ความคืบหน้า ของการสำรวจดาวอังคาร - ความคืบหน้า ของการสำรวจดาวอังคาร นิยาย ความคืบหน้า ของการสำรวจดาวอังคาร : Dek-D.com - Writer

    ความคืบหน้า ของการสำรวจดาวอังคาร

    อันนี้ไม่ได้มีคนขอหรอก แต่อยากนำเสนอดู

    ผู้เข้าชมรวม

    1,283

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    1.28K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 มี.ค. 47 / 15:37 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ลำดับความคืบหน้าของโครงการสำรวจดาวอังคาร  

                ยานสำรวจดาวอังคารของนาซ่า “สปิริต (Spirit)” ได้ร่อนลงบนพื้นผิวดาวอังคาร ในบริเวณหลุมอุกกาบาตกูเซฟ (Gusev crater) ในวันที่ 3 มกราคม 2004 ก่อนสามทุ่มเล็กน้อย ตามเวลาฝั่งแปซิฟิคของอเมริกา และเป็นยานลำแรกตั้งแต่ที่ปฏิบัติการ มาร์ส พาธไฟน์เดอร์ (Mars Pathfinder) และโรเวอร์โซเจอร์เนอร์ (Sojourner rover) แตะบนพื้นผิวดาวเคราะห์แดงในปี 1997
      3 มกราคม         สปิริตร่อนลงบนดาวอังคาร ถ่ายภาพพื้นที่ลงจอดส่งกลับมายังโลก หนึ่งในภาพเหล่านั้น เป็นภาพพานอรามา 360 องศาจากกล้องนำทาง (navigation camera)  
      15 มกราคม  สปิริตได้เคลื่อนที่จากฐานเป็นระยะทาง 10 เซนติเมตรลงสัมผัสพื้นผิวดาวอังคารเป็นครั้งแรก  

      16-17 มกราคม          สปิริตศึกษาดินใกล้ๆ ด้วยสเปคโตรมิเตอร์โมสเบาเออร์ (M?ssbauer spectrometer) พบองค์ประกอบ 3 อย่างในดินดาวอังคารคือ โอลิวีน (Olivine-เป็นแร่ที่ประกอบด้วยเหล็ก แมกนิเซียมและซิลิเกต) และธาตุอีก 2 ชนิดที่มีออกซิเจน ซึ่งยังไม่ได้จำแนก และสเปคโตรมิเตอร์รังสีเอกซ์อนุภาคอัลฟา(APXS) พบธาตุซิลิคอน, กำมะถัน, คลอรีน, อาร์กอน (Argon) และธาตุอื่นๆ โดยการพบซิลิคอนและคลอรีน สอดคล้องกับ การตรวจสอบที่แหล่งของยานไวกิ้ง (Viking) และพาธไฟน์เดอร์ นอกจากนี้ ยังพบธาตุที่หายากกว่า อย่างนิกเกิล ทองแดง และสังกะสี

              นอกจากนี้ยังมีเรื่องประหลาดคือ เมื่อโมสเบาเออร์แตะลงบนดิน เม็ดดินกลับ เกาะตัวเข้าด้วยกัน ซึ่ง APXS บอกว่ากำมะถันและคลอรีนบ่งชี้ถึงเกลือ ซึ่งทำหน้าที่ เป็นกาวติดเม็ดดินเข้าด้วยกัน เกลือเหล่านี้อาจจะกำเนิดมาจาก น้ำที่ไหลท่วมดินดาวอังคาร หรือไม่ก็มาจากภูเขาไฟ แต่ที่แน่นอนคือมาจากที่อื่น เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า กูเซฟ เคยเป็นทะเลสาบมาก่อน  

      18 มกราคม         สปิริตมุ่งหน้าไปที่ก้อนหินบะซอลต์ (basalt) ขนาดเท่าลูกฟุตบอล (ประมาณ 30 เซนติเมตร) ที่ให้ชื่อว่า อดิรอนแดค (Adirondack)  
      20 มกราคม          สปิริตทดสอบพื้นผิวของอดิรอนแดค ด้วยกล้องถ่ายภาพจุลทรรศน์ (microscopic imager) APXS และโมสเบาเออร์

      22 มกราคม          สปิริตหยุดส่งข้อมูลกระทันหันและเริ่มรีบูทตัวเอง ก่อนหน้านี้มันกำลังทดสอบดิน และกำลังเริ่มทดสอบอดิรอนแดค ปัญหาเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์ที่หน่วยความจำชั่วคราว  

      24 มกราคม          สปิริตยังคงไม่ทำงาน วิศวกรพยายามจะหยุดวงจรรีบูทตัวเองของสปิริต พวกเขาคิดว่า จะรีบูทยาน โดยใช้หน่วยความจำที่อื่นบนโรเวอร์ ก็คงสามารถควบคุม ยานได้อีกครั้ง
              ออพเพอร์ทูนิตี้ (Opportunity) โรเวอร์ลำที่สองของนาซ่า ได้ร่อนลงจอด บริเวณเมอริเดียนิ พลานุม (Meridiani Planum) ซึ่งเป็นที่ราบใต้ศูนย์สูตรเล็กน้อย อยู่ฝั่งตรงกันข้ามบนดาวอังคารกับหลุมกูเซฟ เมื่อเวลาสามทุ่มห้านาทีตามเวลาฝั่งแปซิฟิค ภารกิจของออพเพอร์ทูนิตี้คือการทดสอบบริเวณร่อนลงจอด ซึ่งเต็มไปด้วยสีเทาของฮีมาไทต์ (hematite) ซึ่งเป็นแร่เหล็กที่ก่อตัวภายใต้สภาวะที่มีน้ำของเหลวด้วย

      28 มกราคม          สปิริตกลับมาทำงานได้อีกครั้ง โดยทดสอบถ่ายภาพและส่งรูปแสดงตำแหน่ง ของแขนกล ซึ่งยัง คงอยู่ในตำแหน่งเดียวกับเมื่อก่อน จะเกิดปัญหา โมสเบาเออร์ที่ปลายแขนกล ชี้ไปยังอดิรอนแดค วิศวกรอาจจะรีฟอร์แมท หน่วยความจำชั่วคราวของสปิริต
              ออพเพอร์ทูนิตี้ ใช้สเปคโตรมิเตอร์ ทดสอบองค์ประกอบของหินและดินจากระยะไกล  

      31 มกราคม          ออพเพอร์ทูนิตี้สัมผัสพื้นดาวอังคารเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งส่งภาพแลนเดอร์ที่ว่างเปล่า พร้อมทั้งรอยล้อ บนพื้นผิวดาวอังคารกลับมายังโลก มันใช้เวลาตั้งแต่ร่อนลงบนดาว เทียบกับ สปิริตที่ใช้เวลา 12 วัน ซึ่งล่าช้าจากปัญหาเรื่องถุงลมที่อาจพันกับโรเวอร์ จากการตรวจสอบ ของสเปคโตรมิเตอร์ของออพเพอร์ทูนิตี้พบว่า มีความเข้มข้นของฮีมาไทต์ มากที่สุด ที่ชั้นบางๆ ในกำแพงของหลุมอุกกาบาตที่มันอยู่

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×