ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #178 : สวนสวรรค์ทั้งสี่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 551
      15
      2 ก.ค. 62

    บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (Trayastrimsa) นั้น มีอุทยานที่มีความงดงามมากอยู่ 4 แห่ง คือ


    นันทวัน (Nandana) (สวนที่รื่นรมย์) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสวรรค์ 

    สระในอุทยานนี้มีชื่อว่า นันทาโบกขรณี และ จุลนันทาโบกขรณี
    ส่วนแผ่นศิลาแก้วมีชื่อว่า นันทาปริถิปาสาณ และ จุลนันทาปริถิปาสาณ 
    (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ตอนที่ 11 : 7 สิ่งมหัศจรรย์บนสวรรค์ชั้น "ดาวดึงส์")


    ผรุสกวัน หรือ ปารุสกวัน (Pharusaka) (ป่าลิ้นจี่) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสวรรค์ 

    สระในอุทยานนี้มีชื่อว่า ภัทราโบกขรณี และ สุภัทราโบกขรณี 
    ส่วนแผ่นศิลาแก้วมีชื่อว่า ภัทราปริถิปาสาณ และ สุภัทราปริถิปาสาณ


    จิตรลดาวัน (Cittalata) (ป่ามีเถาวัลย์หลากสีสวยงาม) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของสวรรค์

    สระในอุทยานนี้มีชื่อว่า จิตรโบกขรณี และ จุลจิตรโบกขรณี 
    ส่วนแผ่นศิลาแก้วมีชื่อว่า จิตรปาสาณ และ จุลจิตรปาสาณ


    สักกวัน หรือ มิสกวัน (Missaka) (ป่าไม้ระคน) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของสวรรค์ 

    สระในอุทยานนี้มีชื่อว่า ธรรมาโบกขรณี และ สุธรรมาโบกขรณี 
    ส่วนแผ่นศิลาแก้วมีชื่อว่า ธรรมาปริถิปาสาณ และ สุธรรมาปิริถิปาสาณ


    ชื่อของสวนทั้งสี่นี้ ไทยได้นำไปตั้งชื่อเป็นสถานที่ต่างๆ ดังนี้.......
    .
    .
    .
    พระราชวังนันทอุทยาน เป็นพระราชวังที่รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระราชโอรสและพระราชธิดา เมื่อคราวพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว เนื่องจากมีพระราชดำริว่าหากพระปิ่นเกล้าเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ ลูกของตนอาจจะลำบาก 

    แต่การปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตก่อน จึงพระราชทานพระตำหนักที่ประทับและที่ดินวังนันทอุทยานนั้น ได้พระราชทานแก่เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

    เมื่อเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระตำหนักในวังนันทอุทยานให้เป็นโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษชื่อ โรงเรียนนันทอุทยาน และเมื่อโรงเรียนย้ายไปตั้งที่โรงเรียนสุนันทาลัย (โรงเรียนราชินี) จึงได้พระราชทานที่ให้เป็นที่ทำการของทหารเรือ 

    ปัจจุบันเป็นที่ทำการส่วนหนึ่งของกองทัพเรือ.



    วังปารุสกวัน หรือย่อว่า วังปารุสก์ เป็นวังที่ประทับของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (ต้นตระกูล "จักรพงษ์" ของฮิวโก้

    ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 วังปารุสก์ใช้เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา และที่เป็นพำนักของพระยาพหลพลพยุหเสนา ระหว่างเป็นนายกรัฐมนตรีและพ้นจากตำแหน่งไปแล้วจนถึงแก่อสัญกรรม 

    ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์กรมตำรวจ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล



    พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เป็นตำหนักที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เพื่อทรงใช้เป็นที่รโหฐานสำหรับทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ บริเวณรอบพระตำหนักมีประตู 4 ทิศ พระราชทานชื่อประตูตามท้าวโลกบาลทั้งสี่ (ตามคติของพราหมณ์) คือ  

    ด้านทิศตะวันออก ชื่อประตู “พระอินทร์อยู่ชม” 
    ด้านทิศใต้ ชื่อประตู “พระยมอยู่คุ้น” 
    ด้านทิศตะวันตก ชื่อประตู “พระวรุณอยู่เจน” 
    ด้านทิศเหนือ ชื่อประตู “พระกุเวนอยู่เฝ้า” 

    ต่อมา ได้กลายเป็นที่ประทับของในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งโปรดให้เป็นสถานที่ทดลองโครงการทดลองส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเกษตร เพื่อนำผลการศึกษาพระราชทานแก่ประชาชน เช่น โครงการนาข้าวทดลอง โครงการค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงเขียว โครงการปลูกข้าวไร่ โครงการเลี้ยงปลานิล และโครงการโคนม รวมทั้งยังมีโรงงานจากโครงการทดลองของพระองค์เกิดขึ้นหลายประเภท เช่น โรงโคนมสวนจิตรลดา โรงนมผงสวนดุสิต โรงนมเม็ดสวนดุสิต โรงสีข้าวตัวอย่าง โรงผลิตน้ำผลไม้ โรงบดและอัดแกลบ และโรงปุ๋ยอินทรีย์



    สวนมิสกวัน เดิมเป็นโรงโขนหลวงสมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×