ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #373 : ราคุผู้ทำลายความงามของการขัดขวางคลุมถุงชน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.91K
      2
      11 ม.ค. 59

                    ต่อเนื่องจากสรุปอนิเมะและมังงะ 2016 ครับ ยังเหลือที่สุดมังงะในปี 2016 ในใจผมอยู่หนึ่งอย่าง นั่นคือ “รูทปักธงที่แป๊กที่สุดแห่งปี นั้นคือ ราคุขัดขวางการแต่งงานกับมาริกะ” ซึ่งมันยาวมาก เลยเขียนเป็นหนึ่งบทความเลยทีเดียว

                    ก่อนอื่น ผมขอบอกว่า ผมไม่ได้เป็นแฟนนิโค่ย  Nisekoi แต่อย่างใด ไม่ได้อ่าน ไม่ได้ตามด้วย (แต่ยอมรับว่าโดจินยัยแว่น ทำเอาผมตกหลุมรักเหมือนกัน)   ผมอ่านสปอยมา (ดูสปอยเพื่อหวังว่าหากเนื้อเรื่องดีก็จะซื้อรวมเล่ม อ่านรวดเดียวเลย) แล้วผมก็ไปอ่านเม้นความเห็นแต่ละคนในบอร์ดแห่งหนึ่ง (ก็ดูปฏิกิริยากองอวยหน่อย) แล้วเกิดความรู้สึกยิกๆ อยากจะเขียนขึ้นมา ดังนั้นสิ่งที่ผมเล่ามา คือจำจากสปอย ไม่ตรงร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นผิดพลาดตรงไหนบอกได้ครับ เพราะจุดประสงค์จริงๆ ผมจะเขียนเรื่องคุลมถุงชนมากกว่า

    Nisekoi หรือรักลวงป่วน เป็นการ์ตูน แนวคอมเมดี้, โรแมนติก โดย โคมิ นาโอชิ ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์ ปัจจุบันมีฉบับรวมเล่มแล้ว 20 เล่ม ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของ Siam Inter Comics  ถือว่าเป็นการ์ตูนที่ดังระดับหนึ่งเพราะเคยขึ้นอันดับความนิยมของจัมป์ในช่วงแรกๆ และเคยติดรวมเล่มขายตีประจำสัปดาห์ ยอดขายหักแสน

     

     

     

                    นิโค่ยเป็นเรื่องราวของพระเอกคนหนึ่งชื่อ อิจิโจ ราคุ ที่ยึดมั่นคำสัญญาตั้งแต่วัยเด็ก ที่เขาสัญญากับเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่สนิทกันกันได้เพียงไม่นาน สัญญาที่ว่าเมื่อพบกันอีกครั้งจะแต่งงานกัน หากแต่วันเวลาจะผ่านมานานจนกระทั่งจำชื่อหรือใบหน้าของเด็กผู้หญิงคนนั้นไม่ได้แล้ว แต่สิ่งที่ยังคงจำจดไม่ลืมเลือน สร้อยคอกุญแจปิดผนึก ซึ่งรอให้เด็กสาวในวัยเด็กเอากุญแจมาไขออก หากแต่จนวันนี้ราคุยังคงเฝ้ารอ เธอคนนั้น ซึ่งเขาก็ไม่รู้ว่าเธออยู่ที่ไหนในตอนนี้ แต่รู้เพียงแค่ว่า เธอคนนั้นมีตัวตนอยู่จริงๆ

                    เวลาผ่านไปจนราคุ กลายเป็นเด็กหนุ่มมัธยมปลายอยู่ปีหนึ่ง แถมเป็นลูกชายในตระกูลยากุซ่าแก๊งชูเอย์ งุมิ (Shuei Gumi) แต่พ่อของเขาอยากให้เป็นผู้สืบทอดหัวหน้าแก๊งรุ่นต่อไป แต่ราคุไม่เอาด้วย จนกระทั่งวันหนึ่งเขา โดนทางบ้านจับคลุมถุงชนให้มาคบกับคิริซากิ จิโตเงะ (ฉายากองแช่งว่า ลิงกอลิล่า และกองเชียร์ว่า ผมทอง) ที่เป็นลูกสาวของตระกูลมาเฟียบีไฮวฟ์ เพื่อเป็นเงื่อนไขในการสงบศึกความบาดหมางระหว่างแก๊งทั้งสอง ซึ่งตัวเขาเองนั้นแอบชอบโอโนเดระ โคซากิ (ฉายากองเชียร์ว่า ผมดำ ส่วนฉายากองแช่งไม่ทราบ) ที่ที่นิสัยดูเรียบร้อยน่ารัก อ่อนหวานและดูขี้อายกว่าจิโตเงะ  จึงเป็นเรื่องที่ทำให้เขาลำบากใจอยู่ไม่น้อย แถมเรื่องยังไม่จบเพียงเท่านี้เพราะทั้งจิโตะเงะและโคซากินั้นมีความเป็นไปได้มากว่าทั้งสองคนคือเด็กหญิงที่เขาเคยสัญญาว่าจะแต่งงานด้วยกันด้วยซ้ำ  

                    จะว่าไปแล้ว หลังจากที่ To Love-Ru จบลงไปสักพักหนึ่ง  ก็มี Nisekoi นี้แหละ ที่เป็นแนวฮาเร็มแท้ๆ ที่ดังพอตัวสมควร (แต่ไม่ตำนานแน่นอน ผมฟันธง) ซึ่งผลตอบรับดีในช่วงแรกๆ

                    ถ้าถามว่า ทำไม Nisekoi มันพิเศษกว่าฮาเร็มอื่นๆ ตรงไหน หากเทียบกัน ผมก็ตอบว่ามันไม่พิเศษเลยสักนิด หากคุณได้อ่านเนื้อหาเรื่องราว ก็พบว่ามันไม่แตกต่างอะไรกับฮาเร็มเรื่องอื่นๆ ที่คุณประสบพบเจอเลย มันตามสูตรฮาเร็ม และสูตรของจัมป์ด้วย กล่าวคือ ตอนแรกๆ พระเอกรักเดียวใจเดียว มีตัวเลือกมากขึ้น คำสัญญาวัยเด็ก  คาแร็คเตอร์ผมก็ตอบว่ามันธรรมดาอยู่ดี นางเอกเป็นคนโผ่งผ่าง นางรอง (ผมดำ) นิสัยเรียบร้อย มันสูตรคอเมดี้สไตล์จัมป์ชัดๆ (เอาง่ายๆ To Love-Ru ไม่ก็ เลิฟฮีนะ เอามาเปรียบเทียบได้ครับ) การดำเนินเรื่องตอนแรกๆ เหมือนเป็นเรื่องราวๆ แต่ต่อมาก็เรื่อยเปื่อยเหมือน To Love-Ru (แต่ To Love-Ru มีสเน่ห์มากกว่า)

                    ถ้าถามอีกว่า Nisekoi มันดังได้ไง ผมก็ตอบไม่ได้ อาจเป็นเพราะหลังจาก To Love-Ru จัมป์ไม่เคยมีงานเขียนสไตล์แบบนี้สักเท่าไหร่ แม้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวจะมีฮาเร็มหลายเรื่อง (และมีเนื้อหาคล้ายๆ แบบนี้)  แต่จัมป์นั้นกลับขาดแคลนคอเมดี้ประเภทนี้อย่างแรง (ส่วนหนึ่งคือทำแล้วโดนตัดจบครับ บางเรื่องเริ่มต้นด้วยตลกคอเมดี้แต่ตอนหลังกลายเป็นแอ็คลั้นบ้าพลังก็มี ซานซิโร่ แวมไพร์, รีบอร์น) ส่วนลายเส้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง (ผมว่าลายเส้นไม่มีส่วนครับ เพราะลายเส้นสวยยังโดนตัดจบแล้ว) บวกกับพลังความสดของคนเขียน ทำให้ดูแล้วน่าสนใจขึ้น

                    นอกจากนี้ ก็อย่างที่เห็นครับ ปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีฮาเร็มออริจินอลสักเท่าไหร่ ส่วนมากเอามาจากนิยาย หรือนิยายเน็ต  ไม่รู้เพราะฮาเร็มมันเกิดยากหรือเปล่า ดังนั้น Nisekoi จึงมาถูกจังหวะพอดี เอาคอเมดี้รักสามเศร้าใส่เข้าไป และใส่คำว่า “ฮาเร็ม” คือเพิ่ม นางรอง หมายเลข 3 และ สามเข้าไป  (ซึ่งเกิดมาเพื่อให้พระเอกมันหักธง) ก็เป็นเรื่องใหม่แล้ว  

     

     


    แม้ว่า Nisekoi จะเป็นการ์ตูนที่หลายคนอวยในช่วงแรก แถมอวยโหดด้วย เพราะประโยคว่า “ผมทองนางเอก ผมดำนางเอก” ก็มาจากการ์ตูนเรื่องนี้แหละครับ หลายคนพยายามลุ้นว่าพระเอกราคุนั้นจะได้ใครไปครอง

    อย่างไรก็ตาม ช่วงหลังๆ หลายคนเริ่มไม่ค่อยปลื้ม Nisekoi มากนัก เมื่อเนื้อหา (ตอน) เริ่มยาว หลายตอน สิ่งที่ตามมา คือเนื้อเรื่องเริ่มเรื่อยเปื่อย ประเด็นเกี่ยวกับเจ้าสาววัยเด็กของราคุถูกลืม จนบางคนบ่นว่าประเด็นรักสามเศร้าของราคุเริ่มน่าเบื่อ และไม่สนุกแล้วละ

    ล่าสุดของ Nisekoi ในปี 2015 สถานการณ์ก็ไม่ค่อยดีมากนัก แม้ว่ายอดขายฉบับรวมเล่มจะดี ติดอันดับต้นๆ ก็ตาม หากแต่อันดับของจัมป์นั้น อันดับค่อนไปกลางตาราง หรือเกือบท้ายตาราง ซึ่งอาจมีสาเหตุอะไรหลายอย่าง เป็นต้นว่าเนื้อเรื่องใกล้จะถึงช่วงสุดท้าย (ไม่ใช่ว่าแบบบลิซนะ บอกว่าเนื้อเรื่องบทสุดท้าย แต่ผ่านมาเป็นปี ไม่จบสักที)

    มาริกะ ทาจิบานะ  เป็นนางรอง (หรือ ฮาเร็มหมายเลข 3) ปรากฏในช่วงหลังๆ เป็น สาวน้อยมัธยมปลายปีหนึ่งที่ย้ายเข้ามาใหม่อีกคน และเป็นถึงลูกสาวของผู้บัญชาการกรมตำรวจ นิสัยอ่อนหวานกับเฉพาะราคุเท่านั้น ไม่ถูกชะตากับจิโตเงะอย่างแรง แต่เรื่องที่น่าช็อกยิ่งกว่านั่นก็คือเธอเป็นเด็กผู้หญิงที่ราคุเคยรู้จักในสมัยเด็กๆ (ซึ่งราคุเองก็จำอะไรไม่ได้เลย) เป็นคู่หมั้นหมายที่แท้จริงของราคุ รวมไปถึงยังมีกุญแจคำมั่นสัญญาด้วย

    แม้ว่าจะเป็นนางรอง แต่กระนั้นมาริกะก็ดังพอๆ กับผมดำ ผมทอง เห็นได้จากมีโดจินรูทของตัวเอง และถ้าถามคนในบอร์ดที่อวยเรื่องนี้ก็ต้องมีคนชอบมาริกะไม่มากไม่น้อย เพราะมาริกะเป็นคาแร็คเตอร์สไตล์คุณหนู ที่รักพระเอกมากๆ ซึ่งเป็นที่นิยมในสายคอเมดี้อยู่แล้ว

    โดยส่วนตัวแล้วฮาเร็มจะดีหรือไม่ดี ไม่ใช่นางเอก หรือนางรอง (นางรองหมายเลข 2) ครับ หากแต่เป็น นางรองหมายเลข 3 -4 ต่างหาก ที่เป็นตัวชี้ถึงคุณภาพของฮาเร็ม หากคาแร็คเตอร์โดดเด่น ยิ่งโดดเด่นกว่านางเอก (หมายเลข 1) หรือนางรอง (หมายเลข 2) ก็ยิ่งดี เพราะทำให้เนื้อเรื่องมีสีสัน และทำให้มันสนุกขึ้นด้วย

    การปรากฏตัวของมาริกะ เรียกว่าทำให้ Nisekoi เนื้อเรื่องมันน่าสนใจขึ้นด้วย จากที่ผ่านมาดำเนินไปทางรักสามเศร้าสไตล์จัมป์มาตลอด

                    หากแต่...........

                    Nisekoi เริ่มทำบางสิ่งที่ผิดพลาดไป...เมื่อถึงรูทของมาริกะ ซึ่งผมพูดเต็มปากเลยว่ามันเป็นรูทรักที่แย่ (ถึงขั้นเลวร้าย) ในปี 2015 เลยทีเดียว (ไม่รู้หลายคนเห็นด้วยหรือเปล่า)

     

     


    คร่าวๆ (เพราะผมไม่ได้ติดตามอ่านการ์ตูนเรื่องนี้จริงจังมากนัก) มีข่าวลือแว่วๆ ว่า การ์ตูนเรื่องนี้น่าจะจบเล่มที่ 21 สันนิษฐานกันว่าอาจเป็นเพราะคนวาดสุขภาพไม่ค่อยดีด้วยเลยรีบ(ตัด)จบ นอกจากนี้ยังมีข่าวลือ (จากใครบางคน) บอกว่าคนเขียนได้ออกตัวแล้วว่าเรื่องนี้จะไม่จบฮาเร็ม ดังนั้นมันจะเหลือแค่วินกับค้างคา และจัมป์ ส่วนมากเรื่องดังๆ (นอกจาก To Love-Ru) ส่วนใหญ่จะจบวิน!!

    แน่นอนสิ่งที่ตามมา คนวาดได้รับบทโหด นั้นคือการเชือดตัวละคร (หักธง) ทิ้งแบบไม่ใยดีและหวยก็ออกมาคือ “มาริกะ” นั่นเอง

    มาถึงตอนนี้ ไม่ต้องสงสัยครับ หลายคนเซ็งเป็ดเป็นแถบๆ และอย่าแปลกใจที่อันดับการ์ตูนจะอยู่กลางตารางหรือเกือบท้ายๆ ถ้าจำไม่ผิดนี้เคยโดนบลิซแซงด้วยซ้ำ (น่าอายนะเนี้ย)

    รูทของมาริกะเริ่มต้นในช่วงตอน180-195 (มั้ง ผมไม่แน่ใจ) เริ่มต้นว่าตอน 181 มาริกะได้สารภาพรักราคุ (แบบจริงจัง) ว่ารักราคุมากๆ แต่ราคุไม่ตอบกลับเสียอีก ว่ารักเธอหรือเปล่า (ฉากโรแมนติกสุดๆ มาริกะอยู่ท่ามกลางใบไม้ร่วงโรย นี้มันละครเกาหลีชัดๆ)

    เมื่อราคุได้ยินคำพูดของมาริกะ ในใจก็ลังเล ว่าที่ผ่านมาเขาผิดเองที่ไม่ คำตอบกับมาริกะ แถมคิดว่ามาริกะนั้นดีเกินไปสำหรับเขาด้วยซ้ำ บลาๆ (ผมอ่านผ่านๆ)

    อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทันที่ราคุตอบอะไร มาริกะก็ล้มลง (เพราะร่างกายอ่อนแอ) และถูกส่งตัวกลับ โดยฮอรดะ (คนใกล้ชิด) ซึ่งฮอนดะพูดเป็นนัยๆ กับราคุว่า เขาจะไม่ได้เห็นมาริกะอีกแล้ว

    วันต่อมา ราคุได้รับข่าวว่ามาริกะได้ย้ายโรงเรียนไป

    (ตรงนี้ ผมไปเห็นสปอยบางบอร์ด บอกว่าราคุปฏิเสธรักมาริกะ แต่เอาเข้าจริงผมไปอ่านแล้ว ไม่ยักจะเห็นเลยนี้หว่า ว่าราคุพูดจาโหดร้ายมาริกะตรงไหน )

                    เมื่อจบตอน 181 ผลปรากฏว่า หลายคนด่าราคุทันที ว่าเจ้าพระเอกใจโลเล (ขอโทษเถอะครับ ไม่เคยดูแนวฮาเร็มกันเรอะ พระเอกก็แนวๆ ราคุก็มีตั้งเยอะตั้งแยะ หากพระเอกไม่โลเล รักเดียวใจเดียว ฮาเร็ม คงไม่เกิดหรอก)

                    ราคุยังโดนด่าต่อไป เป็นต้น ราคุเลว มาริกะน่าสงสาร ไม่น่าหลงรักราคุเลย (ราคุผิดอะไรเนี้ย)

                    รูทของมาริกะมาถึงจุดเข้มข้น (มั้ง) เมื่อแม่ของมาริกะจัดการคลุมถุงชน โดยให้มาริกะแต่งงานกับเจ้าบ่าวอายุแก่กว่า โดยไม่ถามความสมัครใจกับมาริกะสักคำ

                   

    ประโยคปักธง (แย่) แห่งปี

     

    แม้ว่าเจ้าบ่าวของมาริกะจะแก่กว่ามาก อายุรุ่นคราวพ่อลูก แต่เจ้าบ่าวคนนี้นิสัยดี วุฒิภาวะดีเยี่ยม แถมยังรวยอีกต่างหาก หากแต่ในใจมาริกะแล้วเธอยังชอบราคุอยู่เช่นเดิม แต่ไม่สามารถขัดใจแม่ที่จัดงานคลุมถุงชนนี้ได้ (ตรงนี้หลายคนยิ่งหมั่นไส้ราคุมากขึ้นไปอีก)

                    ทางด้านราคุหลังจากทราบคลุมถุงชน ราคุกับเพื่อนๆ เลยบุกเข้าไปชิงเจ้าสาวถึงงานแต่งงาน ชนิดหักหน้าฝ่ายเจ้าสาวและฝ่ายเจ้าบ่าว ความจริงรูทนี้จะงามมาก หากราคุไม่พูดประโยคหนึ่งเมื่อเขาพบกับมาริกะเพื่อมาช่วยเหลือเธอเพราะ

    (จากตอน 190) “เพราะเราเป็นเพื่อนคนสำคัญผม ทั้งตอนนี้และตลอดไป” (ตรงประโยคนี้ของราคุ ทำเอาหลายคนร้อง ฟัคยู หนักกว่าเดิม ย้ำนะ แค่ เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อนเพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อนเพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อนเพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อนเพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อนเพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อนเพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อนเพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน เพื่อน)

     (แกล้งคนอ่าน นิโค่ยสนุกจังเลย)

    แม่ของมาริกะไม่พอใจที่ราคุมาทำลายงานแต่งของลูกสาวของตน จึงถามรุว่ามาทำลายงานแต่งงานเพื่ออะไร

    นอกจากนี้มาริกะยังเสริมอีกด้วยว่า “มีความสุขดี” กับงานแต่งครั้งนี้

    อย่างไรก็ตาม ราคุก็ตอบกลับไปว่า  “คนมีความสุขจริงเขาไม่ทำหน้าแบบนั้นหรอก”

    เมื่อมาริกะได้ยิน เธอก็รู้สึกซึ้ง และตัดสินใจที่จะทิ้งงานแต่งงาน หนีไปกับราคุ

    หลังจบงาน แม่ของมาริกะได้อภัยราคุกับมาริกะ ส่วนเจ้าบ่าว (ที่กลายเป็นหมาหัวเน่า) ก็ไม่ติดใจเอาความ และจากไปอย่างผู้แพ้ (แบบหล่อๆ)

                    ความจริงรูททำลางานแต่งงานคลุมถุงชนของราคุจะงดงามมาก หากไม่ทำตอนสิ้นสุดของรูทมาริกะ นั้นคือในตอนจบของรูท (ตอน 195) มาริกะได้ตัดสินใจที่จะไปต่างประเทศเพื่อไปรักษา  โดยเธอขอลาจากราคุกับเพื่อนๆ ชั่วคราว (ไม่รู้กี่ปี อาจเป็นสองปี) โดยเธอจะบอกว่าเธอจะกลับมาหาราคุแน่นอน (กลับมาตอนนั้น ไม่รู้ราคุจะวินแล้ว หรือไม่ก็ มาริกะได้สามีฝรั่งหรือเปล่านี้สิ)

                    เชื่อเถอะหลายคนที่อ่านถึงตอน 195 ทำเอาเซ็งจิตเป็นแถบๆ ขนาดผมไม่ติดตามการ์ตูนเรื่องนี้ ยังยกว่าเป็นรูทปักธงที่บทสรุปเลวร้ายแห่งปีเลย (เหมือนจะงาม มาล่มตอนจบอย่างงั้นแหละ)

                    (ยอมรับเลยว่าเขียนบทความนี้ ผมต้องไปอ่านเนื้อเรื่องคร่าวๆ ไม่งั้นเขียนไม่ออก อ่านไปฟักแตงไทยไป)

     

    หลังจากจบรูทมาริกะก็มีความเห็นค่อนข้างหลากหลาย ส่วนมากออกไปทางลบมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น

    -ร้องไห้หนักมาก

    -กุญแจหายไปไหน (มาริกะก็มีกุญแจ แต่ไม่พูดถึงประเด็นนี้ให้หายคาใจเลย)

    -“ฮาเร็มเถอะครับ จะไม่ได้เป็นภาระกองอวย” (จัมป์ตอกกลับว่า “ชาติหน้าตอนบ่ายๆ เถอะ”)

    -ผมทองนางเอก

    -ผมดำนางเอก

    -มาริกะน่าจะแต่งงานกับเจ้าบ่าวนะ ดูแล้วเป็นคนดี มาริกะน่าจะมีความสุข

    -พระเอกเลว พระเอกชั่ว ไม่รักมาริกะแล้วไปขัดขวางความสุขของมาริกะทำไม

    -“ใครจะขึ้นเตียงก็เรื่องของเอ็งเถอะ เอาที่สบายใจ ตรูไม่เกี่ยว ยังไงตรูก็โสดอยู่ดี” (ความเห็นของใครบางคน)

    ฯลฯ

    เข้าใจว่าเวลานั้นความคิดเห็นบางคนใช้อารมณ์ไม่มากไม่น้อย แต่กระนั้นผมก็มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ 2 ประเด็น นั้นคือการคลุมถุงชน และเรื่องเจ้าพระเอกราคุ

     

                 การคลุมถุงชนเป็นสิ่งที่สมควรที่จะหายๆ ไปจากสังคมของโลกเสียที เพราะการคลุมถุงชนนั้นมันเป็นค่านิยมที่เก่าแก่ไม่เหมาะกับสังคมที่เต็มไปด้วยเสรีภาพในปัจจุบัน

    การคลุมถุงชนนั้น เป็นการสมรสที่คู่บ่าวสามาครองคู่กันเพราะบุคคลภายนอกจัดขึ้น ไม่ใช่บ่าวสารริเริ่มกันเอง และบ่าวสาวไม่ได้มีความรักกันเลย บางคู่บ่าวสาวเพิ่งเจอกันตอนแต่งงานด้วยซ้ำ

    ในยุคกลางของยุโรป (ไปจนถึงประเทศอื่นๆ)  ชนชั้นสูงไม่ค่อยมีเสรีภาพในความรักมากนัก เพราะการคลุมถุงชนเป็นเรื่องปกติ ที่ตระกูลใหญ่จำเป็นต้องการสัมพันธ์ทางการเมือง ทำให้ต้องจัดงานแต่งคลุมถุงชนเพื่อที่จะทำให้อำนาจของตระกูลยังคงอยู่

    ในประวัติศาสตร์ดังๆ ที่คลุมถุงชนนั้นมักปรากฏให้เราเห็นบ่อยครั้ง ตัวอย่างดังๆ ก็เล่าปี่Xซุนฮูหยินที่แต่งงานเพราะการเมือง, โออิจิ (น้องสาวของ โอดะ โนบุนากะ) Xอาซาอิ นากามาสะ  

    ปัจจุบันค่านิยมนี้ไม่ได้หายไปไหน แม้ว่าโลกจะก้าวไกลเพียงใดก็ตาม เรามักจะเห็นเรื่องการคลุมถุงชนในสังคม ไม่ว่าชนชั้นสูง หรือว่าชนกลุ่มน้อย ยกตัวอย่างในการ์ตูนญี่ปุ่นก็มี "กึ่งคลุมถุงชน" (quasi-arranged marriage) คือการที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองชักพาบุคคลมาให้บุตรหลานดูตัว ต่อนั้นไปก็ปล่อยให้คนทั้งสองคบหาดูใจกันเองโดยไม่จำกัดระยะเวลา  เรามักเห็นบ่อยๆ ที่ผู้หญิงมักจะอาย และเริ่มถามคำถามง่ายๆ ว่า ชอบอะไร งานอดิเรกอะไร กับเจ้าบ่าว  (เท่าที่ทราบ ไม่มีการ์ตูนเรื่องไหนประสบความสำเร็จในการดูตัวแบบนี้เลยสักเรื่อง)

    จริงอยู่ที่คู่เหล่านั้นแม้ว่าตอนแรกจะแต่งงานไม่เต็มใจมากนัก แต่เมื่อแต่งงานแล้ว ก็เหมือนจะมีความสุขดี แถมฝ่ายผู้หญิงก็แสดงให้เห็นการเป็นภรรยาที่ดี

     แต่อย่างไรก็ตาม หลายครั้งจะเห็นว่าทั้งเจ้าสาวและเจ้าบ่าวไม่มีความสุขเลยแม้ทั้งคู่จะใช้ชีวิตแต่งงานกัน และจบไม่สวยนัก และฝ่ายชายและฝ่ายหญิงถูกบังคับขู่เข็ญทางร่างกายและจิตใจให้แต่งงาน

    บางคนบอกว่าอยู่ๆ ไปก็มีความสุขก็ได้น่า แม้จะไม่ได้สนิทกัน แต่เขาก็เป็นคนดี รวยด้วย ขอบอกเลยครับว่าความคิดดังกล่าวน่ากลัวมากครับ เพราะมันเป็นความคิดเดียวกับผู้ปกครองที่มักพูดกับบ่าวสาวเวลาคลุมถุงชนนี้แหละ และส่วนมากจบไม่ค่อยสวยด้วย

    ถ้าเราอ่านการ์ตูน หรือดูพวกภาพยนตร์ ซีรีย์ต่างๆ เราจะเห็นว่าไม่มีคู่แต่งงานแบบคลุมถุงชน คู่ไหนมีความสุขเลย แม้ว่าทั้งคู่จะมีอำนาจ มีเงิน มีชื่อเสียง เอาง่ายๆ แม่ของมาริกะเองก็แต่งงานเพราะคลุมถุงชนเหมือนกัน (ไม่แน่ใจ ผมอ่านสปอย) แม้จะผ่านไปหลายปี แม่ของมาริกะไม่เคยมีความสุขในชีวิตแต่งงานเลย ซ้ำอยากย้อนเวลากลับไปเธอน่าจะขัดขืนอะไรบ้าง

     

     

    จากเรื่องตัวอย่างนายสามัญชน

     

    มีตอนในทีวีซีรีย์ตอนหนึ่ง ที่ผู้หญิงแต่งงานกับชายคนหนึ่งเพราะคลุมถุงชน แม้ว่าชายคนนั้นจะเป็นคนดี ร่ำรวยยังไงก็ตาม แต่ผู้หญิงคนนั้นก็ไม่สามารถลืมอดีตคู่รักได้เลย แม้ว่าทั้งคู่จะกลายเป็นคนชรา มีลูก แต่เธอก็ยังคงไม่ลืม ซ้ำยังปฏิบัติต่อลูก และหลานสาวแบบไม่ใส่ใจ ไม่มอบความรักมากนัก แถมยังมีความคิดที่จะจัดงานคลุมถุงชนให้หลานสาวอีก มันจึงกลายเป็นวัฏจักรการคลุมที่ชาชินไปแล้ว แม้ว่าจะอยู่ในโลกยุคเสรีภาพ การแสดงออกก็ตาม

                    ในการ์ตูน QED ได้เปรียบเทียบการคลุมถุงชนว่า “มันเหมือนกรงขังอิสระ” ไม่มีผิด

    ดังนั้นไม่แปลกแต่อย่างใด ที่การที่ชายคนที่เธอรักที่สุด บุกมางานแต่งงาน เพื่อชิงตัวเธอ มันเป็นรูทที่ฟินเวอร์มาก ไม่ว่าเรื่องไหนล้วนทำออกมาดีหมด มันเป็นรูทที่เป็นไปไม่ได้เลยในความจริง แต่มันก็เป็นสิ่งที่หญิงสาวที่ถูกคลุมถุงชนอยากให้เป็น ว่าชายที่ตนรักจะตัดสินใจกล้าหาญในการขัดขวางงานแต่งงานของเธอไม่เต็มใจ แล้วพาเธอหนีไปใช้ชีวิตอย่างสงบสุขโดยที่ไม่สนลาบยศ ความลำบากหรือเปล่า

                    ดังนั้น ฉากขัดขวางงานแต่งงาน (รวมไปถึงขัดขวางงานหมั้น) ของราคุไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใด เพราะในการ์ตูนผู้หญิงตาหวานก็เล่นกันเกลื่อน, การ์ตูนคอเมดี้ก็เอามาเล่น เกมจีบสาวก็เอามาเล่นประจำ (แม้แต่สายมืดเองบางเรื่องก็เอามาใช้ แถมแสบกว่านี้หลายเท่า

                    ขอยกตัวอย่างรูทที่ผมดูมา

                    -To Heart 2 รูทสาวแว่นยามาดะ มิจิรุ (เพื่อนของน้องสาวข้างบ้าน) ถูกจับแต่งงานคลุมถุงชน เนื่องจากพ่อเป็นยากูซ่าอยากให้ลูกเป็นฝั่งเป็นฝาเร็วๆ จะได้ดูแล แต่มิจิรุปฏิเสธเลยขอให้พระเอกมาเป็นแฟนหลอกๆ ตบตา ก่อนที่กลายเป็นความรักขึ้นมาจริงๆ

                    - My Bride Is a Mermaid (เงือกสาวยากูซ่า) ในอนิมะใกล้จบ พระเอกบุกงานแต่งงานคลุมถุงชน และรบอกรักนางเอก

                    -และก็มีแบบการขัดขวางงานแต่งงานแปลกๆ นั้นคือนางเอก (?) ขัดขวางงานแต่งงานของพระเอก ในมังกรหยกภาค 3 เตี๋ยเมี่ยงทำลายพิธีแต่งงานของเตียบ่อกี้กับจิวจี้เยียก (ความจริงเตียบ่อกี๊ก็รักจิวจี้เยียก เพียงแต่ว่าจิวจจี้เยียกมีความลับอะไรบางอย่างที่น่ากลัวที่เตียบ่อกี้ไม่รู้ ที่เตี๋ยเมี่ยงทำลายพิธีก็เพื่อความหวังดี ซึ่งภายหลังเตียบ่อกี้ก็รักกับเตี๋ยเมี่ย ท่องยุทธภพจบบริบูรณ์ไป)

                    ปกติแล้ว ตัวละครหญิงที่โดนคลุมถุงชนจะเป็นนางเอกตัวหลัก ไม่นิยมนางรอง หรือนางรองของรองสักเท่าไหร่นัก เพราะหากพระเอกทำลายงานแต่งงาน เท่ากับว่าพระเอกต้องรักเธอคนนั้นแล้ว เธอเป็นของพระเอกแล้ว เมื่อพระเอกสามารถผ่านอุปสรรค์นี้ได้ก็คือเธอที่รักเราสุดหัวใจนั้นเอง

           



    แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีการขัดขวางงานแต่งงานของนางรอง หากไม่นับมาริกะแล้ว -อย่างล่าสุด ก็มี พระเอกจาก Ore ga Ojou-sama Gakkou นายสามัญชนจอมกวน ป่วนหัวใจยัยคุณหนูไฮโซที่ทำลายงานดูตัวของเรโกะ  ซึ่งก็ไม่ได้เป็นนางเอกแบบกาเบอร์ (เรื่องนี้ไม่มีนางเอกที่แท้จริง ฮาเร็มทุกคนมีบทบาทที่สมดุลมาก)  แถมนอกจากพระเอกจะทำลายพิธีหมั้นได้แล้วยังปักธงเรโกะมิดด้ามได้อีก

    ถ้าถามว่าราคุผิดพลาดตรงไหนที่ทำให้รูทของมาริกะแย่ ความจริงแล้วถ้าเรามาดูแบบรวมๆ ก็ถือว่าเป็นรูทที่ฟินใช้ได้ ไม่แตกต่างจากรูททำลายพิธีแต่งงานของพระเอกคนอื่นๆ หากแต่สิ่งที่ทำให้รูทนี้พลาดมีอยู่ 2 อย่าง

    -อยากแรกประโยคที่พระเอกปักธง (?) มาริกะ คือ “เราเป็นเพื่อนกัน” ผมว่ามันเป็นประโยคที่รับไม่ได้เรื่องอย่างแรง ไม่มีพระเอกเรื่องไหนที่ทำลายพิธีแต่งงานใช้ประโยคนี้หรอก ส่วนใหญ่จะใช้คำพูดว่า “ฉันรักเธอ”, “เธอเป็นคนสำคัญสำหรับฉัน” ดูจะฟินกว่า ถ้าใช้คำว่า “เพื่อน” มันเหมือนปิดโอกาสการเป็นคู่รักของมาริกะโดยสิ้นเชิง

    แม้แต่พระเอก Ore ga Ojou-sama Gakkou นายสามัญชนจอมกวน เอง ตอนปักธงเรโกะก็ไม่ได้ใช้คำว่าเพื่อน แม้พระเอกจะไม่ได้รักใครจริงจัง แต่ก็ใช้คำพูดกับเรโกะว่าเป็นคนสำคัญ ก่อนจะจบประโยคที่ว่า “ฉันจะทำให้เธอมีความสุขเอง” นอกจากฟิน แถมยังสื่อว่าเธอเป็นของพระเอกเท่านั้นด้วย

    -อย่างที่สอง เอาตรงๆ โครตเซ็งเลย กับการตัดตัวละครมาริกะ ด้วยการส่งไปเมืองนอก คือมันเป็นมุกสิ้นคิด มุกแบบนี้มันใช้กับตอนจบแนวรักโรแมนติกที่ความรักผิดหวัง ล้มเหลว มากกว่าความรักที่สมหวัง ในเมื่อพระเอกปักธงมาริกะตอนแต่งงาน (หากไม่เอาประโยค “เป็นเพื่อน” มาพูดนะ) ผมว่ามันไม่จำเป็นต้องเล่นมุกแบบนี้เลย ผลคือมันเป็นบทสรุปรูทที่ห่วยมาก

    ....คือมันพลาดตั้งแต่เอารูททำลายพิธีแต่งงานมาใช้กับมาริกะซึ่งเป็นนางเอกหมายเลข 3 แล้ว เพราะการทำพระเอกทำลายพิธีแต่งงานเท่ากับว่าเขาต้องรักเธอคนนั้น แต่แทนที่คนแต่งจะทำให้มาริกะมีบทต่อไป กลับใช้มุก (โครต) โบราณที่ผมแทบไม่เห็นในปัจจุบันแล้ว เอากลับมาใช้ ผลคือมันแย่อย่างที่เห็น

    คือเข้าใจนะว่าคนแต่งอยากหักธง แต่มันมีหลายวิธีในการหักธงที่มันไม่ทำให้คนอ่านเซ็ง ในเมื่อคุณสร้างรูทโรแมนติกมาริกะแล้ว แต่ไปทำลายธงในตอนจบ มันทำให้สิ่งที่ทำมาไร้ค่าทันที ความโรแมนติกกลายเป็น

    และพลาดอีกคือคนแต่งออกตัวว่าเรื่องไม่จบฮาเร็ม ผมว่ามันสูญเสียความน่าติดตามไปมากโข แทนที่จะได้ลุ้นว่าจะจบยังไง เจอการบอกแบบนี้การลุ้นลดลง

     



                    ปล. ลืมไป ว่าไม่เพียงแค่คนไทยเท่านั้นที่ไม่พอใจรูทมาริกะ คนญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งก็ไม่พอใจ เห็นได้จากโดจินนิโค่ย ที่มีการวาดการแก้แค้นของมาริกะด้วย ถือว่าสะใจคนอวยมาริกะพอสมควร (แม้เนื้อหามันโหดไปหน่อยก็เถอะ)








    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×