World of Cultivation มหาศึกสามภพ - นิยาย World of Cultivation มหาศึกสามภพ : Dek-D.com - Writer
×

    World of Cultivation มหาศึกสามภพ

    โดย

    ผู้เข้าชมรวม

    44,214

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    429

    ผู้เข้าชมรวม


    44.21K

    ความคิดเห็น


    94

    คนติดตาม


    407
    จำนวนตอน : 290 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  21 ส.ค. 64 / 16:37 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

                                                      อภิธานศัพท์

              ศัพท์น่าสนใจ

    1. จิงสือ (晶石) – แปลตรงตัวก็คือหินผลึก ตามท้องเรื่องจะเป็นผลึกที่กักเก็บพลัง
    ปราณธรรมชาติไว้ภายใน มนุษย์สามารถใช้ในการฝึกตนได้ และที่สำคัญคือใช้เป็นหน่วย
    เงินของฝ่ายมนุษย์ด้วย แบ่งระดับตามระดับคุณภาพ
    2. เกอ (哥) – แปลว่าพี่ชาย เช่น ม่อเกอ คือพี่ม่อ บางทีคนที่อายุมากกว่าก็จะใช้เรียก
    คนอายุน้อยกว่าเพื่อยกย่อง ที่น่าสนใจคือพระเอกในเรื่องบางทีเวลาอารมณ์ขึ้นๆ ก็ชอบ
    ใช้คำแทนตัวเองว่า เกอ เช่น เจ้ากล้าทำร้ายเกอ เกอจะจัดการพวกเจ้าให้สาสม ซึ่งถ้า
    แปลแบบบ้าน ๆ ก็คือ พวกเอ็งกล้าหือกับพี่เรอะ พี่จะโบกให้จมดิน อะไรประมาณนี้
    3. ต้าเหริน (大人) = ความหมายก็ประมาณว่า ผู้ใหญ่, ใต้เท้า, หรือนายท่าน ในเรื่อง
    จะใช้เป็นคำเรียกคนที่ยกย่องชื่นชมหรือนับถือ ตามบริบทของช่วงนั้น ๆ
    เผ่าพันธุ์หลักๆ ในเรื่องจะแบ่งเป็นสองฝ่าย สามเผ่าพันธุ์
    1. ฝ่ายซิวเจ่อหรือผู้ฝึกตน เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ฝึกฝนพลังปราณ ดึงดูดพลังปราณใน
    ธรรมชาติไปเก็บกักไว้ในร่างตน ใช้ปราณผ่านเวทวิชาอันซับซ้อนและทรงพลัง ถนัดทั้ง
    การสร้างและการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่นยุทธภัณฑ์เวท เม็ดยา ค่ายกลเวท ยันต์ และ
    อาคมหวงห้าม ฝ่ายผู้ฝึกตนยังสามารถแบ่งออกเป็นสี่มหาอำนาจ ตามเขตการปกครอง
    และจุดเด่น
     1.1. คุนหลุน ดินแดนของเซียนกระบี่ ผู้บูชาเวทวิชาสายกระบี่ (บางตำนานเชื่อกัน
    ว่าคุนหลุนซานหรือเทือกเขาคุนหลุนเป็นแดนสุขาวดีของเหล่านักพรตเต๋า)
     1.2. เทียนหวน (เชื่อมสวรรค์) ดินแดนของเหล่าเซียนยันต์ ผู้ถนัดเวทวิชาสายยันต์
    อาคม แตกฉานค่ายกลเวท
         1.3. วัดเสวียนคง (วัดลอยฟ้า) ดินแดนของเหล่าเซียนวรยุทธ์ ผู้ฝึกตนนิกายเซน
    เน้นฝึกฝนกายา เสริมสร้างสังขาร ยกระดับอภิญญา
    1.4. ซีเสวียน (ประจิมลี้ลับ) ดินแดนของเหล่าเซียนสัญจร เชี่ยวชาญเวทวิชาสาย
    เบญจธาตุ (ห้าธาตุ ประกอบด้วย ดิน น้ำ ไม้ ไฟ ทอง)
    2. ฝ่ายเยาม๋อ (妖魔) (อ่านว่า เยา-หมอ) หรืออสูรปิศาจ มักจะเรียกรวมกันแต่อันที่
    จริงเป็นสองเผ่าพันธุ์ ต่างเป็นศัตรูของฝ่ายมนุษย์ จึงเหมือนเป็นพันธมิตรกันเองโดย
    ปริยาย
    2.1. เยา (妖) อสูรหรือภูต เป็นจิตวิญญาณที่เกิดจากเบญจธาตุ เช่นต้นไม้ที่อยู่มา
    นานจนเกิดจิตวิญญาณกลายเป็นอสูรพฤกษา หรืออสูรไฟที่เกิดจากบ่อไฟลาวา เผ่าอสูร
    จะฝึกฝนจิตวิญญาณเป็นหลัก ใช้พลังแห่งจิตสำนึกผ่านวิชาเฉพาะเผ่าที่เรียกว่าศาสตร์
    อสูร ควบคุมพลังแห่งธาตุทั้งห้าอันไพศาล
    2.2. ม๋อ (魔) ปิศาจหรือมาร เป็นเหล่าสัตว์ที่เกิดสติปัญญาจนกลายเป็นปิศาจ เช่น
    ปิศาจจิ้งจอก ปิศาจงูขาว เผ่าปิศาจหลักๆ จะใช้วิชาเฉพาะเผ่าเรียกว่าทักษะปิศาจ เน้น
    ฝึกฝนร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเลือด ร้อยเปลี่ยนพันแปลง อิทธิฤทธิ์
    มากล้น
    ระดับการฝึกตน (ฝ่ายมนุษย์)
    1. เลี่ยนชี่ (炼气)– ปรับปรุงลมปราณ
    2. จู้จี (筑基) – สร้างรากฐานปราณ
    3. หนิงม่าย – ชีพจรหลอมรวม
    4. จินตัน (金丹) – สร้างแกนลมปราณ หรือสร้างเม็ดพลังทองคำ
    5. หยวนอิง – ปราณก่อนกำเนิด
    6. ฝ่านซู – คืนสู่ว่างเปล่า
    7. ต้าเฉิง – สู่มหายาน
    ที่จริงยังมีระดับการฝึกตนของอสูรและปิศาจด้วย แต่เห็นว่ายังไม่สำคัญในตอนนี้
    เอาไว้มีโผล่มาในเรื่องจะเสริมการเทียบกับระดับฝึกตนฝ่ายมนุษย์ให้ดูง่ายๆ
    ระบบศิษย์
    ในเรื่องนี้ ระบบการเรียกหาในสำนักจะค่อนข้างแตกต่างจากนิยายกำลังภายในที่
    เราคุ้นเคย กล่าวคือ ลำดับศิษย์พี่ศิษย์น้องไม่ได้นับตามลำดับอาวุโส ไม่ได้นับว่าใครเข้า
    สำนักก่อน แต่นับตามพลังฝีมือหรือสถานะ พูดง่ายๆ คือใครเก่งกว่าหรือสำคัญกว่า ก็
    มักจะได้เลื่อนเป็นศิษย์พี่ สำหรับศิษย์ฝ่ายนอกทั้งหมด ศิษย์ฝ่ายในทุกคนก็มีสถานะเป็น
    ศิษย์พี่ของพวกมัน ดังนั้นศิษย์พี่ใหญ่มักจะเป็นคนที่เก่งที่สุด และเป็นตำแหน่งที่
    เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
    สำหรับเรื่องศิษย์อาจารย์ ศิษย์ส่วนใหญ่ที่ไม่มีอาจารย์เป็นการส่วนตัว จะถือว่ามี
    สถานะเป็นศิษย์ของเจ้าสำนัก ลำดับการเรียกหาเริ่มนับจากตัวเจ้าสำนัก ดังนั้นเหล่า
    ศิษย์น้องของเจ้าสำนัก มักจะถูกศิษย์ส่วนใหญ่เรียกว่า ซือสู (อาจารย์อาผู้ชาย) กับซือกู
    (อาจารย์อาผู้หญิง) แต่สำหรับศิษย์ส่วนตัวของคนเหล่านี้ ก็จะนับสถานะเริ่มจากอาจารย์
    ของมัน เช่นศิษย์ของผู้อาวุโสลำดับที่สอง ก็จะเรียกเจ้าสำนักว่าซือป๋อ (อาจารย์ลุง)
    เรียกผู้อาวุโสอื่นว่าซือสู กับซือกู เป็นต้น
    มาตราชั่งตวงวัด (ที่จริงแล้วมาตราชั่งตวงวัดของจีนแต่ละยุคแต่ละพื้นที่ก็ไม่ค่อยเท่ากัน
    ในที่นี้ขออิงตามที่ผู้แปลภาษาอังกฤษยกอ้างไว้)
    1. ผิง: เป็นหน่วยวัดพื้นที่ของจีน 1 ผิง = 3.3 ตารางเมตร
    2. หมู่ (ไร่จีน)= 666.67 ตารางเมตร
    3. จิน: ชั่ง คือมาตราชั่งของจีน โดยที่ 1 ชั่ง = 596.816 กรัม
    4. ชุ่น= 1 นิ้วจีนหรือราวๆ 3.33 เซนติเมตร
    5. ฉื่อ: 1 ฉื่อ = 10 ชุ่นหรือ 10 นิ้วจีน = 33.33 เซนติเมตร
    6. จั้ง= 10 ฉื่อ = ประมาณ 3.33 เมตร
    7. หลี่ หรือ ลี้ = 500 เมตร
    8. เค่อ: คือหน่วยนับเวลาของจีนโบราณ โดยใช้กาน้ำรั่วนับ ใน 1 วันจะมี 100 เค่อ
    ดังนั้น 1 เค่อจะกินเวลาประมาณเกือบ 15 นาที
    9. หนึ่งชั่วยาม = 2 ชั่วโมง
    10. ระยะเวลาหนึ่งก้านธูป= ระยะเวลาที่ธูปหนึ่งดอกเผาไหม้จนหมด ประมาณ 10
    กว่านาที

    **************

    จั่วม่อ บุรุษหนุ่มผู้มีใบหน้าแข็งทื่อตายด้าน กับความทรงจำเพียงสองปี

    รอบข้างมันรายล้อมไปด้วยเหล่าเซียนกระบี่ ผู้หลงงมงายในกระบี่จนยากจะเยียวยา ทว่ามันเองกลับมีพรสวรรค์ในเวทวิชาสายเบญจธาตุ ถนัดการเพาะปลูกข้าวปราณ มันเพียงปรารถนาจะเป็นเกษตรกรปราณ เพื่อความร่ำรวยเท่านั้น!

    มันขยันหมั่นเพียรในวันนี้ เพื่อที่จะได้อยู่อย่างเกียจคร้านในวันหน้า

    ทว่า ไฉนมีแต่ผู้คนคอยบีบบังคับให้มันฝึกฝนนั่น เรียนรู้นี่อยู่เรื่อย? ข้าไม่ได้อยากเป็นเซียนกระบี่เสียหน่อย!

    แต่แล้วโชคชะตาของมันก็พลิกผันไปอย่างสิ้นเชิง หลังจากวันที่ได้พบพานกับเจ้ากะเทยบัดซบนั่น!

    ซิวเจ่อตัวเล็ก ๆ ไร้คุณค่าความหมายเช่นจั่วม่อ ไม่เคยทราบเลยว่า มหาสงครามแห่งสามเผ่าพันธุ์กำลังจะอุบัติขึ้น!

    แล้วเศษฝุ่นธุลีเช่นมัน จะมีปัญญาเอาชีวิตรอดได้อย่างไร?

    ได้แต่ต้องติดตามทัศนาไปพร้อมกันแล้ว

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น