ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    +*+*+ อาหารสำหรับแต่ละช่วงวัย และภาวะพิเศษ +*+*+

    ลำดับตอนที่ #5 : +*+ วัยผู้ใหญ่ +*+

    • อัปเดตล่าสุด 23 พ.ค. 51


    วัยผู้ใหญ่



    วัยผู้ใหญ่

              วัยผู้ใหญ่เป็นวัยที่มีอายุตั้งแต่ 21 ปี จนถึง 60 ปี ในวัยนี้ร่างกายมีการเสริมสร้างเพื่อเจริญเติบโตอีก แต่ยังคงมีการเสริมสร้างเซลล์ต่างๆ เพื่อรักษาสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายให้คงที่ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น การทำงานของเซลล์ต่างๆ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยทุกวัน อัตราการทำงานของอวัยวะต่างๆ ลดลง ประสิทธิภาพการทำงานต่างๆ ลดลงเรื่อยๆ หากมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เครียดจนเกินไป การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเกิดอย่างช้าๆ ตามธรรมชาติ ดังนั้นการได้รับอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการองร่างกายจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ลักษณะโดยทั่วไปวัยนี้เป็นวัยที่มีความรับผิดชอบสูง เริ่มแต่งงาน และสร้างครอบครัวเป็นของตนเอง มีหน้าที่ดูแลสมาชิกในครอบครัว ทำงานหาเลี้ยงครอบครัววัยนี้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี มีเหตุผลมากขึ้น การเข้าสังคม มีความต้องการการยอมรับในสังคม รู้จักการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี เมื่ออยู่ในช่วงอายุของวัยนี้ มักจะอุทิศเวลา และเสียสละให้แก่ชุมชนและสังคมมากขึ้น

    ความต้องการสารอาหารของวัยผู้ใหญ่

    ในวัยผู้ใหญ่ถึงแม้ร่างกายจะไม่มีการเจริญเติบโตแล้ว แต่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ เพื่อเสริมสร้างเซลล์ต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานปกติ จึงต้อได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย ดังต่อไปนี้

    v พลังงาน ขึ้นอยู่กับการประกอบกิจกรรม วัยผู้ใหญ่ควรได้รับวันละ 2,000-2,800 แคลอรี

    v โปรตีน ต้องการโปรตีนเพื่อเสริมสร้างเซลล์ต่างๆ ให้ทำงานปกติ ควรได้รับวันละ 0.88 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

    v เกลือแร่ ได้แก่

    -                   แคลเซียม ควรได้รับวันละ 800 มิลลิกรัม

    -                   เหล็ก โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องมีประจำเดือน ควรได้รับวันละ 15 มิลลิกรัม ส่วนผู้ชายควรได้รับวันละ 10 มิลลิกรัม

    -                   ไอโอดีน ควรได้รับวันละ 150 ไมโครกรัม ควรกินอาหารทะเล และใช้เกลือผสมไอโอดีน

    v วิตามิน ได้แก่

    -                   วิตามินเอ ควรได้รับวันละ 600-700 RE ป้องกันโรคเกี่ยวกับ dark adaptation และโรคอื่นๆ

    -                   วิตามินบี1 ควรได้รับวันละ 1.0-1.4 มิลลิกรัม เมื่อใช้พลังงานมากก็ควรได้รับวิตามินบี1 มาก

    -                   วิตามินบี2 ควรได้รับวันละ 1.2-1.7 มิลลิกรัม ป้องกันโรคปากนกกระจอก การเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนัง

    -                   วิตามินซี ควรได้รับวันละ 60 มิลลิกรัม ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน

    -                   น้ำ เป็นส่วนประกอบของเซลล์ ควบคุมการทำงานในร่างกาย ทำให้เกิดสมดุลที่ดีควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว

    อาหารและปริมาณอาหารที่วัยผู้ใหญ่ควรได้รับ

    -              น้ำนม ควรดื่มวันละ 1แก้ว เพราะมีแคลเซียม โปรตีน และวิตามินมากมาย

    -              ไข่ ควรทานวันละ 1 ฟอง เพราะมีโปรตีน เหล็ก และวิตามินเอ

    -              เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับวันละ 100 กรัม ตับหรือเครื่องในสัตว์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

    -              ถั่วเมล็ดแห้งต้มสุก เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง

    -              อาหารทะเลสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

    -              ผัก อาจเป็นผักสีเขียวหรือผักสีสด 1/2 ถ้วยตวง

    -              ผลไม้จำพวกส้ม และผลไม้อื่นๆ หรือน้ำผลไม้ ควรทานทุกวัน

    -              ข้าว บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว หรือขนมจีน วันละ 3 จาน

    -              ไขมัน ควรได้รับน้ำมันวันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ

    ปัญหาและการแก้ปัญหาด้านการรับประทานอาหารของวัยผู้ใหญ่

    1.      กลุ่มผู้ใช้แรงงานถ้าได้รับอาหารไม่เพียงพอ จะมีโอกาสขาดพลังงานและโปรตีนได้ง่าย

    2.      การขาดกรดไขมันที่จำเป็น เพราะไม่ได้ใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันจำเป็นมากพอในการปรุงอาหาร หรือใช้น้ำมันจากสัตว์

    3.      ผู้ใหญ่ที่อยู่ในเมืองมักทำงานประเภทนั่งอยู่กับที่ ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว เล่นกีฬาน้อย แต่มักมีงานเลี้ยงสังสรรค์ อาจเกิดภาวะน้ำหนักเกิน ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

    4.      การกินอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ เช่น กินไขมันมาก ดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ ซึ่งการดื่มเบียร์มากทำให้เกิดระดับยูริกสูง ทำให้เกิดอาการข้ออักเสบ

    วัยผู้ใหญ่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ควรมีการศึกษาหาความรู้ที่ถูกต้องในการกินอาหารให้มีสุขภาวะที่ดี ดังนั้นควรคำนึงถึงประโยชน์และโทษของสิ่งที่จะกิน เช่น การดื่มเหล้า และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ต่างๆ ทำให้ตับถูกทำลาย เป็นต้น เมื่อทราบว่าสิ่งใดดีก็ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ และสิ่งใดไม่ดีก็ควรหลีกเลี่ยง พฤติกรรมการกินของผู้ใหญ่อาจส่งผลต่อวัยอื่นๆ ด้วยเพราะเป็นวัยของหัวหน้าครอบครัว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×