แร่ (Mineral)
แร่ (Mineral) หมายถึง ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสถานะเป็นของแข็ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมีโครงสร้างภายในที่เป็นผลึก มีสูตรเคมีและสมบัติอื่นๆที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด แร่ส่วนใหญ่เกิดรวมตัวอยู่กับหิน จึงเรียกว่าแร่ประกอบหิน
คุณสมบัติทางกายภาพของแร่
- ผลึก (Crytal) หมายถึง ของแข็งที่มีเนื้อเดียวกัน มีรูปทรงสามมิติ ผิวหน้าแต่ด้านเป็นระนาบ ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดตัวของอะตอมหรือโมเลกุลของธาตุที่ประกอบอยู่ในของแข็งนั้นอย่างมีแบบแผน
- แนวแตกเรียบ (Clevage) หมายถึง รอยที่แตกเป็นระนาบเรียบตามโครงสร้างอะตอมในผลึกแร่
- แนวแตกประชิด (Fracture) หมายถึง แนวแตกบางๆซึ่งปรากฏเป็นแนวขนานบางๆหลายแนวบนเนื้อแร่ และมิได้อยู่ในระนาบเดียวกับแนวแตกเรียบ
- ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) เป็นอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักของสสารต่อน้ำหนักของน้ำ ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ
- ความแข็ง (Hardness) มาตราความแข็งของแร่ตามระบบสเกลของโมล (Mol’s scale) ประกอบด้วยแร่มาตรฐาน 10 ชนิด เรียงลำดับตั้งแต่แร่ที่ทนทานต่อการขูดขีดน้อยที่สุด ถึงมากที่สุด
- สี (Color) เป็นคุณสมบัติที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดแต่เชื่อถือไม่ได้
- สีผงละเอียด (Streak) เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของแร่แต่ละชนิด เมื่อนำแร่มาขีดบนแผ่นกระเบื้อง(ที่ไม่เคลือบ)จะเห็นสีของรอยขีดติดอยู่แผ่นกระเบื้อง ซึ่งอาจมีสีไม่เหมือนกับชิ้นแร่ก็ได้
- ความวาว (Luster) หมายถึง คุณสมบัติในการสะท้อนแสงของผิวแร่ ความวาวมีหลายแบบ เช่น วาวแบบโลหะ แบบมุก แบบเพชร แบบน้ำมัน แบบแก้ว เป็นต้น
- ความเป็นโลหะและอโลหะ (Metal and Nonmetal) เป็นสมบัติพื้นฐานของแร่ต่างๆที่มีความแตกต่างกันในด้านสมบัติความเป็นโลหะและอโลหะ เช่น การนำไฟฟ้า การนำความร้อน การเกิดสารประกอบ เป็นต้น
การจำแนกแร่
การจำแนกแร่สามารถจำแนกได้ 4 ประเภท
1. แร่โลหะและแร่อโลหะ เป็นแร่ที่อยู่ในหินทั่วไป
แร่โลหะมีออกไซต์ของโลหะ ซึ่งประกอบด้วยโลหะกับออกซิเจน การนำแร่โลหะมาใช้ให้เกิดประโยชน์จะต้องทำการถลุงแร่ให้ได้โลหะบริสุทธิ์เสียก่อน โลหะที่ยังไม่ผ่านการถลุงเรียกว่า สินแร่ เช่น ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก ทองแดง แมงกานีส พลวง โครเมียม
แร่โลหะ หมายถึง แร่ที่องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุโลหะ เช่น แร่เหล็ก แร่เงิน แร่ทองคำ แร่ทองแดง เป็นต้น
แร่อโลหะ หมายถึง แร่ที่มีลักษณะเปราะ แตก หรือหักง่าย โปร่งแสง ยอมให้แสงหรือรังสีผ่านได้ ไม่เป็นตัวนำความร้อนหรือไฟฟ้า เมื่อเคาะไม่มีเสียงดังกังวาน แร่อโลหะเป็นกลุ่มธาตุที่มีความสำคัญในการทำอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมทำปุ๋ย การก่อสร้าง เคมี เครื่องปั้นดินเผา และทำสี เป็นต้น มีหลายชนิด เช่น หิน ทราย ยิปซัมแบไรต์ ดินขาว เพชรพลอย เกลือ กำมะถัน ปูน เฟลสปาร์ ซิลิกา แคลเซียม ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ฯลฯ
แร่โลหะ
รูปภาพ แร่ ประเภท สูตรเคมี รูปผลึก ความแข็ง ถ.พ. สีผง การนำไปใช้
แร่อโลหะ
![](http://image.dek-d.com/27/0303/3449/116790156)
แร่โลหะ
• ถ.พ. คือ ความถ่วงจำเพาะ
แร่อโลหะไม่ต้องการถลุงสามารถที่จะขุดมาใช้เลย
2. แร่รัตนาชาติ เป็นแร่อโลหะที่สามารถนำมาเจียระไนหรือขัดมันให้เกิดความสวยงาม มีความเด่นชัดของสี ความวาว การให้แสงผ่าน การกระทบแสง นิยมนำมาทำเครื่องประดับโดยการขายเป็นกรระรัต เช่นไพลิน หยก เพทาย มรกต โกเมน เป็นต้น
3. แร่กัมมันตรังสี เป็นสภาพของนิวเคลียสไม่เสถียร จะมีการปล่อยรังสีออกมาจากอะตอมอยู่ตลอดเวลา จัดเป็นแร่ที่ให้พลังงานที่มหาศาล ปัจจุบันรังสีที่ปลดปล่อยออกจากแร่กัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์ เช่น การรักษาโรค ผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
4. แร่เชื้อเพลิง เป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน น้ำมันดิบหรือน้ำมันปิโตรเลียม
ประโยชน์ของแร่
1. ประโยชน์ทางด้านความมั่นคง และมั่งคั่งของประเทศ ประเทศที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายและสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นผลผลิตต่าง ๆ ที่ทำประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ด้านอาวุธ ด้านอุตสาหกรรม
2. ประโยชน์ด้านความเป็นอยู่ของมนุษย์นำแร่ธาตุต่าง ๆ มาสร้างขึ้นเป็นภาชนะใช้สอยพาหนะที่ช่วยในการคมนาคม อาคารบ้านเรือน ก๊าซหุงต้ม พลังงานไฟฟ้า
3. ประโยชน์ด้านการสร้างงานแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการขุดแร่ ไปจนถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค
นอกจากนี้ แร่ธาตุชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติลักษณะต่างกัน จึงมีประโยชน์แตกต่างกัน เช่น แร่วุลแฟรม นำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว แร่พลวงนำมาใช้ทำตัวพิมพ์หนังสือ ทำสี แบตเตอรี่ รัตนชาติ เป็นแร่ที่มีลักษณะสีสันสวยงาม นำมาใช้ทำเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย
ปัญหาทรัพยากรแร่
1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ทำเหมืองแร่แล้วทำให้สภาพดินไม่อุดมสมบูรณ์ สกปรกพื้นที่ขรุขระมีหลุมบ่อมากมายจึงถูกปล่อยทิ้งใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่
2. ปัญหาการใช้แร่ธาตุบางประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น แร่เหล็กถูกนำมาใช้มากและแพร่หลายที่สุด ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ดีบุก ฯลฯ
3. ปัญหาการใช้แร่ไม่คุ้มค่า ได้แก่ พวกแร่ที่ใช้แล้วยังเหลืออยู่ ยังสามารถนำกลับไปใช้อีก เช่น เหล็ก ส่วนแร่ที่นำไปใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ เราจึงต้องใช้อย่างคุ้มค่า และประหยัด
การอนุรักษ์แร่ธาตุ
ดังได้กล่าวมาแล้วถึงทรัพยากรแร่ธาตุในปัจจุบันซึ่งกำลังประสบปัญหาหากไม่มีการป้องกันแก้ไข ดังนั้นการอนุรักษ์แร่ธาตุจึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยได้ดังต่อไปนี้
1. การใช้แร่ธาตุอย่างประหยัด ในการทำเหมืองแร่บางอย่างนั้นบางทีทรัพยากรแร่ธาตุที่ได้มาอาจมีหลายชนิด ดังนั้นจึงควรจะพยายามใช้ให้คุ้มค่าทุกชนิด อย่างประหยัดและลดการสูญเปล่า
2. การสำรวจแหล่งแร่ ควรมีการเร่งรัดการสำรวจทรัพยากรแร่ธาตุให้ครอบคลุมทั่วประเทศเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
3.การใช้แร่ชนิดอื่นทดแทน พยายามหาแร่ธาตุอื่น ๆ มาใช้ทดแทนแร่ที่ใช้กันมาก อาทิการใช้อลูมิเนียมแทนเหล็ก
4. นำแร่ที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ควรมีการนำแร่ที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก อาทิ ภาชนะเครื่องใช้ที่เป็นอลูมิเนียมบางอย่างที่หมดสภาพการใช้แล้วสามารถนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ได้อีก
แหล่งแร่ในประเทศไทย
ประเทศไทยมีแหล่งแร่ที่สำคัญหลายชนิด ได้แก่ แร่ดีบุก แร่ทังสเตน แร่พลวง และแร่ฟลูออไรด์ ในอดีตแร่เป็นสินค้าออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของ ประเทศไทย แต่ปัจจุบันแร่หลายชนิดมีจำนวนน้อยลงจึงหยุดการผลิต และ
บางส่วนก็ได้แปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการสำรวจแหล่งแร่และจัดทำแหล่งแร่ ดังภาพ
![](http://image.dek-d.com/27/0303/3449/116790153)
ประเทศไทยมีแหล่งแร่ชนิดต่าง ๆกระจายอยู่ทั่วไป ที่จัดเป็นกลุ่มแร่ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ดีบุก พบมากทางภาคใต้ ในจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎ์ธานี นครศรีธรรมราช นอกจากนั้นยังพบในจังหวัดอื่นๆอีก เช่น กาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย? เหล็ก พบมากที่เขาทับควาย อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ภูเหล็ก ภูเฮี๊ยะ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใยหิน พบมากที่ม่อนไก่แจ้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ รัตนชาติ พบมากที่จังหวัดจันทบุรี ตราด และกาญจนบุรี ทองคำ พบมากที่บ้านบ่อทอง จังหวัดปราจีนบุรี บ้านป่าร่อน อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่งทองโต๊ะโม๊ะ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันพบแหล่งแร่ทองคำที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ในระดับค่อนข้างสูงที่บริเวณรอยต่อระหว่างตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ตำบลท้ายดง จังหวัดเพชรบูรณ์ และบริเวณอำเภอเชียงคาน อำเภอปากชม จังหวัดเลย นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแร่อื่นๆอีก แต่ปริมาณไม่มากพบในเชิงพาณิชย์และเศรษฐกิจ
Ps. ท้วงเครดิตได้นะแจ๊ะ ลืมม 5555
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น