หลงกิเลนจันทร์ [หยาง] - นิยาย หลงกิเลนจันทร์ [หยาง] : Dek-D.com - Writer
×

    หลงกิเลนจันทร์ [หยาง]

    "กิเลน" สัตว์เทพคู่บัลลังก์จักรพรรดิ กิเลนจันทร์ผู้สูงส่ง กิเลนจันทร์ผู้น่าลุ่มหลง กิเลนจันทร์ผู้เป็นดั่งพายุร้อนแรงพัดปลิดปลิวชะตาทุกผู้คน... [[นิยายแนวจีนแฟนตาซีโบราณ]]

    ผู้เข้าชมรวม

    17,443

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    45

    ผู้เข้าชมรวม


    17.44K

    ความคิดเห็น


    122

    คนติดตาม


    83
    หมวด :  แฟนตาซี
    จำนวนตอน :  29 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  18 ต.ค. 54 / 23:36 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

     

     

     

     

    ฉายาหนุ่มๆ สาวๆ ใน "หลงกิเลนจันทร์《月麒麟的诱惑》"

     

     

    * เยว่เทียนหมิง月天明》- จันทราฟ้ากระจ่าง

    * เยว่เทียนอ๋าว月天奥》- จันทราฟ้ารัตติกาล

     

    * เยว่หลานหลาน月然然》- จันทรามณีพิสุทธิ์

    ขอขอบคุณทีมงานของเราที่ช่วยกันตั้งชื่อนะคะ ^_^ ทั้ง witerZZ, Writerฟารา, ทีมน้องสิ และ อาจื่อ ค่ะ

     

    
     



    องค์ชายกิเลนจันทร์แห่งหยาง

    องค์ชายกิเลนจันทร์แห่งหยิน

    และองค์หญิงกิเลนจันทร์ไร้ธาตุ


    วงล้อชะตากรรมแห่งพรหมลิขิตของสามกิเลนสวรรค์ตัวน้อย


    ...บัดนี้ได้เริ่มต้นแล้ว...

     


    ...ณ แผ่นดินแห่งสามพิภพ หนึ่งเขตแดนสวรรค์...


    ---------------------------------------------


    สถานภาพการอัพ

    COMING SOON !




    อัพใหม่ฉบับรีไรท์


     เนื้อหามี 3 ภาค

    จะเริ่มต้นที่ ภาค 1 : กำเนิดกิเลนจันทร์

    ภาค 2 : สงครามสามพิภพ (Coming Soon)


    ภาค 3 : Coming Soon


    Rate PG13+

    ยินดีอย่างยิ่งสำหรับทุกคอมเม้นท์ ติ ชม วิจารณ์ แนะนำ ในทุกรายละเอียด

    และขอให้อ่านกันอย่างสนุกค่ะ ^^



    อำนวยการสร้างโดยทีมงาน


    Writer ZZ (ซีซี) & Writer ฟารา


     ::: สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการในนิยายเรื่องนี้ตามกฏหมายอย่างเป็นทางการค่ะ :::

    -----------------------------


    ~ แปะไว้เป็นที่ระทึก ~
     
    ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของ "หลงกิเลนจันทร์" ^^




    --------------

    ติดต่อผู้เขียนได้ที่นี่ค่ะ

     


    --------------------------

    โฆษนาBNนิยายแนวจีนในเครือ


    จักรวรรดิเสน่หา

    ฉบับรีไรท์
    หลงกิเลนจันทร์ [Yang]


    ฉบับOriginal
    หลงกิเลนจันทร์ [Yin]
    หยิน กับ หยาง เฉพาะเนื้อหาเหมือนกันค่ะ


    Credit Pics & BG :
    Feimo, Heise, Henjiheiji, enoeno, Derjen, Deland-Fox, AS Dolls
    และศิลปินท่านอื่นๆ จ้า

     

     

     

     

    =========================================== 

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "หลงกิเลนจันทร์"

    (แจ้งลบ)

    หลงกิเลนจันทร์ นวนิยายแนวกำลังภายในขนาดยาว เป็นผลงานเขียนร่วมกันของนักเขียนสองคน คือ ฟารา และ ซีซี ขณะนี้เขียนจบภาค “กำเนิดกิเลนจันทร์” แล้ว และกำลังเขียนภาค “สงครามสามพิภพ” อยู่ ในการวิจารณ์ครั้งนี้จะกล่าวถึงเฉพาะภาค “กำเนิดกิเลนจันทร์” เท่านั้น นวนิยายในภาคนี้กล่าวถึงเรื่องราวของเย่วเทียนหมิง (กิเ ... อ่านเพิ่มเติม

    หลงกิเลนจันทร์ นวนิยายแนวกำลังภายในขนาดยาว เป็นผลงานเขียนร่วมกันของนักเขียนสองคน คือ ฟารา และ ซีซี ขณะนี้เขียนจบภาค “กำเนิดกิเลนจันทร์” แล้ว และกำลังเขียนภาค “สงครามสามพิภพ” อยู่ ในการวิจารณ์ครั้งนี้จะกล่าวถึงเฉพาะภาค “กำเนิดกิเลนจันทร์” เท่านั้น นวนิยายในภาคนี้กล่าวถึงเรื่องราวของเย่วเทียนหมิง (กิเลนแห่งแสงสว่าง) และเย่วเทียนอ๋าว (กิเลนแห่งความมืด) องค์ชายกิเลนผู้สูงส่ง ผู้ถือกำเนิดขึ้นในวันเดียวกัน และต้องมีชะตาชีวิตที่ผูกพันกับคำทำนายของเทพยากรณ์แห่งพิภพที่ว่า กิเลนจันทร์แห่งหยิน หยางคู่นี้จักก่อการทำลายที่ล่มสลายสวรรค์ จึงทำให้ชีวิตของเด็กน้อยทั้งคู่ถูกจับตามมองทั้งจากพิภพเทพ มาร และมนุษย์ รวมไปถึงสี่ราชันย์สวรรค์คือ กิเลน มังกร เต่า และหงส์ด้วย นวนิยายเรื่องนี้ประกอบด้วยโครงเรื่องหลัก (plot) อันเป็นเรื่องราวโดยรวมที่ครอบคลุมเรื่อง “หลงกิเลนจันทร์” ซึ่ง ฟารา และ ซีซี ใช้คำทำนายของเทพพยากรณ์แห่งพิภพเป็นตัวควบคุมให้เรื่องดำเนินไปตามโครงเรื่องหลักที่วางไว้ ขณะเดียวกันก็ยังมีโครงเรื่องย่อย (sub-plot) เฉพาะของภาคนี้จำนวนมากที่แทรกเข้าว่านับตั้งแต่เรื่องราวของการกำเนิดและเติบโตของสองกิเลนจันทร์ และยังมีเรื่องราวภูมิหลังของตัวละครหลักอื่นๆ ของเรื่องด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของ เฮ่อเหลียนหย่งเล่อ ราชันย์เร้นกาย จักรพรรดิแห่งพิภพเทพ เฟิ่งหลันกุ้ยฟง ราชินีแห่งพิภพมาร จูเก่อเฟยเสวียน มหาบัญฑิตเจ้าสำราญ จักรพรรดิแห่งพิภพมนุษย์ หรือแม้แต่เรื่องราวความขัดแย้งในครอบครัวระหว่างพี่น้อง หลงซ๊วงวู๋ (องค์ชายห้า) กับหลงฟงหลาน องค์ชายเก้าและเป็นรัชทายาทแห่งราชวงศ์มังกร ในเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ฟารา และ ซีซี วางแผนการเขียนโดยวางลำดับของเรื่องก่อนจะเขียนไว้เป็นอย่างดี จึงสามารถที่จะผสานโครงเรื่องหลักและโครงเรื่องย่อยจำนวนมากเหล่านี้เข้ากันได้อย่างแนบสนิทเป็นเนื้อเดียว ทั้งนี้ คำทำนายของเทพพยากรณ์แห่งพิภพ ไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะเป็นโครงเรื่องหลักเท่านั้น แต่ปริศนาต่างๆ ที่ซ่อนไว้นำคำทำนายยังช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจที่อยากติตตามเรื่องราวเหล่านี้ด้วย จึงเห็นว่า ฟารา และ ซีซี ฉลาดที่เริ่มเรื่องด้วยคำทำนายที่ว่า “สามจักรพรรดิ สี่ราชันย์สวรรค์ ยี่สิบเอ็ดเทพพิทักษ์ กิเลนจันทร์แห่งหยินและหยาง กิเลนจันทร์แห่งแสงสว่างและความมืด จักก่อการทำลายที่ล่มสลายสวรรค์ เปลี่ยนผู้สมถะซ่อนตนให้ละโมบลุ่มหลง เปลี่ยนผู้กล้าเปี่ยมปัญญาให้ขลาดเขลา เปลี่ยนวิญญาณพิสุทธิ์ให้โหดเหี้ยมอำมหิต วงล้อชะตากรรมแห่งพรหมลิขิตจักวนเวียนมาอีกครั้ง” โดยส่วนตัวเมื่ออ่านคำทำนายนี้จบลงทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นหลายประการ นับตั้งแต่ สามจักรพรรดิ สี่ราชันย์สวรรค์ และยี่สิบเอ็ดเทพพิทักษ์ เป็นใครและมีความสำคัญกับเรื่องอย่างไร กิเลนจันทร์แห่งหยินหยางคือใครและมีความสามารถใดที่จะล่มสลายสวรรค์ ผู้สมถะที่จะถูกเปลี่ยนให้เป็นผู้ละโมภและหลุ่มหลง ผู้กล้าที่เปี่ยมปัญญาที่ถูกเปลี่ยนให้ขลาดเขลา รวมถึงผู้ที่มีวิญญาณพิสุทธิ์ที่ถูกเปลี่ยนให้โหดเหี้ยมอำมหิตคือใคร และอย่างไร ซึ่งในตอน “กำเนิดกิเลน” ปริศนาบางส่วนจากคำทำนายก็ได้เริ่มทยอยเปิดเผยไปบ้างแล้ว นอกจากปริศนาที่เกิดจากคำทำนายแล้ว ฟารา และ ซีซี ยังทิ้งเงื่อนงำบางอย่างในเรื่องไว้เป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็นชายลึกลับสองคนที่แอบไปชมการกำเนิดของกิเลนจันทร์และทราบคำทำนายดังกล่าว ซึ่งบุคคลปริศนาคู่นี้ก็ปรากฏตัวในเรื่องอยู่เป็นระยะ โดยที่ยังไม่เปิดเผยว่าเป็นใครและมีความสำคัญต่อเรื่องอย่างไร หรือความสำคัญของกระจกเสี้ยวจันทร์ที่ เย่วหรงเต๋อ ราชันย์กิเลนปฐพี พ่อของกิเลนจันทร์ทั้งสองมอบหมายให้หลิวอันจิ้ง เทพพิทักษ์เงาของตนออกตามหาเศษเสี้ยวแห่งดวงจันทร์นับตั้งแต่ทราบคำทำนาย หรือ กำไลฉิงฉีที่เป็นสร้อยประคำสีดำที่ข้อมือของเย่วเทียนอ๋าว ที่ได้จากการดึงพลังสีดำหรือพลังหยินของฉงฉี ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่อสูรแห่งบรรพกา ก้อนพลังหยินเข้มข้นดังกล่าวที่ดึงออกมาจากอกของเทียนอ๋าวนี้จะผลต่อการกระทำและการตัดสินใจของเทียนอ๋าวต่อไปในอนาคตอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น ฟารา และ ซีซี ยังทิ้งประเด็นที่ชวนติดตามเพื่อเชื่อมต่อไปยังภาคต่อไปคือ “สงครามสามพิภพ” ไว้ด้วย ไม่ว่าจะทิ้งท้ายภาคนี้ด้วยการจุดไฟแห่งการต่อสู้ไว้ให้กับสองกิเลนจันทร์ ซึ่งพวกเขาต่างให้สัญญากับตนเองว่าจะต้องแข็งแกร่งมากกว่านี้เพื่อที่จะปกป้องคนคนสำคัญของพวกเขาไว้ให้ได้ ขณะเดียวกันก็เผยให้เห็นความสนใจของ เฮ่อเหลียนหย่งเล่อ ราชันย์เร้นกาย ผู้เมินเฉยต่อโลก กลับให้ความสนใจและอยากได้พลังหยินหยางของกิเลนจันทร์อย่างมาก รวมทั้งยังเพิ่มเรื่องราวการต่อสู้ที่เริ่มตึงเครียดขึ้นที่ทะเลทรายต้องห้ามอันเป็นเขตชายแดนระหว่างพิภพเทพและพิภพมาร นี่อาจจะเป็นฉนวนของสงครามสามพิภพก็เป็นได้ หลงกิเลนจันทร์ นับเป็นนวนิยายที่มีตัวละครเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเฉพาะแค่คำทำนายจะพบว่าจะต้องมีตัวละครสำคัญอย่างน้อยที่สุด 30 ตัว ซึ่งในภาค “กำเนิดกิเลน” ก็เปิดตัวละครเกือบครบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสามจักรพรรดิแห่งพิภพเทพ พิภพมาร และพิภพมนุษย์ สี่ราชันย์สวรรค์ของสัตว์เทพทั้งสี่ เย่วหรงเต๋อ (ราชวงศ์กิเลน) หลงหวางไห่ (ราชวงศ์มังกร) หยวนจุนซวนหวู่ (ราชวงศ์เต่าดำ) และหลวนจูเฉว (ราชวงศ์หงส์ทอง) และ ยี่สิบเอ็ดเทพผู้พิทักษ์ ซึ่งจักรพรรดิและราชันย์แต่ละองค์จะมีสามเทพผู้พิทักษ์ประจำตัว คือ เทพพิทักษ์สงคราม เทพพิทักษ์ปัญญา และเทพพิทักษ์เงา นอกจากนี้ยังมีเย่วเทียนหมิง และเย่วเทียนอ๋าว สองพี่น้องกิเลนจันทร์ แม้ว่าตัวละครในเรื่องจะมีเป็นจำนวนมาก แต่ผู้อ่านก็ไม่รู้สึกสับสน เนื่องจาก ฟารา และ ซีซี ค่อยๆ เปิดตัวละครออกมาเป็นชุดๆ ละไม่กี่ตัวเพื่อบอกเล่าเรื่องราวภูมิหลังของตัวละครเหล่านั้น จนสามารถสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้อ่านในระดับหนึ่ง กล่าวคือได้รู้จักหน้าตา เรียนรู้เรื่องราวและอุปนิสัยใจคอของตัวละครเหล่านั้น จากนั้นจึงค่อยเปิดตัวละครตัวอื่นๆ ต่อไป ขณะเดียวกันตัวละครแต่ละตัวต่างก็มีบุคลิกลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะตน ซึ่งง่ายต่อการจดจำ เช่น เย่วเทียนหมิง กิเลนจันทร์แห่งแสงสว่าง ผู้มีผมสีเงิน ตาสีเงิน และผิวขาวบริสุทธิ์ ผู้อ่อนโยน ใจดี อบอุ่น บริสุทธิ์ สุขุมรอบคอบ รักครอบครัว เย่วเทียนอ๋าว กิเลนจันทร์แห่งความมืด ผู้มีผมดำ ตามดำ และผิวขาว ใจดำ เจ้าเล่ห์ โหดเหี้ยม ชอบใช้กำลัง แต่รักและใจดีเฉพาะคนในครอบครัวเท่านั้น เสน่ห์อีกประการของนิยายเรื่องนี้คือความพิถีพิถันและความละเมียดของการเลือกใช้ภาษา นับตั้งแต่ภาษาบรรยาย ซึ่งฟารา และ ซีซี จะให้รายละเอียดกับสิ่งต่างๆ ที่บรรยายถึง ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายรูปร่างหน้าตา อุปนิสัยใจคอ หรือแม้แต่การบรรยายฉากและบรรยากาศต่างๆ ก็ทำได้เป็นอย่างดี จนช่วยให้ผู้อ่านสามารถสร้างจินตภาพตามที่ผู้เขียนบรรยายได้ไม่ยากนัก ส่วนภาษาสนทนานั้น ผู้เขียนก็เลือกใช้ระดับภาษาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยเสริมให้ผู้อ่านรู้จักและเรียนรู้อุปนิสัยใจคอของตัวละครผ่านบทสนทนาได้อีกทางหนึ่ง เช่น ความใจร้อนและโหดเหี้ยมของเทียนอ๋าว หรือ ความสุขุมและใจดีของเทียนหมิงก็สะท้อนผ่านบทสนทนาด้วยเช่นกัน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่ายังพบคำที่สะกดผิดอยู่บ้างในเรื่อง เช่น ภูต (หมายถึง ผี อนมุษย์ เทวดา สัตว์) เขียนเป็น ภูติ (หมายถึง ความรุ่งเรือง ความมั่นคง) กะพริบตา เขียนเป็น กระพริบตา เบญจธาตุ เขียนเป็น เบจญธาตุ กระตือรือร้น เขียนเป็น กระตือรือล้น ฤๅ เขียนเป็น ฤา น้ำตาไหล เขียนเป็น น้ำตาใหล หลับใหล เขียนเป็น หลับไหล ณ เขียนเป็น ณ. เสน่ห์ เขียนเป็น สเน่ห์ กะทันหัน เขียนเป็น กระทันหัน กะพริบ เขียนเป็น กระพริบ ศีรษะ เขียนเป็น ศรีษะ องค์ความรู้ เขียนเป็น องก์ความรู้ คำนวณ เขียนเป็น คำนวน อาณัติ เขียนเป็น อานัติ สถิต เขียนเป็น สถิตย์ ราชันย์ เขียนเป็น ราชัน กลับตาลปัตร เขียนเป็น กลับตารปัต ซึ่งคำผิดเหล่านี้ลดทอนความสมบูรณ์ของเรื่องไปอย่างน่าเสียดาย หากผู้เขียนปรับแก้คำผิดเหล่านี้ได้ทั้งหมดก็จะช่วยให้เรื่องนี้สมบูรณ์และน่าอ่านยิ่งขึ้น -------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 15 ธ.ค. 54

    • 6

    • 0

    คำนิยมล่าสุด

    "หลงกิเลนจันทร์"

    (แจ้งลบ)

    หลงกิเลนจันทร์ นวนิยายแนวกำลังภายในขนาดยาว เป็นผลงานเขียนร่วมกันของนักเขียนสองคน คือ ฟารา และ ซีซี ขณะนี้เขียนจบภาค “กำเนิดกิเลนจันทร์” แล้ว และกำลังเขียนภาค “สงครามสามพิภพ” อยู่ ในการวิจารณ์ครั้งนี้จะกล่าวถึงเฉพาะภาค “กำเนิดกิเลนจันทร์” เท่านั้น นวนิยายในภาคนี้กล่าวถึงเรื่องราวของเย่วเทียนหมิง (กิเ ... อ่านเพิ่มเติม

    หลงกิเลนจันทร์ นวนิยายแนวกำลังภายในขนาดยาว เป็นผลงานเขียนร่วมกันของนักเขียนสองคน คือ ฟารา และ ซีซี ขณะนี้เขียนจบภาค “กำเนิดกิเลนจันทร์” แล้ว และกำลังเขียนภาค “สงครามสามพิภพ” อยู่ ในการวิจารณ์ครั้งนี้จะกล่าวถึงเฉพาะภาค “กำเนิดกิเลนจันทร์” เท่านั้น นวนิยายในภาคนี้กล่าวถึงเรื่องราวของเย่วเทียนหมิง (กิเลนแห่งแสงสว่าง) และเย่วเทียนอ๋าว (กิเลนแห่งความมืด) องค์ชายกิเลนผู้สูงส่ง ผู้ถือกำเนิดขึ้นในวันเดียวกัน และต้องมีชะตาชีวิตที่ผูกพันกับคำทำนายของเทพยากรณ์แห่งพิภพที่ว่า กิเลนจันทร์แห่งหยิน หยางคู่นี้จักก่อการทำลายที่ล่มสลายสวรรค์ จึงทำให้ชีวิตของเด็กน้อยทั้งคู่ถูกจับตามมองทั้งจากพิภพเทพ มาร และมนุษย์ รวมไปถึงสี่ราชันย์สวรรค์คือ กิเลน มังกร เต่า และหงส์ด้วย นวนิยายเรื่องนี้ประกอบด้วยโครงเรื่องหลัก (plot) อันเป็นเรื่องราวโดยรวมที่ครอบคลุมเรื่อง “หลงกิเลนจันทร์” ซึ่ง ฟารา และ ซีซี ใช้คำทำนายของเทพพยากรณ์แห่งพิภพเป็นตัวควบคุมให้เรื่องดำเนินไปตามโครงเรื่องหลักที่วางไว้ ขณะเดียวกันก็ยังมีโครงเรื่องย่อย (sub-plot) เฉพาะของภาคนี้จำนวนมากที่แทรกเข้าว่านับตั้งแต่เรื่องราวของการกำเนิดและเติบโตของสองกิเลนจันทร์ และยังมีเรื่องราวภูมิหลังของตัวละครหลักอื่นๆ ของเรื่องด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของ เฮ่อเหลียนหย่งเล่อ ราชันย์เร้นกาย จักรพรรดิแห่งพิภพเทพ เฟิ่งหลันกุ้ยฟง ราชินีแห่งพิภพมาร จูเก่อเฟยเสวียน มหาบัญฑิตเจ้าสำราญ จักรพรรดิแห่งพิภพมนุษย์ หรือแม้แต่เรื่องราวความขัดแย้งในครอบครัวระหว่างพี่น้อง หลงซ๊วงวู๋ (องค์ชายห้า) กับหลงฟงหลาน องค์ชายเก้าและเป็นรัชทายาทแห่งราชวงศ์มังกร ในเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ฟารา และ ซีซี วางแผนการเขียนโดยวางลำดับของเรื่องก่อนจะเขียนไว้เป็นอย่างดี จึงสามารถที่จะผสานโครงเรื่องหลักและโครงเรื่องย่อยจำนวนมากเหล่านี้เข้ากันได้อย่างแนบสนิทเป็นเนื้อเดียว ทั้งนี้ คำทำนายของเทพพยากรณ์แห่งพิภพ ไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะเป็นโครงเรื่องหลักเท่านั้น แต่ปริศนาต่างๆ ที่ซ่อนไว้นำคำทำนายยังช่วยกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจที่อยากติตตามเรื่องราวเหล่านี้ด้วย จึงเห็นว่า ฟารา และ ซีซี ฉลาดที่เริ่มเรื่องด้วยคำทำนายที่ว่า “สามจักรพรรดิ สี่ราชันย์สวรรค์ ยี่สิบเอ็ดเทพพิทักษ์ กิเลนจันทร์แห่งหยินและหยาง กิเลนจันทร์แห่งแสงสว่างและความมืด จักก่อการทำลายที่ล่มสลายสวรรค์ เปลี่ยนผู้สมถะซ่อนตนให้ละโมบลุ่มหลง เปลี่ยนผู้กล้าเปี่ยมปัญญาให้ขลาดเขลา เปลี่ยนวิญญาณพิสุทธิ์ให้โหดเหี้ยมอำมหิต วงล้อชะตากรรมแห่งพรหมลิขิตจักวนเวียนมาอีกครั้ง” โดยส่วนตัวเมื่ออ่านคำทำนายนี้จบลงทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นหลายประการ นับตั้งแต่ สามจักรพรรดิ สี่ราชันย์สวรรค์ และยี่สิบเอ็ดเทพพิทักษ์ เป็นใครและมีความสำคัญกับเรื่องอย่างไร กิเลนจันทร์แห่งหยินหยางคือใครและมีความสามารถใดที่จะล่มสลายสวรรค์ ผู้สมถะที่จะถูกเปลี่ยนให้เป็นผู้ละโมภและหลุ่มหลง ผู้กล้าที่เปี่ยมปัญญาที่ถูกเปลี่ยนให้ขลาดเขลา รวมถึงผู้ที่มีวิญญาณพิสุทธิ์ที่ถูกเปลี่ยนให้โหดเหี้ยมอำมหิตคือใคร และอย่างไร ซึ่งในตอน “กำเนิดกิเลน” ปริศนาบางส่วนจากคำทำนายก็ได้เริ่มทยอยเปิดเผยไปบ้างแล้ว นอกจากปริศนาที่เกิดจากคำทำนายแล้ว ฟารา และ ซีซี ยังทิ้งเงื่อนงำบางอย่างในเรื่องไว้เป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็นชายลึกลับสองคนที่แอบไปชมการกำเนิดของกิเลนจันทร์และทราบคำทำนายดังกล่าว ซึ่งบุคคลปริศนาคู่นี้ก็ปรากฏตัวในเรื่องอยู่เป็นระยะ โดยที่ยังไม่เปิดเผยว่าเป็นใครและมีความสำคัญต่อเรื่องอย่างไร หรือความสำคัญของกระจกเสี้ยวจันทร์ที่ เย่วหรงเต๋อ ราชันย์กิเลนปฐพี พ่อของกิเลนจันทร์ทั้งสองมอบหมายให้หลิวอันจิ้ง เทพพิทักษ์เงาของตนออกตามหาเศษเสี้ยวแห่งดวงจันทร์นับตั้งแต่ทราบคำทำนาย หรือ กำไลฉิงฉีที่เป็นสร้อยประคำสีดำที่ข้อมือของเย่วเทียนอ๋าว ที่ได้จากการดึงพลังสีดำหรือพลังหยินของฉงฉี ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่อสูรแห่งบรรพกา ก้อนพลังหยินเข้มข้นดังกล่าวที่ดึงออกมาจากอกของเทียนอ๋าวนี้จะผลต่อการกระทำและการตัดสินใจของเทียนอ๋าวต่อไปในอนาคตอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น ฟารา และ ซีซี ยังทิ้งประเด็นที่ชวนติดตามเพื่อเชื่อมต่อไปยังภาคต่อไปคือ “สงครามสามพิภพ” ไว้ด้วย ไม่ว่าจะทิ้งท้ายภาคนี้ด้วยการจุดไฟแห่งการต่อสู้ไว้ให้กับสองกิเลนจันทร์ ซึ่งพวกเขาต่างให้สัญญากับตนเองว่าจะต้องแข็งแกร่งมากกว่านี้เพื่อที่จะปกป้องคนคนสำคัญของพวกเขาไว้ให้ได้ ขณะเดียวกันก็เผยให้เห็นความสนใจของ เฮ่อเหลียนหย่งเล่อ ราชันย์เร้นกาย ผู้เมินเฉยต่อโลก กลับให้ความสนใจและอยากได้พลังหยินหยางของกิเลนจันทร์อย่างมาก รวมทั้งยังเพิ่มเรื่องราวการต่อสู้ที่เริ่มตึงเครียดขึ้นที่ทะเลทรายต้องห้ามอันเป็นเขตชายแดนระหว่างพิภพเทพและพิภพมาร นี่อาจจะเป็นฉนวนของสงครามสามพิภพก็เป็นได้ หลงกิเลนจันทร์ นับเป็นนวนิยายที่มีตัวละครเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเฉพาะแค่คำทำนายจะพบว่าจะต้องมีตัวละครสำคัญอย่างน้อยที่สุด 30 ตัว ซึ่งในภาค “กำเนิดกิเลน” ก็เปิดตัวละครเกือบครบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสามจักรพรรดิแห่งพิภพเทพ พิภพมาร และพิภพมนุษย์ สี่ราชันย์สวรรค์ของสัตว์เทพทั้งสี่ เย่วหรงเต๋อ (ราชวงศ์กิเลน) หลงหวางไห่ (ราชวงศ์มังกร) หยวนจุนซวนหวู่ (ราชวงศ์เต่าดำ) และหลวนจูเฉว (ราชวงศ์หงส์ทอง) และ ยี่สิบเอ็ดเทพผู้พิทักษ์ ซึ่งจักรพรรดิและราชันย์แต่ละองค์จะมีสามเทพผู้พิทักษ์ประจำตัว คือ เทพพิทักษ์สงคราม เทพพิทักษ์ปัญญา และเทพพิทักษ์เงา นอกจากนี้ยังมีเย่วเทียนหมิง และเย่วเทียนอ๋าว สองพี่น้องกิเลนจันทร์ แม้ว่าตัวละครในเรื่องจะมีเป็นจำนวนมาก แต่ผู้อ่านก็ไม่รู้สึกสับสน เนื่องจาก ฟารา และ ซีซี ค่อยๆ เปิดตัวละครออกมาเป็นชุดๆ ละไม่กี่ตัวเพื่อบอกเล่าเรื่องราวภูมิหลังของตัวละครเหล่านั้น จนสามารถสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้อ่านในระดับหนึ่ง กล่าวคือได้รู้จักหน้าตา เรียนรู้เรื่องราวและอุปนิสัยใจคอของตัวละครเหล่านั้น จากนั้นจึงค่อยเปิดตัวละครตัวอื่นๆ ต่อไป ขณะเดียวกันตัวละครแต่ละตัวต่างก็มีบุคลิกลักษณะที่โดดเด่นเฉพาะตน ซึ่งง่ายต่อการจดจำ เช่น เย่วเทียนหมิง กิเลนจันทร์แห่งแสงสว่าง ผู้มีผมสีเงิน ตาสีเงิน และผิวขาวบริสุทธิ์ ผู้อ่อนโยน ใจดี อบอุ่น บริสุทธิ์ สุขุมรอบคอบ รักครอบครัว เย่วเทียนอ๋าว กิเลนจันทร์แห่งความมืด ผู้มีผมดำ ตามดำ และผิวขาว ใจดำ เจ้าเล่ห์ โหดเหี้ยม ชอบใช้กำลัง แต่รักและใจดีเฉพาะคนในครอบครัวเท่านั้น เสน่ห์อีกประการของนิยายเรื่องนี้คือความพิถีพิถันและความละเมียดของการเลือกใช้ภาษา นับตั้งแต่ภาษาบรรยาย ซึ่งฟารา และ ซีซี จะให้รายละเอียดกับสิ่งต่างๆ ที่บรรยายถึง ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายรูปร่างหน้าตา อุปนิสัยใจคอ หรือแม้แต่การบรรยายฉากและบรรยากาศต่างๆ ก็ทำได้เป็นอย่างดี จนช่วยให้ผู้อ่านสามารถสร้างจินตภาพตามที่ผู้เขียนบรรยายได้ไม่ยากนัก ส่วนภาษาสนทนานั้น ผู้เขียนก็เลือกใช้ระดับภาษาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยเสริมให้ผู้อ่านรู้จักและเรียนรู้อุปนิสัยใจคอของตัวละครผ่านบทสนทนาได้อีกทางหนึ่ง เช่น ความใจร้อนและโหดเหี้ยมของเทียนอ๋าว หรือ ความสุขุมและใจดีของเทียนหมิงก็สะท้อนผ่านบทสนทนาด้วยเช่นกัน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่ายังพบคำที่สะกดผิดอยู่บ้างในเรื่อง เช่น ภูต (หมายถึง ผี อนมุษย์ เทวดา สัตว์) เขียนเป็น ภูติ (หมายถึง ความรุ่งเรือง ความมั่นคง) กะพริบตา เขียนเป็น กระพริบตา เบญจธาตุ เขียนเป็น เบจญธาตุ กระตือรือร้น เขียนเป็น กระตือรือล้น ฤๅ เขียนเป็น ฤา น้ำตาไหล เขียนเป็น น้ำตาใหล หลับใหล เขียนเป็น หลับไหล ณ เขียนเป็น ณ. เสน่ห์ เขียนเป็น สเน่ห์ กะทันหัน เขียนเป็น กระทันหัน กะพริบ เขียนเป็น กระพริบ ศีรษะ เขียนเป็น ศรีษะ องค์ความรู้ เขียนเป็น องก์ความรู้ คำนวณ เขียนเป็น คำนวน อาณัติ เขียนเป็น อานัติ สถิต เขียนเป็น สถิตย์ ราชันย์ เขียนเป็น ราชัน กลับตาลปัตร เขียนเป็น กลับตารปัต ซึ่งคำผิดเหล่านี้ลดทอนความสมบูรณ์ของเรื่องไปอย่างน่าเสียดาย หากผู้เขียนปรับแก้คำผิดเหล่านี้ได้ทั้งหมดก็จะช่วยให้เรื่องนี้สมบูรณ์และน่าอ่านยิ่งขึ้น -------------------------   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 15 ธ.ค. 54

    • 6

    • 0

    ความคิดเห็น