ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #177 : พระเจ้าฮารูนอาลราษจิต

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 484
      11
      19 มิ.ย. 62

    กาหลิบฮารูนอาลราษจิต หรือ ฮารูน อัล-ราชีด (Harun al–Rashid) เป็นตัวละครขึ้นดังที่ปรากฎมาในเรื่อง "นิทราชาคริต" และ "อาหรับราตรี" แต่ทราบหรือไม่ว่ากาหลิบท่านนี้มีตัวตนจริงๆอยู่ในประวัติศาสตร์เชียวนะ.....


    ฮารูน อัล-ราชีดเป็นกาหลิบ (เคาะลีฟะห์; kalifah) คนที่ 5 แห่งราชวงศ์อับบาซียะห์ (The Abbasid Dynasty) เป็นกาหลิบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในราชวงศ์ และทรงเป็นนักปกครองที่ปรีชาสามารถที่สุดคนหนึ่งของโลก 


    ในศตวรรษที่ 9 มีกษัตริย์นามกระเดื่องอยู่สองพระองค์คือ ชาร์เลอมาญ (Charlemagne) แห่งโลกตะวันตก และกาหลิบฮารูน อัล-ราชีดแห่งโลกตะวันออก 


    ฮารูนเป็นโอรสของ มูฮัมหมัด อัล-มะฮ์ดี (Muhammad al-Mahdi) เป็นน้องชายของ มูซา อัล-ฮาดี (Musa al-Hadi) ขึ้นครองราชย์ต่อจากพี่ชายเมื่ออายุ 25 ปี ชื่อเสียงของท่านมิใช่ก้องอยู่แค่ภูมิภาคอาหรับเท่านั้น แต่ยังได้แพร่สะพัดไปถึงประเทศตะวันตกอีกด้วย


    ในสมัยนั้นถือเป็นจุดพีคที่สุดทางการพัฒนาศิลปวิทยาการของจักรวรรดิอิสลามเลยก็ว่าได้ บรรดานักประวัติศาสตร์เรียกช่วงนี้ว่าเป็น "ยุคทองของอิสลาม" (Islamic Golden Age) 


    กรุงแบกแดด (Baghdad) ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปวิทยาการและอารยธรรมของโลกอิสลาม การเปิดประตูรับวิชาการแขนงต่างๆ จากโลกภายนอก ทั้งจากซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก ทำให้เป็นสมัยที่ให้กำเนิดบรรดาผู้มีความสามารถหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ คณิตศาสตร์ นิติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และศาสนา


    จนแบกแดดกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างซีกโลกตะวันออกกับซีกโลกตะวันตก เป็นเมืองที่กว้างขวาง ยิ่งใหญ่ เกรียงไกร มั่งคั่ง โอ่อ่าและสวยงาม


    ความสำเร็จและรุ่งเรืองในรัชสมัยของท่านนั้น ส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับการทำงานที่ชื่อสัตย์ จงรักภักดีของคนในตระกูลบารมัคคี (Barmakids) ตระกูลขุนนางชาวพุทธ 


    งานชิ้นแรกของท่านกาหลิบนั้นคือการเลือกที่ปรึกษาเก่าของท่านคือ ยะห์ยา บิน คอลิด (Yahya ibn Khalid) เป็นเอกอัครเสนาบดี และมอบตำแหน่งสำคัญให้แก่บุตรชายทั้งสองของยะห์ยา คือ ฟาฎิล (Fadil) และ จาฟาร์ (Ja’far) 


    ตระกูลบารมัคคดีได้เป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญของนักปราชญ์ พวกเขาเชิญบรรดาบัณฑิตอินเดียมากมายมาสู่ราชสำนักและริเริ่มการแปลคัมภีร์สรรพความรู้ต่างๆของอารยธรรมอินเดีย (ตัวเลขอารบิกนั้นก็เริ่มมาจากขบวนการแปลสรรพความรู้จากอินเดียมาสู่อาหรับ)


    หลังจากนั้น สถานะของตระกูลบารมัคคีก็เริ่มสูงขึ้นจนเทียบเคียง หรือมากกว่าราชสำนักเสียเอง
    ในช่วงนี้ตระกูลบารมัคคีในสายตาของกาหลิบฮารูนเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ บรรดาลูกหลานในตระกูลนี้มีคฤหาสน์มากมาย ประดับประดาไปด้วยทองคำ มีอำนาจและเป็นที่รู้จักกับบรรดาขุนนาง รวมทั้งเป็นเจ้าเมืองอยู่หลายเมือง


    โดยเฉพาะเมื่อเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น เมื่อจาฟาร์ถูกจับได้ว่ามีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ อับบาสา (Abbasa) น้องสาวของกาหลิบ จนกาหลิบฮารูนมีคำสั่งให้ทั้งสองแต่งงานกันอย่างเป็นทางการ โดยมีเงื่อนไขว่าจะพบกันได้เมื่อมีกาหลิบอยู่ด้วย และจะต้องไม่มีบุตรด้วยกัน


    แต่ภายหลังอับบาสาตั้งท้อง จึงทำให้จาฟาร์โดนจับกุมและประหารชีวิต และสมาชิกตระกูลบารมัคคีก็โดนยึดทรัพย์เป็นของหลวงหมด


    ในรัชสมัยของกาหลิบฮารูน อัล-ราชีด ท่านจึงมักเดินทางไปทั่วอาณาจักรเพื่อดูสภาพความเป็นอยู่และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความทุกข์ยาก ท่านแจกจ่ายเงินจำนวนมากให้แก่คนยากจนและขัดสนอยู่เนืองๆ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพลเมือง 


    ท่านได้สร้างโรงเรียน วิทยาลัย โรงพยาบาล มัสยิด ถนนหนทาง และคลองอยู่มากมาย นับว่าไม่มีกาหลิบท่านใดที่ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ราชอาณาจักรเท่าเทียมกับท่าน


    กิติศัพท์ของกาหลิบฮารูน อัล-ราชีดดังกระฉ่อนไปทั่วตะวันออกและตะวันตก จนพระเจ้าชาร์ลมาญแห่งพวกแฟรงค์ได้ส่งทูตมาเจริญสันถวไมตรี กับราชสำนักท่าน


    ในที่สุด ในคืนวันที่ 3 เดือนญุมาดุซซานี ฮ.ศ. 193 ซึ่งตรงกับวันที่ 24 เดือนมีนาคม ค.ศ. 808 กาหลิบฮารูน อัล-ราชีดก็สิ้นพระชนม์ลง
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×