ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #251 : ชมรมไร้เพื่อน กับ สามก๊ก

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3K
      0
      19 ก.ย. 56

    เนื่องจากผมเป็นคนชอบสามก๊ก แต่ไม่ค่อยได้เขียนอะไรเกี่ยวกับสามก๊กสักเท่าไหร่ (ยกเว้นสามก๊กโมเอะที่เขียนยาวจัด) วันนี้ก็จะเขียนสามก๊กในฉบับของผมสักบทความล่ะกัน

    วันนี้จะเอาเรื่อง Boku wa Tomodachi ga Sukunai หรือชมรมคนไร้เพื่อน (ต่อไปนี้ขอเขียนแค่ว่าชมรมไร้เพื่อนเพื่อความสะดวกในการเขียน) กลับมาเขียนอีกครั้ง แต่คราวนี้ไม่ได้เขียนอะไรเกี่ยวกับเล่ม 9 วินหรือฮาเร็มแต่อย่างใด

    หากเราอ่าน Boku wa Tomodachi ga Sukunai ดูเราจะพบว่านิยายไลท์โนได้กล่าวอ้างถึงการ์ตูนมากมายหลายเรื่อง โดยเฉพาะการ์ตูน BL (บอยเลิฟ) ที่ริกะมาอ่านก็กล่าวถึงการ์ตูนแนวซุปเปอร์โรบอตหลายเรื่อง เช่น อีวานเกเลี่ยน (ในเรื่องโอวานเลี่ยน), กัมดั้ม (ในเรื่องใช้ชื่อกัมดั้น) เป็นต้น

    และที่น่าสนใจคือในมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ชมรมไร้เพื่อนได้พูดถึงสามก๊ก อมตะวรรณกรรมของจีน ได้อย่างน่าสนใจ โดยนอกเหนือจากความรู้จากสามก๊กแล้ว ยังแสดงให้เห็นข้อดีของโคดากะ มุมมองของคนธรรมดาต่อสามก๊ก และอื่นๆ อีกมากมาย

     

    มาเรียเป็นคนเดียวที่โคดากะเล่าเรื่องตลกให้ฟังแล้วหัวเราะชอบใจ

     

    เสียดายตอนที่ชมรมไร้เพื่อนพูดถึงสามก๊กนี้เป็นตอนที่ไม่ปรากฏในมังงะหรือในอนิเมะ อันเนื่องจากเนื้อหาไม่ได้สำคัญต่อเนื้อเรื่อง (ต่อให้ตัดก็ไม่มีผลกระทบ และในมังงะกับอนิเมะจะใช้ช่วงโคดากะเล่าเรื่องตลกให้มาเรียมากกว่า) โดยใจความสำคัญของตอนที่ว่าเป็นเพียงที่ดากะเริ่มสนิทกับมาเรียเท่านั้น

     ลืมไปสำหรับเรื่องย่อชมรมไร้เพื่อนไปที่ลิงค์ข้างล่าง

    http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=125456&chapter=154

    สำหรับตอนที่พูดถึงอยู่ในไลท์โนเวลชมรมคนไร้เพื่อน เล่ม 2 ในช่วง “สนทนาสามก๊กกับโคดากะ (& บทโคบาโตะเข้าชมรม เล่ม 2) ซึ่งเป็นช่วงที่ชมรมเพื่อนบ้านมีสมาชิกเกือบครบแล้ว เหลือเพียงโคบาโตะเท่านั้นที่ไม่ได้เข้าชมรม

                   โดยเนื้อหาเริ่มต้นเมื่อโคดากะไปห้องสมุด ที่แสดงให้เห็นว่าโคดากะเป็นเด็กดีผิดจากหน้าตา เพราะชอบศึกษาทบทวนบทเรียนหลังเลิกเรียน สมองก็ดี   (ใครที่ว่าโคดากะกากขอให้คิดเสียใหม่ครับ ในบรรดาพระเอกฮาเร็มนี้โคดากะเป็นคนธรรมดาที่เป็นเด็กดีที่สุดแล้วน่ะ )

    และระหว่างที่โคดากะกำลังจะอ่านหนังสืออยู่นั้นเขาก็ได้พบคนรู้จักในห้องชมรมคนหนึ่งซึ่งไม่ใช่โยโซโระหรือเซนะแต่อย่างใด หากเป็นแม่ชีตัวน้อย (คอมเพลย์) “ทาคายามะ มาเรีย”

    ต้องย้อนความสักนิดในตอนนั้นโคดากะยังไม่ได้รู้จักมาเรียสักเท่าไหร่ (มาเรียยังไม่ได้เรียกโคดากะว่าพี่ชาย) รู้แต่ว่าเป็นเด็กอัจฉริยะอายุ 10 ขวบ แม้ว่าจะฉลาดแต่นิสัยยังเหมือนเด็ก เชื่อคนง่าย แถมชอบโดนโยโซระแกล้ง  นอกเหนือจากนั้นโคดากะไม่เรื่องของมาเรียกสักเท่าไหร่ (ส่วนเรื่องนิสัยนั่น แม้มาเรียนิสัยชอบอวดเบ่ง ปากเสีย แต่โคดากะรับได้เพราะเทียบกับน้องสาวโคบาโตะแล้วก็พอๆ กัน)

    หลังจากที่โคดากะพูดคุยกับมาเรียนิดหน่อย (หลังจากพูดโคดกาะก็เริ่มรู้นิดหน่อยว่ามาเรียกลัวโดนโยโซระแกล้ง ขี้เกียจทำงาน ชอบมาอู้ในห้องสมุด) หลังจากนั้นสักพักมาเรียก็เบื่อแล้วหยิบหนังสือการ์ตูนเรื่องหนึ่งมาอ่าน นั่นคือการ์ตูนสามก๊ก ของ “โยโกยามะ มิตสึเทรุ” (ในไร้เพื่อนเป็นทาเทเคว่า ยามินิบุ)

     

     

    สามก๊ก Sangokushi ผลงานของ โยโกยามะ มิตสึเทรุ

     

                    การ์ตูน Sangokushi เป็นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องยาว (มากๆ) ที่แปลมาจากวรรณกรรรมจีน เรื่องสามก๊ก ของ มิตสึเทรุ โยโกยามะ (ก็เหมือนบ้านเรา ที่วรรณกรรมจีนสามก๊กถูกแปลโดยเจ้าพระยาคลัง (หน) นั้นแหละ) ซึ่งถือว่าเป็นการ์ตูนอมตะตลอดกาล ซึ่งตามความรู้สึกผมแล้วนี้คือการ์ตูนสามก๊กที่ดีที่สุดในเวลานี้ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการ์ตูนสามก๊กออกมามากมาย (ไม่ว่าจะเป็นภาคพิสดารหรือแบบตามวรรณกรรมก็ตาม) แต่การ์ตูนของมิตสึเทรุ โยโกยามะยังคงมีเนื้อหาดีที่สุดและสนุกอยู่กว่าอยู่ดี

                    โยโกยามะ มิตสึเทรุนั้นถือว่าเป็นนักเขียนญี่ปุ่นระดับในตำนานคนหนึ่ง ซึ่งมีผลงานมากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นแนวประวัติศาสตร์บุคคลในสงครามอย่าง โอดะ โนบุนากะ, เจงกีสขาน, โทวกุงะวะ อิเอะยะซุ และยังมีผลงานแฟนตาซีมากมาย   ผลงานอมตะเรื่อง เทตสึจิน หุ่นเหล็กหมายเลข 28 ที่กวาดรางวัลจนเป็นการ์ตูนคลาสสิกมาแล้ว

                    สำหรับสามก๊กของโยโกยามะ มิตสึเทรุ เขียนเมื่อปี 1971-1986 ของสำนักพิมพ์อุชิโอะชุปปังฉะ ซึ่งมีถึง 60 เล่ม พิมพ์ครั้งที่ 2 มี 15 เล่มจบ ของไทย สำนักพิมพ์จัมโบ้จัดพิมพ์สามก๊กเป็นเล่มใหญ่ โดยแบ่งเป็น 15 เล่ม

    หนังสือสามก๊ก ฉบับการ์ตูน เริ่มต้นฉบับในแม็กกาซีน คิโบ โน โทโมะ เนื้อหาค่อนข้างแตกต่างจากวรรณกรรมจีนเล็กน้อย ไปจนถึงสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)หรือ สามก๊กฉบับวณิพกของยาขอบ ตั้งแต่ตอนแรกๆ นั้นเห็นเด่นชัดเลย กล่าวคือเป็นตอนที่เล่าปี่ยังเป็นทอเสื่อและอยู่ระหว่างเดินทางไปซื้อชาให้แม่ ซึ่งสมัยนั้นชาเป็นของแพงมาก หากแต่ระหว่างทางโดนกบฏโจรโพกผ้าเหลืองจับตัว ก่อนที่จะหนีออกมาแล้วเจอกวนอูและเตียวหุยก็สาบานเป็นพี่น้องแล้วจัดตั้งกองกำลังต่อสู้กับโจรโพกผ้าเหลืองต่อไป (ก่อนที่จะกลับมาเป็นสามก๊กที่เราคุ้นตากันดีในที่สุด)

    แม้ว่าวรรณกรรมแปลของ เออิจิ โยชิคาวะ จะเขียนเนื้อเรื่องถึงแค่ตอนที่ ขงเบ้งเสียชีวิต แต่ มิตสึเทรุ โยโกยามะ ก็ได้สร้างสรรค์ให้หนังสือการ์ตูนเขียนมาจนถึงจกก๊กล่มสลาย และทำให้เขาได้รับรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม จากสมาคมนักการ์ตูนญี่ปุ่น ในปี 1991

    สามก๊กของโยโกยามะ มิตสึเทรุนั้นดังมากจนสร้างเป็นอะนิเมะ ในปี 1991-1992 ออกอากาศทางสถานีทีวีโตเกียว (มีทั้งหมด 47 ตอน ซึ่งจบในเนื้อหาโจโฉเรือแตก) และสร้างเป็นเกม สำหรับเครื่องนินเทนโดดีเอส

    นอกจากนั้นสามก๊กของโยโกยามะ มิตสึเทรุนั้นเป็นหนังสือการ์ตูนห้องสมุดญี่ปุ่นทุกที่ต้องมี (ถือว่าเป็นการ์ตูนไม่กี่เรื่องที่สามารถอยู่ในห้องสมุดได้) ตามโคดากะบรรยายว่าต่อให้หนังสือห้องสมุดในโรงเรียนจะมีหนังสือแตกต่างกันขนาดไหน แต่จะมีเพียงแค่สามก๊กของโยโกยามะ มิตสึเทรุ (ในเรื่องไร้เพื่อนเป็นทาเทคาว่า ยามินิบุ) เท่านั้นที่ต้องมีอยู่ในห้องสมุดประจำโรงเรียนทุกแห่ง (โคดากะย้ายโรงเรียนมาหลายแห่ง)

    ส่วนไทยเรานั้น อย่าไปพูดถึงเลย...... ก็น่าเสียดายที่บ้านเรานั้นไม่มีหนังสือสามก๊กของโยโกยามะ มิตสึเทรุประจำในห้องสมุดเลย (อาจมีบางที่ แต่ที่จังหวัดผมไม่มีแน่นอน) ก็น่าเสียดายเหมือนกัน เพราะว่าสาเหตุที่ผมชอบสามก๊ก รู้เรื่องสามก๊กนั้นก็เพราะหนังสือสามก๊กของโยโกยามะ มิตสึเทรุเป็นหนังสือการ์ตูนสามก๊กที่อ่านครั้งแรก ซึ่งตอนที่อ่านนั้นผมแทบไม่รู้จักสามก๊กเลย

    อย่างที่รู้กันว่าวรรณกรรมสามก๊กนั้นมีความยาวมากๆ หากเป็นภาษาหนังจีนนี้ มีหลายภาค ดำเนินเรื่องถึงลูกถึงหลานก็ว่าได้ แน่นอนว่าหลายคนที่เห็นหนังสือสามก๊กเป็นอันต้องยอมแพ้ สำนวนที่อ่านยาก ความเข้าใจในเนื้อหา ตัวละครที่มีมากมาย (ทั้งโผล่แบบแว่บๆ ไปจนถึงตัวเอกของเรื่อง) ทำให้น้อยคนนักที่ได้อ่านวรรณกรรมสามก๊กจบตั้งแต่ต้นจนจบ

    ส่วนมากหลายคนดูสามก๊กจากสื่อพวกภาพยนตร์, ละครซีรีย์จีน และการ์ตูนมังงะ (อนิเมะไม่ค่อยมีแล้ว) โดยเฉพาะอนิเมะนั้นถือว่าเป็นสื่อเข้าใจง่ายที่สุดของสามก๊ก ซึ่งมีหลายเจ้ามาก อย่างที่เห็นในแผงหนังสือปัจจุบัน

    อย่างไรก็ตาม ผมยังคงยืนยันว่าสามก๊กของโยโกยามะ มิตสึเทรุเป็นสามก๊กที่ดีที่สุด ละเอียดที่สุดเท่าที่ดูการ์ตูนสามก๊กมา

    โอเคครับ สามก๊กของโยโกยามะ มิตสึเทรุอาจไม่ใช่สามก๊กที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด ชนิดว่ามีทุกอย่างในสามก๊ก เช่นมีบางฉาก (ที่ไม่ได้อยู่ในวรรณกรรมต้นฉบับ) มีการเพิ่มเข้ามา (เช่นตอนต้นเรื่องเป็นต้น) ส่วนที่ตัดก็มีศึก "กวนตู้" (เป็นศึกโจโฉปะทะกับอ้วนเสี้ยวเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในภาคเหนือ) และบทช่วงหลังขงเบ้งตายกับจ๊กก๊กและง่อก๊กล่มสลาย (ในการ์ตูนเป็นเพียงสรุปจ๊กก๊กล่มสลาย ส่วนง่อก๊กล่มสลายไม่กล่าวถึง) แต่ถึงกระนั้นในบทอื่นๆ ของสามก๊กล้วนถ่ายทอดออกมาละเอียด สนุก ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ช่วงปราบกบฏโจรโพกผ้าเหลือง, ตั๋งโต๊ะครองเมือง, ลิโป้, เล่าปี่ได้เสฉวน, โจโฉแตกทัพเรือ, ขงเบ้งบุกวุยก๊ก ฯลฯ ทุกช่วงสนุกและเต็มอิ่ม เก็บรายละเอียดได้ดีจริงๆ

    ผมก็เหมือนโคดากะที่ไม่ถนัดกับการกับพวกหนังสือที่อ่านยาก ตัวอักษรเยอะๆ อยู่แล้ว การ์ตูนถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สื่อออกมาง่ายและชัดเจน ทำให้เข้าใจเนื้อหาวรรณกรรม พูดง่ายๆ จนบัดนี้ผมไม่เคยอ่านวรรณกรรมสามก๊กฉบับเจ้าพระยาคลัง (หน) เลย (เพราะที่ห้องสมุดมีแต่เวอร์ชั่นเก่าพิมพ์ดีด อ่านยากมากๆ) อาศัยการดูการ์ตูน เรื่องย่อ และหนังสือวิเคราะห์สามก๊กเอา

    กลับมาที่โคดากะ หลังจากที่เห็นมาเรียอ่านหนังสือ โคดากะถามว่า มาเรียชอบใครในสามก๊กที่สุด มาเรียก็ตอบว่า “ขงเบ้ง” เมื่อโคดากะถามว่าทำไมถึงชอบล่ะ มาเรียก็ตอบว่า “ขงเบ้งฉลาดไงล่ะ เป็นอัจฉริยะวางแผนสุดยอด ฆ่าพวกศัตรูงี่เง่าอย่างง่ายดาย ฉลาดเหมือนฉันไม่มีผิด”

    ไม่แปลกที่ความคิดของเด็กจะมองขงเบ้งแบบนี้ เพราะขงเบ้งในสามก๊กโยโกยามะ มิตสึเทรุ (และอาจเป็นสื่ออื่นไปจนถึงวรรณกรรมด้วย) ค่อนข้างข้างมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น สง่างาม อีกทั้งยังฉลาดชนิดหยั่งรู้ฟ้าดิน  สำหรับเด็กทั่วไปแล้วตัวละครเก่งๆ แบบนี้จะประทับใจเป็นพิเศษ


     

    แน่นอนว่าความคิดของโคดากะไม่ได้คิดแบบมาเรีย โคดากะมองขงเบ้งว่าชอบใช้อุบายสกปรก ชอบหลอกล่อศัตรูให้หัวปั่น

    จากนั้นมาเรียถามโคดากะว่า โคดากะชอบใครเหรอ

    โคดากะตอบว่า ”เตียวเลี้ยว” (หนึ่งในห้าทหารเสือของวุยก๊ก โจโฉ มีผลงานเด่นคือต้านทานกองทัพซุนกวน)

    มาเรียหัวเราะเยาะเย้ยแบบดูถูกดูแคลน เมื่อได้ฟังคำตอบของโคดากะ แล้วพูดว่า “ไปชอบคนจืดจางแบบนี้ได้ยังไง โคดากะช่างคาไร้แววเสียจริงเตี้ยวเลี้ยวไม่เห็นจะมีบทบาทเยอะอะไรเบน นอกจากออกมาให้กวนอูสั่งสอนเท่านั้นเอง

    โคดากะสวนกลับมาเรียว่าก็เพราะสามก๊กของทาเทคาสว่าตัดรายละเอียดของฝั่งโจโฉออกไปเยอะ จนทำให้เตียวเลี้ยวไม่มีบทบาทอะไรน่ะสิ แต่จริงๆ แล้วเตียวเลี้ยวเก่งสุดยอดเลยน่ะ เป็นขุนศึกยกย่องทั้งทางด้านสติปัญญาและความกล้าหาญเชียวล่ะ

    จากนั้นโคดากะก็เล่าถึงประวัติ ผลงานการรบของเตียวเลี้ยวให้มาเรียฟัง........

    เชื่อเลยว่าหลายคนไม่ได้สนใจช่วงนี้เท่าไหร่นัก แต่ความจริงแล้วเรื่องนี้มีจุดหนึ่งน่าสนใจที่ไม่มีใครสังเกตมากนัก  แต่น่าสนใจ (จนผมอยากเขียนถึง) นั้นคือมุมมองของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีต่อสามก๊ก

    การคุยเรื่องสามก๊กของโคดากะกับมาเรียนั้น ก็เหมือนผู้ใหญ่คุยกับเด็กเกี่ยวกับสามก๊ก ที่แต่ละคนมีมุมมองสามก๊กแตกต่างไป

    สามก๊กนั้นเป็นวรรณกรรมจีนอมตะที่อ่านได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กและผู้หญิง ซึ่งแต่ละวัย แต่ละบุคคล นั้นมีมุมมองต่อสามก๊กแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราเข้าใจสามก๊กมากขนาดไหน สามารถตีความเนื้อหาได้ลึกซึ้งขนาด ทั้งนี้ อายุ ประสบการณ์ ทัศนคติ ความชอบส่วนตัว จึงไม่แปลกที่ต่างคนมีนานาทัษศนะ ต่างมุมมองต่อสามก๊ก

    มาเรียก็เปรียบเสมือนเด็กที่พึ่งเริ่มต้นอ่านสามก๊ก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเด็กมักตีความเรื่องที่อ่านแบบง่ายๆ แบ่งฝ่ายไหนเป็นฝ่ายดี ฝ่ายเลว ไม่ขาวก็ดำเลย ไม่มีเทา

    โดยเฉพาะสามก๊กของโยโกยามะ มิตสึเทรุ (ไปจนถึงภาพยนตร์ สื่ออื่นๆ)  ทำออกมาชัดเจนเลยว่า มีการวางบทให้เล่าปี่เป็นพระเอกที่มีจิตใจดีงาม ส่วนโจโฉรับบทผู้ร้ายที่มีจิตใจชั่วร้าย

    ภาพลักษณ์ของเล่าปี่ไม่ว่าจะเป็นสื่อไหนๆ คือเล่าปี่เป็นคนดี (หน้าตาก็ดี แบบการ์ตูนญี่ปุ่น) มีคุณธรรม อ่อนน้อม ครองใจประชาชน บทของเล่าปี่จะออกมาในทางที่ดีและมีบทเยอะ  ส่วนภาพลักษณ์โจโฉนั้นออกไปทางตัวโกง ทำอะไรก็ดูเลวๆ สมกับเป็นผู้ร้ายไปเสียหมด ไม่ว่าจะเป็นแย่งยึดอำนาจฮ่องเต้ มีเล่ห์เหลี่ยมจัด และเป็นศัตรูกับคนทั้งแผ่นดิน


     

    นี้คือการมองภาพสามก๊กในช่วงแรกๆ หากแต่เมื่อเราโตขึ้นมาได้อ่านข้อมูลหลายด้าน อ่านสามก๊กหลายรอบ ก็ทำให้ความคิดเปลี่ยนไป โลกนี้ไม่ได้มีแต่ดำกับขาว มีทั้งดีและชั่ว เรียกว่าสีเทา ไม่วาจะเป็นเล่าปี่หรือโจโฉที่ว่าเป็นวีรบุรุษในตำนานก็ไม่สามารถแยกชัดเจนว่าขาวหรือดำ และถูกคนแต่งเสริมแต่งจนมองเป็นแบบนี้ไป

    เล่าปี่นั้นภายนอกเหมือนคนดี แต่บางคนมาว่าเป็นคนเสแสร้ง มีความเจนจัดเรื่องการเมือง

    โจโฉตอนแรกมองว่าเป็นคนไม่ดี แต่บางคนกลับมองว่าเป็นคนรักพวกพ้อง เป็นคนคอยค้ำจูงบรรลังก์ฮ่องเต้ให้คงอยู่ ไม่ได้เลวร้ายเหมือนในการ์ตูนนำเสนอ

    ทุกวันนี้สามก๊กถูกนำไปสร้างภาพยนตร์และมังงะก็มาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นการับตัวละครเอกเด่นๆ มาดำเนินเรื่อง เช่นจูล่ง, กวนอู, โจโฉ หรือแม้แต่ขงเบ้ง ซึ่งเนื้อหานั้นไม่ตรงกับวรรณกรรมมากนัก เพราะมีการสร้างเนื้อเรื่องขึ้นมาใหม่ แต่กระนั้นก็ไม่ได้ขัดใจแฟนพันธุ์แท้สามก๊กแต่อย่างใด เพราะมันเหมือนเป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆ  คือการตีความของผู้สร้างว่าอยากให้คนดูอย่างเราเห็นอีกด้านหนึ่งตัวละครที่เราไม่เคยเห็น เพราะที่ผ่านมาเรามักมองเสมอว่าตัวละครเหล่านั้นเก่งเทพ เป็นวีรบุรุษสามก๊กที่กล้าหาญ แต่ความจริงแล้วอีกด้านหนึ่งพวกเขาก็เป็นเพียงคนธรรมดาทั่วๆ ไปที่มีรัก โลภ โกรธ หลงเหมือนกัน

    โคดากะคืออีกด้านที่มองสามก๊กในมุมมองของผู้ใหญ่ ตอนเด็กๆ เขาอาจมีความคิดเหมือนมาเรีย หากแต่โตขึ้นเห็นอะไรมามาก ประกอบกับอ่านสามก๊กหลายรอบ อีกทั้งยังอ่านบทวิเคราะห์สามก๊กจากที่อื่นๆ  และนั้นทำให้โคดากะมองไม่เหมือนมาเรีย ไม่ได้อวยตัวละครที่เก่งอิทธิฤทธิ์เหมือนเทพยดามากนัก

    นอกจากนั้นที่น่าสนใจคือโคดากะได้เปรียบเทียบเขากับตัวละครสามก๊กด้วย เห็นด้วยจากที่เขาบอกมาเรียว่าเขาชอบตัวละครสามก๊ก 2 คน ซึ่งปกติเวลาที่เราจะชอบตัวละครใดๆ จะต้องมีการเปรียบเทียบว่าเราเหมือนตัวละครในเรื่องใดมากที่สุด

    ตัวละครสามก๊กคนแรกที่โคดากะชอบคือเตียวเลี้ยว ที่มาเรียบอกว่าเป็นตัวละครที่จืดจาง (ความจริงแล้วสามก๊กโยโกยามะ มิตสึเทรุ บทของเตี้ยวเลี้ยวที่เยอะพอสมควร เพียงแต่ส่วนใหญ่ตัวละครสามก๊กของโยโกยามะ มัตสึเทรุนั้นหลายคนออกแบบไม่ค่อยโดดเด่นสักเท่าไหร่ อย่างเตียวเลี้ยวนี้ออกแบบบ้านๆ มาก) ซึ่งสาเหตุที่โคดากะชอบเตียวเลี้ยงเพราะว่าเป็นสุภาพบุรุษนักรบ มีคุณธรรม เก่งทั้งบุ๋นและบู๊ มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ซึ่งโดยภาพรวมแล้วนิสัยของโคดากะเหมือนเตียวเลี้ยวไม่มีผิด

    ส่วนตัวละครสามก๊กที่โคดากะชอบรองลงมา คือ “อุยเอี๋ยน” (ทหารเอกของฝั่งเล่าปี่) ซึ่งเมื่อมาเรียฟังก็ร้องยี้ทันใด และบอกว่าโคดากะชอบได้ไงกัน เพราะอุบเอี๋ยนเป็นคนทรยศ สมควรบี้ให้เละเหมือนก้อนอึไม่มีเจ้าของ ขงเบ้งยังดีกว่าเสียอีก


     

                    โคดากะก็ตอบกับมาเรียว่าจรืงอยู่ว่าใครๆ ก็เกลียดอุยเอี๋ยน (สามก๊กของโยโกยามะ มิตสึเทรุทำภาพลักษณ์อุยเอี๋ยนเหมือนตัวโกงมากๆ)  แค่เพราะเป็นการปั้นเติมเสริมแต่งให้ออกมาแบบนี้ แต่ความจริงแล้วอุยเอี๋ยนเป็นขุนศึกผู้ซื่อสัตย์ ได้รับวางใจจากขงเบ้งมาก แต่เพราะเป็นคนไม่สามารถเข้ากับคนอื่นได้ทำให้พบโชคชะตากรรมอันเลวร้ายในที่สุด

                    โคดากะคงเปรียบตนเองเหมือนอุยเอี๋ยนที่ทำดีแต่ไม่ใครเห็น เพราะหน้าตาดูไม่น่าไว้ใจ เลยไม่มีใครน่าเชื่อถือ ก่อนที่จะบ่นในใจปิดท้ายว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมเกินไปแล้ว

                    และหลังโคดากะเล่าเรื่องจบ มาเรียก็ประทับใจอุยเอี๋ยน และกลายเป็นสาวกเตี้ยวเลี้ยงและอุยเอี๋ยนอีกคน และนั้นเองทำให้มาเรียเริ่มสนิทกับโคกาดะขึ้นมา

                    คำถามต่อมา ทำไมผมถึงเขียนเรื่องพวกนี้ในบทความนี้เหรอ อย่างแรกก็คือสามก๊กไม่ใช่หนังสือที่อ่านจบเพียงครั้งเดียว จึงสรุปได้ ไม่ใช่เต็มไปด้วยกลยุทธ์ กลอุบายเท่านั้น ยังรวมไปถึงจิตวิเคราะห์ การกระทำของตัวละครอื่นๆ อีกมากมายให้ได้ขบคิดกัน

                    นอกจากนี้การ์ตูนชมรมไร้เพื่อนเป็นไลท์โนเวลที่สนุก มันสนุกตรงที่ความสัมพันธ์ของตัวละครมีการพัฒนาไม่เหมือนใคร สอดแทรกอะไรที่ดีๆ ให้ได้ขบคิด นอกเหนือจะตลกขบขันอย่างเดียว ผมอยากให้คนมองชมรมไร้เพื่อนมากกว่าคอเมดี้ ที่เอาแต่อวยตัวละครอย่างเดียว อยากให้มองสาระที่มีให้แต่ละตอนบ้าง

                    เช่น เห็นด้านดีของโคดากะที่ฝักใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ การมีมุมมองสามก๊กแบบผู้ใหญ่ การพูดคุยกับเด็กแบบเป็นกันเอง สิ่งเหล่านี้น่าเป็นแบบอย่าง (แม้ว่าเรื่องความรักจะมีปัญหาไปบ้าง)

    สุดท้ายนี้ขอประโยคเดียว “จบฮาเร็มเถอะอย่าวินเลย.......”

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×