ข้อมูลของหนัง :ชื่อเรื่อง :
싸이보그지만 괜찮아 -
I'm a Cyborg, But That's Ok (Cyborg Girl)
ผู้กำกับ : Park Chan wook
เขียนบท : Park Chan wook
นักแสดง :
Jung Ji Hoon (Bi - Rain) &
Im Soo Jungประเภท : Romantic Comedy
ความยาว : 105 นาที
วันที่ออกฉายในเกาหลี : 7 ธันวาคม 2549
(เกาหลีใต้)วันที่เข้าฉายในไทย :
22 มีนาคม 2550 New Update!
ผลิตโดย : CJ Entertainment
ประเทศ : เกาหลีใต้
เว็ปไซต์ :
http://www.cyborg2006.co.krบทบาท : *...เรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นในโรงยาบาลโรคจิต...เมื่อทั้งสองคนมาพบกัน...*เรน : ชายหนุ่มที่เป็นโรคขี้ขโมยและต่อต้านสังคม ผู้มีความเชื้อว่าสามารถขโมย ความสามารถของคนอื่นได้
อิมซูจอง : หญิงสาวที่คิดว่าตัวเองเป็นหุ่นยนต์ จนอยากจะเติมเชื้อเพลิงมากกว่าการกินอาหาร
เรื่องย่อ
[B]"ปาร์ค อิล-ซุน" : ชายรูปร่างสูงใหญ่คล้ายนายแบ มีจิตใจใส่ซื่อบริสุทธิ์แต่กลับพักอยู่ในโรงพยาบาลโรคจิต สมัยเด็กเขาถูกเลี้ยงมาด้วยความโหดร้ายทารุณ
ดังนั้นพอเขาประสบปัญหาที่แก้ไม่ได้ เขาก็จะสวมหน้ากากเพื่อไม่ให้ใครหาเขาพบ แต่สิ่งที่
อิล-ซุน ชอบทำมากที่สุดก็คือการสังเกตคนอื่น เขาคิดว่าตัวเอง
มีความสามารถพิเศษในการขโมยนิสัย บุคลิก อารมณ์ ความสามารถ หรือแม้กระทั้งความรู้สึก เขาจะขโมยทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาจะคิดได้ และแล้ววันหนึ่ง
เขาก็ได้พบกับเด็กผู้หญิงที่เพิ่งเข้ามาใหม่ ชื่อว่า
ชา ยอง-กุน ผู้ซึ่งมีทรงผลกระเซอะกระเซิง ตากลมโต ตัวเล็ก แล้วเธอคนนี้นี่แหละ...เป้าหมายใหม่ของ
อิล-ซุน "ชา ยอง-กุน" : ชอบสะพายกระเป๋าใบใหญ่ ซึ่งข้างในเต็มไปด้วยเม้าคอมพิวเตอร์ วิทยุ ฟันปลอม นอกจากนี้ยังมีกล่องอาหารด้วย แต่
อิล-ซุน ก็พบว่า
เธอไม่เคยกินข้าวเลยในกล่องอาหารมีแต่แบตเตอรี่
ยอง-กุน กระซิบบอก
อิล-ซุน ว่าความจริงแล้วเธอเป็นหุ่นยนต์ ถ้ากินอะไรเข้าไปแล้ว
จะทำให้เครื่องเสียทันที จากนั้น...ทั้งสองคนก็กลายเป็นเพื่อนสนิทกัน
แต่แล้ววันหนึ่ง
อิล-ซุน ไม่ได้ทานอาหารจนร่างกายซูบเซียวถึงขั้นอันตราย
อิล-ซุน จึงสาบานว่าเขาจะต้องซ่อมหุ่นยนต์แฟนสาวให้หายให้ได้...
เนื้อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงบทของ “อิมซูจอง” และความท้าทายของ “ชองจีฮุน” “อิมซูจอง” และ “ชองจีฮุน” ได้สร้างความสดและการเปลี่ยนแปลง เพื่อบทบาทอันน่าทึ่ง ทั้งหน้าตา วิธีการพูด การแสดงออกทางสีหน้า การแสดงอารมณ์ และอื่นๆ “อิมซูจอง” รับบท Young-goon ตัวละครที่ไม่เหมือนใครที่คิดว่าตัวเธอเป็นหุ่นไซบอร์กซึ่งทำตามคำสั่งทางวิทยุ พูดคุยกับสิ่งของต่างๆ และมีกล่องอาหารกลางวันที่เต็มไปด้วยแบตเตอรี่ Young-goon เป็นหญิงกล้าแต่บริสุทธิ์ และลึกลับ ด้วยคิ้วที่เหมือนโมนาลิซ่า และทรงผมที่คล้ายกับตัวละครของ CHOI Min-shik ในเรื่อง Old Boy แม้ว่าเธอจะมีหุ่นผอมอยู่แล้ว แต่เพื่อถ่ายทอดให้เห็นว่า Young-goon อดอาหารมาเป็นเวลานาน เธอต้องลดน้ำหนักอีก 5 กก. เพื่อบท เธอยังต้องแสดงถึงความทุ่มเท และจิตวิญญาณในการแสดงฉากยากๆ อย่าง ฉากฝันกลางวันของเธอ
“เรน” ทำให้โลกรู้จักเขาในฐานะนักร้อง และเปิดตัวเป็นครั้งแรกในฐานะนักแสดงภาพยนตร์ด้วยชื่อจริงของเขา “ชองจีฮุน” ร่างกายที่เต็มไปด้วยมัดกล้ามของเขาถูกซ่อนภายใต้ชุดของโรงพยาบาล ผมของเขาดูเหมือนมีเสาอากาศมากมาย เขาเปลี่ยนไปสู่ Il-soon พวกแอนตี้สังคม และเพื่อแสดงเป็นตัวละครที่ขโมยตัวตนและทักษะพิเศษของคนอื่น เขาต้องเรียนรู้จาก SUH Yong-ryul เป็นเวลา 1 เดือนก่อนการถ่ายทำ นอกจากนั้น เขายังต้องถือไม้ตีปิงปองตลอดเวลา แม้กระทั่งช่วงตารางการบันทึกเสียงอัลบั้มใหม่ของเขา เพื่อให้ตีได้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่จะได้เห็นดาว 2 ดวงถ่ายทอดในสิ่งที่พวกเขาแตกต่าง แต่กลับเป็นคู่ที่เหมาะสม
“พื้นที่โล่งกว้าง” ที่ซึ่งคนอื่นพร้อมด้วยโลกส่วนตัวของพวกเขาอยู่ร่วมกัน
“โรงพยาบาลโรคจิต” ถูกสร้างขึ้นในโรงพยาบาล
โรงงานที่ส่งเสียงหนวกหูใน Sympathy For Mr.Vengeance, คุกส่วนตัวใน Old Boy และคุกใน Sympathy For Lady Vengeance ในภาพยนตร์หลายเรื่องของผู้กำกับ ปาร์ค ซานวูค สถานที่หลายแห่งโดดเด่น เต็มไปด้วยเรื่องราว เรื่อง I’m A Cyborg But That’s OK ยังเกิดขึ้นในสถานที่พิเศษ คือ โรงพยาบาลโรคจิต โรงพยาบาลโรคจิตในภาพยนตร์ต่างจากโรงพยาบาลทั่วไป และเปิดกว้างให้กับคนไข้ได้เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ ตัวโรงพยาบาลถูกสร้างที่ท่าเรือยอร์ชตที่อ่าว Soo-young เมืองปูซาน ห้องโถงของโรงพยาบาล ห้องคนไข้หญิง ห้องคนไข้ชาย ห้องรักษาด้วยไฟฟ้า ห้องอาบน้ำ และอื่นๆ มีให้เห็นเพียงแวบเดียว ยกเว้น ห้องสันทนาการ และห้องเสถียรภาพ ตัวละครที่อยู่ในโลกส่วนตัวของพวกเขาอยู่ร่วมกันในพื้นที่อิสระแห่งนี้ ตัวโรงพยาบาลถูกทำให้เป็นโลกลึกลับเหมือนเทพนิยาย อย่างใน Alice In Wonderland โดยใช้สีขาวและโทนสีอ่อน ควบคู่ไปกับความพยายามอย่างสร้างสรรค์เพื่อถ่ายทอดโลกใหม่ I’m A Cyborg But That’s OK เชื้อเชิญผู้ชมสู่โลกที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เป็นครั้งแรกที่ใช้กล้องเฮชดี ไวเปอร์ ฟิล์มสตรีมในเกาหลี
คอมพิวเตอร์กราฟฟิคหลากหลายเพื่อสัมผัสถึงโลกแฟนตาซี
ขณะที่โลกภาพยนตร์กำลังพยายามใช้เทคโนโลยีใหม่ต่างๆ I’m A Cyborg But That’s OK ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเฮชดี เพื่อผลิตภาพยนตร์เฮชดีด้วยต้นทุนและเวลาการสร้างต่ำ “กล้องไวเปอร์ ฟิล์มสตรีม” ถูกใช้เพื่อสร้างคุณภาพของภาพเหมือนกับกล้องภาพยนตร์ปกติ ล่าสุดกล้องชนิดนี้ถูกใช้ในหนังหลายเรื่อง เช่น หนังของเดวิด ฟินเชอร์ เรื่อง Zodiac และหนังของไมเคิล มานน์ เรื่อง Miami Vice แต่ไม่เคยใช้มาก่อนในประเทศเกาหลี ถือเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ในการใช้กล้องนี้ แต่ผู้กำกับ ปาร์ค ซานวูค มั่นใจว่าจะได้ภาพอย่างที่เขาคิดไว้ กล้องเฮชดีสามารถจับภาพได้กว้างกว่าเมื่อเทียบกับกล้องภาพยนตร์ปกติ และยังช่วยประหยัดต้นทุน แต่อาจจะทำให้คุณภาพของภาพยนตร์ลดลง ดังนั้น ทีมงานจาก Sympathy For Mr.Vengeance, Old Boy และ Sympathy For Lady Vengeance ได้เข้ามาร่วมงานเพื่อช่วยการถ่ายทำ การจัดแสงเพื่อเพิ่มคุณภาพของภาพยนตร์ให้ถึงที่สุด
ตัวละครและเนื้อเรื่องของ I’m A Cyborg But That’s OK มีหลายจุดที่เหมือนเป็นแฟนตาซี ดังนั้นตัวหนังจึงมีภาพคอมพิวเตอร์กราฟฟิคมากกว่าผลงานเรื่องก่อนหน้าของ ปาร์ค ซานวูค ฉากที่กระสุนพุ่งจากปลายนิ้วของ Young-goon เป็นหนึ่งในฉากที่ให้รายละเอียดและสมบูรณ์แบบ และฉากที่ตัวละครหลักบินเหนือวิวเหมือนเนินเขาในสวิสถูกถ่ายทำด้วยโครม่าคีย์ แล้วเติมเมฆเข้าไปทีหลัง หลายๆฉากเช่น ฉาก Young-goon บินผ่านเมฆบนเตียง เชื้อเชิญให้ผู้ชมไปสู่โลกในจินตนาการด้วยภาพที่เหมือนกับในหนังสือเทพนิยาย I’m A Cyborg But That’s OK ได้ลองสไตล์ใหม่ในภาพยนตร์ ผ่านทางการใช้อุปกรณ์การถ่ายทำที่ไม่เคยใช้มาก่อนในประเทศ และการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคต่างๆ ตัวหนังจะได้รับการบันทึกว่าเป็นหนังที่เปิดความท้าทายใหม่ ด้วยเนื้อหาและรูปแบบการสร้าง และการใช้รูปแบบใหม่ๆ
ตัวละครหลายตัวทำให้หนังพิเศษยิ่งขึ้น
โดยถ่ายทอดตัวตนที่เหมือนใครและน่าขันของพวกเขา
เครดิต
http://forums.popcornfor2.com/index.php?showtopic=23836christmas with u - se7en
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น