ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #310 : ธรรมนูญการปกครองเมืองดุสิตธานี

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 800
      0
      22 ก.พ. 54

    เมืองดุสิตธานี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ นั้น
             มีประชาชนของเมืองที่เรียกว่า ทวยนาคร คือผู้มีบ้านเรือนจดทะเบียนอยู่ในเขตต่างๆของเมือง
             มี รัฐบาลที่เรียกว่า คณะนคราภิบาล
             มีหัวหน้ารัฐบาล เรียกว่า นคราภิบาล
    และที่สำคัญได้ทรงประสาท “ธรรมนูญลักษณปกครองคณะนคราภิบาล “เป็นสัญลักษณ์ของเมือง
            ซึ่งทรงมีพระราชปรารภ เมื่อทรงประสาทธรรมนูญฯ นี้ตอนหนึ่งว่า
            “ธรรมนูญลักษณปกครองคณะนคราภิบาลนี้ เป็นกำหนดอำนาจอันพระราชทานด่ชาวดุสิตธานี ให้มีเสียงแลโอกาสแสดงความเห็นในวิธีจัดการปกครองตนเองในกิจการบางอย่าง”
    และในตอนท้ายพระราชปรารภว่า
             “บัดนี้การตั้งพระราชธานี นับว่าจวนสำเร็จแล้ว ตามพระราชประสงค์สพรั่งพร้อมด้วยเคหะสถานและที่ทำการประกอบอาชีพต่างๆ สมควรจะมีธรรมนูญจัดการนคราภิบาลขึ้นไว้ เพื่อความไพศาลแห่งนคร จึงมีพระราชปกาสิตประสาทธรรมนูญจัดเป็นบทมาตราต่างๆ...”
             ธรรมนูญการปกครองฯนี้ แรกทีเดียวมีอยู่ด้วยกัน ๑๐ หมวด ๕๑ มาตรา
             ขอยกเพียงหมวดและมาตราที่สำคัญคือ
    หมวดที่ ๑
             มาตรา ๑ ให้เรียกบทบัญญัตินี้ว่า ธรรมนูญลักษณปกครองคณะนคราภิบาล ดุสิตธา พระพุทธศักราช ๒๔๖๑
             มาตรา ๒ ธรรมนูญนี้ให้ใช้ทั่วไปใน จังหวัดดุสิตธานี ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป
             มาตรา ๓ บรรดากำหนดกฎข้อบังคับแต่ก่อนบทใดขัดต่อข้อความในธรรมนูญนี้ให้ยกเลิกเสีย ใช้ธรรมนูญนี้แทนสืบไป
    ...ฯลฯ...ฯลฯ...
    หมวดที่ ๒
             มาตรา ๖ คำว่า ‘นคราภิบาล’ นั้น ท่านให้เข้าใจว่า ผู้ซึ่งราษฎรในจังหวัดดุสิตธานี ผู้มีสิทธิตามธรรมนูญนี้ จะเลือกได้ ได้พร้อมใจกันเลือกตั้งขึ้น เป็นผู้ปกครอง ชั่วปีหนึ่งๆโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุมัติ
    ...ฯลฯ...ฯลฯ...
    หมวดที่ ๓
             มาตรา ๘ ผู้ที่เป็นนคราภิบาลนั้น ท่านกำหนดอายุให้เป็นได้ชั่วปีเดียว เมื่อถึงกำหนดจะสิ้นปี ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ทุกปี
             มาตรา ๙ ผู้ที่เป็นนคราภิบาลมาปี ๑ แล้วจะรับเลือกให้เป็นนคราภิบาลอีก ๑ ปีติดๆกันไม่ได้
    หมวดที่ ๔
    ว่าด้วยอำนาจแลหน้าที่ของนคราภิบาล
             มาตรา ๒๑ เมื่อผู้ใดได้เป็นนคราภิบาลแล้ว ผู้นั้นมีอำนาจตามตามพระธรรมนูญนี้ทันที ในการที่จะเลือกตั้งคณะนคราภิบาล คือเจ้าหน้าที่ต่างๆ เช่นเจ้าพนักงานการคลัง เจ้าพนักงานโยธา นายแพทย์สุขาภิบาล ผู้รักษาความสะดวกของมหาชน (Inspector of Nuisances) เป็นต้น
             คือแรกเริ่มให้นคราภิบาล (หรือหัวหน้ารัฐบาล) ซึ่งราษฎร (ทวยนาคร) เลือกตั้งโดยตรง มีอำนาจเลือกคณะนคราภิบาล (เทียบกับรัฐมนตรี นั่นเอง) ได้เอง
             ทว่าต่อมาอีกเดือนเดียว ก็โปรดเกล้าฯให้มีพระราชกำหนดเพิ่มเติมและแก้ไขธรรมนูญลักษณะการปกครองฯฉบับ เดิม เพิ่มเติมแก้ไขขึ้นอีก ๔ หมวด ๒๒ มาตรา กำหนดให้มี เชษฐบุรุษ เป็นผู้แทนของทวยนาครในอำเภอนั้นๆ (คือเปรียบได้กับผู้แทนราษฎรในปัจจุบันนั่นเอง)
             พระราชกำหนดเพิ่มเติมนี้ มีหมวดว่าด้วยตำแหน่ง และวิธีการเลือกไว้ในธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฯ หมวดที่ ๒ ตามมาตราดังนี้
    หมวดที่ ๒
             มาตรา ๕ เชษฐบุรุษนั้นให้ทวยนาครที่เป็นเจ้าบ้านสมมติและเลือกคหบดีนายบ้านผู้มีอายุ เป็นที่นับถือ ในเขตอำเภอที่ตนตั้งบ้านเรือนอยู่นั้นอำเภอละคน เพื่อเป็นผู้แทนทวยนาครในอำเภอนั้น เข้าไปนั่งในสภากรรมการนคราภิบาล
    นอกจากนี้ยังกำหนดไว้ในมาตรา ๑๙ หมวดที่ ๓ ธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฯนี้อีกว่า ผู้ที่จะรับสมมติเป็นนคราภิบาล (หัวหน้ารัฐบาล) ต้องเป็นเชษฐบุรุษอยู่แล้วด้วย
    คือยกเลิกจากการที่ให้ทวยนาคร หรือประชาชนเลือกนคราภิบาลโดยตรง เป็นให้เลือกเชษฐบุรุษก่อน แล้วให้เชษฐบุรุษเลือกนคราภิบาล นคราภิบาลตั้งคณะนคราภิบาล โดยมีบรรดาเชษฐบุรุษ ผู้แทนราษฎร?) นั่งอยู่ในสภากรรมการนคราภิบาล
    จะเห็นได้ว่า “ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาลดุสิตธานี” ว่าไปแล้วก็คงจะเป็นต้นเค้าของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๕ ที่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองช่วยกันร่างขึ้น แล้วขอพรราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง
             ‘เวียงวัง’ ตอนนี้ เล่าเรื่อง ‘ธรรมนูญลักษณะปกครองฯ’ ของเมืองดุสิตธานี ซึ่งออกจะเป็นเรื่องค่อนข้างหนัก จึงเล่าแต่เพียงสั้นๆ เพราะอาจหาเรื่องราวโดยละเอียดอ่านได้ไม่ยากนัก ขอบรรยายด้วยภาพหลายๆภาพ อันเกี่ยวกับ ‘ธรรมนูญฯ’ เมืองดุสิตธานี และ ‘รัฐธรรมนูญ’ ของประเทศไทย ในเวลาอีก ๑๔ ปีต่อมา

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×