15 วิธีดูแลสุขภาพคุณผู้หญิง - 15 วิธีดูแลสุขภาพคุณผู้หญิง นิยาย 15 วิธีดูแลสุขภาพคุณผู้หญิง : Dek-D.com - Writer

    15 วิธีดูแลสุขภาพคุณผู้หญิง

    15 วิธีดูแลสุขภาพคุณผู้หญิง

    ผู้เข้าชมรวม

    972

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    972

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:52 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    15 วิธีดูแลสุขภาพคุณสาวๆ แบบสบายๆ สไตล์เราครับ...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
        

      ...

      อาจารย์วิคทอเรีย แลมเบิร์ท ตีพิมพ์วิธีดูแลสุขภาพคุณผู้หญิงใน 'Dailymail.co.uk' (อ้างอิงไว้ท้ายบทความ) ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

      ...

       

      (1). ล้างมือด้วยสบู่

      • การล้างมือด้วยสบู่ก่อนเข้าบ้าน ก่อนกินอาหาร ก่อนดื่มน้ำ หลังออกจากห้องน้ำ-ห้องส้วม หลังเล่นกับสัตว์ ช่วยป้องกันโรคติดต่อได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ป้องกันหวัด ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
      • การล้างมือมีส่วนช่วยลดการได้รับโลหะหนักและสารที่อาจเป็นพิษหลายชนิด เช่น ตะกั่วจากหมึกพิมพ์ (หนังสือ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ) อลูมิเนียมจากยาทารักแร้หรือสารส้ม ฯลฯ โลหะหนักเหล่านี้มีพิษต่อสมองและไต 

      ...

      (2). ดื่มชาดำ

      • ชาดำ (ชาจีนหรือชาฝรั่ง) มีสารพฤกษเคมี หรือสารคุณค่าพืชผักที่ช่วยฆ่าเชื้อโรคในคราบจุลินทรีย์ หรือ "พลัค (plaque)" บนผิวฟัน
      • ชาทำให้เอนไซม์หรือน้ำย่อย (glycosyltransferase) ของแบคทีเรียที่ย่อยน้ำตาลให้กลายเป็นกาวเหนียวหนึบทำงานได้น้อยลง ผลคือ ทำให้การเกิดคราบจุลินทรีย์ยากขึ้น

      ...

      • ถ้าจะดื่มชาให้ได้ผลดีจริงๆ... ควรดื่มชาที่ไม่เติมน้ำตาล เช่น ชาจีน ฯลฯ หรือใช้น้ำตาลเทียมช่วย
      • คราบจุลินทรีย์บนผิวฟันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งจะปล่อยสารเคมีจากการอักเสบเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้หลอดเลือดอักเสบ และตีบตันได้เร็วขึ้น...
      • การแปรงฟันให้ถูกวิธีด้วยแปรงขนอ่อน ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ การใช้ไหมขัดฟัน และการไปตรวจช่องปากกับอาจารย์หมอฟันทุกๆ 6-12 เดือนช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้

      ...

      (3). กินกรดโฟลิค

      • วิตามิน B ที่ชื่อ โฟเลต (folate) หรือกรดโฟลิค (folic acid) วันละ 1 เม็ด (400 mcg / ไมโครกรัม) มีส่วนช่วยป้องกันความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์
      • การป้องกันที่ดีคือ ต้องกินตั้งแต่ 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ หรือที่ดีจริงๆ คือ กินตั้งแต่วางแผนจะมีลูก เนื่องจากยากที่จะรู้ได้แน่นอนว่า ตอนไหนเป็นช่วงแรกของการตั้งครรภ์จริงๆ
      • กรดโฟลิคมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคจอตา(จอรับภาพหรือเรตินา)ส่วนกลางเสื่อมสภาพ (age-related macular degeneration / AMD) โรคนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดในคนสุงอายุได้บ่อย โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุยืน

      ...

      (4). กินวิตามิน B

      • วิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ พบว่า การกินวิตามิน B6 (50 mg), B12 (1 mg) & กรดโฟลิค (2.5 mg) เป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงโรค AMD ได้ 41%
      • อาหารที่มีวิตามิน B6 สูงได้แก่ ปลาทะเล กล้วย ไก่ เนื้อวัว ตับ [ WHfoods ]

      ...

      • อาหารที่มีวิตามิน B12 สูงได้แก่ เนื้อวัว ปลาทะเล กุ้ง โยเกิร์ตไขมันต่ำ ตับ และอาหารที่มาจากสัตว์ (วิตามินนี้ไม่พบในพืช ยกเว้นสาหร่ายสไปรูลินา) [ WHfoods ]
      • อาหารที่มีโฟเลตหรือกรดโฟลิคสูงได้แก่ ถั่ว หน่อไม้ ฝรั่ง ปวยเล้ง ตับ [ WHfoods ]
      • ถึงแม้ตับจะมีวิตามิน B สูง แต่ไม่ควรกินตับหรือน้ำมันตับปลาเป็นประจำ เนื่องจากตับมีโคเลสเตอรอลสูง และมีระดับวิตามิน A สูงมากจนอาจเกิดพิษจากวิตามิน A ได้ (น้ำมันปลากินเป็นประจำได้ ปลอดภัย และดีกับสุขภาพด้วย)

      ...

      (5). กินกล้วย

      • มูลนิธิสุขภาพจิตสหราชอาณาจักร (UK) สำรวจพบว่า ผู้หญิงวัยกลางคน 1 ใน 4 มีโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
      • สาเหตุหนึ่งคือ การขาดฮอร์โมนความสุข (serotonin) ซึ่งสร้างจากโปรตีนชนิดหนึ่งชื่อ "ทริพโทฟาน (tryptophan)"
      • อาหารที่มีทริพโทฟานสูงได้แก่ กล้วย ไก่ ปลาทะเล ถั่วเหลือง เนื้อวัว กุ้ง... ขนาดที่แนะนำคือ กล้วยสัปดาห์ละ 4-11 ผล [ WHfoods ]

      ...

       

      (6). ไม่สูบบุหรี่

      • วิธีป้องกันโรคจอตา(จอรับภาพหรือเรตินา)ส่วนกลางเสื่อมสภาพหรือ AMD ที่สำคัญคือ ไม่สูบบุหรี่ [ AMDalliance ]
      • การหลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า กินพืชผักสีเข้ม โดยเฉพาะแถบสี "เขียว-ส้ม-เหลือง" ให้มากพอเป็นประจำ การตรวจเช็คความดันเลือดสูง... ถ้ามีต้องรักษาให้ต่อเนื่องมีส่วนช่วยป้องกันโรค AMD ได้เช่นกัน [ AMDalliance ]
      • การไม่สูบบุหรี่ลดเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก (ผู้หญิงที่สูบเพิ่มเสี่ยง 2 เท่า)
      • กลไกที่เป็นไปได้คือ สารนิโคตินจากบุหรี่ไปสะสมอยู่ที่เยื่อเมือกปากมดลูก ทำให้ภูมิต้านทานโรคต่อเชื้อไวรัสหูด HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกลดลง

      ...

      (7). ไม่ดื่มน้ำอัดลม

      • น้ำอัดลมสีดำหรือกลุ่มโคลา เช่น โค้ก เปปซี่ ฯลฯ มีกรดฟอสฟอริค ซึ่งใช้ในการแต่งรสชาด กรดนี้ทำลายเคลือบฟัน ทำให้เสี่ยงเสียวฟัน ฟันผุ
      • กรดฟอสฟอริครบกวนการดูดซึมแคลเซียม และทำให้เสียแคลเซียมในการขับออกทางปัสสาวะ
      • การศึกษาโรคกระดูกโปร่งบาง (Framingham Osteoporosis Study) พบว่า การดื่มน้ำอัดลมสัปดาห์ละ 5 ดริ๊งค์ (1 drink = 240 มิลลิลิตร = 3/4 แก้วขนาดกลาง หรือ 1.3 ถ้วยตวงหม้อหุงข้าวไฟฟ้า) ทำให้ความหนาแน่นกระดูกลดลง 4%

      ...

      (8). ผอมไปก็ไม่ดี

      • ขณะที่น้ำหนักเกินเพิ่มเสี่ยงต่อโรค เช่น มะเร็งเต้านม เบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ ผู้หญิงที่ผอมไปมักจะมีสุขภาพไม่ดีเช่นกัน
      • ถ้าคิดจากดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง) แล้ว...
      • ผู้หญิงที่มี BMI < 19 เพิ่มเสี่ยงกระดูกโปร่งบางหรือกระดูกพรุน เสี่ยงกระดูกหักเพิ่มขึ้น ถ้ามี BMI < 18.5 มีโอกาสได้ลูกต่ำลง (เครื่องหมาย '<' = น้อยกว่า)

      ...

      (9). หลีกเลี่ยงฮอร์โมนทดแทน (HRT)

      • การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงวัยทอง (hormone replacement therapy / HRT) เพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก และมะเร็งรังไข่

      ...

      (10). รับแสงแดดอ่อน

      • แสงแดดอ่อนก่อน 9.00 นาฬิกาและหลัง 16.00 นาฬิกานานวันละ 10-15 นาที (เขตอบอุ่นหรือหนาวควรเป็น 20 นาที) ช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามิน D ได้มากพอ
      • ผู้หญิงที่มี PCOS หรือกลุ่มอาการรังไข่เป็นถุงน้ำ(ซิสต์ / polycystic ovary syndrome) 50% ขาดวิตามิน D
      • คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเยลพบว่า การให้วิตามิน D เสริมในผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอช่วยลดโอกาสเกิด PCOS 99% และประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ 93%

      ...

      (11). ลูก 2 ก่อนก่อน 30

      • ผลการศึกษา (Million Women Study) พบว่า การมีลูกในช่วง '20s (= 20-29 ปี)' ลดเสี่ยงมะเร็งเต้านม 7%
      • การมีลูก 2-3 คน (เฉลี่ย 2.5 คน) และเลี้ยงลูกด้วยนม 12 เดือน(ยิ่งให้นมลูกนาน ความเสี่ยงยิ่งลดลง) ลดเสี่ยงมะเร็งเต้านม 11%

      ...

      • มูลนิธิ Cancer Research UK ศึกษาพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมทุกๆ 12 เดือนทำให้ความเสี่ยงมะเร็งเต้านมลดลง 4.3% และแถมลดนิ่วถุงน้ำดีได้อีก 7%
      • การศึกษาจากสวีเดนพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนม 1 เดือนลดความเสี่ยงโรคปวดข้อรูมาตอยด์ 25% ถ้าเลี้ยงลูกด้วยนมได้นานกว่า 13 เดือน... ความเสี่ยงจะลดลงไปครึ่งหนึ่ง
      • กลไกที่เป็นไปได้คือ ช่วงตั้งครรภ์ + ให้นมลูกเป็นช่วงที่ฮอร์โมน "หญิงแท้ (แสดงลักษณะเพศหญิง)" หรือเอสโทรเจน (estrogen) ซึ่งมีส่วนกระตุ้นเนื้องอกให้โตเร็วทำงานน้อยลง

      ...

      (12). แอโรบิคไม่พอ... ขอยกน้ำหนักเสริม

      • การศึกษาจากสหรัฐฯ พบว่า การออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก เล่นเวท ดึงสปริง ดึงยางยืด ฯลฯ 16 สัปดาห์ ช่วยลดอาการปวดหลังเรื้อรังได้ 60%
      • ส่วนการออกกำลังกล้ามเนื้อมัดใหญ่ต่อเนื่อง หรือแอโรบิค เช่น วิ่งเหยาะ(จอกกิ้ง) เดินเร็ว ฯลฯ ลดอาการปวดหลังได้ 12%
      • กลไกที่เป็นไปได้คือ กล้ามเนื้อที่แข็งแรงขึ้นมีความทนทานมากขึ้น บาดเจ็บหรือเมื่อยล้าลดลง

      ...

      (13). ระวังท้องอืด

      • อาการท้องอืด-แน่นท้องที่ไม่ดีขึ้นหลังการรักษาด้วยยา 1-2 เดือน... อาจต้องตรวจพิเศษ หรือขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากอาจเป็นโรคอื่น เช่น กรดไหลย้อน (GERD), กระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อโรค (H. pylori), มะเร็งในช่องท้อง ฯลฯ

      ...

      (14). กิจกรรมทางเพศ

      • ศ.นพ.เมฮ์เมท ออซ ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐฯ แนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้... การมีกิจกรรมทางเพศให้ถึงจุดสุดยอดปีละเกิน 200 ครั้ง อาจช่วยให้เป็นสาวขึ้น 6 ปี
      • คู่สมรสจำนวนมากอาจทำให้เกิดความรู้สึกดีต่อกันมากขึ้น... ถ้าได้กอดกันนานหน่อย

      ...

      (15). ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

      • การศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงสหราชอาณาจักร (UK) 1.3 ล้านคน (Million Women Study) พบว่า การดื่มแอลกอฮล์เพียงวันละ 1 แก้วเล็กเพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม 9.5-10.6%

      ...

      เรียนเสนอให้พวกเราเลือกแต่ข้อที่พอทำได้ และทำได้โดย (ชอบ) ธรรม เช่น ถ้าไม่มีคู่ก็ไม่จำเป็นต้องไปมีชู้กับใคร เพื่อจะได้เป็นสาวขึ้นอย่างที่อาจารย์หมอออซแนะนำ ฯลฯ ขอเพียงให้ทำส่วนที่พอทำได้ให้ดี... แบบนี้ก็นับว่า ดีมากๆ แล้ว

      ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

      ...

      ที่มา >                                                

      • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้ท่านนำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 11 เมษายน 2552.
      • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      นักเขียนปิดการแสดงความคิดเห็น
      ×