ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ๓ ๒ ๑... >> ที่มาของสุภาษิต สำนวน คำพังเพยไทย

    ลำดับตอนที่ #33 : หมวด อ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.98K
      2
      30 ม.ค. 53

    หมวด อ

             อดเปรี้ยวกินหวาน
    หมายความว่า ให้ละทิ้งสิ่งที่ไม่ดีนั้นเสีย เพื่อรับเอาสิ่งที่ดีเข้าไว้ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาอดใจรออยู่นาน ก็ยังดีกว่า เพราะผลที่จะได้รับข้างหน้านั้น ย่อมดีกว่า
     

    S24

    อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น
               สำนวนนี้มีความหมายอธิบายอยู่แล้ว คือเมื่ออาศัยอยู่บ้านใคร ก็อย่าอยู่เปล่า ควรช่วยทำงานทำการให้เป็นประโยชน์ต่อเขาบ้าง เพียงแค่เอาดินมาปั้นเป็นตุ๊กตาให้เด็ก ๆ ลูกหลานในบ้านท่านเล่นก็ยังดี แต่ประโยคนี้ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่า เพียงแต่ช่วยดูแลเด็กเล็กในบ้านให้แก่ท่านผู้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์ดีกว่าอยู่เปล่า ๆ
     
    อ้อยเข้าปากช้าง 
              หมายความว่า สิ่งที่หลุดลอยไปเป็นของคนอื่นแล้ว ก็ย่อมจะสูญหรือไม่มีทางจะได้คืนมาง่าย ๆ มักหมายถึงการที่เสียรู้หรือเสียประโยชน์ไปโดยถูกช่วงชิง หรือโดยความผิดพลาดอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว อย่าหวังจะได้กลับคืนมาทีเดียวนักเปรียบเหมือนอ้อยซึ่งเป็นอาหารโปรดของช้าง เมื่อตกเข้าไปอยู่ในปากช้างแล้ว “ยากที่จะง้างออกมาได้”

    อัฐยายซื้อขนมยาย   
              หมายถึงการได้รับประโยชน์หรือได้รับทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่ง แล้วเอาทรัพย์นั้นมาใช้กับผู้นั้นต่อ เข้าทำนองที่ว่า เอาเงินจากผู้นั้นมาแล้ว กลับเอาเงินนั้นไปซื้อของมีค่าจากผู้นั้นอีกโดยที่เราไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แต่คนนั้นกลับเป็นฝ่ายต้องเข้าเนื้อ ตามความหมายตรงตัวของสำนวนอยู่แล้ว
     
    เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ
              สำนวนนี้ บางทีก็ว่า “ยืมจมูกคนอื่นเขามาหายใจ” มีความหมายไปในทำนองที่ว่า อาศัยความคิดหรือแรงของคนอื่นมาทำงานให้ตน โดยไม่คิดว่าจะได้รับผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่ากับที่ตนเองทำหรือไม่ และมักจะไม่ได้ผลดังที่ตนต้องการทีเดียวนัก

    เอาใจเขามาใส่ใจเรา
             สำนวนนี้ มุ่งให้คำนึงว่า ควรจะมีความเห็นใจซึ่งกันและกัน หรือนึกถึงอกเขาอกเราบ้าง ว่าตัวเราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเขาทำอย่างนั้นกับเรา

    เอาทองไปรู้กระเบื้อง 
              สำนวนนี้ ความหมายอย่างเดียวกับ “พิมเสนแลกกับเกลือ” ความหมายว่า ลดตัวเองลงไปต่อสู้กับคนที่ต่ำศักดิ์กว่า โดยไม่คู่ควรกัน

    เอาหัวเดินต่างตีน 
             จะทำให้แปลกพิสดารออกไปอย่างไรก็ไม่ยอมเชื่อ หรือไม่เชื่อเป็นเด็ดขาด แต่สำนวนนี้มักเอามาใช้เป็นคำพนันขันต่อ เป็นทำนองว่า “ถ้าลื้ือทำได้ อั๊วยอม เอาหัวเดินต่างตีน”

    ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
    salanluck.awardspace.com
    siamtower.com

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×