โซเดียมคลอราย??? - โซเดียมคลอราย??? นิยาย โซเดียมคลอราย??? : Dek-D.com - Writer

    โซเดียมคลอราย???

    เป็นความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับโซเดียมคลอไรด์ ที่หวังว่าผู้อ่านคงมีความรู้เกี่ยวกับโซเดียมคลอไรดไม่มากก้อน้อย

    ผู้เข้าชมรวม

    3,706

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    3.7K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  6 ก.พ. 48 / 20:53 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      โซเดียมคลอไรด์คืออะไร  เมื่อพูดถึงคลอไรด์แล้วหลายคนคงนึกไม่ถึงว่ามันคืออะไรแต่ก็คงจะพอเดาได้ว่ามันคือเกลือแต่คงไม่ทราบถึงความหมายที่แท้จริงของมัน   ที่แท้จิงแล้วโซเดียมคลอไรด์ก็คือ เกลือแกง เกลือแกงนั้นมีประโยชน์มากในอุตสาหกรรมในปัจจุบันของประเทศไทย ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงความสำคัญของโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงนั้นให้มากขึ้นกว่าเดิม

         การผลิตโซเดียมคลอไรด์
                   โซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้มาจากทะเลและจากแหล่งแร่เกลือหินในดิน เกลือโซเดียมคลอไรด์ที่ได้จากทะเลเราเรียกว่า เกลือสมุทร และเกลือที่ได้จากน้ำเค็มใต้ดินและจากแหล่งแร่เกลือหินเรียกว่า เกลือสินเธาว์ โดยวิธิการผลิต
      โซเดียมคลอไรด์นั้นมีวิธิการผลิตที่แตกต่างกัน
        
             การผลิตเกลือสมุทร
                      เกลือสุมทรผลิตในจังหวัดชายทะเลหลายจังหวัด  เช่น จังหวัดสมุทรสาคร  สมุทรสงคราม
                 การผลิตเกลือสมุทรแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ การเตรียมพื้นที่นาและการทำนาเกลือ  การเตรียมพื้นที่นาต้องปรับพื้นดินให้แน่นและเรียบ แบ่งเป็นพื้นที่นาเป็นแปลงๆละประมาณ 1 ไร่ ยกขอบของแต่ละแปลงให้สูงเหมือนคันนา  และทำร่องระบายนำระหว่างแปลง พื้นที่นาเกลือแบ่งเป็น 3ตอนคือ  นาตาก  นาเชื้อ และนาแปลง  ซึ่งมีระดับพื้นที่ลดหลั่งตามลงมาตามลำดับเพื่อให้สะดวกในการระบายและขังน้ำทะเล        
                     ก่อนถึงฤดูทำนาเกลือ   ชาวนาเกลือจะระบายน้ำทะเลเข้าเก็บไว้ในวังขังน้ำเพื่อให้ผงและโคลนตกตะกอน  เมื่อถึงฤดูทำนาเกลือ
      คือระหว่างเดือนพฤศจิกายน  ถึงเดือนพฤษภาคม  ชาวนาเกลือจะระบายน้ำทะเลจากวังขังสู่นาตาก  โดยให้ระดับน้ำสูงกว่าพื้นที่นาประมาณ 5 เซนติเมตร กระแสลมที่พัดผ่านและความร้อนจากดวงอาทิตย์จะทำให้น้ำระเหย  เมื่อน้ำทะเลมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.08  จึงระบายน้ำจากนาตากเข้าสู่นาเชื้อ  ที่นาเชื่อนี้  caso4  จะตกผลึก  ซึ้งเป็นผลพลออยได้เมื้อน้ำในนาเชื้อระเหยต่อไปจนมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1 .20 ก็ระบายเข้าสู่นาแปลง หลังจากนั้นประมาณ2วัน Nacl  จะเริ่มตกผลึกและจะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันน้ำทะเลที่เหลือ จะมีความเข้มข้นมากขึ้นจึงต้องระบายน้ำจากนาเชื้อเข้าไปเพิ่มอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้  MgCl,MgSo4 ตกผลึกปนกับ
      NaCl  โดยปกติชาวนาเกลือจะปล่อยให้ Nacl ตกผลึกอยู่ประมาณ 9 -10วัน จึงขูดเกลือออกขณะที่ยังมีน้ำทะเลท่วมเกลืออยู่  พื่อล้างดินที่ติดอยู่กับเกลือออก  เมื่อคราดเกลือมารวมกันเป็นกองๆแล้วจึงระบายน้ำออกจากนาปลง  ทิ้งเกลือไว้ประมาณ 1 -2 วัน โดย  ทั่วไป Nacl ที่ผลิตได้จะมีปริมาณเฉลี่ย 2.5-6.0 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร  และผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งในการทำนาเกลือ
      คือ กุ้งและปลาที่ติดมากับน้ำทะเล

                       การผลิตเกลือสินเธาว์
                     เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าดินที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินเค็ม  เนี่องจากสภาพทางธรณีวิทยาในพื้นที่หลายๆจังหวัด
      มีชั้นเกลือหินและโพแทชอยู่หลายชั้น  ซึ่งจะละลายปนอยู่ในชั้นน้ำใต้ดิน  เป็นสารละลายเกลือ  และเกิดการแพร่กระจายเป็นทิศทางการไหลของน้ำใต้ดิน และบางส่วนก็ถูกพาขึ้นมาสะสมอยู่บนผิวดิน ซึ่งเราก็สามารถแยกเกลือออกมาใช้วิธีการที่แตกต่างกันตามลักษณะของการเกิดเกลือตามธรรมชาติ ดังนี้
                     1.เกลือจากผิวดิน   ทำได้โดยขุดคราบเกลือตามผิวดินมาละลายนำ  กรองเศษดินหรือตะกอนออก  นำน้ำเกลือที่ได้ไปเคี่ยวให้แห้งจะได้เกลือตกผลึกออก  การทำเกลือโดยวิธินี้นิยมทำกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา  ชัยภูมิ
      มหาสารคาม  อุดรธานี  สกลนคร และร้อยเอ็ด เป็นต้น
                    2.เกลือจากน้ำบาดาล เกลือบาดาลมีอยู่หลายระดับ อาจเป็นระดับตื้น 5 -10 เมตรหรือระดับลึก 30 เมตร ในการผลิตเกลือ
      จากน้ำบาดาลนี้ทำได้โดยขุดหรือเจาะลงไปใต้ดินและสูบน้ำเกลือขึ้นมา แล้วนำน้ำเกลือที่ได้ไปต้มในกระทะเหล็กใบใหญ่  โดยใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงซึ้งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่ากันมากต่อมาจึงมีการใช้ลิกไนต์แทนฟืน    


                         นอกจากวิธิการต้มแล้ว  การตาก  เป็นอีกวิธิหนึ่งที่นิยมใช้กันมาก เพราะไม้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องเชื้อเพลิง  แต่ใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำให้น้ำระเหยไป  จะได้เกลือตกผลึกออกมาวิธีนี้เรียกว่า  การทำนาตาก  โดยสูบน้ำจากบ่อเกลือบาดาลมาใส่ในนาตาก  ซึ่ง
      ทำเป็นลานดินหรือลานซีเมนต์
                         ปัจจุบันมีการทำนาเกลือบาดาลกันมากบนเนื้อที่ประมาณ 12,000 ไร่ ได้แก่ บริเวณจังหวัดมหาสารคาม  นครราชสีมา
      ร้อยเอ็ด  สกลนคร  ชัยภูมิ และจังหวัดหนองคายเป็นต้น
                          จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ผมก็หวังว่าจาทำให้ผู้อ่านนั้นได้มีความรู้เกี่ยวกับโซเดียมคลอไรด์เพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งวิธิเรียบเรียงคงไม่ค่อยดีสักเท่าไร และอาจจะไม่ได้ความบรรเทิงสนุกสนานจากบทความนี้นักหรืออาจไม่มีเลย~~ แต่ถ้าท่านผู้อ่านได้สนจัยหรือแค่ลองเปิดมาดูในบทความเรื่องนี้ก็แสดงว่าท่านเป็นผู้ใฝ่รู้ไม่หยุดคิดหยุดอ่าน โดยความจริงแล้วตัวผมนั้นอายุ17ปีเองท่านผู้อ่านคงแปลกใจว่า
      เด็กอายุ17มาเขียนบทความวิชาการอะไรเช่นนี้ ก็ขอกล่าวเฉลยไว้ที่นี้ว่าบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของแบบเรียนสำเร็จรูป โดยแทนที่จะทำเปงรายงาน แต่ผมคิดว่ารายงานเราก้อส่งอาจารย์อาจารย์ซึ่งเก่งแล้วจะยิ่งเก่งไปกานหย่ายสู้นำมาเผยแพร่ต่อคนที่ใฝ่รู้เพียงแค่1คนก็ถือว่าผมประสพความสำเร็จแล้ว เพราะรายงานส่งอาจารย์ไปอาจารย์ก็เอาไปเก็บหรือไม่ก็เกะกะตู้เปล่าๆผมคิดว่างั้นนะงับ และนี่ก็เป็นการเขียนบทความครั้งแรกของผม(ช่ายบทความหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ) โดยมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ที่นี้อีกครั้งงับ^^\"



                                                                                                                                    ||::: เกริกคุงสวาลี::::|

                          
             ขอขอบคุณเวปไซดดีดีที่ให้ข้อมูลกับป๋มงับ><            เอกสารอ้างอิง  www.rtou.ac.th
                                                                                    
                                                                                                         www.fda.moph.go.th
                                                                                                        
                                                                                                         www.kalathai.com

                                                                  
            ขอขอบคุณหนังสือดีดีที่ให้ข้อมูลงับ                         หนังสือเรียนเคมี เล่ม 6 ว 035   ของกระทรวงศึกษาธิการ
                                                      
                                                                                  หนังสือคู่มือเตรียมเอนซทราน\'43 ของหัตถสารการพิมพ์

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×