15 วิธีป้องกันปัญหาฟันสึก-เสียวฟัน - 15 วิธีป้องกันปัญหาฟันสึก-เสียวฟัน นิยาย 15 วิธีป้องกันปัญหาฟันสึก-เสียวฟัน : Dek-D.com - Writer

    15 วิธีป้องกันปัญหาฟันสึก-เสียวฟัน

    15 วิธีป้องกันปัญหาฟันสึก-เสียวฟัน

    ผู้เข้าชมรวม

    772

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    772

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  11 เม.ย. 52 / 17:05 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    น้ำผลไม้หลายชนิดมีความเป็นกรดมากพอที่จะทำให้เคลือบฟันอ่อนลงได้ภายใน 2-3 นาที

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ...

      ศาสตราจารย์มาร์ค โวลฟ์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค สหรัฐฯ ทำการศึกษาผลกระทบจากเครื่องดื่มหลายชนิดต่อฟันของวัว ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายฟันของคนเรา 

      แบ่งฟันเป็นกลุ่มๆ นำไปแช่ในน้ำ เครื่องดื่มชนิดต่างๆ นาน 75-90 นาที ซึ่งผลการศึกษาพบว่า น้ำผลไม้หลายชนิดมีความเป็นกรดมากพอที่จะทำให้เคลือบฟันอ่อนลงได้ภายใน 2-3 นาที

      ...

      การจิบ (sips) เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ฯลฯ ทำลายผิวฟันมากกว่าการดื่ม เนื่องจากระยะเวลาสัมผัสนานกว่า

      และถ้าแปรงฟันหลังดื่มทันที เนื่องจากทำให้เกิดแรงกดในช่วงที่เคลือบฟันยังอ่อน ซึ่งกว่าจะกลับมาแข็งแรงเท่าเดิมจะใช้เวลาประมาณ 30-60 นาทีขึ้นไป

      ...

      ผงขัดในยาสีฟันยังทำให้ฟันที่เพิ่งโดน "แช่น้ำกรด (น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง)" มาใหม่ๆ สึกเร็วขึ้นมาก

      การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เช่น เกเตอเรด (Gatorade; gator = aligator = ไอ้โขง สัตว์เลื้อยคลายคล้ายจระเข้ แต่หน้า-ขากรรไกรสั้นและกว้างกว่า ชือนี้อาจหมายถึง "มีพลังดุจไอ้โขง), เพาเวอเรด (Powerade; power = กำลัง) ฯลฯ มีความเป็นกรดสูงกว่าน้ำอัดลม

      ...

      น้ำอัดลมมีกรดที่ทำลายฟันได้ กรดนี้ต้องขับออกทางไต ทำให้เสียแคลเซียมไปทางปัสสาวะ

      เครื่องดื่มบำรุงกำลังมักจะมีน้ำตาลสูง กรดสูง(เพื่อให้รสชาดดี ทำให้เครื่องดื่มไม่เสียง่าย และอาจทำให้รู้สึกสดชื่นคล้ายการดื่มน้ำมะนาว) เกลือแร่สูง เพื่อชดเชยการสูญเสียเหงื่อ และกำลังงาน

      ...

      ปี 2547 อาจารย์ทันตแพทย์จากสหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) พบว่า การดื่มน้ำอัดลมเพิ่มเสี่ยงฟันสึก (tooth erosion) ในเด็กอายุ 14 ปีเป็น 2 เท่า

      ภาวะนี้มีอันตรายมากกว่าฟันผุ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการเสียวฟัน นอกจากนั้นเคลือบฟันที่บางลงก็ผุง่ายขึ้น

      ...

      วิธีป้องกันฟันสึกที่สำคัญได้แก่ [ News-Medical.net ] , [ ADA ]

      • (1). เวลาดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง นมเปรี้ยว น้ำผึ้ง ฯลฯ ให้ดื่มไปเลย (ไม่ควรเกิน 5 นาที) อย่าจิบหรือดื่มแบบอ้อยอิ่ง (ช้าๆ)
      • (2). การกินอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ผลไม้ ซอสเปรี้ยว น้ำส้มสายชู โยเกิร์ต ฯลฯ ก็ควรใช้หลักการเดียวกัน
      • (3). หลังดื่มเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด ให้รีบบ้วนปากหลายๆ ครั้งทันที และบ้วนปากทุกๆ 10 นาที (ถ้าเป็นไปได้) รออย่างน้อย 20-30 นาทีขึ้นไปค่อยแปรงฟัน
      • (4). หลังกินยาน้ำให้บ้วนปากหลายๆ ครั้งทันที... ยาน้ำส่วนใหญ่มีน้ำตาลปน ยาบางชนิดมีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่าง เช่น ยาลดกรด (มีฤทธิ์เป็นด่าง) ยาของเด็ก(มักจะใช้กรดแต่งรส) ฯลฯ
      • (5). ใช้แปรงสีฟันชนิดขนอ่อน (soft) หรืออ่อนมาก (extrasoft) ปลอดภัยกว่าแปรงสีฟันชนิดขนแข็งปานกลาง (medium)

      • (6). ฝึกแปรงฟันให้ถูกวิธี และแปรงฟันเบาๆ... การแปรงฟันแรงๆ ทำให้ฟันสึกเร็วขึ้น
      • (7). ไม่แปรงฟันบ่อยเกินไป แปรงให้ทั่วถึงวันละ 2-3 ครั้งกำลังดี... การแปรงฟันบ่อยเกินทำให้ฟันสึกเร็วขึ้น
      • (8). ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ไม่ควรใช้ยาสีฟันชนิดผง เนื่องจากกระบวนการผลิตอาจทำให้ผงขัดฟันไม่ได้มาตรฐาน และอาจทำให้ฟันสึกเร็ว
      • (9). ฝึกใช้ไหมขัดฟัน (dental floss) ให้เป็น... ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดส่วนที่แปรงฟันเข้าไม่ถึงได้ดีกว่าน้ำยาบ้วนปากมากมาย ช่วยลดโอกาสเกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ และปริทนต์ (เนื้อเยื่อยึดฟันรอบโคนฟัน)อักเสบ
      • (10). ตรวจช่องปากกับหมอฟันทุก 6-12 เดือน

      • (11). หลังกินยาน้ำ, ให้รีบบ้วนปากหลายๆ ครั้งทันที... ยาน้ำหลายชนิดมีการแต่งกลิ่นรสด้วยกรดและน้ำตาล โดยเฉพาะยาเด็ก ยาลดกรด (มีฤทธิ์เป็นด่าง)
      • (12). หมากฝรั่งชนิดไม่มีน้ำตาลมีส่วนช่วยทำความสะอาดฟันหลังอาหารได้
      • (13). โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease / GERD) อาจทำให้ฟันสึกจากกรดในกระเพาะอาหารได้ จึงควรทำตามคำแนะนำของหมอที่ดูแลท่าน เช่น ไม่กินอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอน 3 ชั่วโมง (กินมื้อเล็กๆ ได้ แต่ควรรอเวลา 1-2 ชั่วโมงก่อนนอน) หลังอาหารไม่เอนตัวลงนอนทันที ฯลฯ
      • (14). ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันอาจช่วยลดอาการเสียวฟันได้
      • (15). ตรวจช่องปากกับอาจารย์หมอฟันทุก 6-12 เดือน

      ...

      ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

      ...

      ที่มา >                                                

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      นักเขียนปิดการแสดงความคิดเห็น
      ×