~• เ ท พ ฮ า เ ด ส • ~ - ~• เ ท พ ฮ า เ ด ส • ~ นิยาย ~• เ ท พ ฮ า เ ด ส • ~ : Dek-D.com - Writer

    ~• เ ท พ ฮ า เ ด ส • ~

    เทพฮาเดส (เหอๆ) คิดไม่ออกจาเขียนอาราย

    ผู้เข้าชมรวม

    731

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    731

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 เม.ย. 49 / 20:01 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ... ในตำนานกรีกโบราณเทพที่เทพผู้เป็นใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า โปเซดอน อีกองค์หนึ่งก็คือ ฮาเดส ( หรือชาวโรมัน เรียกว่า พลูโต ) แดนบาดาลหรือยมโลกและคนตายต่างก็อยู่ในความปกครองของเทพองค์นี้ทั้งหมด คำว่า " พลูโต " นี้มีความหมายว่า เทพแห่งทรัพย์ เพราะถือกันว่า นอกจากยมโลกแล้ว ท้าวเธอฮาเดสยังครองมวลธาตุล้ำค่าใต้พื้นพิภพอีกด้วย บางทีจึงมีชือว่า ดีส (Dis) แปล ตรงตัวว่า ทรัพย์ ( บางแห่งกล่าวว่า ฮาเดสครองยมโลกและคนตายเท่านั้น ส่วนเทพผู้ครองความตายนั้นมี อีกองค์หนึ่ง เรียกว่า แธนาทอส (Thanatos) ในภาษากรีก หรือ ออร์คัส (Orcus) ในภาษาลาตินเป็นคู่กันกับ ฮิปนอส (Hpnos) เทพประจำ ความหลับ แม้ว่าเทพฮาเดสอยู่ในเหล่าเทพแห่งเขาโอลิมปัส แต่เธอก็ไม่ค่อยจะได้ออกจากยมโลก ขึ้นไปยังเขาโอลิมปัสเท่าไหร่นัก เธอ เองก็ไม่ใช่แขกที่ใครๆยินดีต้อนรับ เพราะแม้แต่เทพเจ้าด้วยกันเองยังกลัว เนื่องจาก เธอปราศจากความเวทนาสงสาร แต่กอปรด้วย ความยุติธรรม เธอมีหมวกวิเศษใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมหายตัวได้

      ภายในยมโลกนั้น ชาวกรีกในสมัยโบราณเชื่อว่า ดวงวิญญาณของคนทุกคุณ เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะถูกพาไป รับคำพิพากษาของคณะเทพสุภาในยมโลก ซึ่งอยู่ในชั้นบาดาลใต้พื้นพิภพ เป็นอาณาจักรอยู่ในความปกครอง ของเทพฮาเดส การพาดวงวิญญาณคนตายลงไปยังบาดาลเป็นหน้าที่ของเฮอร์มิส เทพพนักงานสื่อสาร ของซูส ซึ่งตำแหน่งของยมโลกนี้ บ้างก็ว่าอยู่ใต้สถานที่เร้นลับของโลก บ้างก็ว่าทางลงอยู่ที่ขอบพิภพโดยข้าม มหาสมุทรไป ส่วนกวีในขั้นหลังๆจึงบอกว่าทางลงมีหลายทางนั้นเอง ซึ่งทางลงนั้นนำไปถึงแม่น้ำแห่งความ วิปโยค ชื่อว่า แอกเคอรอน (Acheron) แม่น้ำนี้ไหลไปสู่แม่น้ำอีกสายหนึ่งเรียกว่าแม่น้ำแห่งความ กำสรวลชื่อ โคไซทัส (Cocytus) ตรงที่แม่น้ำทั้งสองสายนี้บรรจบกัน มีคนเรือจ้างแก่ ๆ คนหนึ่งชื่อว่า เครอน (Charon) คอยรับ วิญญาณข้ามฟากไปสู่ยังประตูแข็งแกร่งดังเหล็กเพชร ซึ่งเป็นทางเข้าตรุลึกลง ไปเรียกว่า ทาร์ทะรัส (Tartarus) ส่วนเขตชั้นนอกที่ผ่านมาแล้วเรียกว่า เออรีบัส (Erebus) เครอน จะรับลงเรือแต่เฉพาะดวงวิญญาณที่มีเงิน เบิกทางติดปากไปและได้ผ่านพิธีฝังเรียบร้อยแล้วเท่านั้น อันนี้เห็นจะเป็นเหตุของชาวกรีกสำหรับประเพณีเอา เงินใส่ปากคนตาย ฝัง ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำตามๆกันอยู่หลายชาติ

      ส่วนเขตชั้นนอกที่ผ่านมาแล้วเรียกว่า เออรีบัส (Erebus) เครอน จะรับลงเรือแต่เฉพาะดวงวิญญาณที่มีเงินเบิกทาง ติดปากไปและได้ผ่านพิธีฝังเรียบร้อยแล้วเท่านั้น อันนี้เห็นจะเป็นเหตุของชาวกรีกสำหรับประเพณีเอา เงินใส่ปากคนตายฝัง ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำตามๆกันอยู่หลายชาติ
      ที่หน้าประตูทางเข้าตรุทาร์ทะรัส มีสุนัขเฝ้าตัวหนึ่งเรียกว่า เซอร์บิรัส (Cerberus) มีหัวสามหัว หางเป็นหางมังกร มันจะยอมให้วิญญาณของคนทุกคนเข้าประตู แต่จะไม่ยอมให้กลับออกมาเป็นอันขาด เมื่อไปถึงประตูนี้ วิญญาณแต่ละดวงจะถูก พาไปรับคำพิพากษาของสามเทพสุภา คือ แรดดะแมนธัส , ไมนอส และ อือคัส วิญญาณที่ชั่วร้ายจะถูกพิพากษาให้ต้องทน ทุกข์ทรมานอยู่ในตรุทาร์ทะรัสไปชั่วกัลป์ ส่วนวิญญาณที่ดีจะได้รับคำพิพากษาให้พาไปอยู่ยังทุ่งอีลิเซียน แดนสุขาวดีของกรีกที่ เคยกล่าวถึงมาแล้ว

      นอกจากแม่น้ำแอกเคอรอนกับโคไซทัสที่เอ่ยถึง ยังมีแม่น้ำอื่นอีกสามสายคั่นบาดาลไว้ต่างหากจาก พิภพเบื้องบน สายหนึ่งมีชื่อว่า เฟลจีธอน (Phlegethon) เป็นแม่น้ำไฟ สายที่สองชื่อ สติกส ์ ( Styx ) เป็นแม่น้ำสาบานของเทพทั้งปวง สายที่สามชื่อ ลีธี (Lethe) แม่น้ำแห่งความลืม หรือแม่น้ำล้างความทรง จำ สำหรับให้ดวงวิญญาณ ในตรุทาร์ทะรัสดื่มเพื่อล้างความจำในชาติก่อนให้หมด

      อนึ่ง นอกจากคณะเทพสุภาแห่งยมโลก ยังมีคณะเทวีทัณฑกรอีกคณะหนึ่งประจำอยู่ในยมโลกเช่น กัน เรียกว่า อิรินนีอิส (Erinyes) ทำหน้าที่ลงทัณฑ์แก่ดวง วิญญาณของผู้ประพฤติผิดทำนองคลองธรรมใน มนุษย์โลก ในชั้นเดิมเทวีทัณฑกรคณะนี้มีหลายองค์แต่ในที่สุดมีเหลือที่กล่าวนามเพียงสาม คือ ไทสิโฟนี (Tisiphone) มีจีรา (Megaera) และ อเล็กโต (Alecto) แต่ละองค์มีรูปลักษณะดุร้ายน่ากลัว มีงูพัน เศียรยั้วเยี้ย ใครๆที่ทำบาปกรรมไว้ในโลกมนุษย์ จะหนีทัณฑกรรมที่เทวีทั้งสามพึง ลงเอาไม่พ้นไปได้เลย คำ อังกฤษเรียกเทวีทั้งสามนี้โดยรวมๆกันไปว่า The Furies

      เนื่องด้วยอุปนิสัยของเทพฮาเดส จ้าวแดนบาดาล ออกจะเย็นชาแข็งกร้าว ปราศจากความเวทนาสงสารให้แก่ผู้ใด แต่เต็มไปด้วยความยุติธรรมทุกขณะ เช่นนี้ จึง เป็นเหตุให้ ท้าวเธอยากจะหาสตรีมาเป็นชายาครองบัลลังก์ปรโลกคู่กันได้เลย ดังนั้น เมื่อท้าวเธอเสด็จขึ้นมาบนพื้นพิภพในวันหนึ่ง และประสบพบพานโฉมงามนาม เพอร์เซโฟนี (Persephone) ธิดาองค์เดียวของเจ้าแม่โพสพเทวี ดีมีเตอร์ เข้าให้ ฮาเดสลืมเลือนไปหมดสิ้นว่า อนงค์นางนี้ที่แท้จริงคือหลานในไส้ของตน เพราะว่า ดีมิเตอร์เทวีเป็นน้องนางของพระองค์นั่นเอง จ้าวแห่งแดนบาดาลจึงไม่รอช้า ฉุดคร่าเอาตัวเพอร์เซโฟนีลงไปสู่ดินแดนใต้พิภพ เพื่อครองคู่เป็นราชินีปรโลกด้วยความมิเต็ม ใจของนาง

      ครั้นเมื่อซูสเทพบดีทรงตัดสินความให้เทพฮาเดสส่งเพอร์เซโฟนีคืนแก่พระมารดา ฮาเดสก็ใช้เล่ห์ เพทุบายลวงให้นางต้องมาหาท้าวเธอปึละ 3 เดือนทุกปีไป ดังนั้นในปึหนึ่ง ๆ ฮาเสจึงเป็นเทพพ่อม่ายอยู่ถึง 9 เดือน มี เวลาได้ร่วมเขนยกับมิ่งมเหสีเพียงปีละ 3 เดือน เท่านั้น
      แต่ทั้งที่ต้องประทับอยู่อย่างเดียวดายนานถึงปึละ 9 เดือน เทพฮาเดสก็พิสูจน์องค์เองว่าเป็นสวามีที่ซื่อสัตย์พอสมควร ตลอดเรื่องราวประวัติของท้าวเธอ ปรากฏว่าฮาเดสมีเรื่องนอกใจชายาเพียง 2 ครั้งเท่านั้น
      ครั้งหนึ่งได้แก่ ทรงหลงเสน่ห์ความน่ารักของนางอัปสรนามว่า มินธี (Minthe) แต่ทว่าความรักนี้มิยั่งยืน ด้วยเหตุที่พระแม่ยายดีมิเตอร์เทวีทรงร้ายเหลือ ทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบหน้าฮาเดสเท่าใดนัก แต่เมื่อท้าวเธอทำท่าจะนอกใจ ธิดาของตนเข้าให้ เจ้าแม่ก็พิโรธโกรธเกรี้ยวจนกระทั่งไล่กระทืบมินธีนางอัปสรผู้น่าสงสารตายคาบาทของเจ้าแม่ จ้าว แดนบาดาลเวทนาสงสารนางอัปสรน้อยนั้น จึงเปลึ่ยนร่างของนางให้กลายเป็นพืชชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม และได้กลายเป็น พืชประจำพระองค์ตลอดมา
      ส่วนการนอกใจครั้งที่สองนั้นได้แก่ ทรงรักชอบพอกับนาง เลอซี (Leuce) ธิดาของอุทกเทพโอซียานุส แต่นางเลอซีมีบุญน้อย เพราะป่วยตายเสียก่อนที่จะตายด้วยมือของเจ้าแม่ดีมิเตอร์หรือเพอร์เซโฟนีเทวี หลังจากที่นาง ตายไปแล้วก็กลายร่างเป็นต้นพ็อปลาร์ขาว ซึ่งกลายเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในการทำพิธีการลึกลับ ณ เมืองอีเลอซีส แต่ไม้ใหญ่ อันเป็นพฤกษชาติประจำองค์ของเทพฮาเดสนั้นกลับเป็นต้นสนเศร้า (Cypress) ส่วนดอกไม้ที่กำเนิดจากมินธีแล้ว ยังได้แก่ดอกขาวบริสุทธิ์ของนาร์ซิสซัส
      ผู้คนในสมัยโบราณจะถวายสักการะแด่เทพฮาเดสด้วยแกะดำ ทำให้กลายเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบมาที่จะบูชา ยัญแด่เทพแห่งมรณะหรือเทพแห่งความชั่วร้ายอื่น ๆ ด้วยแพะหรือแกะสีดำเช่นเดียวกัน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×