ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรมตะวันออก (จีนและอินเดีย)

    ลำดับตอนที่ #4 : พัฒนาการอารยธรรมจีน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 8.05K
      1
      14 ธ.ค. 54

    พัฒนาการอารยธรรมจีน มีการเปลี่ยนแปลงตามลำดับดังนี้

    ด้านการเมืองการปกครอง

          

             1. ระบบกษัตริย์ เชื่อว่าจักรพรรดิเป็น โอรสแห่งสวรรค์มีอำนาจเด็ดขาด แต่พระมหากษัตริย์ที่ไม่อาจปกครองให้เกิดความสงบสุข เที่ยงธรรม ก็อาจมีการยึด อำนาจเปลี่ยนผู้ปกครองได้
     

          


             2. ระบบศักดินาเริ่มต้นใน ราชวงศ์โจว จักรพรรดิเป็นโอรสแห่งสวรรค์ แต่ตอบแทนขุนนางด้วยการมอบที่ดินให้แต่ขุนนางต้องนำผลผลิตมาถวายกษัตริย์ และช่วยเหลือเมื่อเกิดสงคราม
             3. สมัยจักรวรรดิเริ่มต้นใน ราชวงศ์ฉิน จิ๋นซีฮ่องเต้ ทรงรวบรวมจีนเป็นจักรวรรดิมีอำนาจเด็ดขาดควบคุมดูแลดินแดนโดยตรง แต่ปกครองด้วยการยึดหลักกฎหมาย

              4. ระบบสาธารณรัฐชาติตะวันตกต้องการขยายอิทธิพลในจีน ทำให้เกิด ความกดดันการเมืองภายในการเกิดสงครามฝิ่น ระหว่างจีนกับอังกฤษ จีนแพ้ต้องทำ สนธิสัญญานานกิง จีนต้องเปิดเมืองท่าให้ชาวต่างชาติเข้าอยู่อาศัยและทำการค้า จีนต้องยอมยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษทำการเช่า และยังเกิดปัญหามากมาย ดร.ซุนยัตเซ็น ก่อการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์แมนจู จัดตั้ง ระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยให้ ยวน ซีไข ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ โดย เหมา เจ๋อ ตุง ใช้นโยบาย ก้าวกระโดดไกล ผู้นำคนต่อมาคือ เติ้ง เสี่ยว ผิง ใช้นโยบายพัฒนาประเทศ ที่เรียกว่า นโยบายสี่ทันสมัย ซึ่งจีนได้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจมากขึ้น

       

    ด้านเศรษฐกิจ   



              1. พื้นฐานเศรษฐกิจจีนโบราณ เป็นเกษตรกรรม
              2. สมัยราชวงศ์ฮั่น เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้เกิด เส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าจากจีน ไปอินเดีย อียิปต์ และโรม
              3. คริสต์ศตวรรษที่ 19 เหมา เจ๋อ ตุง ใช้นโยบาย ก้าวกระโดดไกล แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
              4. ยุค เติ้ง เสี่ยว ผิง ใช้นโยบาย สี่ทันสมัยคือ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายใน ประเทศ มีลักษณะผ่อนปรนมากขึ้นทำให้จีนเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว

     


    ด้านสังคมวัฒนธรรม

           

              1. สังคมจีน ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลแยกเป็นชนชั้น ดังนี้

              * ชนชั้นขุนนาง ปัญญาชน เป็นกลุ่มผู้มาจากการสอบผ่านเข้ารับราชการเพื่อให้ได้ผู้มีความรู้และมีคุณธรรมเมื่อผู้ใดได้เป็นขุนนาง จะได้รับสิทธิยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน ยกเว้นภาษี มีชีวิตสะดวกสบาย
               * ชนชั้นชาวนา มีจำนวนมากกว่าชนชั้นอื่นสังคมจีนเป็นสังคมเกษตรกรรม สมัยราชวงศ์โจว ชนชั้นชาวนาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ผลิต แต่กลับถูกเรียกเก็บภาษี ถูกเกณฑ์แรงงานและเกณฑ์ทหาร
              * ชนชั้นพ่อค้าและทหารตามความคิดของขงจื๊อชนชั้นนี้ไม่น่ายกย่องเพราะมิใช่เป็นผู้ผลิต แต่พ่อค้า เป็นกลุ่มที่ร่ำรวย และการทำสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนคร ในสมัยราชวงศ์โจวทำให้ทหารมีความสำคัญในการป้องกันสังคมให้ปลอดภัย

          

              2. ครอบครัวจีน

     

              สังคมจีนยุคแรกสร้างอารยธรรม ถือว่าครอบครัวเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด ผู้นำครอบครัว คือ บิดา ผู้นำครอบครัวเป็นผู้รับผิดชอบต่อการดำรงชีวิตของครอบครัว และรับผิดชอบต่อราชการ เช่นการเกณฑ์ทหาร การเสียภาษี คนในครอบครัวจึงต้องให้ความเคารพยำเกรงผู้นำครอบครัว นอกจากนี้คนในครอบครัวผู้น้อยต้องเคารพผู้อาวุโส

               3. ประเพณีและความเชื่อ

      

               คนจีนแต่โบราณจะเคารพบูชาบรรพบุรุษซึ่งเป็นคนในตระกูลที่เสียชีวิตไปแล้ว นอกจากนี้ยังนับถือเทพเจ้าธรรมชาติ ในสมัยราชวงศ์ชาง มีประเพณีการใช้ กระดูกเสี่ยงทาย โดยการเขียนตัวอักษรบนกระดูกวัวหรือสัตว์ชนิดอื่น หรือบนกระดองเต่า เพื่อทำนายเกี่ยวกับการสร้างเมือง การสงคราม และเรื่องอื่น ๆ

    ลัทธิขงจื๊อ  

                                                         

    ขงจื๊อ เป็นนักปราชญ์ผู้วางรากฐานให้แก่ลัทธิขงจื๊อ มุ่งแก้ไขปัญหาการเมือง และสังคมของจีน โดยเน้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบสุขเรียบร้อย คุณธรรมของขงจื๊อประกอบด้วยหลัก 5 ประการ คือ ความสุภาพ ความมีน้ำใจโอบอ้อมอารี ความจริงใจ ความตั้งใจ ความเมตตากรุณา และยังเน้นในเรื่องความสัมพันธ์ในสังคม 5 ประการคือ จักรพรรดิกับราษฎร บิดากับบุตร พี่ชายกับน้องชาย สามีกับภรรยา เพื่อนกับเพื่อน 

                                       

               แนวคิดของขงจื๊อ ได้เสนอไว้ในงานเขียนชื่อตำรับขงจื๊อ หรือคัมภีร์ทั้ง 5 ของขงจื๊อ ประกอบด้วยหนังสือ 5 เล่ม คือ

    • ซือจิง เป็นตำรับรวบรวมคำร้อยกรองและบทเพลงเกี่ยวกับเรื่องราวในสมัยราชวงศ์โจว มีทั้งบท เพลงรัก เพลงพื้นเมือง บทกวีเกี่ยวกับการเมืองและพิธีต่างๆ
    • ชูจิง เป็นตำราประวัติศาสตร์รวบรวมเรื่องราวประวัติศาสตร์จีน เอกสารทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์โจว
    • ชุนชิว หรือเรียกว่า จดหมายเหตุฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง เป็นการบันทึกเหตุการณ์สั้นๆรายปีเกี่ยวกับเหตุการณ์แคว้นลู่ ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของขงจื๊อ
    • อี๊จิง เป็นตำราพยากรณ์ใช้เป็นคู่มือทำนายการเสี่ยงทายและตำราหมอดู
    • หลีจี๊ ตำราบันทึกแบบแผนพิธีกรรมต่างๆ มีทั้งหมด 64 บท เป็นตำราที่มีความสำคัญมากที่สุดตามความเชื่อของขงจื๊อ


    ลัทธิเต๋า


     


         คำสอนของเล่าจื๊อ เรียกว่า ลัทธิเต๋า ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้คนเป็นอิสระจากประเพณีต่างๆ ปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ต้องการความ สงบตัดกิเลสและตัณหาทั้งปวง เชื่อว่าผู้ไม่แสวงหาอะไรเลย ไม่มีความผิดหวัง สอนให้รู้จักถ่อมตน ความไม่เห็นแก่ตัว คัดค้านพิธีกรรมต่างๆ ของขงจื๊อ

     

               4. ศิลปะและหัตถกรรม

                                              

    ภาชนะสำริดที่เก่าแก่ที่สุด พบในสมัยราชวงศ์ชาง มีลักษณะพิเศษที่ลายประดิษฐ์ และลอกเลียนแบบธรรมชาติ ตอนปลายของราชวงศ์ชาง ถือว่าเป็นยุคทองของเครื่องสำริด ช่างจีน มีฝีมือในการแกะสลักหยก โดยคนจีนเชื่อว่าหยกคือสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ทางปัญญา ความเข้มแข็ง และความกล้าหาญ

                                            
                                                                                        สร้อยคอลูกปัดของชาวทิเบต

      

              5. ภาษาและวรรณกรรม

          

              การพบกระดูกเสี่ยงทายที่มีตัวอักษรจารึก ทำให้ทราบว่าในสมัยราชวงศ์ชางมีภาษาเขียนใช้แล้ว เรียกว่าอักษรภาพ วรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ คัมภีร์ทั้ง 5 ของขงจื๊อ วรรณกรรมที่สำคัญอีกเล่มคือ สื่อจี้ (บันทึกประวัติศาสตร์) บันทึกโดยสื่อหม่าเฉียน ในสมัยราชวงศ์ฮั่น

    สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น 

                          

    ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล

    ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีน

    จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องด้รับกรรม

    หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ยุคใหม่

     


                6.  จิตรกรรม

    มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ ในสมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า สมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้

     

     

                7. ประติมากรรม
       
                                                                                  
               ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต

    สมัยราชวงศ์ฉินมีการสร้างสุสานของจักรพรรดิจิ๋นซี ทางด้านตะวันออกองเมืองซีอาน ภายในมีการขุดพบประติมากรรมดินเผารูปทหารเท่าคนจริงจำนวนหลายพันรูป และขบวนม้าศึก จัดตามตำราพิชัยสงคราม
                                                 

    สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความกล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา

    สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3 สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่าเทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม

    สมัยราชวงศ์เหม็ง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึงราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู 

                                                     

                                          เครื่องปั้นดินเผาหยางเชา                        เครื่องปั้นดินเผาหลงซาน

     

              8. สถาปัตยกรรม 

                                                   

                 กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล 

     

    เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวางผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง 

    พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์เช็ง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ


      
    กำแพงเมืองซีอาน

     


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×