คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #44 : วิวาห์ 8 ประการ
การแต่งงานสำหรับชาวฮินดูนั้นไม่ได้เป็นเพียงความจำเป็นทางสังคมเท่านั้น แต่ยังถือเป็นหน้าที่ทางศาสนาอีกด้วย ซึ่งถือเป็นขั้นตอนของชีวิตที่สำคัญก่อนที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้น (โมกษะ)
ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู โดยการแต่งงานของชาวฮินดูจะเริ่มในช่วงคฤหัสถ์ (หลังจากที่เรียนหนังสือและพระเวทเสร็จแล้วในช่วงพรหมจารี)
.
.
.
การแบ่งประเภทของการแต่งงานในศาสนาฮินดู สามารถแบ่งได้ 8 ประเภทดังนี้
1. พราหมวิวาหะ (Brahma marriage)
เป็นการแต่งงานที่ชาวฮินดูยกย่องว่าประเสริฐที่สุด โดยบิดาได้ยกลูกสาวของตนให้แก่ชายผู้มีความประพฤติและการศึกษาดี ฝ่ายชายเองก็ยอมรับหญิงเป็นภรรยาอย่างเต็มใจโดยไม่เรียกสินสอดใดๆทั้งสิ้น
2. ไทววิวาหะ (Daiva marriage)
คือการแต่งงานที่บิดาของฝ่ายหญิงได้มอบบุตรสาวแด่ฤษีติงต่างว่าเป็นค่าจ้างที่ฤษีมาประกอบพิธีให้
3. อารษวิวาหะ (Arsha marriage)
คือการแต่งงานโดยที่ฝ่ายชายมอบโคหรือกระบือหรือทั้งสองอย่างแก่ฝ่ายเจ้าสาว (ให้เป็นฝูงๆนะไม่ใช่ให้แค่ตัวเดียว)
4. ปราชาปัตยวิวาหะ (Prajapatya marriage)
คือการแต่งงานที่ฝ่ายชายกับบิดาของฝ่ายหญิงตกลงกันอย่างมีเงื่อนไข โดยไม่เรียกร้องสินสอดใดๆเลย เช่น แต่งงานเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน เป็นต้น
5. อาสูรวิวาหะ (Asura marriage)
คือการแต่งงานที่ฝ่ายชายซื้อฝ่ายหญิงเหมือนสินค้า
6. คนธรรพวิวาหะ (Gandharva marriage)
คือการแต่งงานโดยที่ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงตกลงปลงใจจะอยู่ด้วยกัน แอบลักลอบซั่มกันโดยที่บิดามารดาไม่ได้รับรู้
7. รากษสวิวาหะ (Rakshasa marriage)
คือการแต่งงานที่ฝ่ายชายใช้กำลังบังคับให้หญิงมาเป็นคู่ครอง มักจะเกิดการทำร้ายญาติฝ่ายหญิงก่อนที่จะชิงตัวหญิงมาได้
8. ปีศาจวิวาหะ (Paishacha marriage)
คือการแต่งงานที่ฝ่ายหญิงถูกมอมยา ล่อลวงไปซั่ม การวิวาห์เป็นการแต่งงานที่ชาวฮินดูรังเกียจที่สุด
.
.
.
เป็นที่ทราบกันดีว่า ศาสนาฮินดูนั้น มีการแบ่งชนออกมาเป็น 4 หลักด้วยกันดังนี้
- พราหมณ์ (Brahmans)
- กษัตริย์ (Kshatriyas)
- แพศย์ (Vaishyas)
- ศูทร (Shudras)
การแต่งงานโดยที่สามีภรรยาอยู่วรรณะเดียวกัน เมื่อมี "ลูก" ลูกก็จะอยู่ในวรรณะเดียวกับพ่อแม่ และก็มักถือกันมาตลอดว่าถ้าแต่งงานข้ามวรรณะ ลูกที่ออกมาจะเป็น "จัณฑาล" หมด
แต่ก็มีมีบางตำรา (ซึ่งมีปรากฎในวิกิพีเดียด้วย) บอกว่า ของดั้งเดิมไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว หากมีการแต่งงานข้ามวรรณะกัน จะมีวรรณะต่างกันเรียกว่า วรรณะสังกร (Varna-sankara)
และมีการแต่งงานข้ามวรรณะแบบที่ส่งผลดีและส่งผลไม่ดี ดังนี้
.
.
.
แบบแรก การแต่งงานข้ามวรรณะแล้วส่งผลดี คือแต่งงานโดยสามีอยู่ในวรรณะที่สูงกว่าภรรยา
- - พ่อพรหมณ์ แม่กษัตริย์ จะมีลูกเป็นวรรณะ "มูรธาวสิกตะ (Murdhabhishikta)"
- - พ่อพรหมณ์ แม่แพศย์ จะมีลูกเป็นวรรณะ "อัมพัษฐะ (Ambastha)"
- - พ่อพรหมณ์ แม่ศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะ "นิษาทะ (Nisada)"
- - พ่อกษัตริย์ แม่แพศย์ / ศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะ "มาหิษยะ (Ugra)"
- - พ่อแพศย์ แม่ศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะ "กรณะ (Karana)" (ไม่ใช่มหาภารตะนะ แฮ่!!)
.
.
.
ส่วนการแต่งงานที่เลว คือแต่งงานข้ามวรรณะโดยภรรยาอยู่ในวรรณะที่สูงกว่าสามี
- - แม่พรหมณ์ พ่อกษัตริย์ จะมีลูกเป็นวรรณะ "สูตะ (Suta)"
- - แม่พรหมณ์ พ่อแพศย์ จะมีลูกเป็นวรรณะ "ไวเทหถะ (Vaideha)"
- - แม่พรหมณ์ พ่อศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะ "จัณฑาล (Chandala)" อันนี้เลวร้ายที่สุด
- - แม่กษัตริย์ พ่อแพศย์ จะมีลูกเป็นวรรณะ "มาคระ (Magadha)"
- - แม่กษัตริย์ พ่อศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะ "กษัตตฤ (Kshattri)"
- - แม่แพศย์ พ่อศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะ "ยาโยควะ (Ayogava)"
.
.
.
นอกจากนี้ยังมีวรรณะอื่นๆ อีก 3,000 วรรณะเกิดจากการแต่งงานของลูกของสามีภรรยาในข้อ 2 และ 3 และยังขึ้นกับการทำอาชีพของคนนั้นๆด้วย เช่น คนวรรณะพราหมณ์ ถ้าทำอาชีพแบบศูทร 7 ชั่วคน ก็จะเป็นวรรณะศูทร เป็นต้น
และวรรณะสังกรยกเว้นจัณฑาลก็สามารถเข้าสู่ 4 วรรณะแรกได้ เช่น ตระกูลพราหมณ์ชายที่แต่งงานกับหญิงวรรณะนิษาทะมาแล้ว 7 ชั่วคน ลูกที่เกิดมาในรุ่นต่อมาจะมีวรรณะพราหมณ์
.
.
.
ปล.อันนี้ขอแถม ขั้นตอนการทนทรมานเพราะพิษรัก
- หลงใหลในนัยน์ตา
- ผูกพันทางใจ
- กระสัน (แปลว่ากระวนกระวายในกามหรือเรียกง่ายๆว่า ....)
- นอนไม่หลับ
- ซูบผอม
- ไม่รู้หนาวรู้ร้อน
- ไม่รู้จักอาย
- ใจเลื่อนลอย
- ลมใส่
- ตายแน่ๆ
ความคิดเห็น