ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เวียงวัง

    ลำดับตอนที่ #259 : กรมเจ้านาย-สร้อยพระนาม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 448
      1
      18 เม.ย. 53

    กรมเจ้านายที่ว่า กรมนั้นกรมนี้ เป็นพระอิสริยยศ สูงขึ้นจากพระยศเดิมใช่ไหม-
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

    ธรรมเนียมการตั้งกรมเจ้านาย ที่เรียกกันว่าได้ทรงกรมนั้นมีมาแต่โบราณ

    ตามพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเรื่องกรมเจ้านาย ขอพระราชทานเชิญมาเป็นบางส่วน ทรงมีพระบรมราชาธิบายว่าดังนี้

    เจ้าฟ้าก็ดี พระองค์เจ้าก็ดี ที่มีข้าไทเลกสมสังกัดขึ้นมาก การบังคับบัญชาผู้คนเข้าไทเหล่านั้นจึงต้องมีข้าของเจ้าเป็นผู้ควบคุม... (ดังนั้น) เจ้าแผ่นดินจึงได้โปรดฯ ให้ยกคนหมู่นั้นขึ้นเป็นกรมต่างหากกรมหนึ่ง คงอยู่ในเจ้าองค์นั้น (และ) เจ้าองค์นั้นมีอำนาจตั้งเจ้ากรมเป็น พระยา พระ หลวงขุน หมื่น ฯลฯ ส่วนเจ้าซึ่งเป็นผู้ปกครองกรมนั้น หากเป็นเจ้าฟ้าก็คงเป็นเจ้าฟ้า เป็นพระองค์เจ้าก็คงเป็นพระองค์เจ้า

    แต่การที่ผู้ใดจะออกพระนามเดิมจริงๆ ดูเป็นการไม่เคารพ เช่นกับจะออกพระนามกรมหลวงจักรเจษฏาว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าลา เช่นนี้ดูเป็นการต่ำสูง จึงเรียกเสียว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฏา ตามชื่อเจ้ากรม ซึ่งเป็นหัวหน้าข้าไทของท่าน

    ดังเช่น สมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีชื่อเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพย์ เจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ ก็เห็นได้ว่า พระนารายณ์คงไม่ได้ตั้งพระขนิษฐาให้ชื่อโยธาทิพย์ และพระราชบุตรีให้ชื่อ โยธาเทพ ซึ่งเป็นชื่อทหารผู้ชายเช่นนั้นเห็นชัดว่า เป็นชื่อสำหรับเจ้ากรมเท่านั้น

    การค่อยๆ เข้าใจผิดกันมาทุกที เพราะเรียกพระนามกรมจนจับหน้าเจ้าองค์นั้นเสียแล้ว จึงกลายเป็นชื่อเจ้าองค์นั้น

    การตั้งกรมเจ้านาย ทั้งแผ่นดินกรุงธนบุรี และเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดสถาปนาตามธรรมเนียมการตั้งกรมรัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ์ ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

    ซึ่งกาลสมัยนั้น กรมเจ้านายมี ๔ ขั้น

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
    สมเด็จพระมหิตลาธิเบตรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
    สมเด็จพระมหิตลาธิเบตร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์

    ๑.  กรมพระ สำหรับพระมหาอุปราช กรมพระราชวังหลังและสมเด็จพระชนนีพันปีหลวง

    ๒.  กรมหลวง สำหรับพระมเหสี พระบัณฑูรน้อย พระเจ้าน้องเธอ และพระเจ้าลูกเธอ

    ๓.  กรมขุน สำหรับพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ (หลานลุง หลานอา)

    ๔.  กรมหมื่น สำหรับพระองค์เจ้าลูกเธอ และเจ้าพระญาติตั้งเป็นพิเศษ

    ส่วนกรมชั้นพระยา เป็นชั้นที่เพิ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ และเมื่อทรงกรมเป็นชั้นกรมพระยาแล้วคำนำพระนามต้องขึ้นว่า ‘สมเด็จ’ แม้พระยศเดิมจะเป็นพระองค์เจ้าดังเช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หากพระยศเดิมเป็นเจ้าฟ้า ก็เติมคำว่าเจ้าฟ้า ดังเช่นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

     ต่อมา เมื่อการบริหารราชการเริ่มเข้าสู่ระบบใหม่ การมีกรมเจ้านายตามความจำเป็นจึงเลิกไป แต่ยังคงการสถาปนาเป็นพระเกียรติยศ โดยมิได้มีผู้คนข้าไทหมู่มากในกรมดังสมัยก่อน

    อีกเรื่องหนึ่ง ที่ถามกันมา คือ เรื่อง “อุภโตสุชาต” ถามกันมาว่า เจ้า ที่ว่าเป็นอุภโตสุชาต หมายความว่าอย่างไร

    ก็ต้องเชิญพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระุพุทธเจ้าหลวงอีก ทรงอธิบายไว้ว่า

    “สร้อยพระนาม อุภโตชาตสังสุทธเคราหณี ซึ่งเป็นคำที่นับถือของพวกนักปราชญ์ชาวสยาม ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ คำว่า อุภโตชาต ว่ามีความเกิดดีแต่ฝ่ายทั้งสอง (คือทั้งบิดาและมารดา - จุลลดาฯ) สังสุทธเคราหณี ว่ามีครรภ์เป็นที่ถือเอาปฏิสนธินั้นบริสุทธิ์พร้อมคือถ้าจะรวมความ ก็ว่า มีครรภ์ที่เกิดปฏิสนธิบริสุทธิ์ เป็นอันดีพร้อมทั้งสองฝ่าย (ฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา - จุลลดาฯ)”

    เป็นที่สังเกตว่า เจ้าฟ้าพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงที่ประสูติแต่พระภรรยาเจ้าลูกหลวง (พระราชธิดาในพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน) และพระภรรยาเจ้าหลานหลวง (พระราชนัดดาในพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น) นั้น

    สร้อยพระนามต้องมีคำว่า ‘อุภโตสุชาต’ หรือคำอันมีความหมายว่า มีชาตอันสมบูรณ์บริสุทธิ์ด้วยกันทั้งสองฝ่ายบิดามารดา ทำนองนั้น

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

    ดังเช่น

    ๑.  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมารพระองค์แรก พระนามเต็มว่า

    สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรสมมติเทพยวรางกูรบรมมกุฏนเรนทรสูริย์ขัตติยสันตติวงศ์ อุกฤษฏ์พงศ์วโรภโตสุชาต ธัญญลักษณวิลาสวิบุลยสวัสดิ์ สิริวัฒนราชกุมาร”

    ๒.  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเต็มว่า

    สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษย์บรมนราธิราช จุฬาลงกรณนาถราชวโรรส มหาสมมติขัตติยพิสุทธิ์บรมมกุฏสุริยสันตติวงศ์ อศิศัยพงศ์วโรภโตสุชาตคุณสังกาศวิมลรัตน์ ทฤฆชนมสวัสดิ์ขัตติยราชกุมาร”

    ๓.  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

    สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ดิลกจันทรนิภาพงศ์ มหามกุฏวงศ์นราธิราชจุฬาลงกรณนาถราชวโรรส อดุลยยศอุภโตพงศ์พิสุทธิ์ นรุตมรัตนขัตติยราชกุมาร”

    ๔.  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์

    สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร จุฬาลงกรณราชรวิวงศ์ อุภัยพงศ์พิสุทธิ์ วรุตโมภโตสุชาต บรมนฤนาถราชกุมาร”

    ๕.  สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

    “สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณ์นรินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาตคุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ์ ลักษณวิจิตรพิสิษฐบุรุษย์ ชนุตมรัตนพัฒนศักดิ์ อัครวรราชกุมาร”

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×