ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #345 : ฮาเร็มโรงเรียนแฟนตาซีตามกระแส (ฉบับคนไม่อวย) + วิจารณ์แบบแมวๆ อินคิวบัส 99

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.56K
      2
      24 มิ.ย. 58

    บทความก่อนๆ ผมพูดถึงนิยายแนวเกิดใหม่ในต่างโลก อันเป็นแนวฮิตๆ ของเว็บเด็กดีในตอนนี้ไปแล้ว (ซึ่งก็แทบไม่ค่อยแตกต่างจากออนไลน์สักเท่าไหร่) มาคราวนี้ผมก็มาพูดแนวพล็อตตามกระแสอีกแนวนั้นคือ “โรงเรียนแฟนตาซี” ซึ่งเป็นนิยายแนวหนึ่งที่กำลังฮิตในญี่ปุ่น มันคือนิยาย “โรงเรียนแฟนตาซี” (ผมไม่รู้นิยายนิยายพล็อตแบบนี้ว่าอะไรดี เลยใช้คำนี้จากเวทีของเรื่องเป็นโรงเรียนก็แล้วกัน)

    โรงเรียน เป็นสถานที่ฝึกสอนนักเรียนภายใต้การดูแลของครูและอาจารย์ หลายประเทศมีระบบการศึกษาแตกต่างกันไป และส่วนใหญ่เป็นการศึกษาภาคบังคับ และโรงเรียนมีหลากหลาย หลักๆ คือโรงเรียนประถม และมัธยม และยังมีโรงเรียนเสริม อย่างโรงเรียนอนุบาล, มหาวิทยาลัย, ฝึกงาน และโรงเรียนเฉพาะอย่าง โรงเรียนสอนเต้น โรงเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์




    แฮรี่ พอตเตอร์ แรงบันดาลใจที่ทำให้เว็บเด็กดีมีแนวโรงเรียนแฟนตาซีเยอะมากช่วงหนึ่ง



    ในการ์ตูนญี่ปุ่นแล้วโรงเรียนมักถูกนำไปใช้เป็นเวทีของเรื่องบ่อยครั้ง โดยเฉพาะการ์ตูนยุคปัจจุบัน ที่พระเอก/นางเอกเป็นเด็กมัธยม โรงเรียนมัธยมปลายจึงเป็นโรงเรียนที่นำไปใช้อ้างอิงมากที่สุด ส่วนโรงเรียนจะมีบทบาทแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับเรื่อง เช่น เป็นเพียงแค่การนำเสนอชีวิตพระเอกธรรมดาที่ชีวิตประจำวันต้องไปโรงเรียน หรือไม่ก็เรื่องราวเกิดขึ้นขณะที่ตัวเอกอยู่โรงเรียน เช่น จู่ๆ ก็มีสัตว์ประหลาดโผล่มาฆ่านักเรียนในโรงเรียนตายหมด, โรงเรียนเกิดหลุดไปมิติต่างโลก, ได้ฮาเร็มในโรงเรียน, หรือจู่ๆ ก็มีนักเรียนใหม่ปริศนาเข้ามาเรียนโรงเรียนแล้วทุกอย่างก็เริ่มต้น ทั้งหมดเห็นได้ชัดว่าโรงเรียนเป็นสถานที่พบเห็นบ่อยมากขนาดในการ์ตูนญี่ปุ่น

    โรงเรียนญี่ปุ่นนั้นแตกต่างจากโรงเรียนไทย โดยโรงเรียนที่เราเห็นบ่อยๆ ในการ์ตูนญี่ปุ่น จะเป็นโรงเรียนมัธยมต้น (เรียนสามปีเหมือนบ้านเรา) และโรงเรียนมัธยมปลาย (เรียน 3 ปีเหมือนบ้านเรา) นอกจากนี้ก็ยังมีโรงเรียนเฉพาะทางที่หลากหลายกว่าบ้านเราอีกด้วย (เช่น โรงเรียนสอนวาดการ์ตูน, โรงเรียนเกษตร ที่เราพบเห็นบ่อยๆ)

    มีหลายอย่างที่โรงเรียนญี่ปุ่นไม่เหมือนบ้านเรา เป็นต้นว่า เวลานักเรียนไปเรียนจะไม่ขับรถมอเตอร์ไซด์ไปเรียนเพราะไม่มีใบขับขี่และไม่มีที่จอดรถดังนั้นเวลาเดินทางจะไปการเดิน ขึ้นรถประจำทาง และขี่จักรยาน ซึ่งช่วงเดินทางไปโรงเรียนถือว่าเป็นช่วงที่พบเห็นบ่อยๆ ในการ์ตูนญี่ปุ่นที่มักเกิดเรื่องบ่อยครั้ง  เช่น ไปโรงเรียนกับเพื่อนสมัยเด็ก, จู่ๆ ก็มีเด็กสาวปริศนาตกลงบนฟ้า เป็นต้น

    ช่วงเวลาที่มักเกิดเรื่องบ่อยๆ คือฤดูใบไม้ผลิ (เดือนสาม)  เพราะเป็นฤดูแห่งการเริ่มต้นสิ่งใหม่ และโรงเรียนต่างๆ มักเกิดในช่วงเวลานี้ ซึ่งแนวฮาเร็มเรามักเห็นพระเอกเดินทางไปโรงเรียน ระหว่างทางมีดอกซากุระมากมาย ทำให้ดูแล้วสวยงาม และโรแมนติก

    ด้านการแต่งกาย แน่นอนสิ่งที่เรารู้จักคือ ชุดนักเรียนหญิงกะลาสีเรือ ส่วนผู้ชายจะสวมชุดสีดำเรียกว่ากัคคุรัน ซึ่งความจริงแล้วชุดนักเรียนหลักๆ แบ่งเป็นสามแบบ คือ ชุดฤดูร้อน (ใส่สบาย), ชุดฤดูหนาว (ใส่แล้วอบอุ่น) และชุดธรรมดา ซึ่งการแต่งกายจะยุ่งยากกว่าชุดนักเรียนไทยเล็กน้อย นี้ยังไม่นับชุดพละบลูมเมอร์หญิง และชุดว่ายน้ำหญิง ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นตำนานที่หลายคนหลงไหล่ไปแล้ว

    นอกจากนี้ บริเวณโรงเรียนที่มักเกิดเรื่องบ่อยๆ ครั้ง ก็มี บริเวณที่เปลี่ยนรองเท้า (ล็อกเกอร์ที่อยู่หน้าประตูทางเข้า ), ห้องประจำชั้นตอนเช้าเริ่มต้นด้วนโฮมรูทเช็คชื่อนักเรียน, โรงอาหาร, ห้องพยาบาล (ที่มีครูประจำห้องพยาบาลด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครูสาวโมเอะมากไปด้วยความรู้) และห้องชมรมและคลับ (เป็นสายๆ คือ สายวัฒนธรรม, สายกีฬา )

    นอกเหนือจากการเรียนการสอบแล้ว โรงเรียนยังมีกิจกรรมใหญ่ๆ ให้นักเรียนมีส่วนร่วม อย่าง กีฬาสี, งานประจำโรงเรียนออกร้าน, ทัศนศึกษา (ซึ่งน่าอิจฉามากๆ เพราะสถานที่ไปเที่ยวมีก็ เกียวโต, เกาะกวม, โอกินาวา) สิ่งเหล่านี้เราเห็นในการ์ตูนญี่ปุ่นไม่มากก็ไม่น้อย และทุกช่วงเวลามักเกิดเรื่องราวมากมายด้วย

    ในการ์ตูนญี่ปุ่น เราจะเห็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน รุ่นพี่กับรุ่นน้อง และลูกศิษย์กับอาจารย์ที่เป็นกันเอง ในการ์ตูนญี่ปุ่นเราจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวเอกและเพื่อนที่ให้ความสำคัญมากเป็นรองเพียงครอบครัวเท่านั้น

      พูดง่ายๆ เพราะการ์ตูนญี่ปุ่นทำให้เรารู้จักโรงเรียนญี่ปุ่นมากขึ้น รู้ว่าเด็กญี่ปุ่นเรียนยังไง มีวิถีชีวิตประจำวันอย่างไร รวมไปถึงเรื่องรักๆ ในวัยเรียน ค่านิยมต่างๆ  สิ่งเหล่านี้เราคุ้นเคย จนบางครั้งก็แอบอิจฉาว่าอยากเป็นเด็กนักเรียนญี่ปุ่นด้วยซ้ำ

    การ์ตูนญี่ปุ่นมักมีพล็อตโรงเรียนเป็นฉากหลังหลายเรื่อง ทั้งโรงเรียนธรรมดา โรงเรียนสยอง โรงเรียนเพี้ยนติ๊งต๊อง (อย่าง คุโรไมตี้) รวมไปถึง โรงเรียนแฟนตาซี ซึ่งเป็นแนวที่เป็นที่นิยมในขณะนี้  เห็นได้จากช่วงนี้เราจะเห็นนิยายโรงเรียนแฟนตาซีหลายเรื่องถูกสร้างเป็นอนิเมะ และยอดขายในปี 2014 นิยายแนวโรงเรียนแฟนตาซีบางเรื่องติดอันดับยอดขายดีเป็นอันดับต้นๆ (Mahouka Koukou no Rettousei ยอดขาย 1,599,614 เล่ม, Hidan no Aria ยอดขาย 272,818 เล่ม แต่อย่างไรก็ตามจากรายชื่อนิยายขายดี แนวโรงเรียนแฟนตาซีไม่ค่อยติดเยอะอย่างที่คิดเอาไว้ ส่วนมากแนวค่อนข้างหลากหลายมากกว่า)

    โรงเรียนแฟนตาซี (ภาษาปากของผม) หมายถึง โรงเรียนที่มีฉากหลังที่อยู่ในโลกจินตนาการของผู้เขียน ส่วนมากมักเป็นโลกในยุคกลาง ยุคโบราณ (ไปจนถึงโลกไซไฟ) มีเรื่องของดาบ และเวทมนต์เข้าไปเกี่ยว เครื่องจักรกล) นอกจากนี้ยังมีเรื่องเหนือธรรมชาติ เทพเจ้า ปีศาจ ผู้วิเศษ เข้าไปเกี่ยวข้อง  โดยพวกหนุ่มสาวจะเข้าโรงเรียนเหล่านั้นเพื่อฝึกฝนตนเองให้ตนเองเก่งกาจ ไม่ว่าจะเป็นด้านบุ๋นและบู๊ เนื้อหาส่วนใหญ่ มีทั้งเรื่องของความรักชายหญิง มีเรื่องการต่อสู้ การตามหาวิถีชีวิตของตนเอง และ


    IS (Infinite Stratos)


    ในการ์ตูนญี่ปุ่นแบ่งโรงเรียนแฟนตาซีที่นิยายออกไป 4 แบบหลักๆ  คือ

    -โรงเรียนแฟนตาซีที่ฉากหลังเป็นโลกยุคกลาง ที่มีเรื่องดาบ, เวทมนต์, สัตว์ในตำนาน พ่อมด, อัศวิน และพวกหนุ่มสาวเข้าโรงเรียน(โรงเรียนใหญ่อย่างกับวัง ไม่ก็ปราสาททรงยุโรป) เข้าเรียนเพื่อศึกษาเป็นพ่อมด ไม่ก็อัศวิน  บ้านเราเริ่มฮิตตั้งแต่แฮรี่ พอตเตอร์โด่งดัง ทำให้หลายคนในเว็บเด็กดีเริ่มทำอย่าง เขียนนิยายแนวโรงเรียนแฟนตาซีในลักษณะนี้ออกมาเพียบ เช่น บารามอส

    -โรงเรียนแฟนตาซีที่ฉากหลังเป็นโลกไซไฟ มีเรื่องของจักรกล เครื่องจาก เริ่มฮิตๆ กัน หลังจาก IS ถือกำเนิด (ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นแนวแบบนี้มีเยอะแล้ว) มีเรื่องการต่อสู้เข้ามาเกี่ยวข้อง

    -โรงเรียนแฟนตาซีที่ฉากหลังผสมระหว่างโลกยุคกลางและไซไฟ กล่าวคือแม้โลกมีส่วนผสมระหว่างยุคกลางและไซไฟเข้าด้วยกัน บ้านเรือนเป็นโลกยุคกลาง ตำนานเป็นยุคกลาง หากแต่วิทยาการเป็นเรื่องจักรกล (ใส่พลังเวทย์ จักรกลมนต์ตราก็ว่าไป)

    -โรงเรียนที่ฉากหลังเป็นยุคปัจจุบัน คือโลกเป็นยุค (ญี่ปุ่น) ปัจจุบัน แต่ก็ยังมีหลายๆ อย่างที่ไม่เหมือนโลก (ญี่ปุ่น) ยุคปัจจัน คือเป็นโลกที่มีแฟนตาซี เวทมนต์ เป็นเรื่องธรรมดา (จำไม่ได้แล้วว่าภาษานิยายเรียกว่าอะไร) โดยตัวเอกจะมีพลังพิเศษ มีเรื่องของการต่อสู้ เช่น  Hidan no Aria

    ปัจจุบันแนวโรงเรียนแฟนตาซีเริ่มที่เป็นนิยม สำนักพิมพ์ไลท์โนเวลก็นำแนวโรงเรียนแฟนตาซีหลายเรื่องมาแปลไทย ซึ่งรายชื่อข้างล่าง เป็นนิยายแนวโรงเรียนแฟนตาซีเท่าที่จะรวบรวมด้วย หากมีเรื่องไหนตกหล่นไป ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย (ไม่นับมังงะออริจินอล และโดยส่วนตัวผมไม่ได้อ่านแนวนี้มากนัก)

     

    เอ-พลัส

    Seikoku no Ryukishi -อัศวินมือใหม่ มังกรป้ายแดง

    Hashire, Ute! -อลวนอลเวง กองพลพลังเวท!

    Kazenimau Brigandine -ศึกโรงเรียนสตรีอัศวินพันธุ์ดุ

    Absolute Duo -แอบโซลูท ดูโอ

    Fuyuu Gakuen no Alice and Shirley -อลิส & เชอร์ลี่ย์ ในโรงเรียนพลังมหัศจรรย์

     

    รักพิมพ์

    Juuou Mujin no Fafnir -ฟาฟเนียร์ มังกรไร้ขีดจำกัด

    Imperfect Divine Arms Ilis 154cm No Saishu Heiki -อิริส เมดจักรกลพันธ์ต๊อง

    Magika no Kenshi to Basileus -จอมดาบมนตรากับราชาอัญเชิญ

    Hidan no Aria -อาเรีย กระสุนแดงเดือด

    Imouto ga witch de komattemasu –น้องสาวแม่มดสุดอลวน

    Gakusen Toshi Asterisk โรงเรียนสัประยุทธ์ แอสเทอริสก์

     

    เซนซู

    Mahouka Koukou No Retiousei -พี่น้องปริศนาโรงเรียนมหาเวท

    IS (Infinite Stratos) -อินฟินิท สตราโตส ปฏิบัติการรัก จักรกลทะยานฟ้า

    World Break -เทพนักดาบข้ามภพ เล่ม 01 (นิยาย)

    Saijaku Muhai No Bahamut -บาฮามุท มังกรเหล็กไร้พ่าย

     

    ขณะที่บางเรื่องก็ก่ำกึงว่าเป็นโรงเรียนแฟนตาซีหรือเปล่า แม้ฉากหลังจากเป็นโณงเรียนแฟนตาซี หรือมีเรื่องโรงเรียนแฟนตาซีมาเกี่ยวข้อง แต่เนื้อหาหลักๆ ไม่ได้เน้นโรงเรียนแฟนตาซีแบบสูตรสำเร็จทั่วไปสักเท่าไหร่ 

    ดังนั้นในที่นี้ผมยกแต่แนวฮาเร็มสูตรสำเร็จก็แล้วกัน (แม้หลายเรื่องผมจะไม่ได้อ่านก็เถอะ) 

              คำถามต่อมาทำผมเรียกโรงเรียนแฟนตาซีสูตรสำเร็จ?


                                                                                               

                                                      ชุดต่อสู้ของเพื่อนสมัยเด็ก ใน Magika no Kenshi to Basileus




            นิยายโรงเรียนแฟนตาซีของญี่ปุ่นที่ว่าค่อนข้างแตกต่างจากโรงเรียนแฟนตาซีของไทยนิดหน่อย  ในขณะที่เว็บเด็กดีแนวโรงเรียนแฟนตาซีได้รับความนิยมเพราะมีอิทธิพลมาจากแฮรี่ พอตเตอร์ ทำให้เนื้อหานิยายส่วนใหญ่ในเว็บเด็กดีอ่านก็รู้เลยว่าได้รับแรงบันดาลใจจากแฮรี่ พอตเตอร์ด้วย

               แต่โรงเรียนแฟนตาซีญี่ปุ่นนั้นแตกต่างกัน เพราะไม่ได้รับแรงบันดาลใจจากแฮรี่ พอตเตอร์ แต่มีออริจินอล ดัดแปลงเป็นของตนเอง การสอนแทรกตำนานทั้งกรีก ไปจนถึงตำนานสแกนดิเวีย

              แนวโรงเรียนแฟนตาซี ของญี่ปุ่นมีมานานแล้ว โดยเพราะแนวฮาเร็ม รักๆ เกมจีบสาวสมัยก่อน (ซูเปอร์แฟมิคอม) ที่นำเสนอเรื่องพระเอกที่มีความใฝ่ฝันอยากเป็นอัศวิน เข้าไปโรงเรียนที่มีชื่อเสียง พบกับสาวๆ มากหน้าหลายตา มีรูทให้เลือกว่าจะจีบใคร อยากจะเอารูทสาวผมแดง (นางเอกตัวเอก) ก็จะพบเนื้อเรื่อง การแย่งชิง ต่อสู้ อุปสวรรค์ความรัก ก่อนจบลงด้วยความรักของทั้งคู่ผลิบาล และแต่งงานความสุขในที่สุด

              ปัจจุบัน แนวโรงเรียนแฟนตาซีก็ยังคงมีอยู่ แต่อนิจจาทั้งๆ ที่แนวนี้สามารถเอามาดัดแปลงได้ความหลากหลาย แต่แล้ว จู่ๆ เพราะอะไรก็ไม่ทราบ เมื่อผมพบว่าโณงเรียนแฟนตาซีเกิดความรู้สึกว่าพล็อตสูตรสำเร็จ คือเนื้อหาในช่วงแรกคล้ายๆ กันคือภาพรวมก็คล้ายๆ กัน คือพระเอกเก่ง (แม้ของญี่ปุ่นภายนอกจะกากก็เถอะ), เนื้อหอม (ฮาเร็ม แต่เป็นฮาเร็มที่แสนน่าเบื่อสิ้นดี), โรงเรียนดัง ฯลฯ แต่

                 ไม่รู้ว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากไหน อาจมาจากนิยาย IS ดัง (ตอนนี้กระแสเริ่มลดลงแล้ว) แล้วผลคือมีไลท์โนเวลที่มีเนื้อหา การดำเนินเรื่องคล้ายๆ กันนี้ตามมามากมาย

    มุกช่วงแรกๆ ของนิยาย โรงเรียนแฟนตาซีมีดังต่อไปนี้ (ผิดพลาดตรงไหน ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)

              -โรงเรียนแฟนตาซีในเป็นโรงเรียนมีชื่อเสียง สอนเรื่องเวทมนต์ พวกดาบ พลังเวทย์ (หากแนวไซไฟจะเป็นขับหุ่น สวมชุดเกราะจักรกล หรือการเรียนรู้อาวุธมหาประลัย)

              -ฉากหลังเป็นโลกแฟนตาซี, ไม่ก็แฟนตาซีผสมไซไฟ หรือไซไฟ เนื้อหาอารมณ์ประมาณว่าโลกมีสงคราม ไม่ก็มีศัตรูลึกลับออกอาละวาด หรือการเรียนรู้การใช้พลังต่อสู้เหมือนเป็นเรื่องปกติ

              -บางเรื่อง โรงเรียนมีแต่ผู้หญิง ในขณะที่พระเอกเป็นผู้ชายคนเดียวที่เข้าโรงเรียน

              -พระเอกหน้าตาดาษๆ คือตัวสูง ผมดำ ลายเส้นธรรมดา ภายนอกเหมือนจะกาก ทำตัวไม่มีจุดเด่นอะไร ความจริงมีพลังแฝง

              -ไม่รู้ทำไมพล็อตตอนแรก พระเอกมักไปเจอนางเอกกำลังเปลี่ยนเสื้อผ้า (เซอร์วิส) และโดนนางเอกด่าว่าโรคจิต และไม่ชอบพระเอกตั้งแต่แรกเห็น

              -นางเอกเป็นนักเรียนอัจฉริยะ ทั้งสวย และเก่ง

              -นางเอกผมสีชมพู ไม่ก็สีแดง (บางเรื่องทวินเทลผมทอง)

              -นางเอกมีนิสัยซึนเดเระ

              -คู่แข่งนางเอก เป็นสาวทรงโต ผมทอง

              -พระเอกมีน้องสาว มีพรสวรรค์

              -บางเรื่องเป็นเพื่อนสมัยเด็ก ที่จากพระเอกไปนาน แต่พระเอกไม่รู้ (พระเอกโง่)

              -ตอนแรกนางเอกชอบทะเลาะ และดูถูกพระเอก

              -พระเอกทนไม่ไหว ทำให้เกิดการประลองตัวต่อตัวขึ้นระหว่างพระเอกกับนางเอก

              -อาวุธพระเอกเป็นดาบ

              -ชุดนักเรียนหญิงและชาย เลิศหรูอลังการ ใส่แล้วร้อนพิลึก

              -ชุดนางเอกต่อสู้แสนจะเอจจิ จนเหมือนไม่ได้ใส่อย่างงั้นแหละ

              -ผลการต่อสู้ พระเอกสามารถเอาชนะนางเอกอย่างง่ายดาย

              -ผลตามมาพระเอกสยบความหยิ่งนางเอกได้

              -นางเอกซึนแตก และกลายเป็นผู้หญิงพระเอก

              -พระเอกมีน้องสาวที่มีพรสวรรค์

              -ตอนหลังก็มีสาวหลายคนเข้ามาในชีวิตพระเอก (ไม่อยากเรียกฮาเร็มเลยฟับผ่า) 

               -ส่วนมากตัวละครสาวหลายคนที่เขามาในชีวิตพระเอก คาแร็คเตอร์เดิมๆ ไม่ได้ฉีกแนวจากกันเท่าไหร่ ทำให้ผม งง สับสน ว่าใครมาจากเรื่องไหนบ้าง เพราะหน้าตา นิยาย คล้ายๆ กัน (ตามสูตรสำเร็จในการออกแบบตัวละครหญิงในการ์ตูนญี่ปุ่น ไม่สามารถดึงเอกลักษณ์โดดเด่นได้)

              -หากคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ฉากต่อสู้ในโรงเรียนแฟนตาซีจะมีถึง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ฉากอื่นๆ รองลงก็จะเป็นฉากเอจจิ และบทตัวละครรักๆ ลดหลั่นลงไป (ตัวละครไร้บท หรือถูกลืมมีแน่นอน)

              -โดยภาพรวมแล้วฮาเร็มแฟนตาซีตัวละครหลักหญิงในฮาเร็มมักปรากฏตั้งแต่ต้น และจะเน้นหนักนางเอกหลักๆ คนหนึ่งมากกว่า (ส่วนคนอื่นๆ จะเป็นตัวเสริม) การปักธงที่น่าจะเป็นจุดแข็งของฮาเร็ม แต่โรงเรียนแฟนตาซีไม่ค่อยเน้นเรื่องพวกนี้มากนัก

              หลักๆ ก็ประมาณนี้แหละ อาจเหมือนกันบางข้อ อย่างบางเรื่องอาวุธพระเอกเป็นโล่แทนที่จะเป็นดาบ บางเรื่องนางเอกเป็นสาวคูลเดเระแทนที่จะเป็นซึนเดเระ แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกๆ เนื้อหาการดำเนินเรื่องก็ยังตามสูตรโรงเรียนแฟนตาซีตามกระแสอยู่ดี

              ความจริงแล้ว สมัยก่อนพล็อตโรงเรียนแฟนตาซีค่อนข้างหลากหลายกว่า ทั้งในรูปของไลท์โนเวล, มังงะ และอนิเมะออริจินอล แต่ช่วงหลังๆ ตั้งแต่ IS ได้รับความนิยม ดูเหมือนพล็อตโรงเรียนแฟนตาซีเริ่มจะสูตรสำเร็จซ้ำซากมากขึ้น ไร้ซึ้งความแปลกใหม่ จนหลายคนออกมาบ่นๆ กันบ้างแล้ว

              โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ค่อยได้อ่านแนวโรงเรียนแฟนตาซีสักเท่าไหร่นัก สาเหตุเพราะเป็นนิยายที่เน้นหนักการต่อสู้ และพวกศัพท์แสงอธิบายศัพท์ต่างๆ ในเกม ไม่ว่าจะเป็น ชื่ออาวุธ ชื่อชุดเกราะ รวมไปถึงตระกูลต่างๆ บางเรื่องก็ทำออกมาซับซ้อนซ่อนเงื่อนจนแอบ งง ด้วยซ้ำ

              อย่างไรก็ตาม แนวโรงเรียนแฟนตาซีก็ยังคงเป็นพล็อตที่ได้รับความนิยม และยังคงขายได้ (ณ ตอนนี้)

    ความจริงพล็อตโรงเรียนแฟนตาซีก็เป็นพล็อตที่ได้รับความนิยมมานานแล้ว เพราะถึงยังไงกลุ่มผู้อ่านก็เป็นกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มนักเรียน ที่อยากอ่านเนื้อหาที่เต็มไปด้วยจินตนาการ ความฝัน และเรื่องใกล้ตัว   อีกอย่างวัยโรงเรียนช่วงที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย สีสันของชีวิต ทั้งความรัก มิตรภาพ การศึกษา การเรียนรู้ชีวิต ไม่แปลกแต่อย่างใดที่การ์ตูน นิยาย อนิเมะล้วนอยู่ในโรงเรียน ที่แทนที่จะเป็นมหาวิทยาลัย หรือบริษัทวัยทำงานที่ชีวิตมืดมนกว่า

    มีหลายสาเหตุพล็อตโรงเรียนแฟนตาซีตามกระแส ได้รับความนิยม สาเหตุง่ายๆ พล็อตที่ง่ายๆ แต่ก็ดึงคนอ่านได้ดี เพราะถึงยังไงเนื้อเรื่อง

    อีกอย่างที่พระเอกที่ออกมาแบบนี้ ก็มาจากตัวเราที่เป็นต้นแบบ หน้าตาธรรมดา กากๆ มีปม ก็เหมือนกับตัวเราที่ไม่มีจุดเด่นอะไร ส่วนความเก่งก็ความใฝ่ฝันที่ร้อนรุ่ม อยากให้ตนเองมีความสำคัญ  ความใฝ่ฝันที่รุ่งร้อน อยากเป็นพระเอกที่แม้จะดูธรรมดา แต่ก็มีความเก่งกาจซ่อนเอาไว้ และมีผู้หญิงติดตรึม สิ่งเหล่า

    การต่อสู้ ความรุนแรง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ดึงให้หลายคนได้อ่านการ์ตูนแนวโรงเรียนแฟนตาซีตามกระแส ระเบิดพลัง พลังแฝง พลังโกง เป็นสิ่งที่พบเห็นบ่อยๆ ในการ์ตูนและนิยายแนวแบบนี้ของญี่ปุ่นหลายเรื่อง รวมไปถึงศัตรูออกมารุกรานโลก สิ่งเหล่านี้ก็เป็นความใฝ่ฝันของผู้ชายหลายคน ที่อยากให้ชีวิตนี้มีความหมาย อยากจุดศูนย์กลางของเรื่อง อยากทำตัวให้เป็นประโยชน์ และเป็นที่ชื่นชอบของคนสักคน

    นี่คือคร่าวของหลักการ/สูตรสำเร็จง่ายๆ ในการแต่งการ์ตูน/นิยายสักเรื่อง ที่มีฉากหลังเป็นโรงเรียนแฟนตาซี การต่อสู้ และเวทมนต์

     

    โดยส่วนตัวผมเองก็ชอบโรงเรียนแฟนตาซี ส่วนใหญ่จะเป็นแนวตลกคอเมดี้มากกว่า อย่างเรื่อง Maburaho และ Macademi Wasshoi  อาจเป็นเพราะสมัยก่อนโรงเรียนแฟนตาซีจะเน้นเรื่องคอเมดี้ มากกว่าฮาเร็มต่อสู้แบบในปัจจุบัน ทำให้ผมติดภาพการ์ตูนโรงเรียนแฟนตาซีมากกว่า  ส่วนโรงเรียนแฟนตาซีสูตรสำเร็จแล้ว ผมกลับไม่ปลื้มมันสักเท่าไหร่นัก เพราะมันเดาทางง่าย และคาแร็คเตอร์ยังไม่โดดเด่น หรือน่าอวยพอ (ควรโทษคนวาดภาพประกอบดี หรือคนแต่งดี)

    แม้ว่าปัจจุบันคนในเว็บเด็กดีจะหันไปแต่งนิยายเกิดใหม่ในต่างโลกกันเยอะขึ้น แต่ก็มีนักเขียนบางรายก็ยังคงเขียนแนวโรงเรียนแฟนตาซีอยู่บ้าง บางคนก็เขียนจริงจัง จนบางคนเขียนทำหนังสือทำมือเลยก็มี อย่างเรื่อง  อินคิวบัส 99 ของนักเขียนเพนกวินอ้วนกลม

     

     

     

    อินคิวบัส 99 เป็นผลงานร่วมของนักเขียนเพกวินกับนักวาดหมึกแดง ที่ถึงกับเปิดสำนักพิมพ์กันสองคนเพื่อจำหน่ายนิยายเรื่องนี้ (วางจำหน่ายในสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (1) ปี 2015)  โดยคอนเซ็ปต์ของนิยาย คือเป็นแนวแนวฮาเร็มโรงเรียนแฟนตาซี ผสมกับขับหุ่นนักษ์ต่อสู้ และฮาเร็มสาวมอนสเตอร์

              Incubus 99 (อินคิวบัส 99) (2015) (เนื้อเรื่อง Liim ภาพ Butter-t) (สำนักพิมพ์ เพนโตะ) เป็นเรื่องราวของโลกหนึ่งที่ครั้งหนึ่งโลกถูกทำลายลงโดยกองกำลังลึกลับจากนอกโลก "เซเว่น-เฮฟเว่น" ที่มีอาวุธจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าโลกมาก จนไม่มีอะไรต่อกรมันได้ ยกเว้นองค์กร "อีเธอร์เนีย" ที่มีเทคโนโลยี "ทรานเซอร์" ที่เปิดตัวพร้อมกับหุ่นยนต์ยักษ์จำนวนมากเข้าต่อสู้กับศัตรู

              ผลของสงครามครั้งนี้แม้โลกจะปลอดภัยอีกครั้ง แต่อีเธอร์เนียก็ไม่เหลือพลังรบอีกต่อไป พวกเขารู้ดีว่าศัตรูต้องกลับมาอีกครั้งในภายหน้าแน่นอน ดังนั้นพวกเขาจึงเปิดโรงเรียน "ทาร์ทาลอส" เพื่อฝึกหนุ่มสาวผู้มีพลังลึกลับ "ทรานเซอร์"ให้ขับหุ่นยนต์เหล่านั้นปกป้องโลกเมื่อศัตรูหวนคืนมาได้

              เรื่องราวของเรื่องเริ่มต้นขึ้น เมื่อเมอร์ลิน หนุ่มน้อยทายาทอัศวินชาวอังกฤษที่เดินทางมาเรียนในโรงเรียนทาร์ทาลอส  เพราะเขาได้รับเลือกว่ามีคุณสมบัติในการขับหุ่นรบ “ ยูนิต”  ที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามพลังของผู้ขับจะแปลงร่างเป็นมอนสเตอร์ เพื่อแปลงร่างสู้กับ “เซเว่นเฮฟเว่น” ศัตรูลึกลับที่อาจกลับมาเมื่อไหร่ก็ได้นั่นเอง อย่างไรก็ตาม เพียงแค่มาโรงเรียนวันแรกๆ เมอร์ลินก็ถูกบรรดาสาว ๆ ที่มีร่างมอนสเตอร์รุมล้อมทันที เพราะเขาเป็นผู้ชายไม่กี่คนในโรงเรียนนี้ที่ขับหุ่น อีกทั้งเขายังน่ารักและสุภาพอีกต่างหาก และที่นั้นเองเขาก็ได้พบบาร่า เพื่อนสมัยเด็กที่หายไปนานที่ตอนนี้ได้กลายเป็นนักเรียนดีเด่นและนักขับหุ่นชั้นยอด หากแต่บาร่ากลับทำเย็นชากับเขา เหมือนเป็นคนแปลกหน้า อย่างไรก็ตามเมอลินก็หวังว่าเขาจะกลับมาเป็นเพื่อนกับบาร่าอีกครั้ง และใช้ชีวิตอย่างราบรื่น และในขณะเดียวกันหายนะครั้งใหม่ก็กำลังคืบคลานเข้ามาในโรงเรียนมอนสเตอร์แห่งนี้

              อ่านนิยาย http://writer.dek-d.com/lilin4646/writer/view.php?id=1299130

              วิจารณ์โดยบอลลิ่ง http://writer.dek-d.com/dr-boring/story/viewlongc.php?id=1223949&chapter=65

              จิบชารับลมกับมิสเตอร์อเมริกัน https://th-th.facebook.com/amarica2029/posts/863506063713037:0

              Incubus 99 (อินคิวบัส 99) เป็นนิยายไลท์โนเวลทำมือของนักเขียน Liim ที่มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์อย่าง ตำนานนางฟ้าตกสวรรค์ หรือ เมอร์บิอุส เลเจนท์ รวมทั้งผลงานล่าสุดอย่าง โปรดระวังเพนกวินพันธุ์ดุ (ผมไม่ได้อ่านสักเรื่อง แม้ครั้งหนึ่งคนเขียนบอกว่าเป็นแนวฮาเร็มก็ตาม) ซึ่งคนเขียนก็เปิดสำนักพิมพ์เอง และร่วมมือกับคนวาดชื่อดังสายพี่สาวอย่าง Butter-T จนเกิดผลงานนี้ขึ้น และเปิดตัวผลงานที่งานหนังสือแห่งชาติที่ผ่านมา และได้ผลตอบรับที่ดีพอสมควร

              สำหรับ Incubus 99 ก็มีคนวิจารณ์ไปบ้างแล้ว ในบางเว็บอย่างตรุกีก็มีการพูดถึงเหมือนกัน ดังนั้นในบทความนี้ผมก็ขอวิจารณ์คร่าวๆ ในส่วนที่ไม่มีใครได้พูดถึง รวมไปถึงคำแนะนำบางอย่างสำหรับผู้แต่งนิยายแนวโรงเรียนแฟนตาซีสูตรสำเร็จด้วยว่าจะทำยังไงให้นิยายแนวนี้น่าอ่านมากขึ้น

              เพราะคนเขียนมีผลงานมาก บางผลงานก็ได้ตีพิมพ์แล้ว ในด้านการใช้ภาษาในเรื่อง แทบไม่ต้องติเลย เพราะราบรื่น ไม่มีสะดุด ใครที่แต่งนิยาย ประเภทมุมมองแบบพระเจ้า ก็สามารถเอามาเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี ผมว่าน่าชื่นชนในส่วนนี้

              นอกจากนี้ ภาพประกอบนิยาย ทำให้ผมค่อนข้างตะลึงหลายอย่าง เพราะว่าภาพประกอบสวยงามมาก การวาดผู้หญิง แม้จะเน้นสายพี่สาย แต่กระนั้นในการดีไซน์รูปร่าง หน้าตา รวมไปถึงเครื่องแต่งกายที่ค่อนข้างโดดเด่น แต่ที่ผมทึ่งที่สุดคือการวาดภาพหุ่นยนต์ยักษ์ทำออกมาได้อย่างอลังการ เก็บรายละเอียด และมีความซับซ้อนมาก จนไม่น่าเชื่อว่านักวาดการ์ตูนไทย สามารถวาดภาพหุ่นยนต์ยักษ์ออกมาได้แบบนี้

              แต่ยังมีหลายอย่างน่าปรับปรุง

    อันเนื่องจากคนแต่งกำชับผมว่าจิตใจอ่อนแอ ขอแบบเบาๆ ดังนั้นผมก็เน้นเรื่องคำแนะนำมากกว่าตำหนิละกัน สิ่งที่นิยายเรื่องนี้ควรปรับปรุงไม่ใช่เรื่องภาษาเขียน แต่อยู่ที่การดำเนินเนื้อเรื่อง อย่างที่บอกว่าพล็อตโรงเรียนแฟนตาซีนั้นมันมีหลายเรื่องอยู่แล้ว แน่นอนในเมื่อมันมีหลายเรื่อง หลายเจ้า ทั้งไทยและเทศ ที่ใช้สูตรสำเร็จมาเขียนเป็นนิยายของตนเอง และผลที่ตามมากเมื่อเกิดอาการซ้ำซาก  เหมือนเรากินอาหารซ้ำๆ มันก็เบื่อ อยากกินอะไรที่มันแปลกใหม่บ้าง

    นิยายของคนเขียนยังไม่ได้สร้างเอกลักษณ์โดดเด่นสำหรับแนวโรงเรียนแฟนตาซี

    การเอาสูตรสำเร็จมาใช้ ไม่ใช่เรื่องน่าตำหนิ เพียงแต่เราจะทำยังไงให้คนอ่านเกิดความรู้สึกพอใจ สร้างแบรนด์ที่มีลักษณะเฉพาะ หรือทำเนื้อเรื่องให้น่าติดตาม โจทย์แบบนี้มีอยู่นิยายทุกเรื่องครับ

    นิยายของคนเขียนอาจสร้างความน่าอ่านสำหรับผู้ที่เลเวลต่ำ ไม่ได้อ่านแนวโรงเรียนแฟนตาซี แต่สำหรับพวกมาเนีย พวกที่ต้องการความแปลกใหม่จากแนวๆ นี้ยังคงต้องปรับปรุงครับ

    จากนิยายเล่มแรกเท่าที่ผมอ่าน คนเขียนใช้สูตรสำเร็จของโรงเรียนแฟนตาซีมาใช้แบบแป๊ะๆ  ของคุณมิสเตอร์อเมริกันบอกว่าเอาสูตรเนกิเมะกับ IS มาใช้ แต่ผมว่าน่าจะใช้สูตรฮาเร็มโรงเรียนแฟนตาซีหลายเรื่องอยู่ แต่หลักๆคือใช้สูตรสำเร็จตามที่ผมว่าไว้ข้างต้น พระเอกมีพลังแฝง เข้าโรงเรียนผู้หญิงตรึม มีเรื่องเอจจิเข้าไปหน่อย แต่ไม่ว่าเรื่องย่อย เรื่องหลักนั้น พวกมาเนียเดาทางง่ายไป จับความได้ เพราะมันเป็นไปตามสูตร

    แม้ว่าคนเขียนพยายามยำสามอย่างคือ โรงเรียนแฟนตาซี สาวมอนสเตอร์ และหุ่นยนต์ยักษ์ แต่กระนั้นมันก็ไม่ได้ฉีกจากแนวเดิมๆ มากนั้น โรงเรียนแฟนตาซีก็ยังตามสูตร สาวมอนสเตอร์ก็เพียงสูตรของผู้มีพลังพิเศษแฝงเท่านั้น แต่ไม่ได้เอาเรื่องมอนสเตอร์มาเป็นจุดเด่นเอกลักษณ์ (เหมือนบอลลิ่งว่า ไม่ได้ใช้สรีระความน่ากลัวผสมกับความมีสเน่ห์ของผู้หญิงเข้าไป) ส่วนหุ่นยนต์ยักษ์กับโลกแฟนตาซีก็พบเห็นบ่อยๆ ไปในการ์ตูน เกม และนิยาย อย่างการ์ตูนเกาหลีอย่างเรื่อง “Beast 9” ก็เนื้อหาเกี่ยวกับพระเอกโรงเรียนขับหุ่นยนต์ยักษ์สู้กับศัตรูมารุกรานเหมือนกัน

     

    ส่วนที่เหลือๆ นั้นผมคงไม่ต้องพูดถึง เพราะผมเชื่อว่าคนแต่งคงรู้ตัวดี และมีคนวิจารณ์ก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นเนื้อหาต่อไปนี้คือคำแนะนำสำหรับผม ซึ่งก็แล้วคนแต่งครับว่าเห็นด้วยไม่เห็นด้วย แต่ส่วนตัวแล้วใครที่คิดจะแต่งนิยายแนวฮาเร็มโรงเรียนแฟนตาซี จะต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้มากๆ ครับ (ย้ำว่า ต้องมาก)

    สิ่งที่ผมแนะนำ คือความรู้สึกส่วนตัว ว่า “ความสนุก” ของแนวโรงเรียนแฟนตาซีนั้นอยู่ที่ใด ส่วนมากเป็นคาแร็คเตอร์ในแนวโรงเรียนแฟนตาซีครับ เพราะว่านี่คือยุคของคาแร็คเตอร์

    -พระเอกแคะ นิยายของคนแต่งแปลกอยู่อย่าง เพราะเลือกที่จะใช้พระเอกเคะ แทนที่จะเป็นพระเอกธรรมดา (หรือที่เขาเรียกว่า “พระเอกกาก”)  พระเอกแคะ ในที่นี้หมายความว่า พระเอกรูปร่างตัวเล็ก น่าตาน่ารัก ให้ความรู้สึกน่าทะนุถนอมมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม จากความรู้สึกส่วนตัวพระเอกแคะของคนแต่งยังไม่ได้สื่อถึงความแคะที่ถึงใจมากนัก เพราะส่วนอื่นๆ ไม่แตกต่างอะไรจากพระเอกโรงเรียนแฟนตาซีเรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในญี่ปุ่นหรือเด็กดี คือ มาจากตระกูลชั้นสูง มีพลังแฝง และเก่ง ดังนั้นสิ่งที่ผมแนะนำคืออยากให้นำเสนอแคะมากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้พระเอกแต่งหญิง (ของตายเลยแหละ) ไม่ก็เปลี่ยนร่างเป็นหญิงครับ หากขาดสิ่งนี้เสียชาติเกิดพระเอกแคะ

    -อวยนางรองให้มากๆ จากเล่มแรก เท่าที่ผมอ่าน รู้สึกสัมปทานนางเอกเพื่อนสมัยเด็กผมผมแดงมากไปหน่อย จนเรียกนางเอกสัมปทาน ซึ่งปกติแล้วแนวโรงเรียนแฟนตาซีแม้ว่าจะวางเพื่อนสมัยเด็กเป็นนางเอก แต่ส่วนใหญ่แล้วคนอ่านมักจะอวยตัวละครนางรองมากกว่า ดูอย่าง IS สิ มีใครอวยเพื่อนสมัยเด็ก หรือผมทองหยิ่งบ้าง ส่วนใหญ่ที่ฮิตๆ ก็สาวนางรองทั้งนั้น

    มันหมดยุคนางเอกสัมปทาน ขึ้นหน้าปกคนเดียวทุกเล่มแล้วครับ ขนาดบางเรื่องนางเอกขึ้นหน้าปกทุกเล่ม บางคนร้อง “ยี้”  ก็มี (แต่ก็อ่านอยู่ดี)

                เพราะอะไรหลายคนอวยนางรอง มันมีสาเหตุแน่นอนครับ คือ ส่วนมากนางเอกหลักจะเป็นแบบสำเร็จรูป สูตรสำเร็จ ส่วนนางรองนั้นจะเป็นคาแร็คเตอร์จะอิสระมากกว่า และเป็นตัวกำหนดว่าเป็นตัวละครเข้ากับเรื่อง เข้ากับฮาเร็มหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น คู่ปรับ, คู่แข่ง, ประธาน, พูดง่ายๆ สถานะ ตัวตนในโรงเรียนนั้นแหละ

    ส่วนใหญ่แนวโรงเรียนแฟนตาซี หลายคนมักติดตามเพราะการอวยตัวละครสาว การวางตัวละครที่จะอยู่ในฮาเร็มจะต้องมีความหลากหลาย ซึ่งผมเข้าใจว่าคนแต่งและคนวาดภาพประกอบอวยสายพี่สาว แต่ปัญหาคือสายพี่สาวนั้นเป็นสายที่นิยมค่อนข้างน้อย พูดจริงครับ เพราะดูจากการโหวตเล่นๆ ในอนิเมะดังๆ  จะมีสาวอายุมากกว่าติดอันดับต้นๆ สักกี่คน ส่วนมากจะเป็น โลลิ, อายุเท่ากัน ทั้งนั้นแหละ

    แม้ว่าในเรื่องแม้พระเอกตัวเล็กแต่อายุเท่ากับพวกสาวๆ ก็ตาม แต่ปัญหาก็คือบรรยากาศ คาแร็คเตอร์นั้นแหละครับ มันสายพี่สาวเป็นใหญ่ชัดๆ อันนี้ก็เข้าใจว่ามันเป็นแนวหลักของเรื่อง  ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเล่ม 2 คนแต่งจะปล่อยของอวยนางรองบ้าง หรือจะเพิ่มตัวละครใหม่อีก ปกติแนวโรงเรียนแฟนตาซี จะมีสายน้องสาวย้ายมาใหม่ หรือเพื่อนสมัยเด็กอีกคนแบบนี้ ซึ่งก็ไม่รู้คนแต่งจะมีเพิ่มอะไรหรือเปล่า


    -อิทธิฤทธิ์เดชลาสต์บอส สิ่งที่ขาดไม่ได้แนวฮาเร็มโรงเรียนแฟนตาซี คือฉากแอ็คชั่น แต่ความสนุกที่สุดคือหากศัตรูฝ่ายตรงข้ามเป็น คนที่พระเอกรู้จัก มันจะสนุกกว่าเยอะ หากเป็นแนวต่อสู้เรื่องอื่นๆ ก็ พระรอง, ตัวโกงชาย, อาจารย์, พี่น้อง แต่ถ้าเป็นแนวฮาเร็มจะเป็นผู้หญิง และเป็นคนที่พระเอกรู้จัก คิดดูสิครับ ชะตากรรมโลกขึ้นอยู่กับการต่อสู้ระหว่างพระเอกกับเธอ มันจะยิ่งใหญ่ขนาดไหน อีกอย่างมันได้ให้อารมณ์เหมือนชะตากรรมของโลกอยู่ในมือพระเอกอีกต่างหาก

    แม้ในนิยายของคนแต่ง เล่ม 1 จะยังไม่พูดถึงศัตรูอะไรมากมายนัก แต่ส่วนตัวผมหวังเรื่องนี้ให้ลาสต์บอส ไม่ก็มินิบอสเป็นผู้หญิงที่พระเอกรู้จักนะ เพราะมุกแนวประเภทนี้มากอยู่ พวกผู้หญิงจะเกิดช่องว่างในจิตใจ และโดนศัตรูควบคุม ใช้เป็นเครื่องมือ แต่บางเรื่องควบคุมศัตรู หรือเป็นหัวหน้าใหญ่เสียเอง ซึ่งมันจะฟินมากนะเอ่อ หากพระเอกปักธง


    เดานะในเมื่อพระเอกชื่อเมอรลิน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือวิเวียน (Vivien) คนรักของเมอรลิน ตามตำนานเธอเอาแต่ใจ แถมให้อารมณ์แบบลาสต์บอสด้วย ส่วนตัวก็อยากให้มีนะ


    นี่คือสิ่งเล็กๆ น้อยที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นส่วนสนุกของเรื่อง และควรมีในแนวฮาเร็มแฟนตาซี ผมเชื่อว่าคนแต่งเองก็คงทราบเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว เพราะจากการที่ผมอ่านดูคนแต่งเองก็พยายามรวบรวมสิ่ง ดีๆ ในนิยายประเภทโรงเรียนแฟนตาซีเข้าไป  ซึ่งก็หวังว่าเล่มหน้าทำให้น่าสนใจขึ้น เพราะเล่มแรกยังอยู่ในช่วงแนะนำตัว  อาจเป็นเพราะเล่ม 1 ซึ่งมันเป็นตามสูตรแนวโรงเรียนแฟนตาซีแหละครับที่ให้พระเอกรู้จักคนอื่นๆ ก่อน เล่าศัพท์แสงอะไรก่อน และฉากต่อสู้นิดหน่อยๆ ก่อนจะเข้าเรื่องในเล่มต่อไป


     


    สุดท้ายนี้ สำหรับผู้ใดที่มีความคิดที่จะทำนิยายแนวโรงเรียนแฟนตาซีตามพล็อตนิยายที่ฮิตในขณะนี้ หรือไม่ก็ทำหนังสือทำมือ  ไม่ว่าผลจะออกมาเช่นใด คนอ่าน หรือไม่มีคนอ่านเลย เราก็ยอมรับผลที่ออกมา  และนำไปเรียนรู้ถึงความยากลำบากของเส้นทางนักเขียนที่มีคู่แข่งมากมาย นำความผิดพลาดมาแก้ไข และภาคภูมิใจว่าอย่างน้อยเราก็แต่งนิยายจบสักเรื่อง


     






    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×