ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #163 : กะหลาป๋า

    • อัปเดตล่าสุด 2 ก.ค. 62


    ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542 นิยามคำ “กะหลาป๋า” ไว้ ๒ ความหมายคือ 


    กะหลาป๋า ๑ น. เป็นชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย ปัจจุบันชื่อจาการ์ตา; เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป ว่า หมวกกะหลาป๋า; เรียกขวดแก้วสำหรับใช้ใส่น้ำอบ ทรงกระบอก แปดเหลี่ยม มีสีต่าง ๆ มีจุกแก้ว เถาหนึ่งมี 3 ใบ ว่าขวดกะหลาป๋า

    กะหลาป๋า ๒ น. ชื่อชมพู่พันธุ์หนึ่งของชนิด Syzygium samalangense (Blume) Merr. et L.M. Perry. ผลสีเขียว รสหวาน เรียกว่า ชมพู่กะหลาป๋า เป็นพรรณไม้ชวา 
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    คำ “กะหลาป๋า” ในพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ว่า มีปรากฏในวรรณคดีไทยบางเรื่อง เช่น ระเด่นลันได by พระมหามนตรี (ทรัพย์) ว่า 
    .
    .
    สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด
    งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
    .
    .
    คำว่า “กะหลาป๋า” เป็นคำภาษาชวา แปลว่า “มะพร้าว” ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ในสาส์นสมเด็จ ฉบับวันที่ 7 พฤศจิกายน 2485  ว่า


    กะหลาป๋าเป็นชื่อลำน้ำโบราณแห่งหนึ่งในเกาะชวา เรียกว่า ลำน้ำกะหลาป๋า (Kelapa) แปลว่า ลำน้ำป่ามะพร้าว ตำบลที่ตั้งเมืองเรียกว่า สุนดากะหลาป๋า (Sunda Kelapa)


    ทรงสันนิษฐานว่าคำ "กะลา" อาจมาจากคำ "กะหลาป๋า" 


    ในสมัยที่ชาวชวารับนับถือศาสนาพราหมณ์ มีเจ้าชวาองค์หนึ่งมาตั้งราชธานีอยู่ที่ริมแม่น้ำกะหลาป๋านาม “ยักกัตตา” ซึ่งคงมาจากคำว่า ไยกะกรา หรือ ชยาการ์ตา (Jayakarta) คือ ชัยเขตร แต่พลเมืองยังเรียกตามชื่อลำน้ำกะหลาป๋า 


    ต่อมา พวกฮอลันดามาตั้งสถานีการค้าที่เมืองยักกัตตา จึงได้สร้างป้อมขึ้นชื่อ "ป้อมบะตาเวีย" เจ้าเมืองยักกัตตายกทัพขับไล่ แต่ก็แพ้ เสียเมืองยักกัตตาให้กับพวกฮอลันดา พวกฮอลันดาจึงเรียกนี้ว่า "เมืองบะเตเวีย (Batavia -ปัตตาเวีย)"


    เมืองกะหลาป๋านี้ ปัจจุบันคือ จาการ์ตา (Jakarta) เมืองหลวงของอินโดเนเซียนี่เอง


    เมืองจาร์กาต้า (Jakarta)


    ขวดกะหลาป๋า


    ชมพู่กะหลาป๋า

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×