ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    +*+*+ อาหารสำหรับแต่ละช่วงวัย และภาวะพิเศษ +*+*+

    ลำดับตอนที่ #3 : +*+ เด็กวัยเรียน +*+

    • อัปเดตล่าสุด 23 พ.ค. 51


    เด็กวัยเรียน



    เด็กวัยเรียน

    เด็กวัยเรียนมีอายุประมาณ 6 – 12 ปี ในวัยนี้เด็กหญิงจะเจริญเติบโตเร็วกว่าเด็กชาย ร่างกายได้สัดส่วน มีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อ กระดูก และฟันแท้เริ่มขึ้น แม้อัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าวัยทารกและก่อนวัยเรียน แต่มีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ เด็กวัยนี้โตพอจะช่วยเหลือตนเองเรื่องอาหาร รู้จักเลือกว่าชอบไม่ชอบอะไร ดังนั้นพฤติกรรมการเลือกกิน จึงมีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็ก

    ลักษณะโดยทั่วไป เป็นวัยที่อยู่ในโรงเรียน ต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และบุคคลรอบข้างมากขึ้น มักแสดงอารมณ์อย่างเปิดเผย เช่น กลัว อาย โกรธหรือริษยา การเข้าสังคม เด็กส่วนใหญ่จะรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน และต้องการให้สมาชิกในกลุ่มยอมรับตนเอง เด็กหญิงจะรวมกลุ่มกับเด็กหญิง ส่วนเด็กชายจะรวมกลุ่มกับเด็กชาย และจะยึดถือกลุ่มเป็นใหญ่มากกว่าที่จะเอาแต่ใจตัวเอง เด็กวัยนี้จะมีความคิดสร้างสรรค์ และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมากขึ้น

    ความต้องการสารอาหารของเด็กวัยเรียน

    พ่อแม่ควรมีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูเด็กวัยเรียน เพื่อจะได้เตรียมอาหารได้ถูกต้องทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ

    v พลังงาน เด็กวัยนี้ต้องการพลังงานสูง ควรได้รับวันละ 1,600-1,850 แคลอรี

    v โปรตีน ต้องได้รับอย่างเพียงพอ ทั้งคุณภาพและปริมาณ เพื่อเสริมสร้างการเติบโต ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สลาย เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน เอนไซม์ สารสร้างภูมิคุ้มกัน และ รักษาสมดุลของร่างกาย ควรได้รับวันละ 26-37 กรัม

    v วิตามิน ได้แก่

    -                   วิตามินดี มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมเมทาบอลิซึมของแคลเซียม และฟอสฟอรัส มีผลโดยตรงต่อการสร้างกระดูก และฟัน ปริมาณที่ควรได้รับขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ถ้าอยู่ในเขตร้อนต้องการเพียงวันละ 2.5 ไมโครกรัม ถ้าอยู่ในเขตแสงปานกลางอาจต้องการถึงวันละ10 ไมโครกรัม

    v เกลือแร่ ได้แก่

    -                   แคลเซียมและฟอสฟอรัส หากขาดร่างกายจะเติบโตไม่เต็มที่ ควรได้รับวันละ 800-1,200 มิลลิกรัม สำหรับเด็กวัยเรียน

    -                   ป้องกันโรคคอพอก ควรได้รับวันละ 120-150 ไมโครกรัม

    -                   สังกะสี จำเป็นต่อการเจริญเติบโต หากขาดการเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก ขาดความอยากอาหาร การรับรสน้อยลง ควรได้รับวันละ 10 มิลลิกรัม มีอยู่ในเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล

    v น้ำ ควรดื่มน้ำที่สะอาด หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

    อาหารและปริมาณอาหารที่เด็กวัยเรียนควรได้รับ

                อาหารสำหรับเด็กวัยเรียนโดยใช้อาหาร 5 หมู่เป็นหลัก

    -                   นม 1/2 แก้ว ไข่ 1 ฟอง เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ กุ้ง หอย ปู 70 กรัม ประเภทเต้าหู้ 10-35 กรัม

    -                   ข้าวสุก ก๋วยเตี๋ยว หรือขนมจีน 4-5 ถ้วย เผือกหรือมัน 100 กรัม น้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ

    -                   ผักใบเขียวสุกและดิบ 1/3-1/2 ถ้วย ผักจำพวกหัว ฝัก ผล 1/2 ถ้วย

    -                   ผลไม้จำพวกส้ม อย่างน้อย 1 ผล ผลไม้อื่นๆ 1 ผล (ผลเล็ก 3-4 ผล)

    -                   น้ำมันจากสัตว์หรือน้ำมันจากพืช กะทิ 2 โต๊ะ

    ปัญหาและการแก้ปัญหาด้านการรับประทานอาหารของเด็กวัยเรียน

                การทานอาหารที่ไม่เหมาะสมทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ทำให้เด็กไทยในวัยเรียนเกิดทุพโภชนาการต่างๆ เช่น การขาดโปรตีนและพลังงาน ภาวะโรคโลหิตจาง และการขาดสารไอโอดีนปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่ของสังคม เพราะจะทำให้ประเทศมีประชากรที่ด้อยคุณภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ รัฐบาลต้องเข้ามาร่วมแก้ไข เช่น การกำหนดมาตรฐานในการจัดทำอาหารให้เด็กตามโรงเรียน และช่วยเหลือเด็กในส่วนที่ขาดแคลน ในส่วนของครอบครัวก็ต้องคอยดูแลลูกหลานและให้ความสำคัญกับการกินอาหาร เป็นต้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×