คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : SH : ภาค 1 ทักษะของนักสืบ [ การวิเคราะห์ ]
ภาค 1 ทักษะของนักสืบ :
จะใช้การวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลได้อย่างไร
จากน้ำเพียงหยดเดียว นักตรรกะวิทยาสามารถสรุปความเห็นได้ว่า
มันเป็นน้ำที่มาจากมหาสมุทรแอตแลนติก หรือมาจากน้ำตกไนแองการา
โดยไม่จำเป็นต้องเห็นหรือได้ยินว่า มันมาจากที่ใด เพราะแท้จริงแล้ว
สิ่งมีชีวิตล้วนเป็นโซ่ธรรมชาติที่คล้องทุกอย่างเข้าด้วยกัน
จะรู้ก็ต่อเมื่อเราได้พบสิ่งที่จะเชื่อมมันให้ติดต่อกันได้
(จากหนังสือ “The Book of Life” บันทึกเฉพาะของเชอร์ล็อค โฮล์มส์)
ความจริงมีอยู่ว่า ในขณะที่คุณถือหนังสือเล่มนี้ ลองให้ใครสักคนหนึ่งหยั่งลดระดับอัตตาจุดยืนของคุณให้ลดน้อยลง แล้วทำเป็นว่าคุณกำลังเริ่มให้ความสนใจ อยากจะเรียนรู้เรื่องอาชญากรรม โดยเรียนรู้จากอัจฉริยภาพที่แทบจะเหนือมนุษย์ของโฮล์มส์ ศึกษาเหตุผลตรรกะนับร้อยที่ได้มาจากสิ่งละอันพันละน้อย แต่มีความแม่นยำอย่างน่าทึ่ง จากเทคนิคที่มีชื่อของเขา เหตุผลจากการวิเคราะห์ (Analytical Reasoning) เมื่อนำไปเทียบเคียงกับนิติเวชศาสตร์ จะมีผลโดดเด่นอย่างไม่น่าเชื่อ และนี่คือเหตุผลที่คุณควรนำเทคนิคเหล่านี้มาทดลองใช้กับตัวเอง
1. ให้ทำตัวเป็นยอดนักสังเกตการณ์ต่อรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ
เมื่อเผชิญหน้ากับปริศนาที่ไขไม่ออก ข้อมูลรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ จะกลายเป็นความจริงเล็ก ๆ ที่จะโยงไปถึงเรื่องใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ในเรื่อง The Sign of the Four หมอวัตสันไม่เห็นด้วยกับการวินิจฉัยของโฮล์มส์ โดยมีความเห็นว่า “มันเป็นการยากสำหรับใครสักคนหนึ่งที่จะบันทึกลงในไดอารี่โดยมิได้แสดงความคิดเห็นของปัจเจกบุคคลลงไปด้วย” หมอวัตสันยื่นนาฬิกาเก่าเรือนหนึ่งที่เขาได้มาเมื่อไม่นานนี้ให้แก่โฮล์มส์ เป็นการทดสอบความสามารถเชิงอนุมานจากหลักทั่วไป เพื่อโยงไม่สู่เรื่องเฉพาะของ เชอร์ล็อค โฮล์มส์ หมอวัตสันท้าให้โฮล์มส์วิเคราะห์เพื่อพรรณนาถึงตัวเจ้าของนาฬิกาเรือนนั้นว่าเป็นคนที่มีบุคคลที่มีบุคลิกภาพลักษณะใด โฮล์มรับนาฬิกาไว้แล้วจึงเริ่มพินิจพิเคราะห์นาฬิกาเรือนนั้นอย่างถี่ถ้วน แล้วก็สรุปข้อสังเกตของเขาออกมาดังนี้
§ นาฬิกาเรือนนี้ทำด้วยทองคำตอนที่ซื้อจะต้องมีราคาที่แพงเอามาก ๆ
§ นาฬิกาเรือนนี้จะต้องมีอายุ 50 ปีเป็นอย่างน้อย
§ มีอักษรตัวย่อคำว่า H.W. (เอช.ดับบลิว.) เป็นชื่อย่ออยู่ด้านหลัง
§ มีเลขหมายสี่ชุดที่ขูดขีดไว้ในกล่องนาฬิกา ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้โดยทั่วไปของร้านรับจำนำในยุคนั้น
§ รอบตัวนาฬิกามีรอยขีดข่วน และมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ หลายแห่ง
§ เม็ดมะยมที่ปุ่มไขลานมีรอยขีดข่วนรอบ ๆ มากกว่าปกติ
2.ขยายผลจากชนวนต้นเหตุที่ค้นพบจากการสังเกต
ยกตัวอย่างเช่น อักษรย่อ H.W. (เอช.ดับบลิว.) เป็นไปได้ว่านาฬิกาเรือนนี้ ญาติบางสายของหมอวัตสันจะเป็นเจ้าของ หรือแม้แต่บุคคลที่มิได้เกี่ยวดองเป็นญาติ แต่นามสกุลเกิดพ้องกัน เป็นอักษรที่เริ่มด้วย W เช่นกัน ส่วนรอยบุ๋มเล็ก ๆ เหล่านั้น อธิบายได้ว่ามันเกิดจากการพกนาฬิกาไว้ในกระเป๋าโดยมีลูกกุญแจกับเหรียญเงินต่าง ๆ กระทบกระทั่งกันจนเกิดรอย หรือไม่ก็อาจจะเผอเรอปล่อยให้นาฬิกาถูกสัตว์เลี้ยงในบ้านกัดแทะ ส่วนรอยสึกบริเวณรูร้อยสายกับเม็ดมะยมไขลาน อาจจะเกิดขึ้นจากเจ้าของเป็นคนที่มีความเจ็บป่วนทางสมอง ตาบอด หรือเมาสุรา หรือติดนิสัยในการไขลานนาฬิกาขณะที่นั่งอยู่บนรถที่อยู่บนถนนที่ขรุขระ
3.ตัดมูลเหตุที่มิใช่เป็นชนวนต้นเหตุออก
โฮล์มส์แนะนำว่า ต้องพยายามต้านแรงผลักดันที่เอาแต่การเดาสุ่มแบบผิด ๆ บอกว่าถ้าทำอย่างนั้นจะเป็นอุปนิสัยที่นากลัวที่มีส่วนไปทำลายตรรกะแห่งความจริง แทนที่จะทำอย่างนั้น น่าจะลองใช้หลักการของ Occam’s Razor ในความเชื่อที่ว่า สิ่งที่สามารถอธิบายเข้าใจได้ง่ายที่สุดมักจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ ดังนั้น เราอาจจะตัดข้อสันนิษฐานว่า เจ้าของเดิมของนาฬิกาเรือนนี้มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหมอวัตสันหรือซื้อนาฬิกามาแล้วผ่านศึกสงคราม หรือเป็นคนตาบอด วิธีการนี้ไม่จำเป็นต้องรับประกันว่าจะได้มาซึ่งผลที่แม่นยำ เพราะโฮล์มส์เองก็ยังยอมรับว่าวิธีการอนุมานดังกล่าวเป็นแค่ทำให้เกิด “ความสมดุล ต่อสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้” แต่ถ้าโชคช่วยและการหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณที่ผุดขึ้นจากความรู้สึก การวิเคราะห์ในเชิงดังกล่าวจึงมักจะมีผลที่ถูกมากกว่าผิด แม้ว่าสิ่งที่เป็นอมตะธรรมทั้งหลายแหล่ที่มีอยู่ก็มิอาจจะนำไปเทียบกับความสามารถพิเศษสุดในส่วนของโฮล์มส์ได้ และนี่คือสิ่งที่นักสืบผู้ยิ่งให้ผู้นี้ได้ตั้งเป็นข้อสังเกตเอาไว้อย่างน่าสนใจ
§ จากสภาพบอบช้ำของนาฬิกา โฮล์มส์อนุมานจากข้อสรุปของเขาว่า ผู้เป็นเจ้าของนาฬิการาคาห้าสิบกินนีส์เรือนนี้ จะต้องมีอุปนิสัยที่ชอบอิสระและต้องเป็นคนที่ไม่อินังขังขอบต่อสิ่งของของตัวเอง หรือเป็นคนที่อนุมานอย่างกว้าง ๆ ได้ว่า เป็นผู้ที่ได้รับมรดกตกทอดสมบัติที่มีมูลค่า และเป็นคนมีอันจะกิน ในส่วนอื่น ๆ ของชีวิตอีกด้วย
§ อักษรที่สลัก H.W. เป็นไปได้มากว่า เป็นการบอกกล่าวถึงชื่อ วัตสัน เอง โฮล์มส์ให้เหตุผลว่านาฬิกาเรือนนี้มีอายุเก่าแก่นานถึง 50 ปี ผู้เป็นเจ้าของอาจจะเป็นบิดาของหมอวัตสันเองก็ได้ เป็นการมอบหมายสิ่งมีค่าในลักษณะนี้ให้แก่บุตรชายคนโตของตระกูลตามประเพณีนิยมที่ทำกันก็เป็นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็น่าจะเป็นการสืบทอดรับมรดำโดยพี่ชานคนโตของหมอวัตสันเป็นผู้รับมรดก
§ รอยขีดข่วนที่เกิดจากร้านรับจำนำ ส่อให้เห็นว่า เจ้าของนาฬิกาเรือนนี้ถังแตกบ่อยครั้ง จึงมีการนำมันเข้าออกโรงรับจำนำหลายครั้ง ต่อมา เจ้าของคงโชคดีได้รางวัลแจ๊คพ็อตของชีวิต จากอะไรบางอย่าง ทำให้ร่ำรวยขึ้นทันตาจึงสามารถไถ่ถอนนาฬิกาออกจากโรงรับจำนำได้ อย่างน้อยที่สุดก็น่าจะเข้า ๆ ออก ๆ โรงรับจำนำถึงสามครั้งด้วยกัน
§ ส่วนขีดรอยต่าง ๆ รอบ ๆ ที่ห้อยกับเม็นมะยมนาฬิกา ส่วนใหญ่เป็นรอยที่เกิดจากการร้อยหรือการกดไม่ถูกเป้า โฮล์มส์ได้ตั้งสมมุติฐานว่า คนผู้นี้จะต้องมีสภาพมึนเมาบ่อยถึงได้ทำให้เกิดรอยต่าง ๆ ในตัวเรือนของนาฬิกามากมายถึงเพียงนี้
4.ตั้งสมมุติฐานปะติดปะต่อกับข้อสันนิษฐานอนุมานให้เข้ากับความเป็นจริงที่อธิบายได้
เมื่อรวบรวมข้อสันนิษฐานได้ทั้งหมดแล้ว โฮล์มส์ได้บรรยายสิ่งที่เขาถักร้อยจนปะติดปะต่อให้ฟังต่อไปว่า พี่ชายคนโตของหมอวัตสัน “เป็นคนที่มีอุปนิสัยไม่เรียบร้อย หยาบกร้านและสะเพร่าไม่ระวังตัว เขาได้รับการฟูมฟักให้มีอนาคตสดใส แต่เขากลับละทิ้งโอกาสที่พึงมี ดำรงชีวิตอยู่อย่างยากจนลำเค็ญในบางครั้ง สลับกับความรุ่งเรืองในบางคราว ในที่สุดก็หันเข้าหาน้ำเมา เป็นที่ยึดเหนี่ยว จนถึงแก่ความตายในเวลาที่ยังไม่สมควร”
หมอวัตสันร้องด้วยความตื่นเต้น “ให้ตายสิ” พร้อมกับยอมรับการวิเคราะห์ของโฮล์มส์ “ถูกต้องตรงกับความจริงในทุก ๆ รายละเอียดของเหตุการณ์” คำถามจึงมีอยู่ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะโฮล์มส์คลำไปเจอความจริงทุกอย่าง เพราะความฟลุคหรือโชคช่วยอย่างนั้นหรือ ? ในบางกรณีก็คงจะต้องตอบว่าใช่ แต่การใช้หลักการอนุมานที่ถูกตั้งแต่แรก แล้วนำไปปะติดปะต่อสันนิษฐานกับการวิเคราะห์ด้วยเหตุผล จะเป็นเครื่องช่วยนำพาให้เขาเดินคลำเข้าไปสู่เป้าจนสามารถพบกับความจริงของทุกอย่างถูกทาง
ความคิดเห็น