คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #433 : The Mountains of Madness และ The Dunwich Horror พล็อตน่าสนใจของเลิฟคราฟท์
เนื่องจากบ้านเราไม่มีนิยาย เลิฟคราฟท์สักเท่าไหร่ ซึ่งผมไม่ได้อ่าน เลิฟคราฟท์สักเล่ม (ผิดจากอกาธาคริสตตี้ผมตามเกือบทุกเล่ม) ดังนั้นบทความนี้ข้อมูลอาจไม่แน่น แต่จะพูดถึงสื่อบันเทิงที่เกี่ยวกับตำนานครูธมากกว่า ดังนั้นอาจมีเรื่องภาพยนตร์คนแสดง นอกเหนือจากการ์ตูนด้วย
ตำนานคธูลู (Cthulhu Mythos) ซึ่งเป็นงานประพันธ์ซึ่งริเริ่มโดยเอช. พี. เลิฟคราฟท์ เป็นนักเขียนนิยายชาวอเมริกัน โดยโลกของตำนานคธูลูลักษณะผสมกันระหว่างนิยายสยองขวัญ นิยายวิทยาศาสตร์และแฟนตาซี
จากประวัติของเอช. พี. เลิฟคราฟท์พบว่า เมื่อเลิฟคราฟท์อายุได้สามปีนั้น บิดาของเลิฟคราฟท์ได้ป่วยทางจิตขั้นรุนแรงและต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลบัทเลอร์จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 1989 ทำให้แม่ ป้าสองคน และตา ต้องเลี้ยงดูเขาแทน โดยตาของเลิฟคราฟท์ได้สรรหาวรรณกรรมต่างๆให้เลิฟคราฟท์อ่านในวัยเด็กและยังเล่าเรื่องสยองขวัญที่ตนแต่งเองให้เลิฟคราฟท์ฟังด้วย
เลิฟคราฟท์ในตอนเด็กนั้นค่อนข้างเป็นเด็กขี้โรค ยิ่งในช่วงตาของเขาตายในปี 1904 ครอบครัวของเขาประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก จนทำให้เขามีสุขภาพจิตแย่ขึ้นไปอีก เขามักอ้างอยู่บ่อยๆ ว่าเขามีปัญหาด้านโรคประสาท
ต่อมาเขาก็เริ่มมีงานเขียน
แต่เขาก็ยังประสบปัญหาชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการตายของแม่ การหย่ากับภรรยา ตกงาน
แม้เขาจะสร้างสรรค์งานเขียนที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมามากมาย
แต่กระนั้นสถานะทางการเงินของเลิฟคราฟท์ก็ยังแย่ลงเรื่อย
จนในที่สุดเขาก็เป็นมะเร็งลำไส้เล็กและเสียชีวิตในวันที่ 15 มีนาคม 1937
ดังนั้นนิยายของคธูลูจึงเปรียบเสมือนชีวิตของเลิฟคราฟท์
เนื้อหาสำคัญของตำนานคธูลูก็คือ “ความด้อยค่า ไร้ความหมาย
และอ่อนแอของมนุษย์เมื่อเทียบกับจักรวาล” เมื่อโลกมนุษย์เป็นเพียงสิ่งที่เปราะบาง
มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่โดยไม่เคยรู้สึกถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในโลกและจักรวาล
โดยสิ่งทรงอำนาจจากต่างดาวมายังโลก
โดยเทพที่ปรากฏจะมีรูปลักษณ์ที่น่าขยะแขยง น่ากลัว แต่มีพลังอำนาจมาก
ซึ่งมีทั้งดีและชั่ว
ต่อมาคำว่า คธูลู จึงกลายเป็นคำเรียก งานประพันธ์ทุกรูปแบบที่ใช้รูปแบบ ตัวละคร ฉาก และ เนื้อหาซึ่งมีรูปแบบเดียวกัน เรียกได้อีกอย่างว่าเรื่องสยองขวัญแนวเลิฟคราฟท์ (Lovecraftian horror) ชื่อของคธูลูมักใช้เปรียบเทียบในความหมายของสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว อันหมายถึงสัตว์ประหลาดในเรื่องที่มีรูปร่างประหลาด พิลึกพิลั่น น่าสยดสยอง เมือก หนวด ฯลฯ ซึ่งสิ่งมีชีวิตแบบนี้กลับสร้างอันตรายต่อมนุษย์อย่างยิ่ง มนุษย์ไม่สามารต่อกรได้เลย
ยอก โซธอท
หากใครที่ติดตามบทความนี้ จะเห็นว่าผมมักจะเขียนบทความเกี่ยวกับตำนานคธูลู ขอเลิฟคราฟท์อยู่บ่อยๆ เพราะโดยส่วนตัวแล้วผมชื่นชอบสัตว์ประหลาดและพล็อตของเลิฟคราฟท์มาก หากไม่มีเขา ก็ไม่รู้ว่าแรงบันดาลใจสัตว์ประหลาดที่พิลึกลิลั่น สยดสยองทั้งหลายที่มีชื่อเสียงในภาพยนตร์ต่างๆ จะเกิดขึ้นหรือไม่
รวมไปถึงเนียวรูโกะ การ์ตูน หรือภาพยนตร์ต่างๆ ที่มีแรงบันดาลใจว่าจากเลิฟคราฟ์ก็จะไม่เกิดด้วย
ความจริง ผมเองก็ไม่ค่อยรู้จักเลิฟคราฟท์สักเท่าไหร่ อย่าลืมว่าไทยเราไม่มีนิยายของเลิฟคราฟ์ และสมัยนั้นอินเทอร์ไม่มี แต่ผมค่อนข้างชื่นชอบสัตว์ประหลาด (อิทธิพลจากอุลตร้าแมน) มักออกแบบสัตว์ประหลาดในกระดาษประจำ (เวลาว่าง หรือแม้แต่วาดเล่นๆ ในชั่วโมงเรียนน่าเบื่อ) พอโตหน่อยก็เริ่มหลงใหลสัตว์ประหลาดที่รูปร่างพิลึกพิลั่น หรือรูปแบบแมลง เมือกๆ (อิทธิพลจากเอเลี่ยน หรือเอเลี่ยนในวีดีโอเกม) โดยไม่รู้ว่าเบื้องหลังสัตว์ประหลาดมากมายที่ชอบนั้นมีแรงบันดาลใจจากนิยายเลิฟคราฟ์
จะมารู้จักดียิ่งขึ้นก็เมื่อรู้จักเนียวรูโกะ ทำให้ศึกษาเรื่องของเลิฟคราฟท์บ้าง ทำให้เราได้รู้อะไรหลายๆ อย่าง ว่าเขาเป็นแม่แบบนิยายสยองขวัญสมัยใหม่ และเป็นแรงบันดาลใจหลายเรื่องที่หลายคนไม่รู้
ที่แปลกดคือแม้ว่ารูปร่างอสูรกายของเลิฟคราฟท์จะพิลึกพิลั่น น่าสยดสยอง แต่ความจริงแล้วในนิยายจริงๆ จะไม่มีการบรรยายชัดเจนเลยว่าเจ้าสัตว์ประหลาดนี้มีรูปร่างอะไร (อย่างมากก็บรรยายสั้นๆ ) ไม่แปลกเลยหากใครค้นสัตว์ประหลาดบางตัวของเลิฟคาร์ฟในกูเกิลโชว์รูปภาพ จะพบว่ารูปสัตว์ประหลาดตัวนั้น แม้จะชื่อเดียวกัน แต่รูปร่างไม่เหมือนกันเอง เพราะส่วนใหญ่เกิดจากจิตนาการของผู้อ่านเอง ว่าจะวาดภาพสัตว์ประหลาดนั้นเป็นแบบไหน และนั้นทำให้เป็นสเน่ห์ของสัตว์ปะรหลาดเลิฟคราฟท์ที่ทำให้ตัวของมันลึกลับ รูปร่างไม่แน่นอน ไม่สิมันอาจน่าสยดสยองเกินจิตนาการของมนุษย์มากกว่า
นอกจากนี้เลิฟคราฟต์ยังใช้ศัทพ์แปลกๆ โดยเฉพาะชื่อของสัตว์ประหลาดที่ออกเสียงยากมาก เพื่อแสดงให้เห็นว่าสัตว์ประหลาดตัวนี้ไม่สามารถออกเสียงเป็นภาษามนุษย์โลกได้ ดังนั้นชื่อสัตว์ประหลาดแต่ละตัวไม่ใช่ชื่อจริงของมัน แต่เป็นเพียงชื่อที่มนุษย์โลกออกเสียงได้ใกล้เคียงเท่านั้น
ปกติแล้วจุดเด่นของเลิฟคราฟ์นอกจากสัตว์ประหลาดรูปร่างพิลึกพิลั่นแล้ว ก็มีอะไรมากมายที่เป็นจุดเด่นของเลิฟคราฟ์ เป็นต้นว่า สัตว์ประหลาดพิลึกพิลั่นที่ว่านั้นเป็นเทพมาร ที่ดูไม่น่าจะเก่งกาจอะไร แต่ความจริงมันร้ายกาจมาก มนุษย์ไม่สามารถต่อกรอะไรได้ มันมองมนุษย์เป็นเพียงของเล่น ควบคุม พอหมดสนุกก็ทิ้ง และพวกมันก็ยังคงซุกซ่อนในโลกโดยที่มนุษย์ทั่วไปไม่รู้ นอกจากนี้เนื้อเรื่องก็ยังอลังการงานสร้าง ผสมกับความมืดมน บางเรื่องก็การสร้างดินแดนของเทพมารที่แอบซ่อนอยู่ในโลกด้วย
แม้บางเรื่องของเลิฟคราฟ์จะดูอลังการจนเข้าถึงได้ยาก เช่นเรื่อง Call of Cthulu แต่ก็มีเรื่องสยองขวัญบางเรื่องที่เป็นแนวสยองขวัญที่เข้าใจง่าย และดำเนินเรื่องตามแบบสยองขวัญ อย่างเรื่อง The Dunwich Horror
Necronomicon
อย่างที่บอกเอาไว้ว่าเลิฟคราฟท์มีอิทธิพลหลายอย่างต่อสื่อบันเทิงจนถึงทุกวันนี้ ถ้าจะเอาที่น่าจดจำ ก็เช่น หนังสือแห่งความตายของ Evil Dead ที่มีหน้าคล้ายคนบนหน้าปก ที่ใช้เรียกปีศาจมายังโลกมนุษย์ (ทั้งแบบไม่ตั้งใจ หรือตั้งใจ) มีแรงบันดาลใจมาจาก นีโครโนมิคอน (Necronomicon) ซึ่งเป็นหนังสือตำราเวทย์ลึกลับที่เลิฟคราฟท์เอามาอ้างถึงนิยายหลายเรื่อง แถมมีการสร้างประวัติจนน่าเชื่อถือ ทำให้หลายคนเชื่อว่ามีอยู่จริง ซึ่งนอกเหนือ Evil Dead แล้วก็มีภาพยนตร์หลายเรื่องเอาหนังสือเล่มนี้ไปอ้างอิง เช่นกัน
แม้แต่ภาพยนตร์ดัง จนเป็นจำนาน มฤตยูหมอกกินมนุษย์ (The Mist) ภาพยนตร์สยองขวัญ จากนวนิยายของ สตีเฟน คิง ซึ่งเป็นเรื่องราวของผู้คนในเมืองเล็กๆ หนึ่งที่จู่ๆ ทั้งเมืองถูกพายุหมอกมรณะครอบคลุม ในพายุหมอกนั้นมีอสุรกายแฝงตัวอยู่ แล้วพวกมันก็ชอบกระชากจับคนไปกินหายไปพร้อมกับสายหมอก ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคำชมถึง ความระทึกขวัฐ การแสดงแก่นแท้ของมนุษย์ผสมกับความน่ากลัวสมัยใหม่ได้อย่างยอด รวมไปถึงฉากจบที่เจ็บปวดที่สุดในประวัติศาสตร์การดูภาพยนตร์หลายคนทีเดียว
แม้ว่าสตีเฟนคิงจะมีแรงบันดาลใจเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดจากแหล่งอื่นๆ แต่คนดูก็เชื่อว่าหลายตัวมีแรงบันดาลใจจากเลิฟคราฟท์ อีกทั้งยังมีกลิ่นอายของเลิฟคราฟท์ไม่ว่าจะเป็น ความใหญ่โตของสัตว์ประหลาด ที่รูปร่างพิลึกพิลั่นที่น่ากลัวยิ่งกว่าความตาย รวมไปถึงจิตใจของมนุษย์ในเรื่อง
อิทธิพลการออกแบบสัตว์ประหลาดของเลิฟคราฟท์ ก่อให้เกิดกำเนิดสัตว์ประหลาดใหม่ๆ ที่น่าจดจำในภาพยนตร์หลายเรื่อง หนึ่งในนั้นก็มีภาพยนตร์สยองขวัญอย่าง The Thing ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่อิงจากนิยาย (แต่เนื้อหาไม่เป๊ะ) ที่ทีมนักวิจัยได้พบสัตว์ประหลาดจากต่างดาวที่ตื่นมาจากการจำศีลในน้ำแข็งแล้วอาละวาดฆ่าพวกเขา ซึ่งเจ้าสัตว์ประหลาดนั้นถือว่าน่าสะพรึ่งและน่ากลัวในเวลานั้น โดยมันสามารถเข้าไปในร่างกายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แล้วกลืนกินเซลล์สิ่งมีชีวิตนั้นๆ จนกลายเป็นสัตว์ประหลาด ความน่ากลัวของมันคือ เจ้าของร่างเดิมไม่รู้ตัวเลยว่าพวกเขาโดนสิงอยู่ และเมื่อมันเติบโต มันก็จะกลายเป็นสัตว์ประหลาดที่สยดสยอง เพื่อกินเหยื่อและแพร่พันธุ์ต่อไป
The Thing คล้ายๆ กับสิ่งมีชีวิตในนิยายสยองขวัญของเลิฟคราฟท์ สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีรูปร่างแน่นอน (เจ้าสิ่งมีชีวิต The Thing ความจริงแล้ว ไม่มีใครเห็นตัวจริงมัน แม้แต่ซากที่เห็นในตอนแรก ก็ไม่ใช่ตัวจริงของมัน เพราะมันอาจเป็นสิ่งมีชีวิตจากนอกเรื่องอีกตัวที่โดนสิงแล้วกลายพันธุ์เท่านั้น) อีกทั้งก่ารผสมผสานระหว่างมนุษย์กับอสูรกายในนิยายเลิฟคราฟท์ก็มีก่อนหน้าแล้ว อย่าง The Dunwich Horror ที่จะมาเล่าในเนื้อหาถนัดไป
แม้จะกล่าวชมเลิฟคราฟท์ไปเสียหมด แต่ความจริงก็มีจุดด้อยอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเฉพาะคนรุ่นใหม่ คือแม้ว่านิยายเลิฟคราฟท์จะมีนิยายสยองขวัญยุคใหม่ แต่เอาเข้าจริงสำหรับคนยุคใหม่ที่มาอ่านนิยายของเลิฟคราฟ์มักจะบอกว่าเนื้อหาหลายเรื่องล้าสมัยมาก อันนี้ก็ต้องเข้าใจว่านิยายสยองขวัญของเฟคราฟท์นั้นเป็นนิยายที่ค่อนข้างเก่า ในขณะที่โลกเปลี่ยนไป วรรณกรรมเปลี่ยนไป รวมไปถึงแนวสยองขวัญก็ที่มีจำนวนมากขึ้น พล็อตที่แปลกใหม่ หักมุมมากขึ้นด้วย แต่ถึงอย่างนั้นเลิฟคราฟท์ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อสื่อบันเทิงหลายอย่าง การออกแบบสัตว์ประหลาด ความรู้สึกสยองขวัญแบบใหม่ๆ พล็อตต่างๆ ศัพท์ต่างๆ ก็ยังคงมีอยู่
ในวงการวีดีโอเกมส์ (ไม่นับเกมบอร์ดนะครับ เพราะผมไม่รู้เรื่องนั้น) พวกสัตว์ประหลาดของเลิฟคราฟท์ ก็ถูกนำมาใส่มากมาย บางเรื่องก็เป็นบอส ทั้งบอสรอง บอสใหญ่ หรือพล็อตต่างๆ ก็หยิบเอาไปใช้ โดยเฉพะพวกบอสที่มาจากเลิฟคราฟท์นั้น เพราะตัวเกมสมัยนี้มีความสมจริงมากขึ้น ทำให้พวกสัตว์ประหลาดหลายตัวดูน่ากลัว ขยะแขยงมากขึ้นด้วย รวมไปถึงการทำให้ได้อารมณ์อลังการ รู้สึกสิ้นหวัง ที่มนุษย์ (ผู้เล่น) ไม่สามารถต่อกรอะไรกับมันได้ด้วย
หากพูดถึง Silent Hill หลายคนต้องรู้จัก เพราะเป็นเกมสยองขวัญที่สร้างชื่อของโคนามิ ที่เวทีของเรื่องคือเมืองไซเลนต์ฮิลล์ เมืองสมมุติเมืองหนึ่งของอเมริกา ที่เต็มไปด้วยหมอก สัตว์ประหลาด และโลกสนิม ซึ่งความจริงแล้วเมืองแห่งนี้ไม่ได้เป็นเมืองที่เลวร้ายอะไรเลย มันเป็นเพียงเมืองที่มีอำนาจประหลาดอันจะส่งผลให้จินตนาการและความปรารถนาอันแรงกล้าของบุคคลกลายเป็นความจริง และมันตอบรับด้านมือของมนุษย์ ทำให้เมืองแห่งนี้กลายเป็นเมืองน่ากลัวขึ้นมา เท่านั้นเอง
Silent Hill เป็นอีกเกมที่นำแรงบันดาลใจมาจากที่ต่างๆ เยอะ หนึ่งในนั้นคือ นิยาย เสียงเรียกของคธูลู (The Call of Cthulhu) ผลงานสร้างชื่อของเลิฟคราฟท์ ซึ่งนิยายเป็นแรงบันดาลใจให้กับภาค Downpour นอกจากนี้ เนื้อเรื่องเกมก็คล้ายๆ กับนิยายของเลิฟคลาฟท์ เป็นต้นว่าการนับถือเทพเจ้าที่รูปร่างประหลาด การสร้างมิติอีกมิติหนึ่งที่เต็มไปด้วยสัตว์ประหลาดรูปร่างพิลึก บรรยากาศของเมือง (หมอก, ฝน) และ จิตใจของมนุษย์
ใครที่เล่นเกม Bloodborne ภาคเสริม ก็คงรู้ซึ้งความโหดหินของตัวเกม กับบรรยากาศแบบดาร์กแฟนตาซีเป็นอย่างดี และหลายคนคงจะจดจำบอสสุดโหดนามว่า Orphan Of Kos ที่มาพร้อมฉากที่น่าขยะแขยงเพราะมันคลายจากร่างกายของแม่ของมันที่ตาย และมันมีรูปร่างที่น่าเกลียด แต่ถึงแบบนั้นมันก็ขึ้นชื่อโครตยากและโครตโหด ทั้งเร็ว ตีหนัก โครตอีด ท่าโครตเยอะ แถมพื้นที่ต่อสู้แคบอีกต่างหาก ซึ่งผู้เล่นบางคนใช้เวลาเป็นวันเพื่อคุ้นเคยจดจำท่าของบอส การกจังหวะ จึงจะเอาชนะมันได้
จะว่าไปเกมนี้ก็คล้ายๆ กับโลกของเลิฟคลาฟท์อะไรหลายอย่าง ที่สำคัญคือความโหดของเกม บอสสัตว์ประหลาดที่โครตยาก ถึงขั้นสิ้นหวัง มนุษย์ไม่สามารถต่อกรได้ ในหมู่บ้านประมงและตัวของบอสที่เป็นฉากปรากฏตัวในฉากนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก The Shadow Over Innsmouth ซึ่งนิยายกล่าวถึงเปล่าสัตว์ประหลาดที่ชื่อดีพวันที่มีลํกาณะคล้ายกับปลาและกบ อาศัยอยู่ในทะเล และพวกมันก็นับถือรับใช้ดากอน หนึ่งในอสูรกายที่มีชื่อเสียงที่ปรากฏตัวในสื่อบันเทิงบ่อยครั้ง ของเลิฟคลาฟท์
เจเกต (Giygas ) เป็นหนึ่งในบอสใหญ่ของเกม Earthbound มีที่มาที่ไปลึกลับ ว่ากันว่ามันมาจากต่างดาวและมีจิตใจชั่วร้าย สามารถควบคุมมนุษย์มารับใช้ตนได้ โดยตัวเกมจะเป็นสู้ในมิติอื่น หลังจากสู้ไปพักใหญ่หน้าจดจะเริ่มแดงเถือก และมันจะกลายร่างเป้นวิญญาณเหมือนคนร้องโหยหวน เรียกได้ว่าสู้ไปสยองไป เหมือนตกอยูฝันร้ายไม่มีผิด ซึ่งแรงบันดาลใจก็มาจากอซาธอท ( Azathoth) ของเลิฟคลาฟท์นั่นเอง
หุบเขาแห่งความวิปลาสฉบับมังงะ
สำหรับญี่ปุ่น มีเรื่องแปลกใจเล็กน้อยตรงที่ตำรนานคธูลูนั้นเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นก่อนที่เขาจะอเมริกาจะยอมรับด้วยซ้ำ จนนิยายถูกสร้างเป็นมังงะมาแล้ว ลายเล่ม ซึ่งรายชื่ออยู่ที่ด้านล่าง
Cthulhu no Yobi Koe (เสียงเรียกของคธูลู-Call of Cthulhu) 2009
Dunwich no Kai 2011
Inusumausu no Kage (The Shadow over Innsmouth) 2010
Isekai no Shikisai (The Colour Out of Space) 2015
Kyouki no Sanmyaku Nite (หุบเขาแห่งความวิปลาส-At the Mountains of Madness) 2016
Kyouki no Yamanami (หุบเขาแห่งความวิปลาส*At the Mountains of Madness) 2010
Maken (H.P. Lovecraft's The Hound and Other Stories) 2014
Outsider 2007
Yami ni Hau Mono (The Haunter of the Dark) 2016
เลิฟคลาฟท์มีอิทธิพลอย่างสูง โดยเฉพาะการออกแบบสัตว์ประหลาดที่น่าเกลียดน่ากลัวไม่ซ้ำแบบใคร บางเรื่องเองก็นำตำนานคธูลู (Cthulhu Mythos) มาอย่างสนุกสนาน อย่างเนียวรุโกะ Haiyore! Nyaruko-san ที่เป็นที่รู้จักกันดี ก็เอาเหล่าเทพมารและสัตว์ประหลาดในตำนานคธูลู เอามายำ เล่นกันสนุกสนาน พร้อมกับหยอดมุล้อเรื่องอื่นๆ แบบไม่หยุดหย่อน
มีการ์ตูนหลายเรื่องที่เอามุกตำนานคธูลูมาเล่นเจ็บแสบ อย่างการ์ตูน Mugen no Gunkan Yamato (ลิขสิทธิ์โดยสยามในชื่อ “พิฆาตยามาโต้”) ซึ่งเป็นเรื่องของพระเอกในยุคปัจจุบันที่ย้อนอดีตไปยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้ใช้เรือยามาโต้เพื่อเปลี่ยนประวัติศาสตร์ โดยตอนหลังๆ นั้นพระเอกก็ทราบว่าสาเหตุที่เขาย้อนเวลานั้น เป็นฝีมือของยอก โซธอท (ความจริง ผมจำไม่ได้ ระหว่าง อซาธอท หรือ ยอก เพราะทั้งสองตัวเป็นเทพมารเอาแต่ใจทั้งคู่เลย) แถมตอนจบก็โครตกวน เมื่อเทพมารเอาแต่ใจเกิดรู้สึกเบื่อขึ้นมา จึงส่งพระเอกกลับไปสู่ยุคปัจจุบัน ส่วนสิ่งที่พระเอกทำมาในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นเพียงแค่ความฝัน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นไปซะงั้น กลายเป็นว่าเมื่อยอกมา เรื่องเละไป
(ยอก โซธอท นั้นมีรูปร่างไม่แน่ไม่นอน ส่วนมากมักปรากฏในรูปของฟองสบู่หลากสีสันเป็นอีกหนึ่งเทพที่ค่อนข้างชอบแกล้งมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นเทพที่เป็นตัวแทนของมิติและเวลาทั้งหมด สามารถรู้สรรพสิ่งทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต หากยอกชอบมนุษย์คนใดก็จะมอบพลังวิเศษให้ แต่ถ้าหากไม่ชอบใครก็มอบหายนะแทน)
ที่เขียนมาทั้งหมด ไม่เกี่ยวอะไรกับหัวข้อบทความนี้เลย แต่ถึงอย่างนั้นผมก็อยากให้คนอื่นรู้ว่าเลิฟคราฟท์นั้นมีอิทธิพลมากกว่าที่คิด และมันก็น่าสนใจจริงๆ ที่จะไทยเราจะซื้อลิขสิทธิ์แล้วมาแปลเป็นรูปนิยายบ้าง เพราะบ้านเรานั้นไม่ค่อยมีนิยายที่สร้างสัตว์ประหลาดขึ้นมาเองสักเท่าไหร่ หากได้อ่านเลิฟคราฟท์ก็น่าจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับบางคนในการสร้างสรรค์นิยายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอสูรกายสัตวืประหลาดตามแบบของเราได้
ดังนั้นในบทความนี้ ผมก็มีพล็อตนิยายสองเรื่องมาเสนอ สำหรับผู้ที่สนใจเลิฟคราฟ์ แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอ่านนิยายเรื่องใดก่อน หรือกลัวว่าอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง (แค่อ่านเรื่องย่อผมก็มึนๆ แล้ว)ครับ โดยส่วนเรื่องที่ว่าคือ The Mountains of Madness และ The Dunwich Horror ที่ทั้งสองเรื่องไม่ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ ทั้งๆ ที่มันน่าสนใจมาก
ปล. ย้ำอีกครั้ง สิ่งที่ผมเขียนทั้งหมดเป็นการอ่านเรื่องย่อจากเว็บวิกิเท่านั้น ซึ่งผมไม่ได้อ่านฉบับเต็มๆ ของทั้งสองเรื่องเลย พอดี ผมสนใจสองเรื่อง จึงอยากอ่านไปเขียนเรื่องย่อไปด้วยเท่านั้น หากผิดพลาดตรงใด ขอ อภัย มา ณ ที่นี้ด้วย
ยอกกอธ (Shoggoth)
The Mountains of Madness หรือ หุบเขาแห่งความวิปลาส นิยายขายดีของเลิฟคราฟท์ที่เขียนไว้เมื่อ1931
เนื้อหาของนิยายเป็นเรื่องผจญภัยที่หายนะที่ทวีปแอนตาร์กติก ในช่วงปี 1930 ที่เต็มไปด้วยความลึกลับ โดยนักเดินทางได้บันทึกสิ่งที่เขาพบ ว่า เขาได้พบความลับของทวีปแอนตาร์กติกาที่ไม่มีใครทราบมาก่อน ซึ่งเขากับทีมสำรวจได้พบซากปรักหักพังที่ลึกลับ น่ากลัว ที่ซุกซ่อนในภูเขาที่สูงยิ่งกว่าเขาหิมาลัย โดยไม่ทราบว่าใครเป็นคนสร้าง
ยิ่งพวกเขาเข้าไปลึก ก็ยิ่งพบสิ่งแปลกๆ มากมาย ซากปรักหักพังนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มาก ชนิดว่ามนุษย์โบราณไม่มีปัญญาจะสร้างด้วยซ้ำ เมื่อตรวจสอบอายุของมัน กลับมีอายุมากกว่าโลกใบนี้เสียอีก (อายุของโลก คือ 4700 ล้านปี) และที่แปลกยิ่งกว่าคือพวกเขาได้พบซากสิ่งมีชีวิตโบราณที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน และไม่สามารถระบุได้ว่ามันเป็นพืชหรือสัตว์ อีกทั้งบางส่วนยังถูกแช่แข็งในชั้นน้ำแข็งอีกด้วย
แม้จะเต็มไปด้วยความสงสัย หากแต่ทั้งหมดก็ได้กลับไปที่ค่ายที่พัก และนั้นทำให้เป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่พวกเขามีชีวิตอยู่ เพราะพวกเขาขาดการติดต่อ เมื่อส่งคนไปค้นหา ก็พบว่า คนในค่ายเกือบทั้งหมดเสียชีวิตในสภาพสยดสยอง ซากสิ่งมีชีวิตหายไป และมีการร่องรอยการผ่าศพมนุษย์ทิ้งไว้
ต่อมาเรื่องราวก็ตัดไปเล่ามุมมองของนักศึกษาคนหนึ่งชื่อแดนฟอร์ด (Danforth) ที่เขาและคนรู้จักได้ตามเรื่องราว โดยใช้เครื่องบินข้ามภูเขา และที่นั่นเขาก็พบสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งเขาเชื่อว่ามันเป็นเมืองของมนุษย์ต่างดาวที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่เขาเคยอ่านในนีโครโนมิคอนสมัยมหาวิทยาลัย และเมื่อพวกเขาเข้าไปลึกๆ ก็พบกับคำตอบสาเหตุที่คนในค่ายถูกฆ่า รวมไปถึงสัตว์ประหลาดเพนกวินกระหายเลือด และสัตว์ประหลาดที่ชื่อยอกกอธ (Shoggoth) สิ่งมีชีวิตที่น่าสะพรึ่งกลัวตัวหนึ่งของเลิฟคราฟท์
(จากการค้นหารายละเอียด ผมก็พบว่าสิ่งก่อสร้างทั้งหมดนั้นถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ต่างดาวที่ชื่อเอลเดอร์ธิง ความจริงแล้วพวกนี้เป็นมนุษย์ต่างดาวที่เป็นมิตรกับมนุษย์ที่สุด แต่เนื่องด้วยรูปร่างของมันทำให้ไม่ค่อยมีโอกาศได้ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์มากนัก แม้พวกมันจะมีรูปร่างแปลกประหลาดแต่มันมีความรู้มาก มันก้าวหน้าถึงขั้นสร้างสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ได้อย่างง่ายดาย
ว่ากันว่าสัตว์โลกส่วนใหญ่นั้นเป็นผลวงานของเอลเดอร์ธิงสร้างเอาไว้ และชอกกอธสิ่งมีชีวิตที่กล่าวถึงในนิยายนี้ก็เป็นผลงานของพวกมันเช่นกัน โดยชอกกอธนั้นเป็นสไลม์ที่รูปร่างไม่แน่ไม่นอน แต่มันสามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ตามต้องการ แต่พวกมันมีสติปัญญาต่ำ พวกเอลเดอร์ธิงจึงสื่อสารผ่านทางสะกดจิตเพื่อใช้งานต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ต่อมาเอลเดอร์ธิงทำสงครามกับยิธเธียน แต่แพ้ เพราะยิธเธียนใช้อาวุธที่ทำให้ชอกกอธไม่เชื่อฟังเหมือนแต่ก่อน ทำให้เอลเดอร์ธิงต้องอพยพย้ายที่อยู่ แล้วทิ้งเมืองใต้น้ำแข็งนี้ไว้ โดยที่ชอกกอธยังอยู่ที่นั้น เพื่อต้อนรับผู้บุกรุกต่อไป)
แม้ว่าพล็อตโดยรวมของ The Mountains of Madness อาจไม่แตกต่างอะไรกับภาพยนตร์สยองขวัญสมัยนี้มากนัก ประมาณว่านักสำรวจนักโบราณคดีไปพบอะไรบางอย่างซุกซ่อนไว้ และเมื่อสำรวจ หรือตรวจสอบ ก้ถูกสิ่งมีชีวิตไล่ฆ่า จากนั้นก็หนีเอาตัวรอด สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นสูตรสำเร็จถูกมักหยิบไปสร้างสื่อบันเทิงหลายเรื่อง ทำให้ The Mountains of Madness ขาดความแปลกใหม่บ้าง หากเทียบกับนิยายสมัยใหม่
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องเข้าใจว่า The Mountains of Madness เป็นนิยายที่บุกเบิกสยองขวัญยุคใหม่ ที่แนวสยองขวัญ สมัยก่อนถือว่าเป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์ แปลกประหลาด การสร้างความหวาดกลัวของมนุษย์ ผสมกับบรรยายกาศหนาวเย็นยะเยือกที่โหดร้าย ไร้ทางหนี กับ ความอลังการของฉาก รวมไปถึงการหนีตายที่ทำให้ตื่นเต้นตลอดเรื่อง
และที่น่าแปลกใจคือพล็อตสยองแบบนี้ ไม่ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ แม้ว่าจะมีข่าวว่า The Mountains of Madness จะถูกสร้างเป็นภาพยนตร์คนแสดง พร้อมดาราแสดงนำ ทอมครูซ และผู้กำกับดังอย่างเจมส์คาเมรอน แต่นั้นก็เป็นข่าวนานมาแล้วตั้งแต่ปี 2010 ทั้งๆ ที่มีการยืนยันว่ะออกฉายเวเร็วๆ นี้ แต่ปรากฏว่าโครงการทีปัฐหาเรื่องเรตภาพยนตร์ ทำให้จนบัดนี้ก็ไม่มีวี่แววว่าภาพยนตร์จะเกิดหรือไม่ด้วย สิ่งที่พอที่จะหายคิดถึงมีเพียงตัวอย่างภาพยนตร์สั้นๆ เท่านั้น (ซึ่งมันน่าดูมาก) ใครสนใจอยากจะเห็น ก็ลองใช้คำว่า New "At the Mountains of Madness" Trailer ในคลิปยูทูปเอาละกัน
สำหรับผู้ที่สนใจนิยาย แต่ไม่สามารถหานิยายอ่านได้ ในยูทูปก็มีคลิปการ์ตูนอนิเมชั่นดัดแปลง ซึ่งดูแล้วได้บรรยากาศน่ากลัวมาก ยกตัวอย่าง CGI 3D Animated Short: "The Mountains of Madness" - by "The SpookySpookyShoggoths" หรือไม่ก็ “Cthulhu Mythos: At The Mountains of Madness Movie Trailer” ค้นหาในยูทูป
ส่วนการ์ตูนญี่ปุ่นนั้น เป็นของผู้วาด Kyouki no Yamanami 2010 วาดโดย Ryo Morise. และ Kyouki no Sanmyaku Nite 2016 วาดโดย Tanabe Gou
อีกพล็อตหนึ่งที่อยากแนะนำ คือ “เรื่องสยองขวัญดันวิช” (The Dunwich Horror) เป็นเรื่องสั้นของเลิฟคราฟท์ ถูกตีพิมพ์ปี 1928 แม้อาจไม่ได้โด่งดังอะไรมากนัก อีกทั้ง พล็อตที่ยิ่งใหญ่เท่าหุบเขาวิปลาส เพราะเนื้อหาเกิดในเมืองเล็กๆ มากกว่า แต่เนื้อหาในเรื่องก็ชวนน่ากลัวและน่าสยดสยองไม่แพ้หุบเขาวิปลาสเลยทีเดียว
เนื้อเรื่องสยองขวัญดันวิชเกิดขึ้นในหมู่บ้านดันวิช หมู่บ้านเก่าแก่สมมุติในแมสซาซูเซต (เป็นเมืองหนึ่งที่มีชื่อเสียงของตำนานคธูลู) โดยกล่าวถึงตระกูลวิลต์เซียร์ที่ผู้หญิงคนหนึ่งได้เกิดลูกชายคนหนึ่งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1913 โดยที่ไม่มีพ่อ (ความจริงพ่อคือยอกโซธอท) และเด็กคนนี้ถูกตั้งชื่อว่า วิลเบอร์ วิลต์เซียร์ (Wilbur Whateley)
วิลต์เซียร์ เป็นเด็กที่เกิดมาหน้าตาอุปลักษณ์ พิการ แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็โตวัย ฉลาดเกินอายุ และมีพละกำลังเกินกว่าเด็กรุ่นเดียวกัน ขณะเดียวกัน เพียงเวลาไม่นานก็มีข่าวลือมากมายเกี่ยวกับเขา เมื่อชาวบ้านพบว่าพวกสัตว์เลี้ยงต่างหวาดกลัววิลเบอร์ กลิ่นเหม็นที่โชยออกมา ปู่วิลต์เซียร์ก็เริ่มสนใจพิธีกรรมมนต์ รวมไปถึงพวกวิลต์เซียร์ก็ซื้อวัวจำนวนมากเป็นฝูงๆ และไม่เพียงพอ ทำให้ชาวบ้านสงสัยว่าครอบครัววิลต์เซียร์มีอะไรบางอย่าง
วิลเบอร์และปู่ของเขาได้แยกตัวโดดเดียวจากคนภายนอก ขณะเดียวกับวัวของชาวบ้านก็หายตัวไปอย่างลึกลับ หลังจากนั้นปู่ของวิลเบอร์ก็เสียชีวิตลงและแม่ของเขาก็หายตัวไปอย่างลึกลับ
ต่อมาวิลเบอร์ต้องการบันทึกนีโครโนมิคอน (เพื่ออัญเชิญยอกโซธอท) ของห้องสมุดในมหาวิทยาลัย เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง หากแต่ถูกถูกผู้ดูแลด็อกเตอร์เฮนรี่ มาร์ติน (Henry Armitage) ปฏิเสธ ในตอนกลางคืนเขาจึงแอบขโมยมัน หากแต่ถูกจับได้เสียก่อน โดยสุนัขเฝ้ายาม
อย่างไรก็ตาม วิลเบอร์ก็เผยตัวว่าเขาไม่ใช่มนุษย์อีกแล้ว เพราะตอนนี้รูปร่างของเขาไม่แตกต่างอะไรจากสัตว์ประหลาดแม้แต่น้อย เขามีกลิ่นเหม็น รูปร่างน่าเกลียดน่ากลัว เลือดกลายเป็นน้ำเหลืองเหม็นไหลออกมา และจากเอวลงมาถูกปกคลุมด้วยขนสีดำหยาบ
วิลเบอร์นั้นใช้ร่างกายนี้ฆ่าสุนัขจนตาย และหลบหนีไป ต่อมามีการพบซากศพกึ่งมนุษย์ของวิลเลียมบนพื้นในสภาพเหมือนละลาย ทำให้หลายคนเชื่อว่าเรื่องมันจบเพียงเท่านี้แล้ว
แต่......เรื่องมันไม่จบง่าย เมื่อหมู่บ้านถูกรุกรานโดยสัตว์ประหลาด มันมีขนาดใหญ่กว่าต้นไม้หลายเท่า มันทำลายบ้าน ฆ่าคนและฆ่าตำรวจไปหลายคน จนกระทั่งด็อกเตอร์มาร์ตินใช้ความรู้และอาวุธจนสามารถปราบมันได้สำเร็จในที่สุด
หลังเรื่องสงบลง ก็เผยว่า สัตว์ประหลาดนั้นแท้จริงแล้วเป็นพี่ชายฝาแฝดของวิลเบอร์นั้นเอง
แม้ว่า The Dunwich Horror จะถูกสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี 1970 แต่ไม่ค่อยดีและน่าจดจำมากนัก (ได้คะแนนต่ำ แถมเจ๊งอีกต่างหาก) อาจเป็นเพราะในตอนนั้นการถ่ายทำหนังสมัยก่อนยังไม่มีการเทคนิคหที่ทันสมัยมากนัก ทำให้การสร้างสัตว์ประหลาดเป็นสิ่งทียังทำไม่ได้ และปัจจุบันก็ไม่มีใครสนใจเอานิยายเลิฟคราฟท์เอามาสร้างเป็นภาพยนตร์อีก
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการเล่าเรื่องย่อคร่าวๆ ของผมเท่านั้น ซึ่งหากใครอยากดูฉบับละเอียด สามารถหาอ่านได้ในนิยาย แน่นอนว่าบ้านเราคงจะหาได้ยาก คงต้องเป็นของภาษาต่างประเทศลูกเดียว หากโชคดีกิอาจได้เห็นเนื้อเรื่องบางส่วนของเว็บ
นอกจากนี้ปัจจุบันก็มีภาพยนตร์ที่มีพล็อตสัตว์ประหลาดกลายพันธุ์แบบนี้ค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเกรด A หรือเกรด B เช่น Parasyte (2014) , The Faculty (2012), The Thing (1982), Species (1995) ก็ดูแทนกันได้
สำหรับการ์ตูนญี่ปุ่น หากอยากได้อารมณ์แบบเลิฟคราฟท์ ผมว่าผลงานของ อิโต้ จุนจิ นี้ใกล้เคียงมากที่สุด เพราะหลายเรื่องของอิโต้ จุนจิ อิโต้นั้นได้สร้างพล็อตแปลกประหลาด ในแบบของตัวเอง รวมไปถึงการสร้างสัตว์ประหลาดขึ้นมาใหม่ สัตว์ประหลาดหลายตัวก็ดูลึกลับ ไร้ที่มาที่ไป แต่ก็มีเรื่องราวในแบบของมัน ที่ดูแล้วน่ากลัว สยองขวัญ อย่างเช่น เรื่อง ปลามรณะ (Gyo) ที่เป็นเรื่องของกองทัพครึ่งปลาครึ่งจักรกลจากท้องทะเลโผล่มาทำลายมนุษย์ชาติ แม้ว่าในเรื่องจะมีการอธิบายที่มาที่ไปแบบคร่าวๆ แต่หลายอย่างก็ยังคงอธิบายไม่ได้ให้กระจ่าง และเป็นยังงี้จนจบเรื่อง แต่ถึงอย่างนั้นด้วยเอกลักษณ์ของการดำเนินเรื่องที่มีเอกลักษณ์ ตื่นเต้น ความลึกลับ ก็ช่วยให้ผลงานของจุนจิ อิโต้แปลกประหลาดไม่แพ้เลิฟคราฟท์เลยแม้แต่น้อย
อย่างที่ผมรู้กัน ผมมักชื่นชมนิยาย-การ์ตูนสร้างสัตว์ประหลาดขึ้นมาเอง ก็เนื่องจากความสนุกที่เราต้องมานั่งเดาตัวตนของสัตว์ประหลาดนั้น การดำเนินเรื่องเราก็เริ่มเข้าใจสัตว์ประหลาดมากขึ้น (ว่ามันมีพฤติกรรมยังไง ใช้จมูกล่ากลิ่น หรือมีวิธีฆ่า แพร่พันธุ์ยังไง) จากนั้นเราก็ เริ่มรู้ที่มาที่ไปของมัน (หรือไม่รู้อะไร) สิ่งเหล่านี้จะสอดแทรกการเอาตัวรอดของตัวเอก ที่ตื่นเต้น พร้อมกับความระทึกขวัญด้วย หากเป็นแนวเซอร์ไววัล
แต่อนิจจา สมัยนี้การ์ตูนญี่ปุ่นเซอร์ไววัลที่หนีสัตว์ประหลาดสมัยนี้ ดีๆ หายาก เพราะมันออกทะเลแบบปวดหัวตลอด......
ความคิดเห็น