ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วรรณคดีสไตล์เกรียน

    ลำดับตอนที่ #148 : กัลปพฤกษ์ : ต้นไม้สารพัดนึก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.01K
      12
      2 ก.ค. 62



    กัลปพฤกษ์ (Kalpavriksha ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia bakeriana) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้มากทางภาคอีสานและภาคเหนือ เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดขอนแก่น และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรี 


    พุ่มใบแบนกว้าง ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่


    ชื่อพื้นเมืองอื่น การล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี) , แก่นร้าง (จันทบุรี) 


    กาลพฤกษ์มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศพม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ในประเทศไทยพบบริเวณ ป่าแดง ป่าโคก และป่าเบญจพรรณในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้


    คติความเชื่อของต้นกัลปพฤกษ์ในวัฒนธรรมไทยนั้นมีหลากหลาย ดังจำแนกออกได้ดังนี้



    1. ต้นไม้ประจำอุตรกุรุทวีป 

    ตามคติความเชื่อในพระพุทธศาสนา อุตรกุรุทวีป (Uttarakuru) มีต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจำทวีป ต้นนั้นสูงได้ 100 โยชน์ โดยกว้างได้ 100 โยชน์ โดยรอบปริมณฑลได้ 300 โยชน์ เป็นต้นไม้สารพัดนึกที่ชนชาวอุตรกุรุทวีปผู้ใดปรารถนาอะไร ก็สามารถไปอธิษฐาน ย่อมจะได้ตามสำฤทธิ์ผลทุกประการการ



    2. ต้นไม้ที่เกิดขึ้นจากพุทธานุภาพ หรือบุญญาธิการ 

    ในยุคสมัยของพระศรีอริยเมตไตย (Maitreya) จะบังเกิดต้นกัลปพฤกษ์จำนวน 4 ต้น ตามสี่ประตูเมืองนครเกตุมดี (Kusavati) และในบรรดาพระอนาคตพุทธเจ้านั้น มีถึง 9 พระองค์ที่จะบังเกิดต้นกัลปพฤกษ์

    นอกจากนี้ ยังปรากฏว่าต้นกัลปพฤกษ์บังเกิดขึ้นได้ด้วยผลบุญที่กระทำมา เช่น 

    - พระรังสีมุนีนาทพุทธเจ้า (Buddha Ramsimuni) (พระอนาคตพุทธเจ้าลำดับ 5 จากอนาคตวงศ์ (Anagatavamsa))
    - พระโชติกเถระ (Jotika)
    - อดีตชาติของพระมหากัสสปเถระ (Mahakasyapa) 





    3. ต้นไม้ในสวนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 

    คัมภีร์โอกาสโลกทีปนี หนึ่งในคัมภีร์หมวดโลกศาสตร์กล่าวว่านอกจากต้นกัลปพฤกษ์จะเป็นต้นไม้ประจำอุตรกุรุทวีปแล้วยังเป็นต้นไม้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (Trayastrimsa) อีกด้วย ความว่า 

    “ แต่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีต้นไม้ประจำ 2 ต้น คือ ต้นทองหลางและต้นกัลปพฤกษ์ ไม้ 2 ต้นนี้ วัดรอบลำต้นได้ 3 โยชน์ และ 5 โยชน์ สูง 50 โยชน์ แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปรอบๆ ลำต้น ทั้งกว้างสูงและยาวเท่ากันคือ 100 โยชน์แลฯ ”



    4. ต้นไม้ใกล้สระฉัททันต์ 

    คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ผลงานการประพันธ์ของพระสิริมังคลาจารย์ ได้กล่าวถึงสระฉัททันต์ (Chaddanta Pond) สระหนึ่งในเจ็ดสระของป่าหิมพานต์ (Himavanta) ดังนี้ 

    “ได้ยินว่าพระราชาย่อมเสวยอย่างหนึ่งใน 2 อย่างนั้น ตามพระราชประสงค์เทพดาทั้งหลายนั่นเอง นำผ้านุ่งและผ้าห่ม 5 สี ผ้าสีเหลือง ผ้าเช็ดมือและน้ำทิพย์มาจากเทพวิมานอันตั้งอยู่ในที่ใกล้สระ ชื่อฉัททันต์ ทุกวัน อาจารย์บางพวกกล่าวว่า “ย่อมนำมาจากไม้กัลปพฤกษ์ อันมีอยู่ใกล้สระชื่อฉัททันต์นั้น ดังนี้ก็มี”



    5. เครื่องไทยธรรม 

    ต้นกัลปพฤกษ์ที่เป็นเครื่องไทยธรรมนั้น เข้าใจว่าคงเป็นคติของชาวพุทธมาแต่โบราณ ที่เชื่อกันว่าต้นกัลปพฤกษ์นั้นคือต้นไม้สารพัดนึก

    เรื่องต้นกัลปพฤกษ์เป็นเครื่องไทยธรรมนี้ปรากฏในจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร ด้านที่ 2 ที่กล่าวถึงพระยาลิไท (Mahathammaracha I) โปรดให้จัดตกแต่งเส้นทางรับพระมหาสามีสังฆราช ซึ่งทรงอาราธนามาจากลังกาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่ว่า “...พระบาทกัมรเตงอัญทรงใช้ให้จัดหมาก ข้าวตอก เทียน ธูป ดอกไม้ กัลปพฤกษ์ ปลูกสร้าง...ทำการบูชาตลอดหนทาง

    สำหรับคนไทยในอดีต ต้นกัลปพฤกษ์ เปรียบได้กับแก้วสารพัดนึกจึงทำให้เกิดความใฝ่ฝันจะได้ไปเกิดในสมัยพระศรีอาริย์กันอย่างกว้างขวาง จนมีผู้นำเอาอุดมการณ์ทางการเมืองมาผูกโยงกับความเชื่อนี้ ดังเช่นกรณีกบฏผีบุญในภาคอีสาน ช่วงรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 



    ประโยชน์ของกาลพฤกษ์ 
    ในทางสมุนไพร แพทย์แผนไทยกำหนดสรรพคุณของกาลพฤกษ์ไว้ดังนี้คือ

    เนื้อในฝัก : ระบายอ่อนๆ แก้คูถ เสมหะ เป็นต้น

    เปลือกเมล็ด : ทำให้อาเจียน ถ่ายพิษไข้ได้ดี เป็นต้น

    สำหรับเนื้อในฝักกาลพฤกษ์นั้นมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เหมาะสำหรับใช้ในเด็กเพราะไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนยาที่ระบายแรงกว่า

    แถมสมัยก่อนคนไทยถือว่า ก้านจากต้นกัลพฤกษ์เป็นมงคล เหมาะสำหรับนำไปทำด้ามธง ถือว่าทำให้เกิดสิริมงคลดีนัก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×