ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #180 : ใครแต่ง "สุภาษิตสอนหญิง" ?

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.17K
      21
      2 ก.ค. 62

    "สุภาษิตสอนหญิง" หรือ "สุภาษิตสอนหญิง" นั้น เข้าใจกันมาแต่เด็กว่า พระสุนทรโวหาร หรือ สุนทรภู่ เป็นคนแต่ง แต่ภายหลังนักวิชาการพากันสรุปกันว่าไม่ใช่สำนวนของสุนทรภู่แน่นอน 100 % 


    เพราะเมื่อพิจารณาจากสำนวนกลอนแล้ว น่าจะไม่ใช่ฝีปากของมหากวี อีกทั้งแนวคิดของ สุนทรภู่นั้นมีแต่อารมณ์รักใคร่เสน่หา ไม่มีความสงบพอที่จะสั่งสอนสตรีได้  


    ใครเป็นผู้แต่งกันแน่? เพราะกวีชื่อ "ภู่" ในสมัยนั้นมีอยู่ถึง 3 คน ได้แก่

    1. พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่)
    2. พระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่จางวาง)
    3. ภู่ จุลละภมร (ภู่นกกระจาบ)


    เราจะข้ามภู่คนแรก ไปดูภู่คนอื่นๆ กันดีกว่า ภู่คนที่สองคือ
    .
    .
    พระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่จางวางเป็นบุตรของพระยาศรีสรราช ในรัชกาลที่ 1 ได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงเดิมในกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก


    ต่อมา เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระนั่งเกล้ารัชกาลที่ 3 จางวางภู่ก็ขึ้นเป็น พระยาราชมนตรีบริรักษ์ ตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ จนมีพระราชดำรัสยกย่องว่านายภู่นั้นเปรียบเป็น "บ่อแก้ว" ในรัชกาลของพระองค์ 


    พระยาราชมนตรี (ภู่) มีบุตรธิดาหลายคน


    ซึ่งเกิดแต่คุณหญิงกล่ำก็มี คุณพุ่ม (คุณพุ่มบุษบาท่าเรือจ้าง) กับ เจ้าจอมอิ่มในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว [รายละเอียดดูได้ที่ตอนที่ 18 : คุณพุ่ม คุณสุวรรณ : กวีสาวสุดจี๊ด]


    ซึ่งเกิดแต่คุณหญิงอินก็มี หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา (คนล่ะคนกับผกกนะ จบป่ะ!!) นางห้ามในกรมขุนราชสีหวิกรม


    ภู่คนนี้ก็เป็นกวีมีชื่อ แต่งโคลงจารึกไว้ที่วัดพระเชตุพนบทหนึ่งคือโคลงบทที่ 67 รูปฤาษีดัดตนแก้กษัยกล่อน ดังนี้ 


    สิทธิกรรมนั่งน่วงเท้า     ไขว่คอ
    หลังคดคู้ตัวงอ                 งูบง้ำ
    ตึงตลอดสอดมือพอ        ชโลงเข่า ไว้แฮ
    แก้กล่อนแห้งกล่อนน้ำ    กล่อนเส้นกล่อนกษัย
    .
    .
    ภู่คนสุดท้ายคือ ภู่ จุลละภมร (ภู่นกกระจาบ)


    นายภู่ นกกระจาบนั้นมีชื่อจริงว่า นายภู่ จุลละภมร ใช้ชีวิตอยู่ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 - 5 เชื่อกันว่าเคยเป็นลูกศิษย์ของสุนทรภู่สมัยบวชอยู่ที่วัดโพธิ์


    นายภู่คนนี้มีผลงานเด่นๆ ได้แก่ 
    1. สุภาษิตสอนสตรี 
    2. นครกายคำกลอน 
    3. นกกระจาบคำกลอน 
    4. พระสมุทรคำกลอน 
    5. จันทโครบคำกลอน 
    6. มงคลทีปนีคำกลอน 
    7. พระรถนิราศ


    โดยเฉพาะ นครกายคำกลอน นั้น มีคำขึ้นต้นไหว้ครู ดังนี้ 
    .
    .
    ประนมหัตถ์จัดวางขึ้นหว่างเศียร
    ต่างประทีปโกสุมประทุมเทียน
    จำนงเนียรน้อมพระศาสดา
    อันเป็นมิ่งโมลีทั้งสี่ทวีป

    ดังประทีปส่องทั่วทุกทิศา
    ก็ล่วงลับดับไกลนัยนา
    สู่มหาห้องนิพพานสำราญรมย์
    ฉันชื่อภู่ผู้ประดิษฐ์คิดสนอง

    ขอประคองคุณใส่ไว้เหนือผม
    ให้ประเสริฐเลิศล้ำด้วยคำคม
    โดยอารมณ์คิดเทียบคำเปรียบปราย...
    .
    .
    เรามาดูคำไหว้ครูในคำกลอนสุภาษิตสอนหญิงบ้าง
    .
    .
    ประนมหัตถ์นมัสการขึ้นเหนือเศียร
    ต่างประทีปโกสุมปทุมเทียน
    จำนงเนียรน้อมบาทพระศาสดา
    อันเป็นปิ่นโมลีทั้งสี่ทวีป

    ดังประทีปส่องทั่วทุกทิศา
    ก็ล่วงลับดับไกลนัยนา
    สู่มหาห้องนิพพานสำราญรมย์
    ฉันชื่อภู่ผู้ประดิษฐ์คิดสนอง

    ขอประคองคุณใส่ไว้เหนือผม
    ให้ประเสริฐเลิศล้ำด้วยคำคม
    โดยอารมณ์ดำริรักชักภิปราย...
    .
    .
    นอกจากนี้ในสุภาษิตสอนหญิงยังปรากฏเรื่อง "เงินสลึง" ซึ่งเป็นเงินเหรียญเริ่มใช้สมัยรัชกาลที่ 5 เลยค่อนข้างชัดว่าน่าจะไม่ใช่สุนทรภู่แน่ๆ


    สรุป... คนที่แต่งเรื่อง สุภาษิตสอนสตรีก็คือ นายภู่นกกระจาบ นี้เอง 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×