คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #314 : นางาโตะ ยูกิไม่ใช่สาวคูลเดเระ!? และ เรนะไม่ได้เป็นสาวยันเดเระ!?
สิ่งที่เราต้องรู้เมื่ออ่านการ์ตูนญี่ปุ่น (โดยเฉพาะแนวโอตาคุ) นั้นคือการเรียนรู้ศัพท์การ์ตูนที่มีอยู่มากมาย ซึ่งแต่ละศัพท์มีความหมายแตกต่างกันออกไป แล้วแต่วิธีการใช้เรียก เป็นต้นว่าศัพท์ที่ใช้เรียกแนวการ์ตูน เช่น โชโจะ, โชเน็ง, ยูริ, ยาโอย หรือศัพท์ที่ใช้เรียกนิสัยตัวละคร เช่น “ซึนเดเระ” ใช้เรียกลักษณะคาแร็คเตอร์ตัวละครที่แข็งนอกอ่อนใน ไปจนถึงภาพลักษณ์ตัวละคร เช่น สาวแว่น, โลลิ, สาวหั้วหน้าห้อง “ฟุตะนะริ” เป็นการเรียกตัวละครที่มีลักษณะเป็นสาวดุ้น (สาวที่มีอวัยวะเพศชาย)
อย่างไรก็ตาม หลายคนมักมีปัญหาการใช้ศัพท์การ์ตูนในการเรียกคาแร็คเตอร์ ตัวการ์ตูนว่า ตัวละครนี้ตรงกับศัพท์ใด เป็นต้นว่า เคยมีดราม่าในการเรียก โฮโระ (Spice and Wolf) ว่าเป็นสาวซึนเดเระ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วโอโระนั้นมีนิสัยที่หลากหลาย ไม่ได้มีแต่ซึนเดเระอย่างเดียว ซึนเดเระนั้นต้องใช้เรียกตัวละครที่มีคาแร็คเตอร์ที่ความชัดเจนมากกว่า
และที่ผ่านมา เพราะเพราะศัพท์การ์ตูนนี้เอง ทำให้หลายคนเข้าใจผิดในการเรียกตัวละครมามากคต่อมาก ขนาดคนที่ดูการ์ตูนเยอะมากมาย อายุ 32 ปี (จะย่าน 33 ปีในเดือนธันวาคมแล้ว) อย่างผมก็ทำให้สับสน และอึ้งมาแล้ว ว่าเข้าใจผิดมาตลอด
คุณรู้หรือไม่ว่านางาโตะ ยูกิ (Suzumiya Haruhi) ไม่ใช่สาวคูลเดเระ!?
คุณรู้หรือไม่ว่า เรนะ (Higurashi no naku koro ni) ไม่ได้เป็นสาวยันเดเระ!?
นางาโตะ ยูกิ ไม่ใช่สาวคูลเดเระ
ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นเกม, อนิเมะ, มังงะ ต่างมีตัวละครมากมายที่เราได้เห็น และหลายตัวละครมีนิสัยเฉพาะตัว ไม่ว่าตัวละครหญิง หรือตัวละครชาย ไม่ว่าจะเป็นซึนเดเระ, คูลเดเระ ไปจนถึงยันเดเระ
คูลเดเระ (Cooldere) เป็นคาแร็คเตอร์ที่ยอดนิยมของการ์ตูนญี่ปุ่น โดยคำว่าคูลมาจากภาษาอังกฤษคือคำว่า " cool”ที่หมายถึง “เย็น” อันหมายถึงตัวละครที่กำหนดบุคลิกให้เป็นคนที่ดูเยือกเย็นพูดน้อยกว่าคนปรกติ ไม่ค่อยแสดงออกทางสีหน้าหรือกำลังคิดอะไรอยู่ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะดูเยือกเย็นภายนอก แต่ภายในกลับมีอะไรบางอย่างกำลังประทุได้ทุกเมื่อ โดยที่คนรอบข้างไม่ได้ตะหนัก หรือสังเกตเหตุเลยแม้แต่น้อย
คูลเดเระนั้นจะเป็นคาแร็คเตอร์ที่ดูสงบ ไม่สะทกสะทานกับบรรยากาศรอบตัว ดูไม่ออกว่าเธออารมณ์ไหน เพราะสีหน้าราบเรียบหมด ไม่เคยปรากฏอารมณ์เศร้า ไม่เคยปรากฏอารมณ์หงุดหงิด หรือโกรธ จนดูเหมือนขาดอารมณ์ของมนุษย์โดยชิ้นเชิง
โดยคูลเดเระเป็นที่โด่งดังและเป็นที่รู้จักจากคาแร็คเตอร์ของเรย์ อายานามิ จาก Neon Genesis Evangelion ที่เป็นสาวเงียบเฉยที่มีอดีตที่แสนปวดตับ กับฉากรอยยิ้มที่แสนประทับใจ
ตัวละครที่มีนิสัยคูลเดเระนั้นเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งมักมีบทบาทเป็นนางรอง พระรอง มีหน้าที่อยู่เบื้องหลังในการทำงาน อดทน โดยไม่ปริปากบ่น แต่กระนั้นก็มีหลายเรื่องที่คูลเดเระเป็นที่นิยม (ขนาดเป็นนางรองแต่กลับดังกว่านางเอกจริงๆ ด้วยซ้ำ)
ข้อดีของคูลเดเระคือ ในแนวฮาเร็ม หรือการ์ตูนอื่นๆ คูลเดเระเป็นตัวละครที่เข้าคนอื่นได้ดี ยิ่งกลุ่มสาวฮาเร็มยิ่งเข้ากัน และถือว่าเป็นตัวละครที่ช่วยให้ฮาเร็มมีคุณค่ามากขึ้น และที่แปลกคือสาวคูลเดเระเข้ากับพวกซึน ไม่เชื่อดูการ์ตูนเรื่องดังๆ สิ ซึนเดเระกับคูลเดเระมักอยู่ด้วยกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรย์กับอาสึกะ, นิมฟ์กับอิคารอส เห็นไหมว่าเข้ากันอย่างบอกไม่ถูก และนอกจากนั้นหากเพิ่มตัวละครประเภทร่าเริงเข้าไปเชื่อคูลกับซึน ก็จะกลายเป็นฮาเร็มที่พบเห็นกันโดนทั่วไปก็ว่าได้
โดยคาแร็คเตอร์ที่จัดว่าเป็นคูลเดเระก็มี เรย์ อายานามิ (Neon Genesis Evangelion), ริซ่า ฮอว์คอาย (แขนกลคนแปรธาตุ), ไคดูกะ อินาโฮะ(Aldnoah.Zero), พรีเซีย คอมบาเทีย ( Tales of Symphonia) หรือ มิซากิ เมย์ (Another)
เมื่อพูดถึงคูลเดเระแล้วไม่พูดถึงนางาโตะ ยูกิ จาก Haruhi Suzumiya ก็ไม่ได้ สาวเงียบที่เป็นมนุษย์ต่างดาวผู้เป็นเสมือนตัวละครปิดทองหลังพระอยู่เบื้องหลัง ซึ่งนางาโตะ ยูกิดังและนิยมจนบัดนี้ จนหลายคนบอกว่าเป็นสาวคูลเดเระที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว
แต่ อย่างไรก็ตาม มีบางเว็บกลับเขียนว่านางาโตะ ยูกินั้นเป็นสาว “ดันเดเระ” (Dandere)
นางาโตะ ยูกิ
“ดันเดเระ” (Dandere) มาจากคำว่า “ดัน” จากภาษาญี่ปุ่น “ดันมาริ” (danmari) หมายถึงความเงียบ ดังนั้นแปลง่ายๆ คือสาวดันเดเระก็คือสาวเงียบและเย็นซา ที่มีบุคลิกต่อต้านสังคม เหมือนไม่อยากเข้ากลุ่ม ซึ่งส่วนมากมักเป็นคาแร็คเตอร์ผู้หญิงมากกว่า
อย่างไรก็ตาม เมื่อพระเอกเข้ารูทของสาวคูลเดเระ มีความสัมพันธ์จนเป็นเพื่อน และเริ่มให้สาวดันเดเระหลงรัก นำมาซึ่งพระเอกได้เห็นอีกด้านหนึ่ง ที่ความจริงแล้วเธอก็ไม่แตกต่างจากสาวธรรมดาทั่วไป หาก “ดันแตก” ขึ้นมา สาวดันเดเระจะแสดงอาการที่แท้จริง โดยแต่ความจริงแล้วสาวดันเดเระนั้นอยากจะเข้ากลุ่มคนอื่น แต่กลัวเกินไป หรืออายเกินไปที่จะพูดคุย ซึ่งเมื่อสาวดันเดเระเผยนิสัยที่แท้จริงออกมาจะน่ารักมาก และเธอมักชอบอายต่อหน้าคนรักอยู่เสมอ
ตัวละครที่เข้าค่ายว่าเป็น ดันเดเระ ก็มี ฮิวงะ ฮินาตะ.(นารูโตะ), ยามากิชิ ฟูกะ (Persona 3), อีลิส โลตัส ( Tales of Xillia)
นางาโตะ ยูกิ ใน The Disappearance of Haruhi Suzumiya
สรุปแล้วนางาโตะ ยูกิเป็นสาวคูลเดเระ และดันเดเระ? ถ้าให้ผมตอบคือทั้งสองอย่าง ความจริงคูลเดเระและดันเดเระนั้นคล้ายกันมาก เพราะเป็นสาวเงียบเหมือนกัน ต่างตรงที่สาวดันเดเระนั้นความจริงแล้วเป็นสาวขี้อายมากๆ แต่ทำเป็นเยือกเย็นเพื่อปกปิด ส่วนสาวคูลเดเระจะมีปมดราม่าทางจิตใจมากกว่า ซึ่งในตอนแรกนางาโตะ ยูกิปรากฏตัวเป็นสาวคูลเดเระจริงๆ แถมมีคาแร็คเตอร์เป็นสาวผมสั้น ตัวเล็กๆ ดูอ่อนแอ น่าปกป้อง ไม่มีรอยยิ้ม ไม่สนต่อสิ่งรอบข้าง เยือกเย็นหรือเฉยชาทุกสถานการณ์ แม้จะไม่ค่อยพูด หากแต่พูดออกมาจะพูดไม่รู้เรื่อง ไม่ก็ภาษาต่างดาว หรือไม่ก็เล่นมุกเข้าใจยากทุกที ซึ่งเป็นคาแร็คเตอร์ตามแบบสาวคูลเดเระ
และนอกจากนี้นางาโตะ ยูกิยังมีปมจิตใจด้วย ภายใต้สาวคูลเดเระนั้น กลับต้องรับบทสนับสนุน ยอมเป็นเงาอยู่เบื้องหลัง โดยไม่มีปริปากบ่น แม้งานจะยากสาหัสแค่ไหนก็ตาม
อย่างไรก็ตาม เมื่อเรารู้จักอีกตัวตนหนึ่งของนางาโตะ ยูกิ ในช่วงบทหายตัวของฮารุฮิ (The Disappearance of Haruhi Suzumiya) แล้ว นางาโตะจะเป็นสาวดันเดเระ
ยันเดเระ
นอกเหนือคูลเดเระแล้ว “ยันเดเระ” ก็ถือเป็นคาแร็คเตอร์หนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยยันเดเระ (Yandere) มาจากคำว่า “ยัน” จาก “Yamderu” ซึ่งหมายถึงป่วย ในกรณีนี้คือป่วยทางจิตใจ ซึ่งซุกซ่อนอยู่ภายใน จนอยู่ในสภาวะใกล้บ้า
โดยปกติแล้วตัวละครที่เป็นยันเดเระมักเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยภายนอกเป็นสาวปกติ มีสังคมมีเพื่อนมีฝูง เป็นคนไม่มีปัญหา แถมมีพฤติกรรมดี หากแต่ถ้าเป็นเรื่องความรักแล้วละก็ เธอจะแสดงออกมารุนแรงมาก เธอจะรักผู้ชายคนนั้นมากจนแทบจะกลืนกิน ตามติดเขาไปทุกหาทุกแห่ง แม้จะเป็นบ้านของเขาก็ตาม ไม่ก็เก็บของใช้ส่วนตัว (แปรงสีฟันใช้แล้ว, เส้นผม, เล็บ) ทั้งๆ ที่ชายคนนั้นไม่ได้รักเธอ หรือคบกันเป็นแฟน และเธอจะเครียดแค้นมากหากใครบางคน (ผู้หญิงคนอื่น) มาใกล้ชิดกับคนรักของเธอ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น เธอก็จะทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ความรัก เช่น ทำร้ายร่างกาย ไปจนถึงฆาตกรรม
ตัวละครที่เข้าค่ายที่เป็นยันเดเระดังๆ ก็มี กาไซ ยูโนะ ( Mirai Nikki – The Future Diary), แคเธอรีน (Catherine), เซนโจวกาฮาระ ฮิตากิ (Nisemonogatari), เซไค ไซออนจิ และ โคโตโนฮะ คัตซึระ (School Day)
และหนึ่งในตัวละครที่หลายคนมักนึกถึงว่ามีนิสัยยันเดเระ คือ ริวงุ เรนะ จาก Higurashi no Naku Koro ni Kai ผู้มีเอกลักษณ์เมื่ออยู่ในโหมดยันเดเระ ไม่ว่าโกรธแค้น หัวเราะอย่างบ้าคลั่ง โรคจิต และมีดอีโต้เปื้อนเลือด
แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ว่าเรนะนั้นไม่ได้คาแร็คเตอร์ยันเดเระ หากแต่เป็นยันคิเระต่างหาก!?
ยัยสะพานโค้ง เป็นยันคิเระ
ยันคิเระ (Yangire) แปลว่าตัวละครที่มักเข้าโหมดรุนแรง เพราะความเก็บกดจากอาการเจ็บป่วยทางจิต โดยคำนี้มาจากการรวมกันของสองคำ คือ “ยัน” หมายถึงป่วย และ “คิเระ” (Kire) หมายถึง ตัดหั่นหรือทำลาย
โดยตัวละครที่เป็นยันคิเระตอนแรกจะเป็นคนปกตินิสัยเป็นมิตร หากแต่หากถูกอะไรบางอย่างกระตุ้นก็จะกลายเป็นคนก้าวร้าว และโรคจิตได้
โดยยันคิเระนั้นแตกต่างจากยันเดเระ ตรงที่ยันคิเระจะมีเหตุมีผลมากกว่า ในการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของตัวละคร ในขณะที่ยันเดเระเกิดจากความรักที่พัฒนาความหึงหวง แต่ยันคิเระนั้นเกิดจากอาการเจ็บปวดทางจิตที่เก็บกดมานาน พร้อมที่จะปลดปล่อยได้ทุกเมื่อ หากมีอะไรกระตุ้น โดยอาการทางจิตที่ว่าก็เช่นถูกทารุณกรรมตั้งแต่เด็ก หรือสูญเสียคนในครอบครัวเป็น
ยกตัวละครที่เข้าค่ายว่าเป็นยันคิเระ
ยัยสะพานโค้ง ยูมิ โองุระ (Another) สูญเสียพี่ชายไป เก็บกดจนอยากจะระบายอะไรบางอย่าง และเมื่อถูกอะไรกระตุ้นจะกลายเป็นคนบ้าคลั่งแบบไร้เหตุผล
คิระ โคสุเกะ (Btooom!) เด็กเปรตที่ถูกพ่อทำร้าย เก็บกดจนก่อคดีฆาตกรรม และบ้าคลั่งเมื่อถูกกระตุ้นว่า “ฆ่าคนไม่ผิด”
ลูซี่ (Elfen Lied) หูแมวโหดที่มีประวัติชีวิตคนรอบตัวทำร้ายและหักหลัง และกลายก่อคดีฆาตกรรมพ่อและน้องสาวพระเอกเพราะคิดว่าพระเอกหักหลังเธอ
เมอา (To Love-Ru Darkness) ภายใต้รอยยิ้มที่ดูสดใส แต่อีกด้านหนึ่งกับดำมืดพร้อมระเบิดได้ทุกเมื่อ
เคออส (Sora no Otoshimono) ลาสต์บอสบ้าคลั่ง
โทคิซาคิ คุรุมิ (Tokisaki Kurumi) หลายคนมักเข้าใจผิด คิดว่าคุรุมิเป็นยันเดเระ ความจริงแล้วเธอบ้าคลั่งมานานแล้ว ก่อนพบพระเอกเสียอีก
หน้าตาตอนโกรธได้ใจของเรนะ
ดังนั้น ริวงุ เรนะ ไม่ได้เป็นสาวยันเดเระอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แม้ว่าเรนะจะชอบพระเอก แต่อาการบ้าคลั่งของเธอนั้นไม่ได้เป็นเพราะความรักที่มีต่อพระเอกเลยแม้แต่น้อย แต่เกิดจากความเก็บกดมาอย่างยาวนานก่อนที่จะพบพระเอกด้วยซ้ำ
เท่าที่อ่าน (เพราะผมไม่ได้ดูแว่วเสียงเรไร) เรนะมีพ่อแม่ที่พยายามมาอยู่เมื่ออิบารากิ หากแต่ตอนหลังแม่ของเธอกำลังจะหย่ากับพ่อ และจะแต่งงานกับผู้ชายอีกคน และนั้นทำให้เรน่าต้องระบายความเครียดด้วยความรุนแรงด้วยการทุบกระจกโรงเรียน ทำร้ายร่างกายคนอื่น
หลังจากแม่ทรยศพ่อ แลหย่าจากพ่อ เรนะเลือกที่จะรักพ่อ ต่อมาเธอกับเธอก็ย้ายมาอยู่หมู่บ้านฮินามิซาว่า (หมู่บ้านที่เป็นเวทีของเรื่องราว) และพยายามเริ่มต้นชีวิตใหม่ ต่อมาพ่อของเธอพบรักกับสาวคนใหม่ชื่อมามิยะ รินะ แต่รินะนั้นไม่ได้รักพ่อของเรนะเพราะความรัก หากแต่ต้องการหลอกใช้รีดเงินจากเขา และนั้นทำให้เรนะที่ต้องการปกป้องพ่อ ก่อนที่เรื่องจบลงเมื่อเรนะฆ่ารินะอย่างโหดเหี้ยม (เป็นการป้องกันตัวเอง)
ต่อมาเรนะได้พบพระเอกเคอิจิ ทั้งคู่สนิทกัน เวลาว่างๆ ทั้งคู่จะไปที่ทิ้งขยะเพื่อมองของน่ารักที่ถูกใจเรนะ แต่อย่างไรก็ตามเคอิจิมักเห็นด้านความรุนแรงของเรนะ เวลาเขาพูดเรื่องโกรธ หากเรนะจับได้จะโกรธทันที (จนเป็นที่มาของการล้อเลียนใบหน้ายามโกรธ) เพราะเรนะเกลียดเรื่องโกหก
หากการปักธงสาวยันเดะเระนั้นยากแล้ว สาวคูลเดเระนั้นยากเป็นสิบเท่า เพราะพื้นฐานของสาวยันเดเระนั้นรักพระเอกอยู่ก่อน แต่พระเอกจะทำยังไงให้เกิดความรักที่ไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมเท่านั้น แต่สาวยันคิเระไม่ได้เกิดจากความรัก แต่เกิดจากปมปัญหาชีวิตเข้ามาเกี่ยวข้อง และเป็นปมที่ยากที่จะแก้ไข ไม่ใช่ว่าจบในอีเวนท์เดียว ความรักใช่ว่าจะเปลี่ยนทุกสิ่งได้ แต่มันอยู่ที่ระยะเวลา และความอดทน ว่าพระเอกจะสามารถทำลายยันคิเระได้หรือไม่
แม้ว่าบทบาทความสัมพันธ์ของเรนะกับเคอิจินั้น ในช่วงแรกๆ มักจบลงด้วยความตายโศกนาฏกรรมบ่อยครั้ง แต่ทุกช่วง ทุกบท แสดงให้เห็นว่าเรนะนั้นชอบเคอิจิ ชนิดตายแทนกันได้ ก่อนที่เรื่องจะจบลงอย่างมีความสุขอีกครั้ง เพราะความจริงใจของพระเอกและความร่วมมือของทุกคน
ทั้งหมดนี่คือศัพท์สาวคูลเดเระ&ดันเดเระ และยันเดเระ&ยันคิเระ ซึ่งมีศัพท์ที่มีความหมายคล้ายกันมาก ยกเว้นรายละเอียด ก็ไม่แปลกใจเลยที่เรามักเห็นหลายคนมักเรียกตัวละครผิดคาแร็กเตอร์บ่อยๆ ดังนั้นเราต้องเรียนรู้อีกมาก แม้ว่ามันอาจไม่จำเป็น แต่ก็ช่วยให้เรารู้ลักษณะนิสัยคาแร็คเตอร์ตัวละคร รู้เรื่องราวของตัวละคร และจะทำให้เราดูการ์ตูนญี่ปุ่นสนุกมากขึ้นครับ
ความคิดเห็น