ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #309 : สวนดุสิต พระราชงังดุสิต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 364
      1
      22 ก.พ. 54

    ดุสิตธานี เรียกอย่างไรกันแน่ สับสนกับชื่อทั้งสามชื่อ-
             นักอ่านวัยรุ่นสงสัย
             สวนดุสิต และ พระราชวังดุสิต คือ สถานที่เดียวกัน แรกเริ่มเดิมทีพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อเป็น ที่ประพาส และเสด็จประทับทรงพักผ่อนในฤดูร้อนด้วยพระบรมมหาราชวังนั้นร้อนจัดและแออัด โดยโปรดเกล้าฯให้ซื้อที่สวนและนา ในระหว่างคลองผดุงกรุงเกษม และคลองแสนแสบ ด้านตะวันออกจดทางรถไฟ ด้วยเงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนในพระองค์แล้วพระราชทานชื่อตำบลนี้ว่า สวนดุสิต ส่วนที่ประทับนั้น ให้เรียกแต่ว่า วังสวนดุสิต อย่าให้เรียกว่า พระราชวัง� เพราะเหตุที่มิได้สร้างขึ้นด้วย พระราชทรัพย์สำหรับใช้จ่ายการแผ่นดิน
             ทว่าต่อมาเมื่อทรงมีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมขึ้น จึงทรงพระราชดำริว่า การสร้างวังสวนดุสิตก็เท่ากับเป็นการขยายเขตพระนครให้กว้างไพศาลออกไป จึงโปรดเกล้าฯให้ประกาศ เรียกว่า พระราชวังสวนดุสิต (เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๓ ก่อนเสด็จสวรรคตเพียง ๗ เดือน)
             ถึงรัชกาลที่ ๖ เมื่อโปรดเกล้าฯให้ประกาศขนานนามประตูพระราชวังสวนดุสิต จึงมีประกาศเพิ่มเติมว่า
             ที่เรียกว่าพระราชวังสวนดุสิตมาแล้วนั้น แต่นี้ต่อไปให้เรียกแต่ว่า พระราชวังดุสิต ยกคำว่าสวนออกเสีย
    (ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๙)
             ทีนี �ดุสิตธานี
             ดุสิตธานี� เป็นเมืองจำลองย่อส่วน อย่างเดียวกับเมืองจำลอง หรือ เมืองตุ๊กตาที่ขึ้นชื่อนักหนาในเนเธอร์แลนด์ หรือที่ในปัจจุบันนี้ก็มีอยู่ที่พัทยา ทว่าความมุ่งหมายในการสร้างผิดกัน
    ขอเล่าถึงนคร �ดุสิตธานี� ในรัชกาลที่ ๖ แต่โดยสรุป
             ดุสิตธานี� พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ นานถึง ๘๘ ปีมาแล้ว แรกทีเดียวทรงสร้างไว้ในบริเวณพระราชวังดุสิต หลังพระที่นั่งอนันตสมาคม มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ครึ่ง ต่อมาเมื่อทรงแปรพระราชฐาน ไปประทับเป็นประจำที่พระราชวังพญาไท ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๒ แล้ว จึงโปรดให้ย้ายไปอยู่ในบริเวณพระราชวังพญาไทด้วย
             เมื่อผู้เล่ายังเด็กๆอยู่กับย่า เคยเล่าแล้วว่าย่ามีที่นั่งประจำอยู่ตรงระเบียงกว้างหน้าเรือน เป็นเหมือนประธาน มีเครื่องบริขารต่างๆ เช่นเชี่ยนหมาก กาน้ำชา ถาดถ้วยชา หมอนแข็งหนุนต้นคอ หมอนขวาน นมไม้ ฯลฯ สารพัด มีพัดลมอันเล็กๆด้วยสำหรับแขก แต่สำหรับย่าใช้ให้คนพัดไม่ใช้พัดลม บอกว่าเปลืองไฟ
             แขกไปใครมา หรือเวลาพวกลุง อา ลูกหลานย่ามาหาก็นั่งห้อมล้อมกันอยู่ที่ระเบียงนั้น ผู้เล่าซึ่งนั่งๆนอนๆอยู่กับย่าเป็นประจำ พอมีแขกไปใครมา ก็ลุกขึ้นนั่งเท้าแขนปั้นจิ้มปั้นเจ๋อไม่ไปไหน จึงซับเอาเรื่องราวที่ผู้ใหญ่เขาพูดคุยกัน ซับไว้ได้บ้างไม่ได้บ้างตามประสาเด็กสิบ สิบเอ็ดสิบสองขวบ แต่หากสะกิดขึ้นมาก็ยังพอจำได้หลายเรื่องอยู่
             พวกผู้ใหญ่ (ผู้หญิง) รุ่นย่า อายุ ๕๐-๖๐ ประมาณนั้น ส่วนมากท่านช่างพูดช่างคุยช่างเล่า ยังจำได้ว่า คราวหนึ่งท่านพูดถึงเรื่องเมืองดุสิตธานี ซึ่งท่านเรียกกันว่า เมืองตุ๊กตา ของพระมงกุฎเกล้าฯ ซึ่งท่านคุยกันเป็นทำนองว่า พระมงกุฎเกล้าฯ ทรงสร้างขึ้นเป็นของเล่นของท่าน ทำนองนั้น
             เวลานั้น (ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๔) และขณะนั้นลุงสองคนท่านนั่งอยู่ด้วย คนหนึ่งเป็นนักเรียนอังกฤษ กลับมาเป็นอาจารย์ อีกคนหนึ่งเป็นข้าราชสำนักในรัชกาลที่ ๗
    ลุงคนหนึ่งท่านก็ว่า
              มิได้ดอกครับ เข้าใจกันผิด ท่านไม่ได้สร้างเป็นของเล่นอย่างเด็กๆ ท่านสร้างสำหรับทดลองที่จะปกครองเมืองไทยแบบประชาธิปไตย อย่างที่ปกครองกันอยู่เดี๋ยวนี้นั่นแหละครับ ที่จริงท่านทรงคิดของท่านขึ้นมาก่อนแล้ว ท่านฝันจะให้เมืองไทยเรามีการปกครองอย่างเมืองดุสิตธานีของท่าน�
             ไม่ทราบว่า บรรดาคุณย่า คุณป้า ทั้งหลายท่านจะเข้าใจที่ลุงอธิบายหรือไม่ รู้สึกว่าท่านพยักหน้าหงึกๆไปอย่างนั้นเอง เพราะเห็นแต่ละท่านทำหน้างงๆอยู่
    อย่างไรก็ตามพวกท่านก็เคยเห็นเมืองดุสิตธานีกันมาแล้วทั้งนั้น ผู้เล่านอกจากไม่เคยเห็นทั้งยังเด็ก ตอนนั้นจึงไม่สู้เข้าใจและไม่สนใจ
             จนกระทั่งอีกนานนับกว่าสิบๆปี จึงได้ทราบเรื่องราวละเอียดของ �ดุสิตธานี� และเข้าใจถึงพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
             ซึ่งโปรดให้เมืองดุสิตธานีเป็นสถานที่ฝึกหัดทดลองระบอบประชาธิปไตย ภายในเมืองดุสิตธานีจึงมีที่ทำการของรัฐบาลทุกอย่าง ไม่เพียงแต่อาคารบ้านเรือนของราษฎร
             มีทะเบียน ทวยนาคร (คือประชาชน ซึ่งต่อมาคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองเรียกว่า ปวงประชาราษฎร)
             ทวยนาคร นั้นในชั้นแรกมีแต่ข้าราชการในพระราชสำนัก ต่อมาจึงมีข้าราชการอื่นๆ ตั้งแต่เสนาบดีและพระราชวงศ์ลงไป สมัครเข้าเป็น ทวยนาคร เพิ่มขึ้นมากมาย
    และยังโปรดฯให้ พวกข้าราชการมหาดไทย ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจัดหวัด สมุหเทศาภิบาล นายอำเภอ เข้าไปฝึกหัดอบรมการปกครองระบอบใหม่ของ ดุสิตธานี� อีกด้วย
             ดุสิตธานี� มีทั้งผู้แทนราษฎร ซึ่งเมือง ดุสิตธานี เรียกว่า เชษฐบุรุษ
             เชษฐบุรุษ ให้ทวยนาครที่มีบ้านเรือนอยู่ใน �ดุสิตธานี� เป็นผู้เลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละอำเภอ แล้วให้เชษฐบุรุษ ด้วยกันเลือกคณะกรรมการบริหารกิจการ (รัฐบาล) ซึ่งเรียกว่า �คณะนคราภิบาล
    สำหรับเรื่องการเมืองใน �ดุสิตธานี� โปรดฯให้มีพรรคการเมือง ๒ พรรค คือ คณะแพรแถบสีแดง (คณะโบว์แดง) เป็นพรรคฝ่ายรัฐบาล พระยาประสิทธิ์ศุภการ (เจ้าพระยารามราฆพ) เป็นหัวหน้าพรรค
    ส่วนพรรคฝ่ายค้าน คือ คณะแพรแถบสีน้ำเงิน (คณะโบว์น้ำเงิน) มีท่านราม ณ กรุงเทพ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.๖) เป็นหัวหน้าพรรค
             ท่านราม ณ กรุงเทพ เป็นพระนามแฝง ซึ่งทรงใช้ในฐานะทวยนาคร ผู้หนึ่งของ �ดุสิตธานี� ซึ่งเป็นราษฎรสามัญ มีอาชีพทนายความ
    ในนครดุสิตธานี มีหนังสือพิมพ์ออกจำหน่าย ๒ ฉบับ คือ �ดุสิตธานี� หนังสือพิมพ์รายวัน และ �ดุสิตสมิต� เป็นรายสัปดาห์
    เมื่อทรงตั้ง นครดุสิตธานี ขึ้นนั้น ทรงมีพระราชดำรัส แสดงถึงพระราชดำริว่า
             วิธีการดำเนินเป็นไปนี้ เป็นการทดลองว่าจะเป็นประโยชน์ได้เพียงใด เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับธานีให้แน่ชัดเสียก่อน...ฯลฯ...
    วิธีการดำเนินการในธานีเล็กๆ ของเราเป็นเช่นไร ก็ตั้งใจไว้ว่าจะให้ประเทศสยามได้ทำเช่นเดียวกัน แต่จะให้เป็นการสำเร็จรวดเร็วทันใจดังธานีเล็กนี้ ก็ยังทำไปทีเดียวไม่ได้โดยมีอุปสรรคบางอย่าง...

             เมืองจำลอง ดุสิตธานี ในพระราชวังพญาไท (เมืองนี้มีถนนสายหนึ่งชื่อ �ถนนประชาธิปไตย�) มีการปกครองโดยคณะนคราภิบาล (รัฐบาล) ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากทวยนาคร (ปวงประชาราษฎร) และมีธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาลเป็นบทบัญญัติสูงสุดในนครดุสิตธานี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×