง 6 คน (ไม่รวมตัวละครลับ) จะต้องถึง 18 ตอนเลยทีเดียว และที่สำคัญควรหารบทตัวละครหญิงเหล่านั้นให้ลงตัว ไม่ให้ใครโดดเด่นเกินไป รวมไปถึงการสอดแทรกประเด็นของรูทที่ต้องการที่จะสื่อด้วยนอกเหนือจากความรักโรแมนติกอย่างเดียว

                    แต่อนิจจา แม้สูตรมันเหมือนจะง่าย แต่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่อนิเมะ 12-13 ตอนจบจะสามารถใส่รูท เรื่องราวได้ครบถ้วนทุกกระบวนความ ยกตัวอย่างอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวที่ผมดูแล้วเลวร้ายที่สุดในชีวิตอย่าง Hoshizorae kakaru Hashi มีตัวละครหลักที่เป็นผู้หญิงที่จีบได้ 6 คน (ไม่รวมตัวละครลับ หรือพวกน้องชายด้วย) แต่ตัวอนิเมะมีเพียง 12 ตอนเท่านั้น มองยังไงไม่สามารถใส่เนื้อหาของรูทสาวแต่ละคนครบถ้วนแน่นอน

                    นอกจากนี้ตัวอนิเมะเองก็ไม่สามารถทำภาค 2 อะไรด้วย ไม่เหมือนไลท์โนเวลหรือมังงะซึงจะให้จบตอนไหนก็ได้ แต่่อนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวจำเป็นต้องทำให้จบ (หากไม่ดังจริงคงยอกจะมีภาคต่อ)

     

     

    ภาพอนิเมะ To Heart2 ช่างแตกต่างจากเกมจีบสาวจริงๆ

     

    และเมื่อจำนวนตอนอนิเมะมีจำนวนจำกัด แต่จำเป็นต้องยัด (ย้ำว่ายัดจริงๆ) เนื้อหาเกมจีบสาวให้หมดรวดเดียว  ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ฮิตที่สุดก็คือการ ตัดรายละเอียดรูทของพวกสาวๆ (สาวตัวหลักก็ไม่เว้น) ออกเพื่อให้กระชับ จนดูเหมือนเร่งให้จบ และเป็นแบบนี้ทุกเรื่อง

    โอเคอนิเมะที่ตัดเนื้อหาก็มีทุกเรื่อง แต่สำหรับอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบาสาวนั้นถือว่าพิเศษจริงๆ เพราะเนื้อหาที่ตัดนั้นส่วนมากดันเป็นฉากสำคัญ (โดยเฉพาะฉากสาวรองๆ)  ฉากที่หลายคนอยากจะดูอีกด้วย แม้ฉากนั้นจะไม่สำคัญต่อเนื้อเรื่องก็ตาม (เช่นฉากอาบน้ำตัวละครสาว เป็นต้น)

    หากไม่ตัด ก็จะแก้ปัญหาโดยการสรุปให้ออกมาสั้น ๆ จบ แบบห้วนๆ เช่นรูทสาวคนหนึ่งหากจะทำเป็นอนิเมะคงยาวเป็น 4 ตอน แต่อนิเมะสรุปสั้นจบเพียงหนึ่งตอน!! แทนที่จะโรแมนติกซาบซึ้งกลายเป็นว่าได้อารมณ์จืดๆ ไป (ผมเชื่อว่าหลายคนคงมีความรู้สึกแบบนี้แน่นอน) เพราะความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกกับพวกสาวๆ กลายเป็นแบบแบราบ ไม่ได้ลึกซึ้ง

                    อนิเมะบางเรื่องนั้นจะเน้นรูทสาวตัวหลักเพียงคนเดียว (สาวตัวยืนหรือนางเอกหลักที่อยู่ตรงกลางหน้าปกเด่นๆ นั้นแหละ) ส่วนตัวละครสาวนอกเหนือจากนั้นบ้างก็โผล่เป็นเพียงตัวประกอบที่ไม่โดดเด่น (คือเอาแต่ฉากปรากฏตัวครั้งแรก ฉากเซอร์สวิสที่เห็นในเกมมาโผล่ในอนิเมะเท่านั้น) หรือไม่ก็ตัดบท ตัดประเด็นดราม่าของตัวละครผู้หญิงคนอื่น (ยกเว้นประเด็นดราม่านางเอกตัวหลัก)  หรือตัดความรู้สึกที่ชอบพระเอกออกไป จนกลายเป็นว่าเป็นอนิเมะที่ล็อกนางเอกแบเบอร์แบบสุดเซ็งไป

                    ยกตัวอย่าง ที่ทำบทตัวละครทุกตัวไม่คุ้มค่าตัวมากๆ ตัวละครออกมาทีนิดทีละหน่อย ไม่ได้จัดอวยหนึ่งตอนเต็มๆ เลยแม้แต่น้อย  แต่ละคนแทบไม่โดดเด่นอะไรเลยแม้แต่น้อย ขนาดนางเอกตัวหลักออกมาไม่กี่ฉาก  แถมตอนท้ายเข้าวินแบบ งง อีกต่างหาก

                    และนั้นเองทำให้อนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาว เนื้อหาไม่ค่อยประทับใจมากนัก เพราะตัดเนื้อหาไปมากนั้นเอง

                    ประเด็นต่อมา สิ่งที่หลายคนบ่นมากที่สุดคือกราฟฟิคที่แสนจะรับไม่ค่อยได้ กล่าวคือภาพวาดในเกมจีบสาวนั้นสวยงามมากๆ แต่พอมาเป็นอนิเมะแล้ว ภาพกลับออกมาธรรมดา บ้านๆ มาก อซ้ำยังไม่พอ ยังมีการเผาอย่างชัดเจน หน้าตาตัวละครบิดเบี้ยว ทำแล้วเสียชื่อเกมจีบสาวแบบสุดๆ เหมือนกับว่าผู้กำกับขอทำไปที หรือไม่มีงบทำ ไม่จริงจังประมาณนั้น (ความจริงก็แล้วแต่เรื่องอ่ะน่ะ บางเรื่องก็ทำภาพออกมาสวย)

                    ขนาดแฟนพันธุ์แท้มาดูอนิเมะยังรับไม่ค่อยไหว แล้วคนที่ไม่เคยเล่นเกมจะรับได้เหรอ ในเมื่อตัดเนื้อหาไปหมด เพียงแต่ไม่เจ็บปวดเท่าแฟนพันธุ์แท้เท่านั้น

                     นอกเหนือจากความไม่ตรงต้นฉบับแล้ว สิ่งหนึ่งที่ทำให้หลายคนมักบ่นๆเกี่ยวกับอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวก็คือดูแล้วชวนง่วงเป็นบ้า

                    ความคิดเห็นนี้ค่อนข้างรุนแรง หากแต่ถ้ามองลึกๆแล้วอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวส่วนใหญ่จะเป็นพวกรักคอเมดี้โรแมนติกที่เนื้อหาไม่ได้ฉีกแหวกแนวมากนัก ต่อให้มีเรื่องแอ็คชั่น (11eyes)หรือเรื่องเหนือธรรมชาติใส่เข้าไปมันก็ไม่ได้มาช่วยอะไรให้ดีขึ้นเพราะส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาวนเวียนอยู่แค่นั้น ตัวละครก็ยังคงเดิมๆ ที่พบเห็นกันบ่อย ขาดความน่าติดตามเนื้อหาไปในทางที่เดาได้จึงไม่แปลกที่หลายคนจะเบื่อ ยิ่งไม่ได้เป็นแฟนพันธุ์แท้ยิ่งเบื่อไปใหญ่

     

     

                    Koi to Senkyo to Chocolate หลังดูจบผมอุทานว่า “เหรอออออ” ไม่มีความประทับใจอะไรแม้แต่น้อย

     

                    และต่อไปนี้คือความคิดเห็นของผมคนเดียว (ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนอาจไม่เห็นด้วย) กล่าวคือทัศนคติ “วิน” ไม่สามารถนำมาใช้ได้ในอนิเมะในเกมจีบสาว

                    เข้าวินคือการที่ได้สาวในกลุ่มที่ชอบพระเอกคนใดคนหนึ่งสมหวัง (ส่วนมากเป็นนางเอกหลัก) แล้วปล่อยให้สาวคนอื่นช้ำรักกันในตอนจบ

                    การเข้าวินจะทำให้ดีนั้นเนื้อหาเนื้อเรื่องปูให้เข้าทางนางเอกที่สมหวัง  ให้นางเอกโดดเด่นมากที่สุด มีภาษีเหนือกว่าสาวคนอื่น เพื่อนำไปสู่ตอนจบ ซึ่งคนดูจะเกิดความรู้สึกประทับใจ แอปปี้สมหวัง

                    โอเค! การเข้าวินพบเห็นบ่อยๆ อยู่แล้วสำหรับการ์ตูนที่มีนางเอกตัวหลักมากกว่าหนึ่งคน (ไม่อยากเรียกฮาเร็มสักเท่าไหร่) แต่สำหรับการเข้าวินในอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวนั้นกลับไม่ค่อยประทับใจมาก  และอนิเมะบางเรื่องถือว่าเลวร้ายที่สุดก็ว่าได้

    อย่างที่บอกเอาไว้ว่าอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวนั้นค่อนข้างมข้อจำกัด ส่งผลทำให้การดำเนินเรื่องขาดๆ เกินๆ แม้ว่าจะตัดบท หรือให้นางเอกตัวหลักโดดเด่น และส่วนมากจะให้นางเอกเข้าวิน แต่อย่างไรก็ตามการเข้าวินแบบนี้ไม่ได้สร้างความประทับใจมากนัก เพราะเนื้อหาที่ตัดถอน อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม เพราะเนื้อหาไม่ได้ส่งเสริมให้นางเอกตัวหลักไม่มีภาษีด้านความรักสมหวังกับพระเอกได้ดีกว่านางเอกคนอื่นอะไรแม้แต่น้อย

    ยกตัวอย่าง เช่น เรื่อง Hoshizoraekakaru Hashi เป็นหนึ่งในอนิเมะที่ทำบทตัวละครไม่คุ้มค่าตัว การพัฒนาตัวละครระหว่างสาวๆ กับพระเอกแบนราบ ซ้ำตอนท้ายบทของสาวที่เข้าวินพระเอกนั้นแทบไม่แต่ต่างอะไรกับสาวคนอื่นๆ เลย  คือไม่เด่น ไม่คุ้มค่าตัว ตอนจบเข้าวิน แล้วมาดูตัวละครคนอื่นๆ ซ้ำรัก เป็นอะไรที่แย่ๆ มาก เพราะคนเข้าวินไม่มีอะไรที่พิเศษไปจากคนอื่นเลย เหมือนพระเอกจะเลือกใครก็ได้ยังไงอย่างงั้น พอดีคนเข้าวินเป็นนางเอกหลัก (แต่บทอย่างกับตัวประกอบ) เท่านั้นเอง

    บางครั้งการแบเบอร์ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป อย่าง Koi to Senkyo to Chocolate ที่แบเบอร์เลยว่าเพื่อนสมัยเด็กเข้าวิน ส่วนตัวละครผู้หญิงคนอื่นๆ นั้นก็ทำบทโดยไม่มีความรู้สึกว่ารักพระเอก จบแบบห้วนๆ แต่กลายเป็นว่าเนื้อหาตัดทอน ตัวละครขาดมิติ จนดูเหมือนเร่ง และมันแบเบอร์ไม่ต้องลุ้นอะไร แม้แต่ตอนจบที่เพื่อนสมัยเด็กเข้าวิน ผมยังอุทานว่า “เหรอ” ไม่ประทับใจอะไรเลยแม้แต่น้อย

    สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรใช้วินในอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาว  เพราะว่าคนที่ติดตามอวยตัวละครไม่เหมือนกัน อันเนื่องมากจากหลายคนนั้นติดตามมาตั้งแต่เกมจีบสาว ที่เราสามารถเลือกรูทสาวแต่ละคนได้นอกเหนือนางเอกหลัก (ต่อไปนี้ขอเรียกว่านางรอง) ซึ่งบทของนางรองเหล่านี้เนื้อหาดีกว่านางเอกหลักด้วยซ้ำ บางเกมนางรองเป็นที่นิยมเป็นที่รู้จักยิ่งกว่านางเอกหลักเสียอีก

     

    Mashiro-Iro Symphony สุดหักมุม

     

    ดังนั้นพวกเขารับไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ที่เห็นนองรองที่ตนรักช้ำรัก แถมยังมองผู้กำกับว่าสองมาตรฐาน อวยตัวละครตามรสนิยมที่ผู้กำกับชอบอีกต่างหาก

    อย่างไรก็ตามก็มีบางเรื่องเหมือนกันก็มีให้ตัวละครรองเข้าวิน แต่ก็ไม่ดีอีกเหมือนกันเพราะเนื้อหาไม่ได้ปูให้อวยตัวละครที่วินเลย เช่น บางเรื่องก็มีหักมุม อย่างเรื่อง  Mashiro-Iro Symphony ที่ตอนแรกหลายคนคิดว่านางเอกหลักจะเข้าวิน แต่ตอนจบกลับกลายเป็นว่านางรองที่บทเหมือนตัวประกอบเข้าวิน จนเป็นที่เซ็งกันทั้งบาน

    ดังนั้นตามความคิดของผมอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวควรจะจบแบบค้างคาหรือไม่ก็ฮาเร็มจะดีกว่าเพื่อให้หลายฝ่ายรับได้บ้าง แม้ว่าเนื้อหาจะมีการตัดทอน แต่ก็ยังดีที่ทำให้หลายคนเกิดความคิดสนใจที่จะค้นหาเกมจีบสาวเรื่องนี้มาเล่นเพื่อหารายละเอียดมาเสพได้บ้าง (แต่บางคนช้ำใจตัวละครช้ำรักเลยซื้อเกมมาเล่นแก้ความรู้สึกเฮงซวยก็มี)

    หากเปรียบก็คงเหมือนการมีวัตถุดิบๆ แต่คนปรุงมือไม่ถึง หรือคุณปรุงมือถึงแต่มีข้อจำกัดที่ยากจะทำออกมาดีได้ และนั้นเองทำให้อนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวถึงสอบตกหลายเรื่อง แทบไม่มีเรื่องที่ผ่านเลย

    บางครั้งผมก็ตั้งตำถามตนเองเหมือนกันว่าเหตุใดที่ผู้เกี่ยวข้องถึงได้เลือกเกมเกมจีบสาวเรื่องนี้มาทำอนิเมะ แม้ว่าเกมจะดังแต่หากมาชำแหละเนื้อหาก็ใช่ว่าจะเหมาะแก่การทำอนิเมะเพราะยังคงวนเวียนอยู่กับสูตรเดิมๆ ไม่น่าติดตาม  อีกทั้งๆ ที่รู้ทั้งรู้ว่าอนิเมะ12-13 ตอนจบย่อมไม่สามารถเก็บรายละเอียดของเกมได้สมบูรณ์แบบ  และที่ผ่านมาก็มีตัวอย่างสอบตกมาเยอะแล้ว (ยอดขายก็อยู่กลางๆ ไม่ก็เกือบอยู่ท้ายๆ) เหตุใดยังทำอยู่อีก

    ดังนั้นคำตอบที่ผมคิดได้คือ อนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวทำขึ้นคือเพื่อเป็นการโปรโมทเกมจีบสาว เพื่อให้คนดูอนิเมะหันมาเล่นเกมจีบสาวเพื่อเพิ่มยอดขาย  แต่ปัญหาคือเป็นการโปรโมทเกมที่เก่าและเชยชอบกล เพราะกว่าที่อนิเมะที่สร้างจากเกมนั้นๆ ออกมา ตั้งก็นานถึง 2-3 ปีนับแต่ตัวเกมวางแผงแล้ว มันเลยมีแมงวันขึ้นชอบกล ยกตัวอย่างเช่น To   Heart 2  ตัวเกมวางแผงในปี 2004 ส่วนอนิเมะออกมาหลังจากนั้น  3 ปี (ไม่เหมือนไลท์โนเวลหรือมังงะรวดเร็วทันใจ ออกไม่กี่เล่ม ไม่กี่ปีก็เป็นอนิเมะแล้ว)

     

     

    Shuffle!

     

    เนื่องจากอนิเมะที่มีจำกัดมาก ดังนั้นสิ่งเดียวที่พอจะเก็บรายละเอียดเนื้อหาจากเกมจีบสาวได้ก็คือมังงะ ซึ่งปัจจุบันมีมังงะหลายเรื่องที่ถ่ายทอดเนื้อหาของเกมจีบสาวนั้นๆ ได้ออกมาดี (และอีกมากขั้นแย่)

    ยกตัวอย่างที่มังงะที่ผมอ่านแล้วรู้สึกดีใช้ได้เลยคือ Shuffle! (ลิขสิทธิ์บงกต) ซึ่งเคยมีคนบอกว่า อนิเมะ Shuffle!  ห่วยบรม ผิดจากมังงะดูแล้วสนุกเป็นร้อยเท่า ผมเลยสั่งซื้อ (หนังสือมือสอง) มาดูก็ปรากฏว่าเป็นไปตามที่คนนั้นพูด ว่า Shuffle!  ฉบับมังงะนั้นดีจริงๆ แม้ลายเส้นอาจจะมีข้อบกพร่องไปบ้าง แต่เนื้อหาการดำเนินเรื่องนี้แหละคือเกมจีบสาว คือมีการแบ่งเป็นรูท การปักธง ข้อคิดสำหรับแต่ละรูท ดำเนินรูทจากรูทที่นางรองก่อน จากนั้นสุดท้ายก็ไปที่ลาสต์บอส และตอนจบก็ทำให้มีความสุขสำหรับทุกฝ่ายซะ

     

    หนูคุดจัง ขวัญใจโอตากุทุกยุคทุกสมัย

     

    บ่นเรื่องอนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวมาเยอะ คราวนี้มาพูดอนิเมะที่ผมให้ผ่านดีกว่า นั้นคือ Little Busters! เป็นอนิเมะที่ผมให้ผ่านในตอนนี้ และน่าจะเป็นคำตอบเป็นอย่างดีว่าทำอย่างไรให้อนิเมะที่สร้างจากเกมจีบสาวออกมาดูดี

    โอเคครับ Little Busters! หลายคนคงปิดหลังจากดูไม่กี่ตอนเพียงเพราะหลายคนทนไม่ไหวในเสียงตัวละครบางคน บางคนก็บ่นว่าไม่ตรงต้นฉบับ (เหมือนเคย)   แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่เคยเล่นเกมนี้ ไม่รู้ว่าทำไมเกมหลายคนถึงยกให้ว่าเป็นเกมดังอมตะ ทำไมหลายคนถึงชอบตัวละครในเรื่อง ทำไมหลายคนบูชาหนูคุด สะสมทุกอย่างเกี่ยวกับหนูคุดมากขนาดนี้

    ช่วงแรก Little Busters! อาจยืดๆ ไปบ้าง เพราะพระเอกต้องตามหาสมาชิกในชมรม รวมไปถึงอีเวนท์การพบกันระหว่างเขาและตัวละครหญิง หากแต่เมื่อเครื่องติดถึงรูท เรื่องราวของแต่ละคน แต่ล่ะคน ผมถึงกับเกิดอารมณ์สะเทือนใจมากๆ คือ “โครตดราม่า” และมันถ่ายทอดออกมาดีมากๆ คือรูทของแต่ละคนความยาว 4-5 ตอนเป็นอย่างต่ำ ซึ่งเริ่มจากรูทที่ดราม่าเบาๆ ไปถึงดราม่าที่โหดร้าย ซึ่งไม่ล่ะว่าตัดจากเกมมากขนาดไหน แต่ผมดูแล้วอุทานว่ามิน่า Little Busters! ถึงได้กลายเป็นเกมสุดยอดจนถึงบัดนี้

    ในอนิเมะดำเนินรูทอย่างมีระบบ เริ่มจากตอนแรกก็คอเมดี้น่ารัก ก่อนที่จะดราม่าที่ล่ะเล็กทีล่ะน้อย และเริ่มรุนแรงขึ้น พร้อมกันนั้นจะเต็มไปด้วยความน่าติดตาม ก่อนที่พระเอกจะคลี่คลายปมปัญหาในตอนท้าย (แม้ว่าจะแก้ง่ายๆ ก็เถอะ) และจบลงอย่างประทับใจ พร้อมสอดแทรกข้อคิดเกี่ยวกับความรักได้อย่างน่าสนใจ เพราะแต่ละรูทนั้นไม่ได้เน้นเรื่องความรักชายหรือหญิง แต่เป็นความรักบุคคลใกล้ตัว อย่างรักพี่ชาย, รักพี่สาว, รักเพื่อน

    ที่น่าสังเกต Little Busters! ฉบับอนิเมะนั้นไม่ได้เน้นความรักของชายหรือหญิง หรือพระเอกกับหญิงสาวแต่อย่างใด เพราะปกติแล้วหากเล่นเกมจบรูทสาวแต่ละคน สาวคนนั้นจะหลงรักพระเอกในเชิงชายหญิง หากแต่ในอนิเมะนั้นกลับสร้างเน้นคำว่า “เพื่อนรัก” ที่เมื่อจบรูทสาวแต่ละคน พวกเธอจะชอบพระเอกในฐานะเพื่อนแทน

    Little Busters! ไม่ได้ใส่เป็นเกมจีบสาวอย่างน่าเกลียด แต่เป็นการปรับเกมจีบสาวให้เข้ากับอนิเมะได้อย่างลงตัว แม้ว่าอาจจะมีจุดที่ตำหนิบ้าง ตัดเนื้อหาไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้เลวร้าย เพราะข้อคิดโดยรวมของรูทแต่ละคนยังคงอยู่ ทำให้คนดูอย่างผมรู้สึกประทับใจขึ้นมาได้

    ความจริงแล้วเกมจีบสาวนั้นไม่เชิงว่าจะเป็นเกมฮาเร็มอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน เพราะหากดำเนินเนเนื้อเรื่องจริงๆ ก็คือการแยกเป็นรูทๆ ไม่ได้มีรูทจีบสามสี่คนรวดเดียว (แต่ปัจจุบันมีแล้วที่จบทีได้แฟน 4-5 คน) แต่ในอนิเมะนั้นจำเป็นต้องดำเนินเรื่องให้เป็นรูทเดียวๆ กัน จนกลายเป็นพระเอกฮาเร็ม แต่ปัญหาคือจะสร้างฮาเร็มอย่างไรให้เกิดความรู้สึกประทับใจ จะเรียงลำดับรูทอย่างไรให้ดูแล้วไม่สับสนหรือสะดุด ตัดเนื้อหาก็ต้องทำให้อย่างไรไม่ให้น่าเกลียด สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ที่ผู้กำกับต้องตีให้แตก ท่ามกลางทรัพยากรที่จำกัด และความคาดหวังของคนดูที่มีมากมายมหาศาล

    ดังนั้น การเอาเกมจีบสาวอนิเมะไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดเลย

     

    สุดท้ายก็ขอสรุปว่าหากซีซั่นอนิเมะเรื่องใดที่สร้างจากเกมจีบสาวที่มีจำนวนตอน 12-13 ล่ะก็ ขอให้ทำใจมากๆ เพราะเนื้อหาไม่ถูกใจคนชมแน่นอน บางครั้งต่อให้วัตถุดิบดีเพียงใดหากแต่มีข้อจำกัดมากก็ไม่ได้ให้ดีขึ้น น่าเสียดายที่จำนวนอนิเมะปัจจุบันขึ้นอยู่กับการลงทุนเป็นหลัก ทำให้อนิเมะเกมจีบสาวดีๆ สักเรื่องเริ่มหายากเต็มที่ (ดูอนิเมะแต่ล่ะเรื่องต้องทำใจมากๆ จริงๆ)

           

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×