ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แว่วเสียงระฆังโบสถ์สุดท้าย

    ลำดับตอนที่ #4 : แว่วเสียงระฆัง ต่อจากตอน

    • อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 55


     

    แต่ขณะนี้เณรโอ้งไม่สามารถข่มตาให้หลับได้ เมื่อครู่ใหญ่ เพิ่งไปท่องบ่นบทสวดมนต์ที่อุโบสถ

    คืนนี้ดึกสงัด

    และพรุ่งนี้วันพระมาถึงแล้วบรรดาเณรทุกรูปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ก็มารวมตัวกันเพื่อฉันภัตตาคารที่เหล่าญาติโยมนำมาถวาย

    เณรปุ่นและบรรดาเพื่อนเณร ก็นุ่งห่มจีวรให้เรียบร้อย อุ้มบาตรส่วนตัว มานั่งพับเพียบต่อหน้าญาติโยม

    ญาติโยมมากันพร้อมพรั่ง สมกับ เป็นผู้ศรัทธาในศาสนา

    เณรปุ่นพยายามกวาดตามองหาโยมแม่ ที่ท่านต้องมาด้วยแน่นอน

    ระลึกถึงบุญคุณของท่านเสมอ

    แม้ว่า เณรจะอยู่ในโลกของบรรพชิต

    ส่วนโยมมารดาอยู่ในโลกของฆารวาสก็ตาม

    แต่ใจระลึกถึงคุณของมารดาก็เชื่อมถึงกันได้

    หลวงพ่อ เจ้าอาวาส เริ่มต้นให้ศีลให้พร แก่ญาติโยม

    หลังจากที่มัคนายก ทำการอาราธนาศีลเสร็จแล้ว

    เณรบวชแล้วให้อยู่นานๆหน่อยนะ อย่าเพิ่งรีบสึก”

    เหล่าญาติโยมที่รู้จักเณรปุ่น เพราะเป็นคนหมู่บ้านเดียวกัน มักจะบอกแบบนี้

    เณรน้อยได้แต่ยิ้มไม่กล้าพูดออกไป

    เพราความจริง กลัวทำไม่ได้

    เรื่องนี้เป็นเรื่องของอนาคต

    แต่หลายคนที่พูด

    ยังไงเสีย หลวงปู่ก็เป็นอดีตเจ้าอาวาส ยังไงต้องเจริญรอยตามนะ”

    เณรปุ่น เจอคำพูดอีหรอบนี้ ไม่อยากจะตอบเหมือนเดิม

    แต่ว่ากิจของสามเณรหรือเหล่าบรรพชิต ที่ระบุเอาไว้มีอย่างไร

    เณรป่นต้องทำหมด อ่านในวินัยมุข

    กับนวโกวาท

    วินัยบัญญัติ

    นิสสัย 4 อนุศาสตร์ 4 อกรณียกิจ 4

    นี่ต่างหาก คือวิชาที่ผู้ถือบวชต้องเรียนรู้

    เพราะบวชแล้ วไม่มีการเรียนรู้ก็ไม่ได้ความหมายอะไร

    เณรปุ่นโชคดีอย่างหนึ่งที่มีรากฐานทางธรรมเหนียวแน่น

    และมากกว่าเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกัน ที่บังเอิญต้องมาบวชอยู่ด้วยกัน

    ถึงห้ารูปตามมา

    ก็ไม่เข้าในเหมือนกันว่า เป็นบุญหรือกรรม ที่ทราบๆคือเพื่อนเหล่านั้นเมื่อเห็น เณรปุ่นที่เป็นเพื่อนบวชอยู่ ก็นึกอยากจะบวชด้วย

    แต่ไม่ได้มีพิธีรีตองร่วมขบวนแห่เหมือนเช่นเณรปุ่นกับหลวงพี่ที่บวชพร้อมกัน ในหมู่บ้านเดียวกัน

    เณรปุ่นกับเพื่อนเหล่านั้น อยู่คนละหมู่บ้าน

    และเพื่อที่ว่านี้ ก็เพียงให้โยมพ่อพามาหาเจ้าอาวาสก็ทำการโกนหัวโกนคิ้ว บวชในวันนั้นเลย

     

    สามเณรบวชง่าย

    แต่พระนี่ บวชยาก

    การที่มีเพื่อนร่วมรุ่นที่รู้จักกันมาบวชด้วย

    ทำให้ดีอย่างหนึ่ง คือไม่ดีอย่างหนึ่ง

    ที่ดีคือสนุกสนานที่มีเพื่อนมาพูดคุย เพราะรู้จักกันดี

    แต่แบบนนี้ ไม่ดี คือการหย่อนการปฏิบัติ เพราเพลิดเพลินแต่การเล่นและการคุย โดยไม่ได้ตั้งใจฝึกฝนศึกษาหาพระธรรม

    หมดเวลากับการเล่น

    ทำให้เณรที่ตั้งใจปฏิบัติอย่างเณรปุ่น รู้สึกแย่

    หากไม่ทำตามที่เพื่อนขอ ก็ดันมาโกรธและเคือง

     

    มีความรู้สึกว่า ถ้าไม่มีเพื่อนร่วมรุ่นมาบวชด้วยจะดีกว่า

    เพราะได้ปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง เข้มแข็งในการเป็นบรรพชิต

    เพราะว่าเมื่อก่อนเณรปุ่นยังไม่มีเพื่อนเณรร่วมรุ่นเดียวแต่เป็นเณรจากต่างถิ่น

    เณรปุ่นก็ก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของตนเองดี โดยไม่ต้องมีใครมาป่าวร้องบอก

    รู้หน้าที่ ตั้งใจขยัน และอยากจะทำมากกว่าขี้เกียจ

    และยิ่งทำแล้วยิ่งสนุก

    ครั้นพอมีเพื่อนร่วมรุ่นมาบวชด้วยการทำงานวัดแต่ละอย่างเกิดความเกี่ยง

    พอเณรปุ่นอยากจะทำนี้ กวาดกุฏิ หรือว่า ถูพื้น เพื่อนร่วมรุ่นที่บวชด้วยกดลับบอกว่า ไม่ต้องทำ ยังไม่ถึงเวลา

     

    ถูกห้ามอย่างนี้ จึงหยุดชะงัก

    ที่จริงตามปกติ ทำแบบนี้ไม่มีใครห้าม

    แถมกลับรู้สึกดีต่างหาก

    มีความรู้สึกว่า การปฏิบัติธรรม ต่อไปคงเริ่มยากกว่าเดิม

     

    พวกเรามีจีวรครองกันคนละผืนเท่านั้น ตอนบวชมา

    แต่ว่าเณรปุ่นได้รับการอนุเคราะห์จากหลวงพ่อ และหลวงพี่ ท่านอุตส่าห์เอาผืนเก่า ที่ท่านมีเหลือเฟือมาให้

    เณรปุ่นก็ยกมือไหว้ แถมยังให้อังสะ กับผ้าสงบไว้สำหรับนุ่ง

     

     

    หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่ง บรรพชิตต้องออกไปสวดมนต์ตามหมู่บ้าน

    อันนี้หมายความว่ากิจนิมนต์

    พอไปสวดมนต์ครั้งแรก

    มีคำถามกับตัวเองว่า

    เอ๊ะ ทำไมโยมต้องนำเงินมาใส่ซองให้เราด้วย”

    ไม่เข้าใจว่า ไปสวดมนต์ในงานศพหรืองานแต่งงาน ทำไม ต้องได้รับเงินด้วย

    เพราะใจจริงไม่อยากจะได้

    แล้วทำไมต้องให้ด้วย”

    คำถามนี้ ย้อนให้ไปนึกถึงคำบัญญัติของพระพุทธเจ้า ห้ามเหล่าบรรพชิตถือเงินเกิน ห้ามาสก

     

     

     

     


     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×