ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สืบแบบเชอร์ล๊อค โฮล์มส์ [Sherlock Holmes]

    ลำดับตอนที่ #1 : SH : แนะนำ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 728
      0
      7 พ.ย. 53

    ข้อมูลทางบรรณานุกรม

    แรนซัม ริกส์  เขียน

    สืบแบบเชอร์ล็อค  โฮล์มส์ / แรนซัม ริกส์ เขียน

    สำนวนแปลของ ศ.เจริญ  วรรธนะสิน จากThe Sherlock Holmes

    Handbook - พิมพ์ครั้งแรก กรุงเทพฯ : วิสดอมเฮาส์, 2553

    224 หน้า



     

     

    คำแนะนำ

     

     

     

    นามของผม เชอร์ล็อค โฮล์มส์

    ธุรกิจของผมคือ ต้องรู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้

     

    [ จาก The Adventure of the blue Carbuncle ]

     

     

              งานเขียนที่เกี่ยวกับเชอร์ล็อค โฮล์มส์ ที่มีออกมาอย่างมากมายรวมทั้งที่คุณกำลังอ่านอยู่ขณะนี้ ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์ที่เป็นของตัวเองทั้งนั้น งานแต่ละชั้นล้วนแต่ชี้นำกับบันดาลใจให้นักสืบสวนสอบสวน รวมทั้งนักอ่านสนุก ๆ ที่ไม่จริงจังอะไรกับงานด้านนี้ ได้กระโจนเข้าไปพบกับวิธีการอันแยบยล ฉลาด หลักแหลม ล้ำเลิศ แหกกฎทั้งมวลในจักรวาล จากฝีมือของยอดนักสืบที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในโลก

     

              นักอ่านหลายท่านคงจะสงสัย หนังสือของเชอร์ล็อค โฮล์มส์ ได้ตีพิมพ์ออกมามากมาย แล้วทำไมจะต้องมีหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอีก หนังสือนวนิยายเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนคดีของนักสืบอื่น ๆ ก็มีเป็นตั้ง เหตุใดต้องย้อนกลับมาหา เชอร์ล็อค โฮล์มส์ เจ้าเก่าอีก? คำตอบที่จะคลายข้อสงสัยของท่านคือ แล้วทำไมเรื่องราวทั้ง 56 ตอนของนักสืบเอกผู้ที่ปรากฏอยู่ในเรื่องสั้นเหล่านั้น ถึงได้มีการตีพิมพ์ออกมาอย่างไม่ขาดตอน หรืออาจจะเป็นเพราะโฮล์มส์ได้ถูกยึดเป็นต้นแบบของอาชีพนักสืบ ผลงานของเขากลายเป็นหลักวิธีการที่นักสืบสวน และสอบสวนนำไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริง แม้กาลเวลาจะล่วงเลยมานาน แต่ก็ยังไม่มีนักสืบคนใดมีความเก่งเทียบเท่า ยังไม่มีใครทำได้ล้ำหน้าเขา วิธีการใช้ตรรกะ สืบสวนและสอบสวนของโฮล์มส์กลายเป็นตำนาน และถูกยึดเป็นหลักในภาคปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

     

                    เชอร์ล็อค โฮล์มส์กับเซอร์อาเธอร์ โคแนนดอยล์ ได้ทำให้นักสืบผู้นี้มีชีวิตชีวา ดึงให้ทุกอย่างเข้าสู่ความทันสมัย สร้างความสนุกตื่นเต้น เร้าใจ สะใจแก่ผู้อ่านที่เป็นแฟนของนวนิยายที่เกี่ยวกับการคลายปมซ่อนเงื่อนในคดีอาชญากรรม ซึ่งโฮล์มส์ได้ทำบทบาทจารชนสายลับสองหน้า ช่วยปกป้องอธิปไตยของชาติในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง (แรงบันดาลใจให้เกิดสายลับ 007 เจมส์ บอนด์)

     

                    นอกจากนี้ เชอร์ล็อค โฮล์มส์ ยังมีส่วนช่วยตำรวจร่วมสมัยใช้ขั้นตอนการตัดระบบสัญญาณได้ โดยได้แนวคิดมาจากตำรวจคู่หูในภาพยนตร์เรื่อง Buddy Cop ซึ่งเป็นรูปแบบที่โฮล์มส์กับหมอวัตสันได้จัดทำขึ้น ไม่ว่างานของเชอร์ล็อค โฮล์มส์จะมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใดก็ตาม แต่เขาก็ได้กลายเป็นนักสืบตัวจริงที่ยืนยง เป็นต้นแบบที่ใช้สำหรับการวัดประเมินมาตรฐานของนักสืบอื่น ๆ โดยทั่วไป

     

                    เพื่อให้เข้าถึงอัจฉริยภาพของเชอร์ล็อค โฮล์มส์ เราต้องเข้าให้ถึงโลกส่วนตัวของเขาไปดูถึงสาเหตุที่เขายึดอาชีพนักสืบพาตัวเองเข้าไปอยู่ท่ามกลางความสับสนวุ่นวาย บางครั้งก็ครึ้มอึมครึมด้วยหมอกหนาของกรุงลอนดอน เป็นยอดนักสืบระดับแนวหน้าที่มีชีวิตเต็มไปด้วยการผจญภัย

     

              ยุคของโฮล์มส์อยู่ในช่วงท้ายของรัชสมัยควีนวิคตอเรีย เป็นยุคปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ในปี ค.ศ. 1810 ลอนดอนมีพลเมือง 850,000 คน ในระยะเวลาเพียงไม่ถึงศตวรรษ จำนวนประชากรของกรุงลอนดอนได้เพิ่มขึ้นชนิดกระเจิดกระเจิงเป็น 6 ล้านคนในปี ค.ศ. 1900 ทำให้ลอนดอนกลายเป็นเมืองใหญ่ที่คึกคักแห่งหนึ่งของโลก เต็มไปด้วยชนหลายเชื่อชาติและชนชั้น คับคั่งไปด้วยผู้คนที่หลั่งไหลมาจากสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่กำลังขาดแคลนอาหารอย่างหนัก รวมทั้งผู้คนที่ทะลักมาจากทวีปอื่นอย่างเอเชีย แอฟริกา และแผ่นดินใหญ่ของยุโรปรวมไปถึงอเมริกา ลอนดอนกลายเป็นนครหลวงที่ใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรที่ควบคุมชะตากรรมของผู้คนที่อยู่ภายใต้การปกครองมากถึง  400 ล้านคน ในเวลาที่ไม่ถึงหนึ่งร้อยปี เขตแดนของกรุงลอนดอนได้ขยายกว้างออกไป จากริมฝั่งแม่น้ำเทมส์ออกไปทั้ง 4 ทิศถึง 8 เท่า เมืองลอนดอนเดิมกับกำแพงเมืองเก่ากลายเป็นแค่จุดศูนย์กลางของเมืองต่าง ๆ ที่ผุดขึ้นรอบ ๆ ในรัศมีนับร้อยไมล์ กลายเป็นเมืองใหญ่ที่นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันคนหนึ่งได้บันทึกไว้ในปี ค.ศ. 1895 ว่า ไม่ว่าจะไปทางเหนือ ใต้ ตะวันออก หรือตะวันตกของกรุงลอนดอน จะรู้สึกอึดอัดที่ไปไม่ถึงขอบของกรุงลอนดอนเสียที

     

                    ในตอนแรกตำรวจยังไม่สามารถจะควบคุมความสงบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความขัดสนยากจนของผู้คนจากแหล่งเสื่อมโทรมขนาดใหญ่ชานกรุง ทำให้สถิติอาชญากรรม ที่เกิดจากชนชั้นล่างที่อาศัยการลักเล็กขโมยน้อยเป็นน้อยเป็นอาชีพหลักเพื่อการอยู่รอดในปี ค.ศ. 1870 ประชากรร่วมหนึ่งล้านคนยัดเยียดอาศัยอยู่ตามตรอกซอกซอย บริเวณตะวันออกของลอนดอนที่เรียกกันว่า อิสต์เอนด์ ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นกรรมกรท่าเรือหาเช้ากินค่ำ หรือไม่ก็เป็นกรรมกรในโรงงานรายได้ต่ำ คนเหล่านี้มีทางเลือกชีวิตอยู่  2 ทาง คือ ยอมอดตายหรือเลือกทางเดินที่ผิดกฎหมาย เพื่อความอยู่รอดของชีวิต สุดวิสัยที่กำลังตำรวจจะพิทักษ์ราษฏร์ได้กับอาณาเขตที่ขยาดกว้างออกไป แม้กระทั่งหน่วยงานสกอตแลนด์ยาร์ด ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1829 แต่กว่าจะพัฒนาหน่วยงานให้เข้าที่เข้าทางมีศักยภาพ ในการปราบอาชญากรรมได้ ต้องใช้เวลายาวนานถึงอีก 50 ปีต่อมา

     

    ขึ้นศตวรรษใหม่ หน่วยงานสกอตแลนด์ยาร์ด สามารถลดจำนวนอาชญากรรมในเมืองอย่างเห็นผลชะงัด แต่ทางด้านนิติเวชทางอาชญากรรมยังเป็นของใหม่ นักสืบสวนอาชญากรรมที่เอาจริงเอาจังยังเป็นสิ่งใหม่ที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม และในความเห็นของเชอร์ล็อค โฮล์มส์ ที่นำโดยเซอร์อาเธอร์ โคแนน ดอยล์ยังถือว่า ทุกอย่างยังไม่เป็นโล้ไม่เป็นพาย กรุงลอนดอนเป็นเมืองที่ขยายเติบโตมาจากปัญหาหลาย ๆ ด้านในอดีต เมืองนี้ต้องการคนเก่ง ฉลาด หลักแหลม อัจฉริยะ ทันสมัย เป็นคนมุ่งทำความดีอย่างเชอร์ล็อค โฮล์มส์ เป็นวีรบุรุษคนแรก ๆ ที่มุ่งทำคุณงามความดีให้แก่เมืองหลวงใหญ่แห่งนี้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×