ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #271 : เจ้านายฝ่ายใน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.24K
      0
      19 เม.ย. 53

     

    นื่องมาจากภาพประกอบเวียงวังฉบับก่อน ซึ่งมีพระฉายาลักษณ์ และภาพของเจ้านาย และเจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าฝ่ายใน ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) ครั้งแรก ๑๔ พระองค์และ ๑ ท่าน

    พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี
    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี
    พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี พระอิสริยยศสูงสุดในรัชกาลที่ ๗ คือ “สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทีวี”
    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล สรรพสกนธ์กัลยามณี พระยศสูงสุดในรัชการที่ ๕ คือ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี”

    สำหรับพระประวัติ และประวัติ แต่ละพระองค์ และ ๑ ท่านนั้น ส่วนมากคงทราบกันอยู่บ้างแล้ว จึงจะยกมาเล่าแต่เฉพาะบางเรื่องและบางพระองค์

    นอกจากองค์มหาสวามินี (พระนางเจ้าฯ พระวรราชเทวี) แล้ว ก็โปรดเกล้าฯ พระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เป็นพระองค์แรก

    พ.ศ.๒๔๓๖ ขณะนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกยังไม่เสด็จสวรรคต พระชันษาได้ ๑๖ พรรษา (สวรรคตปีรุ่งขึ้น พ.ศ.๒๔๓๗)

    พระรูปพระโฉม สมเด็จนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี นั้น จากพระฉายาลักษณ์ในพระวัยต่าง ๆ กัน คงเห็นพ้องต้องกันว่า พระองค์ทรงมีพระรูปพระโฉมงดงามคมสัน พระวรกายระหงเป็นสง่า

    ในกลอนสังเกตพระอัชฌาสัยเจ้านาย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจำได้ จากที่เจ้านายในรัชกาลที่ ๔ ทรงจำไว้และท่องกันต่อ ๆ มา นั้น

    ในกลอน กล่าวถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชเทวี เมื่อพระชันษาเพียง ๖ พรรษา ว่า

    “หน้าตาคมสัน องค์สว่าง”

    ขณะเมื่อทรงดำรงพระอิสริยยศ พระบรมราชเทวี (ในสมัยนั้นคือ เอกอัครมเหสี หรือพระราชินี) เมื่อพระชันษาประมาณ ๒๒-๒๓ เจ้าชายออสคาร์ ดยุคออฟก๊อตแลนด์ แห่งสวีเดน เสด็จเป็นพระราชอาคันตุกะมาเมืองไทย เจ้าชายได้ทรงบันทึกในจดหมายเหตุรายวันของพระองค์ ตอนหนึ่งทรงเล่าถึงพระราชินี (Queen) ไทยเอาไว้ว่า

    “...เราเดินผ่านท้องพระโรงใหญ่ ๆ หลายห้อง และห้องสวย ๆ อีกไม่น้อย จนผ่านสวนในร่ม ซึ่งมีน้ำตกเป็นสายจากถ้ำจำลองแล้ว จึงเข้าไปถึงห้องรับแขกของพระราชินีไทย

    สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
    พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี พระอิสริยยศสูงสุด
    ในรัชกาลที่ ๖ คือ “สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ทรงฉลองพระองค์เต็มยศ ทรงสพักแพรห่มเครื่องยศ
    สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระอิสริยยศสูงสุด
    ในรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ คือ “สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า”

    ฉันแปลกใจเมื่อเข้ามาเผชิญหน้ากับผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นแบบบาง อายุราว ๑๙ ปี (แสดงว่า พระองค์ดูทรงพระเยาว์กว่าพระชันษามาก - จุลลดาฯ) แต่งกายคล้ายมหาดเล็ก แต่มีความคิดดีในการแต่งกายทำให้ดูงามหยดย้อยแสนหรูหรา พระเจ้าแผ่นดินทรงแนะนำว่า เป็นพระมเหสีของพระองค์

    เครื่องทรงของพระราชินี ซึ่งเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างวิเศษสุดนั้น ประกอบด้วยฉลองพระองค์โบรเคด (ไหมยกดอก-จุลลดาฯ) สีทอง ๆ เงิน ๆ พอดีพระองค์ แขนเป็นจีบ ๆ ทำด้วยไหมทองมีจุดขาว มีแพรสีเขียวพันรอบพระองค์ ชายข้างหนึ่งพาดบนพระอังสาซ้าย ๆ อย่างหลวม ๆ ทรงสนับเพลาหรือผ้าทรง (โจงกระเบน-จุลลดาฯ) แบบเดียวกับที่ผู้ชายนุ่งเป็นสีน้ำเงินแก่กับทอง ทำให้ดูเครื่องแต่งพระองค์ประหลาด แต่สวยงามนี้ครบชุด โดยมีดุมเพชรเม็ดใหญ่ และเข็มกลัดเพชรกลัดตรึงไว้ รอบพระศอทรงสังวาลย์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ประดับเพชรวูบวาบติดทับอยู่บนฉลองพระองค์

    ท่านงามสะดุดตาที่สุดอยู่แล้ว ซ้ำยังเคลื่อนไหวพระอิริยาบถ ด้วยท่าทีที่เชื่อมั่นในพระองค์เอง กับมีพระรูปโฉมสมเป็นนางเอกในภาพที่งามวิจิตร บริวารของฉันซึ่งได้รับอนุญาตให้ตามฉันเข้าไปในที่นั้นด้วย ก็เช่นเดียวกับตัวฉัน คืองงงัน ซาบซึ้ง และปีติในสิ่งที่ได้พบเห็น โดยเฉพาะในพระราชินีที่งามเลิศ...”

    เจ้านายฝ่ายในที่เป็นพระราชธิดา นั้น ในภาพมีพระฉายาลักษณ์ อยู่ ๖ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าวิลัยลักษณ์ฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวารฯ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมลฯ สามพระองค์นี้เป็นพระราชธิดารุ่นใหญ่ พระนามมีไปยาลน้อย หลังพระนาม แสดงว่าพระนามเต็ม ๆ มีสร้อยต่อท้ายพระนาม ซึ่งสร้อยต่อท้ายพระนามนี้มักมีแต่ในพระนามของเจ้าฟ้าที่ประสูติแต่พระภรรยาเจ้า หากเป็นเพียงพระองค์เจ้าประสูติแต่เจ้าจอมมารดา พระนามไม่มีสร้อยต่อท้าย นอกจาก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษ ดัง พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระเมตตายกย่องเป็นพิเศษ ด้วยเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกในเจ้าคุณจอมมารดาแพ (เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ในรัชกาลที่ ๖) ประสูติก่อนเสด็จครองราชย์ และเป็นหลานปู่ของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินทั่วทั้งพระราชอาณาจักร

    พระเจ้าลูกเธอ พระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง มักรับสั่งเสมอว่าเป็น ‘ลูกคู่ทุกข์คู่ยาก’

    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวารฯ กรมขุนพิจิตรเจษฏ์จันทร์
    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี
    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติรัตนกุมารี พระยศสูงสุดในรัชกาลที่ ๕ คือ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าจันทราสรัทวารฯ กรมขุนพิจิตรเจษฏ์จันทร์”
    พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี พระยศสูงสุดในรัชกาลที่ ๕ คือ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี”

    ดังนั้น เมื่อโปรดฯให้ทรงกรม ก็พระราชทานพระมหากรุณาเป็นพิเศษอีก คือ โปรดฯ ให้เป็น ‘กรมขุน’ เท่ากับ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอชั้น เจ้าฟ้า มิใช่เป็นเพียงกรมหมื่นตามธรรมเนียมทรงกรมของพระเจ้าลูกเธอชั้นพระองค์เจ้า

    พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ฯ ทรงกรมเป็นกรมขุนสุพรรณภาควดี ได้เพียงปีเดียว (พ.ศ. ๒๔๔๖) ก็สิ้นพระชนม์ (พ.ศ.๒๔๔๗)

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระอาลัยมาก ถึงทรงพระกันแสง โปรดฯให้เชิญพระศพไปพระราชทานเพลิงเป็นพิธีการใหญ่ ที่บางปะอิน (เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในเรื่อง ‘สี่แผ่นดิน’ ซึ่งหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่งเป็นนิยายจากเรื่องจริงผสมผสานจินตนาการ)

    ส่วนสมเด็จพระเจ้าลูกเธออีกสองพระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร และ สมเด็จเจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล นั้นเป็นพระราชธิดา ประสูติแต่พระอัครชายาเธอ

    สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร เป็น สมเด็จหญิงพระองค์ใหญ่ ประสูติแต่พระอัครชายาเธอ พระองค์กลาง

    สมเด็จเจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมลเป็น สมเด็จหญิงพระองค์เล็ก ทว่าประสูติพระอัครชายาเธอ พระองค์ใหญ

    พูดอย่างชาวบ้านก็คือ พระอัครชายาเธอ พระองค์กลางเป็นน้อง แต่มีลูกก่อนพี่สาว

    เรื่องนี้จึงมักเข้าใจผิดกันเสมอ แม้แต่ในเชิงอรรถของหนังสือ พระบรมราชจักรีวงศ์ (หน้า ๑๔๘) ก็ยังเรียงลำดับพระอัครชายาเธอ ทั้ง ๓ พระองค์สับกันให้ พระอัครชายาเธอ

    พระองค์เล็ก เป็นพี่สาวใหญ่องค์ที่ ๑ พระอัครชายาเธอพระองค์ใหญ่ เป็นพี่ที่ ๒ พระอัครชายาเธอ พระองค์กลาง กลับเป็นน้องเล็กสุด ดังนี้
    พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ฯนั้น หากเป็นเจ้านายด้วยกัน มักรับสั่งเรียกว่า ‘ท่านพระองค์ใหญ่’ พวกข้าหลวงออกพระนามว่า ‘เสด็จพระองค์ใหญ่’

    คำว่า ‘เสด็จ’ นี้ ในรั้วในวัง แต่เดิมมาก็เรียกกันแต่ พระองค์เจ้า ชั้นพระราชธิดา (หรือพระราชโอรส) ของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น มิใช่เรียกพระองค์เจ้าทั่วไป (หรือพระองค์เจ้าตั้ง) สำหรับพระองค์เจ้าตั้ง เดิมเรียกกันว่า ท่านพระองค์หญิง ท่านพระองค์ชาย ยังจำได้ว่า แม้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตมงคล ซึ่งท่านเป็นพระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช สมเด็จพระราชอนุชา ร่วมพระครรโภทรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แล้วยังทรงเป็นพระราชสุณิสาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงอีกด้วย ชาววังในวังนอกวังก็ยังเรียกท่านว่า ‘ท่านพระองค์หญิงเฉลิมเขต’ หรือ ‘ท่านพระองค์หญิง’ ไม่เห็นเคยได้ยินใครเรียกท่านว่า ‘เสด็จ’ องค์ที่เรียกกันว่า ‘เสด็จ’ ก็มีอย่าง ‘เสด็จพระองค์เหม’ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕) ‘เสด็จพระองค์อาทร’ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕) เมื่อผู้เล่ายังเด็ก เวลานั้นมีพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระชนม์อยู่พระองค์หนึ่ง ก็เรียกท่านว่า ‘เสด็จ’ คือ ‘เสด็จพระองค์ประดิษฐา’ พระนามเต็มว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×