ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #181 : โคลงฤษีดัดตน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 283
      7
      2 ก.ค. 62

    เขามอ เป็นสวนหินปลูกไม้ประดับที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้รื้อขนก้อนศิลาซึ่งก่อเป็นภูเขาในสวนขวาในพระบรมมหาราชวัง แต่ครั้งรัชกาลที่ 2 มาก่อเป็นภูเขาเป็นสวนประดับรอบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ปลูกต้นไม้ไว้ตามเชิงเขาและบนเขา มีทั้งสถูปและเสาโคมแบบจีน รูปตุ๊กตาจีนและรูปสัตว์จตุบาทต่างๆ เรียงรายอยู่ทั่วไปทั้งบนเข าและเชิงเขา 


    เขามอมีทั้งหมด 24 ลูก เช่น เขาประดู่ เขาสะเดา เขาอโศก เขาสมอ เขาฤาษีดัดตน เขาศิวลึงค์ เป็นต้น พรรณไม้ที่ปลูกประดับส่วนใหญ่ตายลงทางวัดได้ปรับปรุงเป็นสวนหิน ประดับด้วยไม้ดอกไม้ใบนับเป็นมุมนั่งพักผ่อนที่เพลิดเพลินตาเย็นกายสบายใจ


    เขาฤาษีดัดตน คือสวนสุขภาพแห่งหนึ่งอยู่ใกล้กับพระวิหารทิศใต้ เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณ และศิลปวิทยาการครั้งกรุงศรีอยุธยาไว้ 


    ทรงดำริเอาท่าดัดตนอันเป็นการพักผ่อนอิริยาบถ แก้ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ประยุกต์รวมกับคติไทยที่ยกย่องฤาษีเป็นครู ผู้ประสิทธิ์ประสาทศิลปวิทยาการต่างๆ เป็นรูปปั้นฤาษีดัดตนท่าต่างๆ สมัยแรกสร้างนั้นปั้นด้วยดิน 
    .
    .
    .
    .
    .
    ต่อมาในเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2379 


    รัชกาลที่ โปรดให้กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ เป็นผู้ทรงกำกับช่างหล่อรูปฤาษีดัดตนท่าต่างๆ รวม 80 ท่า โดยหล่อด้วย สังกะสีผสมดีบุกเรียกว่า “ชิน” ปั้นแล้วตั้งไว้ตามศาลาลาย และจารึกบรรยายสรรพคุณเอาไว้ แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ 


    ซึ่งกวีแต่ท่านก็ได้เขียนโคลงกำกับท่าทางดัดตนของฤษีต่างๆ ดังนี้

    1. แก้เกียจ  -->  รัชกาลที่ 3
    2. แก้เอวขัด ขาขัด  -->  รัชกาลที่ 3
    3. แก้ลมในอก ในเอว  -->  รัชกาลที่ 3
    4. แก้ขัดเอว  -->  รัชกาลที่ 3
    5. แก้ลงปวดศีรษะ  -->  รัชกาลที่ 3
    6. แก้ส้นเท้า  -->  กรมหมื่นนุชิตนิโนรส 
    7. แก้ปวดท้อง ข้อเท้า  -->  กรมหมื่นนุชิตนิโนรส 
    8. แก้เสมหะในลำคอ  -->  กรมหมื่นนุชิตนิโนรส 
    9. แก้ลมในแขน  -->  กรมหมื่นนุชิตนิโนรส
    10. แก้สะบักหน้าจม  -->  นายปรีดาราช

    11. แก้ลมทั่วสารพางค์  -->  พระมุนีนายก
    12. แก้เข่าตาย  -->  หลวงชาญภูเบศร์
    13. แก้ขัดขา ขัดคอ  -->  พระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)
    14. แก้แน่นหน้าอก  -->  พระสมุห์จั่น
    15. แก้ลมเวียนศีรษะ  -->  กรมหมื่นนุชิตนิโนรส 
    16. แก้เข่าแก้ขา  -->  พระญาณปริยัติ
    17. แก้โรคในอก  -->  พระเพ็ชรชฎา
    18. แก้ตะคริวมือ  -->  จ่าจิตรนุกูล
    19. แก้ลมตะคริว  -->  พระญาณปริยัติ
    20. แก้ลมทั่วสารพางค์  --> กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์

    21. แก้เสียดอก  -->  พระศรีวิสุทธิวงศ์
    22. แก้ลมจันทฆาฏ ลมเข่า ลมขา ลมหน้าอก  -->  สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
    23ตำรากายอายุยืน  -->  กรมหมื่นไกรสรวิชิต
    24แก้เข่าขัด  -->  พระยาอัษฎาเรืองเดช
    25. แก้ลมประกัง  -->  เจ้าพระยาพระคลัง (ดิส)
    26แก้ตะโพกสลักเพชร  -->  พระอมรโมลี
    27. แก้ลมชักปากเบี้ยว ลมลิ้นตาย ลมเท้าเหน็บ ลมมือเหน็บ  -->  หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ)
    28. แก้เข่าขัด  -->  พระอมรโมลี
    29แก้ลมในลำลึงค์  -->  พระอมรโมลี
    30. แก้มือ แก้เท้า  -->  พระยาธิเบศร์บดี

    31. แก้กล่อน แก้ปัตคาต  -->  พระศรีวิสุทธิวงศ์
    32. แก้ลมอัมพฤกษ์  -->  พระศรีวิสุทธิวงศ์
    33แก้ลมส้นเท้า  -->  พระศรีวิสุทธิวงศ์
    34แก้เอว  -->  พระศรีวิสุทธิวงศ์
    35แก้ลมในขา  -->  พระศรีวิสุทธิวงศ์
    36แก้เวียนศีรษะ  -->  พระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)
    37แก้ลิ้นกระด้าง  -->  พระรัตนมุนี
    38แก้กล่อนในทรวง  -->  พระรัตนมุนี
    39แก้ไหล่ แก้ตะโพก  -->  พระรัตนมุนี
    40. แก้เท้าเย็นใจสวิงสวาย  -->  หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ)

    41. แก้คอ แก้ไหล่  -->  กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
    42. แก้กล่อน แก้ปัตคาต  -->  หลวงชาญภูเบศร์
    43. แก้คอเคล็ด ไหล่ขัด  -->  กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
    44. แก้คอ แก้ไหล่  -->  จมื่นราขนาคา (แย้ม)
    45แก้ลมอัณฑวาต  -->  กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
    46. แก้เสียดข้าง  -->  พระอริยวงศ์มุนี
    47. แก้วิงเวียน  -->  พระอริยวงศ์มุนี
    48. แก้ลมมหาบาดทะยัก  -->  พระอริยวงศ์มุนี
    49. แก้แขนขัด (แก้ขัดแขน)  -->  พระอริยวงศ์มุนี
    50. แก้ลมปัตคาต ลมในเอว  -->  พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง)

    51. แก้ลมในเท้า  -->  พระญาณปริยัติ
    52. แก้ลมในคอ  -->  พระญาณปริยัติ
    53. แก้ลมขา  -->  พระญาณปริยัติ
    54. แก้ลมลำลึงค์ ลมอัณฑะ  -->  ขุนธนสิทธิ์
    55. แก้ลมข้อมือ  -->  พระญาณปริยัติ
    56. แก้ลมอก  -->  ขุนธนสิทธิ์
    57. แก้เส้นมหาสนุกระงับ  -->  พระมหามนตรี (ทรัพย์)
    58. แก้เท้าขัด  -->  รัชกาลที่ 3
    59. แก้เส้นทั่วสรรพางค์  -->  นายปรีดาราช
    60. แก้ไหล่ขัด ตะโพกขัด  -->  จ่าจิตรนุกูล

    61. แก้ลมเอว  -->  ออกญาโชฎึกราชเศรษฐี
    62. แก้ลมกล่อน  -->  พระยาราชมนตรี (ภู่)
    63แก้ลมมือ ลมเท้า  -->  พระมุนีนายก
    64แก้สลักไหล่  -->  พระสมบัติธิบาล
    65แก้ลมริดสีดวง  -->  กรมหมื่นศรีสุเทพ
    66. แก้แน่นหน้าอก  -->  พระยาไชยวิชิต
    67. แก้กล่อน  -->  พระยาบำเรอบริรักษ์
    68. แก้ลมจุกเสียด  -->  พระพรรณสมบัติ
    69. แก้ขา  -->  กรมหมื่นไกรสรวิชิต 
    70. แก้กล่อน  -->  พระสมบัติธิบาล

    71. แก้ปวดท้อง สะบักจม  -->  กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์
    72. แก้ลมในอก  -->  กรมหลวงวงศาธิราชสนิท
    73. แก้ตะโพก ต้นขาขัด  -->  กรมหมื่นนุชิตนิโนรส
    74. แก้เท้าเหน็บ  -->  พระยาธิเบศร์บดี
    75. แก้ปัตคาด ตะคริว  -->  กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
    76. แก้จุก  -->  พระมหาช้างเปรียญ
    77. แก้ไหล่ แก้ท้อง แก้อก  -->  กรมหมื่นนุชิตนิโนรส
    78. แก้แขนขัด (แก้ขัดแขน)  -->  กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
    79. แก้ขัดแข้ง ขัดขา  -->  กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
    80. แก้เส้นสลักทรวง  -->  ออกญาโชฎึกราชเศรษฐี
    .
    .
    .
    .
    .
    นอกจากนี้ ยังได้มีการวาดภาพลงสมุดไทย และมีโคลงกำกับไว้ ผู้วาดภาพคือ ขุนรจนา ขุนวิสุทธิอักษรเป็นคนตรวจทานเขียนโคลงลงในสมุดไทย ดังคำโคลง

    ข้าพระช่างวาดซ้าย          สมญา ยศฤา
    เสนอชื่อรจนา                     มาศรู้
    ชำนาญรจนาขวา               ตำแหน่ง หมื่นเอย
    ฉลุลักษณนักสิทธ์ผู้           ดัดถ้าทั้งมวญ

    ขุนข้าอาลักษณนี้                     นามกร
    คือวิสุทธิอักษร                          ที่ตั้ง
    ทานเทียบระเบียบกลกลอน   โคลงราช นี้พ่อ
    จารึกอักขรทั้ง                            เล่มสิ้นเสร็จแสดง


    การคัดลอกเสร็จ เมื่อแรม 11 ค่ำ เดือน 7 ปี จอ จ.ศ. 1200 (พ.ศ. 2381) นับเป็นความรอบคอบอย่างยิ่งที่ได้มีการวาดภาพและเขียนโคลงลงในสมุดไทยไว้ด้วยเพราะโคลงที่จารึกไว้ตามผนังศาลารายรอบวัดศูนย์เสียไปเป็นอย่างมากเหลือบอกไว้เพียงเฉพาะชื่อบทนั้นๆ เท่านั้น 


    อีกทั้งมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้นทำให้คำโคลงแยกจากรูปปั้นทำให้เกิดความสับสนสำหรับคนรุ่นหลังที่ต้องการศึกษา อีกทั้งคนไทยบางคนได้ทำลายมรดกของชาติด้วยการขโมยเอาไปขายอีกด้วยได้มีผู้โขมยไปขายหลายครั้งที่จับได้มีหลักฐานคือ นายสุก ทหารรักษาวัง ขโมยไปถึง 16 ตน เหตุการณ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 วันที่ 14 กรกฎาคม 2438 


    ปัจจุบันคงเหลือรูปฤษีดัดตนอยู่ 24 ท่า


    นอกจากนั้นยังมีโคลงจารึก ปัจจุบันได้รวบรวมไว้ที่ศาลารายรอบวัดพระเชตุพน เช่น ศาลาเปลื้องเครื่อง (โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ) เป็นต้น
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×