ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ฉัน... วิจารณ์นิยาย

    ลำดับตอนที่ #3 : Civil War's Diary สงครามและความรัก - puppy cat

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 22
      0
      7 มิ.ย. 57

    ชื่อเรื่อง : Civil War's Diary สงครามและความรัก 
    ผู้แต่ง : puppy cat
    ลิ้งค์ : http://my.dek-d.com/nusikan/writer/view.php?id=1165064
    คะแนน : 7/10
     
    ==================
    เรื่องสำนวน การใช้ภาษา
    - เวลาเราเขียนบรรยาย ก็มักจะเพลิดเพลินไปสักหน่อย จนใช้คำซ้ำโดยไม่รู้ตัว เวลาเขียนถ้ารู้สึกว่า อ่านลื่นจังเลย แสดงว่ามันผิดปกติแล้ว สังเกตให้ดีๆก็จะพบว่า
     
    ยกตัวอย่าง บทนำ
    "ฉันจึงหันหลังกลับแล้วออกวิ่งอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่ฉันจะทำได้ ไม่ถึงวินาที เสียงระเบิดก็ดังขึ้นไล่หลังฉันมาติดๆ ฉันรู้สึกเหมือนตัวเองถูกกระแทกอย่างรุนแรงที่แผ่นหลัง"
    ลื่นดีนะ เรามาสะดุดเอาคำว่าหลังคำสุดท้าย 'หลัง' อีกแล้วเหรอ
    ประโยคนี้มีหลังอยู่ 3 คำ ไม่สังเกตก็ไม่เห็นหรอก แต่ถือว่าอยู่ประโยคติดๆกัน
    ลองคิดเองนะว่า น่าจะปรับช่วงไหน ให้แนะนำ "ไล่หลัง" -> ตาม และตัด "ที่แผ่นหลัง" ออก
     
    อ่านย่อหน้าถัดมา นับ "ฉัน" ได้หลายคำทีเดียว
     
    จะแก้จุดพวกนี้ต้องอ่านซ้ำหลายๆรอบเลยนะ
    เราแก้นิยายเราเป็นสิบรอบแล้ว ก็ยังเจอพวกนี้อยู่
     
    แปลกนะ บทอื่นๆที่อ่านดู เราไม่เจอประโยคคล้ายๆแบบนี้อีก?
    หรือเป็นเฉพาะบทนำ?
    ลองอ่านดูละเอียดๆใหม่อีกหลายๆรอบนะ อาจจะเจอที่แอบซ่อนอื่นอีกก็ได้
     
    ================
    เนื้อเรื่อง
    > บทนำ ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียวนะ เขียนบรรยายได้เห็นภาพ แต่เรารู้สึกมันโหวงๆไปหน่อย 
    - ในนิยายสงครามเรามักเห็นอะไรที่เป็นสัญลักษณ์อยู่บ่อยๆ เช่น จี้ สร้อยคอ แหวน กำไล สัญลักษณ์พวกนี้มันจะทำเกิดพลังในการเล่าเรื่องมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัญลักษณ์ที่โผล่มาตั้งแต่ตอนแรก เมื่อเอ่ยถึงอีกตอนกลางเรื่อง ความหมาย ความสำคัญของมันจะทำให้คนอ่านรู้สึกอินถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของเก่ากับเจ้าของใหม่ เป็นต้น
    - เราพบว่า บทนำยังสามารถใส่อะไรเข้ามาอีกได้เยอะนะ "เนื้อ"เรื่องมันสั้นไปหน่อย (บรรยายเยอะแต่ "เนื้อ" เรื่องไม่เดิน) ถ้าเป็นเราจะเพิ่ม จังหวะที่ตื่นมา ให้ตัวละครได้ทำสิ่งที่เป็นวิถีชีวิตของเขาปัจจุบัน เช่น กินข้าว พูดคุยกับลูกหลาน นั่งกินลมชมวิว บรรยายภาพปัจจุบันให้เห็น แล้วค่อยเริ่มเปิดไดอารี่อ่าน เหตุการณ์เบาๆช่วงนี้เป็นการแนะนำตัวละคร ให้คนอ่านได้คุ้นเคยกับตัวละครบ้างนิดหน่อย มองอีกมุมอาจจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวช่วงหลังสงคราม ทุกอย่างคืนสู่ปกติ ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติ เพราะหลังจากนี้จะย้อนเวลาไปในไดอารี่ใช่ไหม บทต่อไปจะมีแต่สงครามๆๆๆๆ หาช่วงผ่อนคลายให้มันบ้างนะ
     
    > บท1-2 เล่าต่อจากบทนำได้ดีเลย ทำให้เราพอเดาได้ว่าตัวละครในบทนำน่าจะเป็นใคร 
    แต่พออ่านท้ายบท 2 ขึ้น 3-4-5 เราเงยหน้ามองชื่อเรื่อง ย้อนกลับไปอ่านบทนำใหม่ ก็เกิดความสงสัย เห้ย! เรื่องนี้มันอะไรกันแน่?
     
    เราไม่รู้สึกเลยนะว่าเรื่องนี้เป็น Diary เลยนะ
    ความเข้าใจเบื้องต้นของคนอ่านเมื่อเจอคำว่า ไดอารี่
    - เรื่องราวในเรื่องควรจะเป็นเจ้าของไดอารี่ เขียนเล่าในสิ่งที่ตนรู้ ตนเห็น ตนได้ยิน อาจจะเล่าเรื่องที่ตนได้ยินมาบ้าง หรืออาจจะมีคนอื่นมาเขียนในไดอารี่เล่มนี้ก็ได้ แต่ก็ควรลงชื่อไว้ให้รู้ว่าไม่ใช่เจ้าของเหตุการณ์เขียน และที่สำคัญ "ไม่เขียนนอกเรื่องราวที่ตนไม่รู้ ไม่ใช่ของตนโดยเด็ดขาด"
    อยู่ดีๆเล่าเรื่อง ฝั่งมาร์คอฟ มาได้ยังไง!!
     
    เราย้อนกลับไปอ่านเรื่องย่อ เขียนว่า ในมุมมองของหญิง 3 คน เราเอะใจทันที
    แล้วไหนคนที่ 2 และ 3 ละ ? 
    ให้คนอ่านหาเองรึเปล่าว่าอีก 2 คนคือใคร
    ถ้าไรเตอร์ต้องการเล่าเรื่องของหญิง 3 คนจริงๆ
    เขียนบทนำแบบนี้ ทำเอาคนเข้าใจผิดกันหมดเลยนะ
     
    กลับไปที่บทนำ เป็นเรื่องความฝันของหญิงคนหนึ่ง เปิดไดอารี่ย้อนความหลังอ่าน
    เห้ย มันไดอารี่ของคนนี้อ่ะ อยู่ดีๆจะเอามุมมองอื่นมาใส่ในไดอารี่เล่มนี้ได้ไง
    หรือเอาไดอารี่เล่มอื่นมาเปิดซ้อนไดอารี่เล่มนี้ มันผิดหลักธรรมชาติแล้ว
     
    เราเดาว่าไรเตอร์เขียนช่วงของมาร์คอฟเนี่ย 
    น่าจะเป็นไดอารี่ของโซฟีรึเปล่า ไม่น่าใช่ไดอารี่ของอังเดร
    ถ้าเป็นเช่นนี้จริง การดำเนินเรื่องของนิยายเรื่องนี้ "เละ" แล้วนะ
    มันจะสุ่มสี่สุ่มห้ามาเปิดไดอารี่เล่มอื่นได้ยังไง เมื่อไม่เคยมีการกล่าวถึงมาก่อน
    อย่างน้อยที่สุด จ่าหัว ขึ้นวันที่ ขึ้นชื่อเจ้าขอไดอารี่ ยังพอให้อภัย
    แต่ลอยๆแบบนี้ มันหมายความว่ายังไงอ่ะ!
     
    แต่ถ้าอ้างว่าเรื่องของมาร์คอฟ ยังอยู่ในไดอารี่ของอังเดร
    เราก็ร้สึกไม่สมเหตุสมผลนะ นี่ไม่ใช่เรื่องที่จะมาอยู่ได้
    อังเดรรู้เหตุการณ์วันธรรมดาๆวันหนึ่งของ มาร์คอฟ กับโซฟีได้ยังไง
    หรือจะอ้างว่ามาร์คอฟเล่าให้ฟัง เราว่ามันก็ผิดธรรมชาติของไดอารี่โดยสิ้นเชิง
     
    เราวิเคราะห์สาเหตุที่ไรเตอร์เขียนแบบนี้
    เพราะต้องการไล่ลำดับในวันที่ตามปฏิทินใช่ไหม
    แต่ถ้าทำอย่างนั้น มันก็ไม่ใช่ไดอารี่แล้วนะ
    ต้องแยกให้ออกนะระหว่าง ปฏิทินกับไดอารี่
    เหมือนมันจะคล้ายกัน แต่ต่างกันโดยสิ้นเชิงนะ
     
     
    เราอยากให้ทำความเข้าใจเรื่อง Point of View สักหน่อย
    Point of View การเขียนคือ การเล่าเรื่องเป็นไปในมุมมองใด
    - มุมมองบุคคลที่ 1 คนอ่านจะรู้สึกไปกับตัวละคร เรื่องดำเนินตามตัวละครที่ 1 ไรเตอร์จะเขียนในแนวเอาตัวเองเป็นบุคคลๆนั้น ดังนั้นสรรพนามการใช้ มุมมองฉากจะเป็นจากตัวละครหนึ่ง จุดเด่นของการเขียนมุมมองที่ 1 นี้ คือเราสามารถเขียนความคิด เขียนอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครที่เราเลือกให้ดำเนินเรื่องได้ (จะเรียกว่า ตัวละครเป็นผู้ดำเนินเรื่อง)
    - มุมมองบุคคลที่ 3 เขียนเหมือนเรามองลงมาจากเพดาน บรรยายฉาก ผู้อยู่ในเหตุการณ์ เรื่องดำเนินตามเหตุการณ์ ตามเวลา หรือตามกฎที่คนเขียนสร้างขึ้น เราสามารถเขียนในมุมมองพระเอก นางเอก มุมมองคนภายนอก มุมมองบุคคลอื่น หรือเรื่องเล่าจากคนอื่นได้ (แบบนี้จะเรียกว่า เหตุการณ์ เรื่องราวเป็นตัวดำเนินเรื่อง)
     
    เรารู้สึกไรเตอร์จะเขียนในมุมมองบุคคลที่ 3 คือพยายามจะให้ เวลา เหตุการณ์เป็นการดำเนินเรื่อง
    เรื่องดำเนินไปเรื่อยๆ เจอเหตุการณ์โน่นนี่
    มันขัดแย้งกับเรื่องย่อ ชื่อเรื่อง บทนำอีกแล้วนะ
    การเล่าเรื่องแบบไดอารี่เนี่ย ชื่อก็บอกถึงความเป็นบุคคลที่ 1 จ๋าเลย
    มันควรจะเป็นตัวละคร หรือเจ้าของไดอารี่ เป็นผู้ขับเคลื่อนเนื้อเรื่อง 
     
    นี่คือแก่นของเรื่อง ที่เราว่านิยายเรื่องนี้มันแปลกๆ
    ถึงจะเขียนแต่ละช่วงเหตุการณ์ แต่ละตอนสนุกยังไง 
    แต่ภาพรวมของนิยายกับเพี้ยนไปจากสิ่งที่ควรเป็นอย่างมาก คนอ่านจะรู้สึกแปลกๆนะ
     
    เราชมเลยนะว่า เขียนเรื่องในแต่ละปฏิทินค่อนข้างดี บรรยายสมจริง สนุก
    แต่มันเหมือนเขียนนิยายแก๊ก อ่ะ ตอนจบตอน ความต่อเนื่องมันไม่สมจริง เรื่องมันก้าวกระโดด ไม่มีเหตุผลรองรับ
    ถ้ามันเป็นไดอารี่แท้ๆ มันก็ไม่ใช่แบบนี้นะ
    เรื่องมันข้ามไปข้ามมา เหมือนหนังมากกว่าจะเป็นนิยายนะ
     
    เราขอวิจารณ์เนื้อเรื่องเท่านี้ เรื่องพวกนี้เราไม่บอกนะว่าต้องเพิ่มต้องลดจุดไหน ให้ลองคิดวิเคราะห์เอาเอง
    ซึ่งถ้าแบบที่ไรเตอร์เขียนตอนนี้ ให้เหตุผลที่มาที่ไปของแต่ละจุดที่เราวิจารณ์ได้ ก็ไม่ต้องคิดมากอะไรนะ
    เราวิจารณ์ให้ได้เท่าที่อ่าน เราไม่รู้ตอนจบ หรือตอนที่เหตุการณ์ต่างๆมันเชื่อมกัน คำตอบของประเด็นที่เรารู้สึกเป็นปัญหาทั้งหมด อาจมีคำตอบอยู่ในนิยายแล้วก็ได้
    ยังไงก็ให้กำลังใจไรเตอร์ อย่าเพิ่งท้อนะ เขียนแต่ละตอนย่อยๆนี่ใช่ได้แล้ว
    ถ้าวางแผนการเขียนดีๆ วิเคราะห์การใช้มุมมองการเขียนให้ได้ ปรับใหม่นิยายก็จะสนุกยิ่งขึ้นไปอีกๆ
     
    ================
    เรื่องคาแรกเตอร์ ตัวละคร
    ผมว่า ยังสร้างได้ไม่น่าจดจำเท่าไหร่ คือ คาแรคเตอร์ยังไม่ชัดมาก อย่าง อังเดร วัยเด็กกับตอนโตนี่เหมือนจะคนละนิสัย?
    ระหว่างตัวละครที่โผล่มาตาย เราคงไม่รู้สึกอะไรกับมันเท่าไหร่
    แต่ถ้าเกิดมีการกล่าวถึงตัวละครนั้นมาสักนิด เคยทำอะไรร่วมกันสักหน่อย แล้วอยู่ดีๆมาตาย เราก็จะเริ่มรู้สึกเสียดาย สงสาร
    แต่ถ้าตัวละครนั้นเราชอบมากๆตาย คนอ่านก็แทบร้องไห้ตาม
     
    เราว่านิยายแนวสงคราม พยายามเขียนให้ประเภท 2 กับ 3 เยอะๆนะ
    ไม่ต้องรีบตรงดิ่งเข้าฉากสงครามมากนัก สร้างสถานการณ์ สร้างเนื้อเรื่อง ให้เวลากับการสร้างตัวละคร สร้างความสัมพันธ์กับตัวละครหลัก
    นิยายสงคราม คาดหวังคนตายอยู่แล้ว แม้แต่พลทหาร เราก็สร้างความสนิทกับเค้าได้เสมอ
    พอเขาตายที คนอ่านจะยิ่งรู้สึกอินกับนิยายเรามากขึ้นเรื่อยๆ และไปพีคเอาคนสุดท้ายที่ตาย(ถ้าเป็นคนที่สำคัญที่สุด)
     
    ===============
    ความสมจริง อารมณ์ร่วม
    กลับไปอ่านเรื่องคาแรคเตอร์นะ เราว่าโดยรวม การบรรยายเนี่ยใช้ได้เลย แต่การสร้างเหตุการณ์ สร้างสถานการณ์ยังไม่ดีเท่าไหร่ ตอนเขียนให้เวลากับมันหน่อย ตัวละครหนึ่งจะตาย ไม่ต้องฟูมฟาย แต่สร้างเนื้อเรื่องให้เขาตายอย่างมีพลัง และความสำคัญของการตายค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 
     
    ตรงนี้ตอนเราเขียนนี่เราเขียน story board (sb) แยกเลยนะ
    คือมี sb หลัก ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องหลัก
    จากนั้นก็มี sb ความสัมพันธ์กับตัวละคร โดยเฉพาะพระเอกกับนางเอก
    สมมติว่า เริ่มรู้จักกัน --> นางเอกแอบชอบพระเอก --> พระเอกไม่ชอบขี้หน้านางเอก --> จีบกัน ไปเที่ยวกัน พระเอกก็ยังไม่ชอบ --> ไปทะเล พระเอกเริ่มสังเกตว่านางเอกน่ารัก --> นางเอกจีบพระเอก --> พระเอกหลงรักนางเอก --> แต่งงาน
    ความสัมพันธ์แบบนี้ เป็นเหมือน story ย่อยที่ต้องเขียนแยกออกมาเลยนะ
    ซึ่งเราก็สามารถคิดเรื่องแยกย่อย สร้าง impact ให้เรื่องหลักได้อีก
    นี่รวมถึงการสร้างบรรยากาศให้กับตัวละคร สร้างความสมจริง สร้างเหตุผลมารองรับ
    ทุกอย่างล้วนมี sb ของตัวเองหมด
    ===============
    แถม
    (เราไม่แน่ใจเท่าไหร่นะ)
    ในยุคนาซีเนี่ย สงคราม การเมือง เราจะสามารถเห็นฝ่ายขาว ฝ่ายดำ (ฝ่ายพระเอก ฝ่ายผู้ร้าย) ชัดเจนมากๆ
    ไม่มีทางที่ใครจะมองว่า นาซีเป็นฝ่ายดี ทั้งๆเรื่องนั้นนาซีจะเป็นพระเอกก็เถอะ
    ในยุคสงครามเย็น ขาวดำ พระเอก ผู้ร้าย จะมองไม่เห็นแล้ว เรียกว่า เทาๆ
    ไปดู Captain America ภาค 2 รึยัง ชัดเจนมากเลยอ่ะ
    ภาคแรก พระเอกสู้กับไฮดร้า เห็นชัดเลยว่า พระเอกฝ่ายดี ไฮดร้าฝ่ายผู้ร้าย
    แต่พอภาพ 2 ไฮดร้ามันแทรกซึมใน Shield เราเริ่มแยกไม่ออกแล้วว่า ใครดีใครชั่ว
    Hydra แม้อุดมการณ์เดิมจะยังอยู่ แต่วิธีการนั้น ไม่ใช่แบบยุคขาวดำอีกต่อไป
     
    นิยายที่อิงประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะแนวสงครามเนี่ย พยายามเขียนให้ตรงยุคนะ
    มันจะดูเหมือนไรเตอร์ได้อ่านประวัติศาสตร์นั่้นมาจริงๆ
    ถ้าเราเขียนนาซีเป็นแบบเทาๆ เราว่ามันก็แปลกนะ
    ฮิตเลอร์เป็นสัญลักษณ์ของความชั่ว ถ้าเรามองว่าเขาเป็นคนดีเมื่อไหร่ แสดงว่านิยายเราไม่ปกติแล้ว
    ฝากไว้ด้วยแล้วกัน
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×