ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #157 : สีประจำวัน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.31K
      21
      18 พ.ย. 61

    เคยสงสัยกันไหม? ว่าทำไมวันต่างๆจึงได้มีสีประจำวัน แล้วทำไมถึงต้องสีนี้ด้วยเล่า?


    ไม่สงสัยเหรอ  ไม่เป็นไร เพราะเราอยากจะมาเล่าให้ทุกท่านฟังกัน เอ้า เชิด!!


    เรื่องสีประจำวันนั้นเป็นวัฒนธรรมความเชื่อของไทยแลนด์ only ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตำนานฮินดู และได้กำหนดสีประจำแต่ละวัน ซึ่งมาจากสีกายของเทพนพเคราะห์ (Navagraha)


    ดังนี้
    พระอาทิตย์ (Surya) ตามเฉลิมไตรภพท่านบอกว่า 
    บิ๊กบอสอิศวรสร้างขึ้นมาจากราชสีห์ 6 ตัว บดป่นเป็นผง
    แล้วห่อผ้าสีแดง จากนั้นก็.... โอมเพี้ยง
    กลายเป็นเทพหนุ่มกายสีแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศอีสาน


    พระจันทร์ (Chandra) ตามเฉลิมไตรภพท่านบอกว่า 
    บิ๊กบอสอิศวรสร้างขึ้นมาจากนางฟ้า 15 องค์ บดป่นเป็นผง
    แล้วห่อผ้าสีนวล จากนั้นก็.... โอมเพี้ยง
    กลายเป็นเทพหนุ่มกายสีนวล ทรงม้าเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศบูรพา


    พระอังคาร (Mangala) ตามเฉลิมไตรภพท่านบอกว่า 
    บิ๊กบอสอิศวรสร้างขึ้นมาจากควาย 8 ตัว บดป่นเป็นผง
    แล้วห่อผ้าสีม่วงมัน จากนั้นก็.... โอมเพี้ยง
    กลายเป็นเทพหนุ่มกายสีชมพู ทรงควายเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศอาคเนย์


    พระพุธ (Budha) ตามเฉลิมไตรภพท่านบอกว่า 
    บิ๊กบอสอิศวรสร้างขึ้นมาจากช้าง 17 เชือก บดป่นเป็นผง
    แล้วห่อผ้าสีแดง จากนั้นก็.... โอมเพี้ยง
    กลายเป็นเทพหนุ่มกายสีแก้วโมรา ทรงช้างเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศทักษิณ


    พระพฤหัสบดี (Brhaspatiตามเฉลิมไตรภพท่านบอกว่า 
    บิ๊กบอสอิศวรสร้างขึ้นมาจากฤษี 19 ตน บดป่นเป็นผง
    แล้วห่อผ้าสีเหลือง จากนั้นก็.... โอมเพี้ยง
    กลายเป็นเทพหนุ่มกายสีบุษราคัม ทรงกวางเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศประจิม


    พระศุกร์ (Shukra) ตามเฉลิมไตรภพท่านบอกว่า 
    บิ๊กบอสอิศวรสร้างขึ้นมาจากวัว 21 ตัว บดป่นเป็นผง
    แล้วห่อผ้าสีชมพู จากนั้นก็.... โอมเพี้ยง
    กลายเป็นเทพหนุ่มกายสีฟ้า ทรงวัวเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศอุดร


    พระเสาร์ (Shani) ตามเฉลิมไตรภพท่านบอกว่า 
    บิ๊กบอสอิศวรสร้างขึ้นมาจากเสือ 10 ตัว บดป่นเป็นผง
    แล้วห่อผ้าสีเขียว จากนั้นก็.... โอมเพี้ยง
    กลายเป็นเทพหนุ่มกายสีม่วง ทรงเสือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศหรดี


    เมื่อมีความเชื่อแล้ว ทีนี้ก็สวมผ้าซิครับ

    ตามความเชื่อของสยาม คนที่เกิดวันใดก็ถือเอาสีประจำวันนั้นเป็นสีมงคลประจำตัว ในสมัยโบราณ ผู้หญิงจะนุ่งห่มสีตามวัน ดังเช่นในสี่แผ่นดิน


          
    วันอาทิตย์
    นุ่งสีเขียวใบไม้ ห่มสีทับทิม   
    หรือ นุ่งสีลิ้นจี่/สีเลือดหมู ห่มสีโศก

    วันจันทร์
    นุ่งสีเหลืองอ่อน ห่มสีน้ำเงิน   
    หรือ นุ่งสีน้ำเงินนกพิราบ ห่มสีจำปาแดง

    วันอังคาร
    นุ่งสีปูน/สีเม็ดมะปราง ห่มสีโศก   
    หรือ นุ่งสีโศก ห่มสีม่วงอ่อน

    วันพุธ
    นุ่งสีถั่ว ห่มสีจำปา

    วันพฤหัสบดี
    นุ่งสีเขียวใบไม้ ห่มสีแดงเลือดนก   
    หรือ นุ่งสีแสด ห่มสีเขียวอ่อน

    วันศุกร์
    นุ่งสีน้ำเงินแก่ ห่มสีเหลืองดอกกระบอก

    วันเสาร์
    นุ่งสีเม็ดมะปราง ห่มสีโศก

    แต่มันก็ไม่จำเป็นเสมอไป


    มีเรื่องเล่ากันว่า ครั้งหนึ่ง รัชกาลที่ 6 จะเสด็จไปงานหนึ่งๆ ซึ่งตรงกับวันพุธกลางคืน จึงมีรับสั่งถามพระญาณเวท เจ้ากรมโหรหลวง ว่า “วันนี้ฉันจะนุ่งผ้า สีอะไร” คุณพระญาณเวท ก็กราบบังคมทูลว่า “ทรงพระภูษา สีดอกตะแบก ซึ่งตรงกับสีของราหู พระพุทธเจ้าข้า” 


    หรือที่ปรากฏอยู่ใน สวัสดิรักษาของสุนทรภู่ ดังนี้

    อนึ่งภูษาผ้าทรงณรงค์รบ
    ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี
    วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี
    เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล

    เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว
    จะยืนยาวชันษาสถาผล
    อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน
    เป็นมงคลขัตติยาเข้าราวี

    เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด
    กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี
    วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี
    วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม

    วันเสาร์ทรงดำจึงล้ำเลิศ
    แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม
    หนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม
    ให้ต้องตามสีสันจึงกันภัย ฯ


    หรือที่ปรากฏอยู่ใน ลิลิตนินทราชาคริต ซึ่งเป็นฉากงานวิวาห์ของอาบูฮะซัน ดังนี้

    บ่าวสาวแต่งเมื่อนี้   ศุกรวาร
    วันซึ่งเคยนมัศการ ทั่วหน้า
    จึ่งแต่งเยี่ยงอย่างปาน เสาร์ก่อน
    เวียนรํ่าตามสีผ้า ตลอดสิ้นสับดวาร

    สรุปได้ดังนี้ (ขี้เกียจยกมาทั้งโคลงอ่ะ)

    วันเสาร์ - สีม่วง สวมแก้วนิลกาฬ
    วันอาทิตย์ - สีแดง สวมก้วปัทมราช
    วันจันทร์ - สีขาว สวมแก้วมุกดา
    วันอังคาร - สีชมพู สวมแก้วประพาฬ
    วันพุธ - สีเขียว สวมแก้วมรกต
    วันพฤหัสบดี - สีเหลือง สวมแก้วไพฑูรย์
    วันศุกร์ - สีน้ำเงิน สวมแก้วเพชร


    อนึ่งได้พบการใช้สีประจำดาวนพเคราะห์ในประวัติศาสตร์โบราณอีกด้วย 


    ณ ดินแดนบาบิโลเนีย หรือ อาณาจักรบาบิโลนใหม่


    พระเจ้าเนบูฆัตเนสซาร์ (Nebuchadnezzar) ทรงสร้างวัดขนาดใหญ่อยู่ใกล้กรุงบาบิโลนเรียกว่า วัดเนโบ (Nebo) หรือ วัดเจ็ดโลก เป็นการเรียกตามลักษณะสิ่งก่อสร้าง ซึ่งก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมซ้อนชั้นไปเป็นชั้นๆ รวม 7 ชั้น สูงประมาณ 140 เมตร


    แต่ล่ะชั้นสมมุติว่าเป็นที่สถิตของเทพพระเคราะห์องค์หนึ่ง ซึ่งแต่ล่ะชั้นแต่ล่ะองค์กำหนดสีโดยเฉพาะ ฉะนั้นอิฐที่ก่อจึงมีสีที่แตกต่างกันไปทุกชั้น 


    ตามตำนานกล่าวว่าอิฐที่ใช้ก่อสร้างชั้นใด เป็นของเทพเจ้าองค์ใด ต้องมีการสลักนามและตำแหน่งของเทพเจ้าองค์นั้นจารึกไว้ทุกแผ่น


    เขากำหนดชั้นและสีไว้ดังนี้

    ชั้นที่ 1 : ใช้อิฐสีดำ แทนดาวเสาร์ 
    คือ เทพนินูร์ตา (Ninurta) เทพแห่งสงคราม และสายลม

    ชั้นที่ 2 : ใช้อิฐสีแสด แทนดาวพฤหัสบดี 
    คืิอ เทพมาร์ดุก (Marduk) เทพแห่งพายุ

    ชั้นที่ 3 : ใช้อิฐสีแดง แทนดาวอังคาร 
    คือ เทพเนร์กัล (Nergal) เทพแห่งยมโลก

    ชั้นที่ 4 : ใช้อิฐสีทอง (ใช้ทองคำปิดแทนสี) แทนพระอาทิตย์ 
    คือ เทพชามาช (Shamash)

    ชั้นที่ 5 : ใช้อิฐสีเหลือง แทนดาวศุกร์ 
    คือ เทพีอิชทาร์ (Ishtar) เทพีแห่งความรัก ความอุดมสมบูรณ์

    ชั้นที่ 6 : ใช้อิฐสีน้ำเงินอ่อน แทนดาวพุธ
    คือ เทพนาบู (Nabu) เทพแห่งอาลักษณ์

    ชั้นที่ 7 ใช้อิฐสีขาว (ใช้แผ่นเงินปิดแทน) แทนพระจันทร์ 
    คือ เทพซิน (Sin)


    สีต่างๆที่กำหนดแทนเทพเจ้านพเคราะห์ทั้งเจ็ด เป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบ เข้าใจว่าจะเป็นการเริ่มต้น หรือต้นตำราของสีประจำวันในสมัยต่อมา [วรรณคดีอภิธาน ; ส.พลายน้อย]
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×