สายลับจอมปลอม - สายลับจอมปลอม นิยาย สายลับจอมปลอม : Dek-D.com - Writer

    สายลับจอมปลอม

    โดย OHMNET

    นักสืบผู้ทำอะไรบ๊องๆ แต่ก็เกิดผลสำเร็จจนได้

    ผู้เข้าชมรวม

    1,308

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    1.3K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  สืบสวน
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  26 ก.ย. 48 / 12:36 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      การผสมเทียม
      การผสมเทียม อาศัยหลักการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้และตัวเมีย โดยไม่รอการผสมตามธรรมชาติ หากแต่ใช้วิธีรีดน้ำเชื้อจากตัวผู้ แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมียในช่วงเวลาที่ เป็นสัด คือระยะที่ไข่สุก ตัวอสุจิเข้าไปผสมกับไข่ทำให้เกิดการปฏิสนธิ สัตว์ตัวเมียก็จะตั้งท้อง

      หลักการผสมเทียม
      1.การรีดเก็บน้ำเชื้อ ทำได้โดยใช้เครื่องมือช่วยกระตุ้นให้ตัวผู้หลั่งน้ำเชื้ออกมา โดยต้องพิจารณาถึง อายุ ความสมบูรณ์ของตัวผู้ ระยะเวลาที่เหมาะสม และวิธีการซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ เช่น ไก่ สุกร โค และต้องฝึกให้พ่อพันธุ์เชื่องต่อการรีดน้ำเชื้อด้วยเช่นกัน
      2.การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เพื่อตรวจหาปริมาณของตัวอสุจิ และการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูความแข็งแรง อัตราตัวเป็นและตัวตาย
      3.การละลายน้ำเชื้อ เป็นการเติมน้ำยาเลี้ยงเชื้อลงในน้ำเชื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อให้เพียงพอ ในการแบ่งฉีดให้กับตัวเมียหลาย ๆ ตัว น้ำยาเลียงเชื้อที่เติม เช่น ไข่แดง Sodium citrate ยาปฏิชีวน
      4.การเก็บรักษาน้ำเชื้อ มี 2 แบบคือ น้ำเชื้อสด หมายถึงน้ำเชื้อที่ละลายแล้ว และเก็บไว้ที่อุญหภูมิ 4-5 องศาเซลเซียส จะอยู่ได้นานเป็นเดือน แต่ถ้าเก็บที่ อุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานประมาณ 4 วัน อีกชนิดคือ ส่วนน้ำเชื้อแช่แข็ง หมายถึงน้ำเชื้อที่นำไปทำให้เย็นจนแข็ง แล้วนำไปเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส สามารถ เก็บได้นานเป็นปี
      5.การฉีดน้ำเชื้อ สัตว์ตัวเมียที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแม่พันธุ์ ที่จะได้รับการฉีดน้ำเชื้อ จะต้องอยู่ในวัยที่ผสมพันธุ์ได้ การฉีดน้ำเชื้อ ต้องฉีดในระยะที่ตัวเมียเป็นสัด ซึ่งเป็นระยะไข่สุก สังเกตได้โดย สัตว์จะเบื่ออาหาร กระวนกระวาย ร้องบ่อย มีน้ำเมือกไหลที่อวัยวะสืบพันธุ์ และไล่ขี่ตัวอื่น หรือยอมให้ตัวอื่น

      ข้อดีของการผสมเทียม
      1. ทำให้ประหยัดพ่อพันธุ์ ที่มีราคาแพง ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู
      2. สะดวกในการขนส่งเฉพาะน้ำเชื้อ ตัดปัญหาในเรื่องการขนส่งพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ในการนำไปผสมตามธรรมชาติ
      3. ป้องกันโรคติดต่อ หรือโรคระบาด โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      4. สามารถผสมได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงน้ำหนักตัวที่แตกต่างกันมากจากพันธุ์ต่างประเทศ และพันธุ์พื้นเมือง ตลอดจนสามารถผสมข้ามสายพันธุ์ หรือชนิดที่ใกล้เคียงกันได้
      5. แก้ปัญหาการติดลูกยากของแม่พันธุ์ กรณีที่มีความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ เช่น ช่องคลอดผิดปติ ปากมดลูกตีบ หรือคด
      6. ควบคุมระยะเวลาของการมีลูกได้ตามต้องการ หรือตามที่กำหนดได้









      เทคโนโลยีชีวภาพ
      หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้พัฒนาระบบทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ
      ระบบทางชีวภาพ หมายถึง ระบบการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ขั้นตอนการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของร่างกายในระยะต่างๆ ตลอดจนผลผลิตจากสิ่งที่มีชีวิต
      บทบาทของเทคโนโลยีชีวภาพ
      1. ด้านการแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการแพทย์และการสาธารณสุข ที่สำคัญและเห็นได้ชัดมี 3 ด้านด้วยกันคือ
      1.1 การผลิตยา สารปฏิชีวนะเป็นผลผลิตตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม
      1.2 การผลิตวัคซีน ต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางพันธุวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยทำการตัดต่อยีนส์ที่ใช้ในการผลิตแอนติเจนเอาไปเป็นต้นแบบในการผลิตวัคซีน 1.3 การผลิตสารวินิจฉัยโรค เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการสร้างแอนติบอดีที่มีความจำเพาะสูงกับแอนติเจน ได้แก่ โมโนโคลนัล แอนติบอดี้ ซึ่งในในการตรวจวินิจฉัยโรค เช่น โมโนโคลนัลแอนติบอดี้ ซึ่งใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งบางชนิด โรคติดเชื้อและโรคหัวใจบางชนิด
      1.4 การตรวจวินิจฉัยทางด้านอาชญวิทยา เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการตรวจวินิจฉัยทางด้านอาชญวิทยา หรือนิติเวชวิทยา ซึ่งอาจกระทำได้โดยวิธีการที่เรียกว่า “รอยพิมพ์ DNA”
      2. ด้านการเกษตร
          2.1 ด้านการจัดการสาขาพืช ซึ่งได้นำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ 4 ทางด้วยกัน คือ
      1) การปรับปรุงพันธุ์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้ได้ลักษณะพืชตามต้องการ เช่น ความต้านทานโรค ให้ผลผลิตมากขึ้น กระบวนการที่ใช้ คือ พันธุวิศวกรรมและการผสมระหว่างเซล
      2) การขยายพันธ์ ได้นำเอาวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยในการขยายพันธ์ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การผลิตเมล็ดพืชเทียม
      3) การอารักขาพืช เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อช่วยให้พืชพันธุ์ที่ปลูกมีการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีและมีความสมบูรณ์แข็งแรง เช่น การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ซึ่งเป็นการใช้แบคทีเรียกำจัดหนอนใบผัก
      4) การแปรรูปผลผลิตและของเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น การแปรรูปจากมันสำปะหลังให้เป็นแอลกอฮอล์
          2.2 ด้านการจัดการสัตว์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในมาใช้ 4 ทาง คือ
      1) การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้ได้ลักษณะสัตว์ตามต้องการ ซึ่งใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ เช่น เทคนิคทางพันธุ์วิศวกรรม การผสมเทียม การฝากถ่ายตัวอ่อน
      2) การขยายพันธ์ ได้นำเอาวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยในการขยายพันธ์ ได้แก่ การผสมเทียม การฝากถ่ายตัวอ่อน การสร้างและปรับปรุงสถานที่ให้มีความเหมาะสมกับการผสมพันธุ์ วางไข่และเลี้ยงลูกอ่อน การสร้างและปรับปรุงเครื่องฟักไข่
      3) การอารักขาสัตว์ เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้สัตว์ที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีและมีความสมบูรณ์แข็งแรง เช่น การผลิตวัคซีน การผลิตโปรตีน การผลิตยา การผลิตอาหารหลัก การควบคุมศัตรูของสัตว์
      4) การแปรรูปผลผลิตและของเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น นมสดนำมาใช้ทำเป็นนมผง นมกล่อง เนื้อและปลานำมาใช้ทำเป็ฯเนื้อและปลาเค็ม หมู เนื้อ และไก่ นำมาใช้ทำ เป็นไส้กรอก เป็นต้น
      3. ด้านอุตสาหกรรม
      ผลผลิตจากอุตสาหกรรมจำนวนมากได้ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตและการบำบัดมลสาร ซึ่งอาจดำเนินงานได้โดยการใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ ได้แก่
          - การพัฒนาพันธุ์พืช เป็นการพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรม เช่น การผสมระหว่างเซลของยีสต์ 2 สายพันธุ์ด้วยกัน การผลิตไม้ดอกที่มีดอก สี ลักษณะของดอกแปลก ดอกสามารถบานคงทนอยู่ได้นาน
          - การพัฒนาพันธุ์สัตว์ เป็นการพัฒนาพันธุ์สัตว์เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรม เช่น การปรับปรุงสัตว์พันธ์เนื้อให้มีเนื้อมากและคุณภาพของเนื้อที่ดีขึ้น - การพัฒนาอุตสาหกรรมหมัก เช่น การผลิตอาหาร การผลิตสารปฏิชีวนะ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์
      4. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
      เนื่องจากจำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้น ทำให้มีขยะและของเสียปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงต้องมีการพัฒนาหาจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายของเสียเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาช่วยพัฒนากระบวนการกำจัดของเสีย เช่น การออกแบบบ่อ และเครื่องมือที่ใช้ในการสลายตัวของออกซิเจน
      อิทธิพลและผลกระทบที่มีต่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
      ปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น
      1. ประชากรเพิ่มขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านต่าง ๆ เช่น ความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ของเสียและสิ่งปฏิกูลมีปริมาณมากขึ้น
      2. ด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผลกระทบเช่น การแข่งขันผลิตสินค้าและบริการ บุคคลมีความต้องการความสะดวกสลายและความปลอดภัยเพิ่มขึ้นคู่แข่งของเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ เทคนิคการสังเคราะห์สารเคมีต่าง ๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เช่น พันธุวิศวกรรมเป็นวิธีการที่มนุษย์เข้าไปมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านนี้ควรที่จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่ทำให้ยีนส์ที่ถูกทำขึ้นมาใหม่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมและถูกนำมาใช้ในทางที่จะทำให้สังคมของมนุษยชาติไดรับความเดือดร้อน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×