ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ~+...เทพนิยาย...ประวัติศาสตร์...+~

    ลำดับตอนที่ #84 : เพชรโฮป หลังจากที่เพื่อนๆอ่านคำสาป10อย่างไปล่ะ เลยเอามาให้อ่านเพิ่ม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 245
      0
      2 ต.ค. 50

    เพชรมหาภัย



    เรื่องของคำสาปที่ฮิตติดอันดับความเลื่อลือคราวนี้ ต่างจากคำสาปอื่นๆ สักหน่อย 
    ค่าที่เป็นคำสาปคติดมากับอัญมณีเม็ดสำคัญๆ
    มันเป็นคำสาปจากพลังแห่งความศรัทธาของผู้ที่นำอัญมณีมีค่านั้นมาพลีบูชาแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพเลื่อมใส 
    เพชรพวกนี้พา
    เอาหายนะมาสู่ผู้ครอบครอง ซึ่งได้มันมาด้วยวิธีไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก 
    เลยพาให้คำสาปแช่งที่ติดอยู่กับของมีค่านั้น สร้างความวิบัติ
    อย่างน่ากลัวไม่น้อยกว่าแบบอื่นๆเลย
    ทั้งๆ ที่รู้อย่างนี้ ความงามของอัญมณีเม็ดสำคัญๆ 
    มันก็ยั่วกิเลสจนอดใฝ่หาไม่ได้หรอกครับ เป็นเวลานับพันๆ ปีมาแล้วนี่ครับที่
    มนุษย์เรา 
    ไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือสตรีต่างก็เสาะหาเครื่องประดับที่ประกอบด้วยอัญมณีมีค่า 
    ทั้งในแง่เพื่อความสวยงามและเป็น
    เครื่องลางคุ้มภัย นำโชคลาภมาสู่ตน อะไรทำนองนี้
    ในบรรดาอัญมณีที่ต่างแบ่งเป็นชนิดต่างๆ "เพชร" 
    จัดเป็นยอดแห่งอัญมณีทีเดียวละครับ ทั้งมันยังเป็นแร่ที่แข็งที่สุดในบรรดา
    วัตถุที่พบได้ตามธรรมชาติ 
    เมื่อนำมาเจียระไนก็คงความใสสว่างแพรวพราวจับตางดงามมากขึ้นอีก ใครๆ 
    ก็ต่างพากันเชื่อว่าผู้ที่ได้
    ครอบครองเพชรจะประสพโชคดีในด้านความรัก และความแข็งแรง มีสุขภาพดี มีกำลังใจ 
    กล้าหาญ
    ไม่อยากสะกิดท่านผู้อ่านเลยครับว่า 
    เมื้อแท้ของมันไม่ต่างไปกับถ่านหรือคาร์บอนที่เราใช้หุงข้าวต้มแกงเลย 
    เพียงแต่ว่ามันไปจม
    อยู่ลึกใต้บาดาลเสียนานนับล้านๆ ปี 
    ถูกความกดดันใต้โลกบีบเอาอย่างหนักหน่วงผสมกับความระอุของความร้อนข้างในโลก ทำ
    ให้เจ้าถ่านดำๆ เป็นคาร์บอนที่ว่า กลายเป็นหินก้อนใสแจ๋ว 
    ส่งประกายวับวามมีราคาค่างวดขึ้นมาทันที
    แต่เพชรเม็ดเขื่องๆ ชนิดที่คนเห็นแล้วต้องร้องอื้อฮือกันไปตามๆนั้น 
    เป็นของสวยงามหายาก (ซึ่งเป็นแบบที่เราไม่ต้องถามถึง
    ราคาค่างวดของมันหรอกครับ แค่ขนาดเท่าขี้ตาเล็นยังไม่มีปัญญา) 
    ชนิดที่แทบจะเรียกว่างมเข็มในมหาสมุทรเท่านั้น กระทั่งใน
    จำนวนบ่อเพชรมากมายในโลกที่มนุษย์รู้จักหาสะสมกันมานับพันๆ ปี 
    ยังมีเพชรระดับ"โครต" ที่ว่านี้ไม่กี่ก้อน ทั้งบางเม็ดยังมี
    ประวัติความเป็นมา 
    อันพิลึกกึกกือมีอาถรรพณ์ในตัวเองที่ให้ทั้งคุณและความพินาศหายนะแก่เจ้าของที่ได้มันเอาไว้ 
    จนกลายเป็น
    ตำนานประจำตัวเพชรแต่ละเม็ด ไม่มีใครพิสูจน์ได้เลยครับ
    เพชรระดับ "โครต" ที่เราจะพูดถึงวันนี้เม็ดแรกก็เห็นจะไม่พ้นเม็ดที่เรียกว่า 
    "ค็อห์-ไอ-นูร์" ซึ่งขณะนี้ประดับอยู่บนมงกุฎของ
    สมเด็จพระบรมราชินีอลิซาเบ็ธแห่งอังกฤษ 
    เพชรเม็ดนี้เดินทางลุยเลือดและความพินาศมาจากตะวันออก กว่าจะขึ้นประดับเป็นศรี
    สง่าเหนือพระเศียรของราชินีหลายพระองค์
    "ค็อห์-ไอ-นูร์" เป็นภาษาอินเดียครับ แปลว่า "ขุนเขาแห่งแสงสว่าง" 
    เดิมนั้นเป็นสมบัติหวงแหนอยู่ในความครอบครองของ
    กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลแห่งชมพูทวีป 
    ซึ่งเก็บงำไว้อย่างดีในเดลฮีซึ่งเป็นเมืองหลวงของอินเดีย 
    การได้มาของเพชรเม็ดนี้ไม่มีประวัติ
    ที่แน่ชัด แต่ก็เชื่อกันว่าขุดขึ้นมาจากบ่อเพชรโบราณแห่งหนึ่งในอัฟริกา 
    อันเป็นแหล่งที่ทุกวันนี้ยังมีการทำเหมืองเพชรเป็นล่ำเป็น
    สันมากที่สุดในโลก
    คาดกันว่า กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลหลายพระองค์ที่มีโอกาสได้ครอบครองเพชรเม็ดนี้ไว้
    มันเพิ่งจะมาเผยโฉมตัวเองออกมาให้โลกรู้จักเมื่อปี พ.ศ.2228 นี่เอง 
    เมื่อเพชรเม็ดนี้ตกอยู่ในความครอบครองของ นาเดียร์ ชาห์
    กษัตริย์ผู้ปกครองเปอร์เซียอันได้แก่อิหร่านทุกวันนี้ 
    โดยได้มาจากการปล้นพระคลังหลวงของจักรพรรดิโมฮัมหมัด กษัตรย์ราช
    วงศ์โมกุลอีกที
    หลังจากนาเดียร์ ชาห์สิ้นพระชนม์ ชาห์รุคก็ขึ้นเป็นกษัตริย์ทายาทองค์ใหม่ 
    พระองค์เป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ ทีนี้เมื่อหัวหน้าเผ่า
    อัฟกันดินแดนข้างเคียงยกทัพเข้าตี เปอร์เซียก็ล่ม และเพชร "ค็อห์-ไอ-นูรื" 
    ก็เปลี่ยนเจ้าของมาอยู่ในครอบครอง อาห์เหม็ด ชาห์
    หัวหน้าเผ่าอัฟกันที่ตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองเปอร์เซียแทน
    ทายาทของอาห์เหม็ด ชาห์คือ ชาห์ ซูจาห์ 
    พระองค์ครอบครองเพชรเม็ดนี้เอาไว้ได้ไม่นาน อาถรรพณ์ของ "ค็อห์-ไอ-นูรื" 
    ที่จะต้อง
    เปลี่ยนมือจากเจ้าของหนึ่งมาเป็นอีกเจ้าของหนึ่งก็แผลงฤทธิ์ขึ้นมาอีก เมื่อชาห์ 
    ซูจาห์มีอันต้องมอบมันให้กับ รานจิต สิงห์ "สิงห์
    ผยองแห่งปัญจาป" ด้วยการถูกขู่บังคับ 
    ครั้นเมื่ออังกฤษเข้ายึดชมพูทวีปเอาเป็นอาณานิคมโดยบริษัทอีสต์ 
    อินเดียเป็นหัวหอก
    เพชร "ค็อห์-ไอ-นูร์" ก็ถูกนำมามอบให้กับบริษัทนี้ในปี พ.ศ.2392 
    แล้วถูกนำข้ามน้ำข้ามทะเลมาถวายแก่สมเด็จพระนางเจ้า
    วิคตอเรีย พระราชินีผู้โด่งดังของอังกฤษ
    สองปีหลังจากนั้น คือ พ.ศ.2394 "ค็อห์-ไอ-นูร์" 
    ก็ได้อวดโฉมของมันท่ามกลางผู้ลากมากดีทั้งหลายของอังกฤษในงานแสดงที่
    ลอนดอน ในฐานะเพชรที่เคยประดับบนผ้าโพกศีรษะของผู้ครองอาณาจักรแห่งชาวสิกข์
    เดิมเพชร "ค็อห์-ไอ-นูร์" นี้มมีน้ำหนักทั้งสิ้น 191.10 กะรัตหรือ 186 1/16 
    กะรัตอินเดียโบราณ แต่นำมาตัดและเจียระไนเป็นรูป
    ทรงใหม่ในลอนดอน ไม่นานหลังจากนั้นคือในปี พ.ศ.2395 
    เพชรเม็ดนี้ก็ลดน้ำหนักลงมาเหลือแค่ 108 1/3 กะรัต มันยังคงนอน
    นิ่งสงบอยู่ในท้องพระคลังของอังกฤษจนกระทั่งปี พ.ศ.2480 
    จึงมีการนำออกมาประดับไว้ที่มงกุฎที่จะสวมในพิธีสถาปนาพระ
    บรมราชินีอลิซาเบ็ธ (ซึ่งปัจจุบันคือพระพันปีหลวง 
    พระราชชนนีของสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่สองพระราชินีของอังกฤษ)
    ตำนานของเพชร "ค็อห์-ไอ-นูร์" นี้กล่าวกันว่า 
    ผู้ที่ได้ครอบครองเป็นเจ้าของจะได้เป็นใหญ่เป็นโตถึงเจ้าโลก 
    แต่จะต้องเป็นสตรีเท่า
    นั้น ไม่มีบุรุษใหมีสิทธิ์ประดับเพชรเม็ดนี้ได้โดยราบรื่น 
    จะต้องมีอันเป็นไปทุกที "ขุนเขาแห่งแสงสว่าง" เม็ดนี้จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งนำ
    โชคของสตรีเท่านั้น งานนี้ผู้ชายไม่เกี่ยว
    ส่วนเพชรอีดเม็ดหนึ่งที่มีความเฮี้ยนอย่างน่าประหลาด โหดยิ่งซะกว่า 
    "ค็อห์-ไอ-นูร์" ก็คือเม็ดที่จะเล่าต่อไปนี้ละครับผม
    ใครที่เคยไปเที่ยววอชิงตันในสหรัฐ 
    คงจะเคยแวะเยี่ยมชมสถาบันสมิธโซเนี่ยนอันเลื่องชื่อ 
    สถานที่นี้มีพิพิธภัณฑ์อันเก่าแก่ที่โด่งดัง
    ที่สุดของอเมริกา สะสมของโบราณมากมายหลายประเภท 
    น่าสนใจทั้งประวัติและตัวของมันเอง มีอยู่จำนวนมากชนิดดูกันเป็นวันๆ
    ยังไม่หมดที่สถาบันนี้เองยังมีแผนกหนึ่งซึ่งมีผู้คนสนใจเข้าคิวชมกันอย่างคับคั่ง 
    และสิ่งที่ใครต่อใครพากันสนใจมากที่สุดในแผนก
    ก็คือ เพชร เป็นเพชรสีน้ำเงินขนาดใหญ่มากเม็ดหนึ่งที่ส่งประกายวาววับจับตา 
    ทว่าขณะเดียวกันใครๆ ที่ได้เห็นต่างพากันยืนยันว่า
    มีรังสีของความเยือกเย็นออกมาด้วย 
    ความเย็นเยือกที่มันส่งประกายออกมาเต็มไปด้วยเรื่องราวอันยาวนาน 
    ซุ่มไปด้วยเลือดและ
    ชีวิตของคนไม่น้อยกว่า 20 
    คนที่หลงติดบ่วงเสน่าหาของมันจนต้องพบชะตากรรมสยดสยองกันมาแล้ว
    เพชรเม็ดนี้มีชื่อว่า "โฮป"
    เห็นชื่อไพเราะแปลว่าความหวังอย่างนี้ 
    คนที่แตะต้องมันกลับต้องหมดหวังไปเสียทั้งหมด ทั้งกษัตริย์และคนเข็ญใจ 
    โจรและขุนนาง
    ที่เข้ามายุ่งกับมันต่างลงเอยด้วยความบ้าคลั่งและความตายอันน่าทุเรศเป็นเวลากว่าสามศตวรรษเชียวละครับ
    ตามประวัติ 
    ว่ากันว่ามันถูกขุดพบที่เหมืองริมฝั่งแม่น้ำกฤษณาทางตะวันตกเฉียงใต้ของชมพูทวีป 
    และถูกนำไปประดับไว้กลาง
    นลาฏของพระศิวะในเทวาลัยแห่งหนึ่ง 
    ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อรายแรกของโฮปตามที่เล่าไว้ในตำนานกว่าห้าร้อยปีก่อน 
    ได้แก่นักบวชฮินดู
    ที่หาญกล้าแกะเพชรเม็ดสำคัญออก หรือจะพูดให้ถูกก็คือขโมยนั่นแหละ 
    ปรากฆว่าดันถูกจับได้และถูกเจี๋ยนไปตามระเบียบ
    จากนั้นมันก็หายเงียบไปนาน จนมาโผล่อีกทีในปี พ.ศ.2185 
    ในยุโรปโดยปรากฏว่าเป็นสมบัติของพ่อค้านักลักลอบซื้อขายของ
    โบราณชื่อ นายจัง แบบติสเต ทาเฟอร์นิเอร์ เขาขายเพชรเม็ดนี้ไป 
    ได้เงินได้ทองมามากมายพอที่ซื้อหายศถาบรรดาศักดิ์และบ้าน
    เรือนที่อาศัย แต่ลูกชายของเขาซีครับเกิดสำลักความรวย 
    เลยไปเล่นการพนันจนเป็นหนี้สินจำนวนมหาศาล ทำให้นายจัง แบบ
    ติสเต ทาเฟอร์นิเอร์ ผู้เป็นพ่อ 
    ถึงกับต้องขายบ้านช่องทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมดเพื่อชำระหนี้ 
    แต่ไม่ใช่เท่านั้นนะครับ คำสาปเพชรยัง
    เล่นงานเขาต่ออีก เมื่อหมดเนื้อหมดตัวเข้า 
    พ่อค้าของโบราณต้องกลับไปตั้งต้นหาโชคลาภในอินเดียใหม่ 
    แต่เขาไม่มีทางได้ตั้งตัว
    อย่างที่หวังเลย เพราะมันจบลงด้วยความตาย จัง แบบติสเต ทาเฟอร์นิเอร์ 
    ถูกฝูงหมารุมกัดทึ้งกลางถนนในอินเดียนั่นเอง
    ต่อจากนั้นไม่นานเพชรมหาภัยก็ไปปรากฏโฉม 
    ในคนสังคมชั้นสูงได้ยลในฐานะพระราชทรัพย์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่ง
    เศสคราวนี้มันถูกตัดออกเจียระไนใหม่จากน้ำหนักเดิม 112.5 กะรัตเหลือเพียง 67.5 
    กะรัตเท่านั้น แต่แม้ขนาดจะเล็กลงก็ไม่ได้
    หมายความว่าอาถรรพณ์ของมันจะน้อยลงด้วย นิโคลัส ฟอร์เกท์ 
    เจ้าหน้าที่ราชสำนักฝั่งเศสกลายเป็นเหยื่อคนต่อมา เขาติดตาต้อง
    ใจมันแต่แรกเห็น 
    ถึงขนาดลงทุนขอยืมพระเจ้าแผ่นดินไปประดับในงานราตรีสโมสรครั้งหนึ่ง 
    แต่ว่าหลังจากนั้นไม่นานเขาก็มีอัน
    ต้องถูกจับในข้อหารีดไถกรรโชกทรัพย์และถูกตัดสินให้ติดคุกจนต้องตายคาคุกบาสตีลล์ 
    ไม่มีโอกาสได้รับอิสรภาพ
    ส่วนพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝร่งเศส ผู้ครอบครองเพชรเม็ดนี้ แม้จะมีฐานะเป็น 
    "สุริยราช" ก็กลับสิ้นพระชนม์ด้วยสภาพที่ผู้คน
    เกลียดชัง เนื่องจากพระองค์และราชสำนักใช้จ่ายเงินฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย 
    นำมาซึ่งความหายนะแก่ส่วนรวมในเวลาต่อมา
    ยังไม่พอครับ 
    เพราะเหตุที่ไม่เชื่ออาถรรพณ์ของเพชรเม็ดนี้สมาชิกในราชตระกูลของฝร่งเศสต่างล้มตายไล่เลี่ยกันด้วยสาเหตุและ
    โรคภัยที่ไม่มีใครคิดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้มาก่อน 
    และชะตากรรมอันน่าขนพองสยองเกล้าก็เกิดขึ้นกับสมาชิกบูร์บองอีก
    สามพระองค์ต่อมา หลังจากที่นำเอาเพชรเม็ดนี้ไปประดับมงกุฏที่ใช้สวม
    เจ้าหญิงเดอ ลัมเบลล์ 
    ซึ่งเคยใช้มงกุฏนี้ประสพความตายด้วยการถูกพวกเหล่าร้ายกลุ้มรุมกันทำร้าย 
    ส่วนพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และ
    พระนางมารี อังตัวเน็ตต์พระมเหสีซึ่งรับมรดกตกทอดเพชรเม็ดนี้มา 
    ก็ประสพวาระสุดท้ายด้วยกิโยตินบนตะแลงแกงหลังจากเกิด
    การปฏิวัติขึ้นในแผ่นดิน
    ความวุ่นวายปั่นป่วนในกรุงปารีสยังคงดำเนินไปหลังจากการปฏิวัติใหญ่ 
    เพชรอาถรรพณ์ก็พลอยหายไปนานกว่า 40 ปี ไปโผล่อีก
    ที่ในมือของ จ้าค ชีลอต์ พ่อค้าเพชรชาวฝรั่งเศส 
    ว่ากันว่าเขาเป็นคนที่หลงใหลในความงามของเพชรเม็ดนี้มาก แต่ลงท้ายปร่กฏว่า
    เขาเกิดสติฟั่นเฟือนอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย 
    แล้วก็ประกอบอัตวินายาตกรรมไปเรีบยร้อย
    จากนั้นเพชรตกมาเป็นสมบัติของเจ้าชาย อีวาน คานิตอฟกี้ในเวลาต่อมา 
    และพระองค์ก็ประทานเพชรให้กับสนมชาวปารีเซียงคน
    หนึ่งไม่นานนักก็เกิดเหตุยิงสนมคนนั้นตายก่อนที่เจ้าชายเองจะฆ่าตัวตายตามโดยไม่มีสาเหตุรุนแรงถึงขั้นต้องฆ่า
    เชื่อกันว่า แม้กระทั่งพระนางแคทเธอรีน มหาราชแห่งรัสเซีย 
    ครั้งหนึ่งก็เคยได้เพชรเม็ดนี้ไว้เชยชม ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไปด้วย
    โรคเส้นโสหิตในสมองแตก
    เพชรเม็ดนี้หายไปจนกระทั่งมาเจอะเจอกันอีกครั้งหนึ่งเมื่อช่างเจียระไนชาวดัทช์จัดการตัดเพชรเม็ดนี้ลงอีกเหลือแค่ 
    44.5
    กะรัตอันเป็นน้ำหนักขนาดเพชรที่คงอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน
    แต่ต่อมาช่างเจียระไนรายนี้ก็ฆ่าตัวตายเมื่อโดนหลานชายแอบดอดเข้ามาขโมยเพชรไปหลังการตัด 
    เพชรดังกล่าวเปลี่ยนมือไปมือ
    แล้วมือเล่า หนทางของมันล้วนชุ่มไปด้วยเลือดตลอดทั่วทวีปยุโรปทั้งสิ้น 
    จนกระทั่งในทีสุดก็ตกมาเป็นสมบัติของนายธนาคารชาว
    ไอริชผู้มั่งคั่งคนหนึ่งชื่อ เฮนรี่ โธมัส โฮป 
    เขารับซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้ในราคาเพียงแค่ 30,000 ปอนด์ 
    และตั้งชื่อเพชรตามชื่อตัวเอง
    จนเป็นชื่อที่ใช้เรียกขานมาจนปัจจุบันว่า "โฮป" 
    แต่หลานชายของมหาเศรษฐีนายธนาคารรายนี้ ก็ต้องชะตากรรมตายไปด้วยความ
    อดอยากและไม่มีเงินติดตัวแม้แต่เก๊เดียว
    ในปี พ.ศ.2451 สุลต่าน อับดุล ฮามิด ตกลงซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้ด้วยราคา 400,000 
    ดอลลาร์ สุลต่านมอบเพชรเป็นของขวัญแก่ชายา
    สุบายา แต่ไม่นานนักตัวสุลต่านเองกลับฆ่าชายตนนี้ด้วยการกระหน่ำแทงจนตาย 
    หนึ่งปีต่อจากนั้นพระองค์ต้องมีอันต้องกระเด็น
    ออกจากบัลลังก์ตายเหมือยขอทานอยู่ข้างถนน
    เพชรโฮปเดินทางต่อไปยังอเมริกา มีคนรับซื้อไปในราคา 145,000 ดอลลาร์ 
    โดยผู้ซื้อได้แก่เจ้าพ่อวงการธุรกิจระดับมหาเศรษฐีผู้
    หนึ่งคือ เน็ต แมคลีน ในปี พ.ศ.2454
    อีก 40 ปีจากนั้น 
    วิบัติก็บังเกิดขึ้นกับครอบครัวนักธุรกิจรายนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า 
    หลานชายของแมคลีนถูกรถชนตาย ตัวแมคลีนเอง
    ค้าขายขาดทุนย่อยยับและไปตายในโรงพยาบาลบ้า ลูกสาวของเขาก็ตายในปี พ.ศ.2489 
    เพราะใช้ยาเสพติดมากเกินขนาด ส่วน
    ภรรยาของแมคลีนคืออีเวลีนนั้นกลายเป็นคนไข้เสพติดมอร์ฟีนขนาดหนัก
    เห็นจะมีเจ้าของที่ได้ครอบครองเพชรโฮปเพียงรายเดียวเท่านั้นที่รอดพ้นอาถรรพณ์ของมันมาได้ 
    คนๆนี้ คือ แฮรี่ วินสตัน ซึ่งรับ
    ซื้อเพชรโฮปมาจากทายาทคนสุดท้ายของตระกูลแมคลีน 
    การรอดพ้นความสยดสยองดันเกิดจากอาถรรพณ์ของเพชรโฮปมาได้
    จากการที่เขาแก้ปัญหาด้วยวิธีง่ายที่สุด นั่นก็คือการให้
    วินสตันบริจาคเพชรเม็ดนี้ให้กับสถาบันสมิธโซเนี่ยน 
    และนับจากนั้นมาเพชรโฮปยอดอาถรรพณ์ก็สงบนิ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของ
    สถาบันนี้ 
    โดยไม่แน่ว่าวันใดวันหนึ่งมันอาจจะแผลงฤทธิ์ปล่อยอาถรรพณ์ให้กับใครต่อใครอีก 
    หากมันถูกเปลี่ยนมือไปเป็นคนใด
    คนหนึ่งแทนที่จะเป็นสถาบันใดสถาบันหนึ่งอย่างที่มันสงบอยู่ในวอชิงตันเวลานี้
    ท่านผู้อ่านอ่านแล้วขยาดกับอัญมณีมั่งรึเปล่า ผมว่าทางที่ดี 
    น่าจะลองสาวประวัติของอัญมณีที่ท่านประดับดูมั่งก็ดีนะ โดยเฉพาะ
    พวกที่มีระดับขนาด"โครต" ทั้งหลายนั่นละ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×