มวย เฮอลีชวน (Herlichuan fighting) - นิยาย มวย เฮอลีชวน (Herlichuan fighting) : Dek-D.com - Writer
×

    มวย เฮอลีชวน (Herlichuan fighting)

    ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เฮอลีชวน คิดค้นและพัฒนาโดยอาจารย์เกรียงไกร เถลิงพล(อาจารย์ลี)โดยท่านได้นำมวยจีนโบราณมาพัฒนาและผนวกเข้ากับศาสตร์ความรู้อีกหลายศาสตร์เช่น วิชาการแพทย์หลักกายวิภาคและสรีระศาสตร์ พลศาสตร์และปรัชญาของชาวจีนเข้าด้วยกัน จึงได้เกิดศิลปะ

    ผู้เข้าชมรวม

    748

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    748

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  17 พ.ย. 54 / 00:00 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      
    มวยเฮอลีชวน

                มวยจีนเฮอลีชวนเป็นมวยจีนที่ก่อกำเนิดในประเทศไทย โดยลักษณะของสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม กังฟูจีนเองก็มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองอย่างชัดเจน ในกังฟูจีนนั้นมีศิลปะ ปรัชญาและวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงชนชาติจีนอย่างชัดเจน แต่เมื่อกังฟูจีนได้ถูกสร้างใหม่ในประเทศไทยมันก็เกิดความหลากหลายในวิชาของมันเอง  การเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ของวิชาเดิมผมมองว่ามิใช่การลบหลู่ การพัฒนามวยจีนแบบเก่าให้กลายมาเป็นมวยจีนเฮอลีชวนนั้นไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงในวิชาการต่อสู้เท่านั้นมันยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมด้วย       ลักษณะของสังคมไทยจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่นั้นแสดงให้เห็นถึงว่า สังคมไทยตั้งแต่สมัยโบราณมีความเป็นพหุนิยม คือ มีความหลากหลาย ตรงไหนที่มีความหลากหลายหรือเรียกได้ว่ามีความเป็น "พหุ" นั้นผมมองว่า มันเป็นความใจกว้างของสังคม ตรงนี้นี่แหละที่คนหลายคนไม่ได้เอามาพูดให้เห็นถึงสิ่งที่ดีงามของศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว มันไม่ใช่ความรุนแรงป่าเถื่อน ไม่ใช่กีฬาสำหรับคนไม่มีการศึกษา ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวมีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมความดีงามต่างๆแฝงอยู่ด้วยเสมอ        ฉะนั้นการหลอมรวมวัฒนธรรมทางวิชาของมวยเฮอลีชวนมันยังแสดงถึงความใจกว้างของผู้คิดค้น  สามารถเปิดใจที่จะยอมรับในจุดดีในวิชาอื่นและจุดด้อยในวิชาตนเอง มีการปฏิสัมพันธ์กับวิชาการต่อสู้อื่นเพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า ไม่ยึดกับขนบธรรมเนียมเดิม ไม่ยึดติดกับอัตลักษณ์ของตนเองเกินไปจนกระทั่งว่าไม่สามารถเข้าหาผู้อื่นได้เลย แต่การเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้ละทิ้งแกนกลางหรือรากเหง้าของวิชาไป ยังคงมีอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นตัวเองอยู่ นั่นคือสิ่งที่บ่งบอกว่าเราเป็นใคร   "แม้สิ่งใดจะเปลี่ยนแปลงไปเรามิอาจที่จะหยุดการเปลี่ยนนั้นได้ แต่เราจะรักษารากฐาน ไว้ในการเจริญเติบโต"

    หลักสำคัญ 6 ประการในการฝึกเฮอลีชวน
    มวยเฮอลีชวน มีหลักการฝึกที่มีความคล้ายคลึงกับหลักการฝึกของอีกหลายๆศาสตร์แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งหลักการฝึกจะตั้งอยู่บนหลักปรัชญาของเฮอลีชวนในเรื่องของทฤษฎีธาตุทั้ง 5 ดังนี้  

    1.ร่างกายแข็งแกร่ง (ธาตุดิน)       เราต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงก่อนที่เราจะต้องต่อสู้ มีกำลังที่พร้อม นักสู้หลายคนมีเทคนิคที่ดีแต่ไม่แข็งแรง ไม่มีความทนทานก็พ่ายแพ้มาแล้วหลายคน ร่างกายและพละกำลังจึงมีความสำคัญในการฝึกเฮอลีชวนอย่างยิ่ง ตามหลักปรัชญาเปรียบร่างกายเป็นธาตุดิน ดินที่ดีก็ย่อมเหมาะสำหรับการเพาะปลูก เช่นเดียวกันกับร่างกายมนุษย์ ร่างกายที่แข็งแรงย่อมพร้อมสำหรับการทำงาน การเรียน และสำหรับนักสู้ก็ย่อมพร้อมที่จะต่อสู้  

    2.พลังจิตและสมาธิ(ธาตุทอง)
          เมื่อเรามีร่างกายที่แข็งแรงแล้วจิตใจก็จะเบิกบานแจ่มใสไปด้วยเช่น กัน เมื่อจิตใจผ่องแผ่วก็จะเกิดความพร้อมในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ นั่นคือ การเกิดสมาธิ  สมาธิมีความสำคัญอย่างยิ่งในการต่อสู้  สมาธิเป็นตัวกำหนดท่าทาง สมาธิเป็นตัวกำหนดปฏิกิริยา นักสู้ที่มีสมาธิแน่วแน่จะมีความเฉียบคมของกระบวนท่าที่ออกไป ดังคำที่ว่า ใจเป็นตัวกำหนดหมัด เมื่อเราควบคุมจิตใจได้เราก็จะควบคุมร่างกายได้ ตามหลักปรัชญาเปรียบเทียบสมาธิจิต คือธาตุทองหรือโลหะธาตุ เมื่อดินดีในดินจะก่อเกิดแร่ธาตุที่สมบูรณ์ นั่นคือ ร่างกายแข็งแรงจิตใจก็จะสงบมีสมาธิ  

    3.ความหนักหน่วง(ธาตุน้ำ
    )    เมื่อเรามีร่างกายที่แข็งแรงก็จะมีกล้ามเนื้อและกระดูกที่แข็งแรงมีมวลและน้ำหนักของกระดูกมากขึ้น ที่นี้ถ้าเราเอาสมาธิเข้าไปกำหนดน้ำหนักเพิ่มขึ้นไปอีกก็จะยิ่งเพิ่มความหนักหน่วงได้เป็นทวีคูณ ในการต่อสู้พลังในการโจมตีมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง น้ำหนักในการชกหรือเตะที่ออกไปต้องหนักหน่วงรุนแรง อีกทั้งเวลาตั้งรับต้องรู้จักลื่นไหลตามวิถีของแนวแรงที่เข้ามากระทบด้วย หากเราชกคู่ต่อสู้เป็น 10 หมัด แต่คู่ต่อสู้ไม่เป็นไรเลยแต่เมื่อคู่ต่อสู้จู่โจมกลับเราล้มคว่ำภายในหมัดเดียวของเขา นี่คือตัวอย่างที่ยกมาให้เห็นถึงความสำคัญในข้อนี้          น้ำเป็นสสารที่ไม่แข็งตัวเราไม่สามารถจะหยิบจับมันได้ มันเปลี่ยนสภาพไปตามภาชนะ ตามลักษณะที่อยู่ วิทยายุทธของจีนก็เช่นกัน พยายามที่จะปรับตัวและปรับสภาพของตนเองให้เหมือนกับน้ำ  

    4.ความยืดหยุ่น(ธาตุไม้)  
          ในการฝึกศิลปะการต่อสู้ก็มีหลักการเหมือนพุทธศาสนาคือ ยึดทางสายกลาง ความพอดี เราจะไม่ฝึกจนร่างกายแข็งจนเกินไป หรืออ่อนจนไร้กำลัง แต่จะยึดการฝึกที่สมดุลคือมีทั้งแข็งและอ่อน เหมือนกับไม้ อาจารย์ลีกล่าวไว้ว่า ผู้ฝึกควรฝึกร่างกายให้เหมือนยางรถยนต์ เมื่อมีสิ่งใดมากระทบก็จะสะท้อนแรงกลับไป ในร่างกายของมนุษย์มีเส้นเอ็นอยู่มากมายหากเราเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเส้นเอ็นได้ แรงดีดแรงสปริงก็จะเยอะขึ้น ขอให้ผู้อ่านลองนึกถึง หนังสติ๊กดู ว่าถ้าเราเอาเชือกธรรมดาไปผูกแทนยางก็คงจะไม่มีแรงดีด ฉันใดก็ฉันนั้น หากเรามีความยืดหยุ่นมากพอพลังในการออกหมัดออกเท้าก็จะรุนแรงและรวดเร็วตามไปด้วย  

    5.ความดุดัน(ธาตุไฟ)  
        การต่อสู้จะสิ้นสุดลงได้เร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับการกำหนดจิตใจและการส่งแรงออกไปในการกระทำ เมื่อเรามีองค์ประกอบในหลายๆส่วนข้างต้นแล้วเรายังจะต้องมีความอำมหิตในการต่อสู้ด้วย อาจารย์ลีกล่าวไว้เป็นหลักคิดว่า การต่อสู้ไม่ว่าจะสู้ในรูปแบบไหนก็ไม่ควรปราณี เพราะเมื่อเราไม่ทำเขา เขาก็จะทำเรา แต่ถ้าเราจู่โจมด้วยจิตใจที่ไม่มีความปราณี เหมือนดั่งไฟที่เผาผลาญทุกอย่างที่เข้ามา เราก็จะเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ ในชีวิตประจำวันเราก็จะเห็นตัวอย่างในข้อนี้ได้ชัดเจนกรณีที่มีการชกต่อยกันหรือการฆาตกรรมกัน คนที่ทำในกรณีแบบนี้ ทำด้วยโทสะ ทำด้วยความโมโห จนไม่มีคำว่าเมตตาปราณีอยู่ในใจในขณะนั้นจนขนาดถึงฆ่าคนได้ แต่ในการต่อสู้เราจะกำหนดยังไงนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้นๆด้วยหากเราควบคุมมันได้เป็นอย่างดีความสำเร็จในการฝึกฝนก็คงอยู่ไม่ไกล  

    6.ว่องไวและต่อเนื่อง(ธาตุลม)  
           มวยเฮอลีชวนนอกจากจะมี 5 ธาตุแล้ว ยังมีที่เพิ่มเข้ามาอีก 1 ธาตุคือลม ซึ่ง

    ประโยชน์ของมวยเฮอลีชวน
                  มวยเฮอลีชวนมีประโยชน์มากมายเพียงแต่เสียสละเวลาวันละเล็กน้อยทำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเกิดผลดีอย่างไม่น่าเชื่อ ประโยชน์หรือคุณค่า พอจะกล่าวได้ดังนี้  

    1.มวยเฮอลีชวนเป็นวิธีบริหารร่างกายที่สมบูรณ์แบบเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง 

    2.มวยเฮอลีชวนเป็นกุศโลบายแห่งการฝึกจิตใจให้เป็นสมาธิ  

    3.มวยเฮอลีชวนช่วยบำบัดโรคภัยได้หลายชนิด  

    4.มวยเฮอลีชวนเป็นศิลปะการต่อสู้เพื่อการป้องกันตัว  
           
                    โดยทั่วไปแล้ววิทยายุทธของชาวจีนจะมีเป้าหมายในการฝึกเพื่อบริหารร่างกาย ให้แข็งแรงแต่ก็แฝงไปด้วยยุทธวิธีในการต่อสู้ป้องกันตัวด้วย ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเป็นศิลปะที่มีความเกี่ยวพันกับหลักการทางศาสนา ทั้ง พุทธ เต๋า และเซน และยังมีความเป็นวิทยาศาสตร์อีกด้วย มวยเฮอลีชวนก็เช่นเดียวกัน ท่านอาจารย์ลีได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทั้งจิตและกาย เพื่อพัฒนาร่างกายและจิตใจไปให้ถึงขีดสุด การฝึกเฮอลีชวนต้องทำจิตใจให้สงบเยือกเย็น ฝึกสติให้ว่องไว มีสมาธิแน่วแน่มั่นคง ทุกครั้งที่เราฝึกเราจะต้องปล่อยวางเรื่องราว อันก่อให้เกิดความวุ่นวายในจิตใจทั้งหลายออกไปให้หมด ต้องกำจัดความฟุ้งซ่านต่างๆออกไป ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่ามวยเฮอลีชวนมีประโยชน์ทางด้านจิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะฝึกคนให้มีสมาธิตั้งมั่น มีสติรวดเร็ว ทำให้คนควบคุมอารมณ์ตนเองได้ในทุกสถานการณ์ อีกทั้งยังทำให้ผู้ฝึกเป็นคนที่มีความหนักแน่นทางอารมณ์ มีเมตตา รู้จักให้อภัยคนอื่น เป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น        ในทางร่างกายการฝึกเฮอลีชวน จะทำให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายมีโอกาสได้เคลื่อนไหวอย่างทั่วถึง อีกั้งยังเป็นการบำบัดรักษาโรคได้อีกด้วย เมื่อจิตดีกายแข็งแรงย่อมจะเกิดปัญญา เมื่อมี อีคิว ที่ดีพร้อม ก็ย่อม พัฒนา ไอคิว ไปได้ด้วย ฉะนั้นการฝึกศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวไม่ว่าแขนงไหนหากเรารู้จักนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ก็ย่อมจะสร้างคุณมากกว่าสร้างโทษ 

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น