เทพีอาเทน่า Athena - เทพีอาเทน่า Athena นิยาย เทพีอาเทน่า Athena : Dek-D.com - Writer

    เทพีอาเทน่า Athena

    ผู้เข้าชมรวม

    1,211

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    1.21K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 พ.ย. 50 / 09:05 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ...ในคณะเทพโอลิมเปียนมีเทวีพรหมจารีอยู่ 3 องค์ ทรงนามตามลำดับว่า เฮสเทีย (Hestia) เอเธน่า (Athene) อาร์เตมิส (Artemis) องค์แรกเป็นเทวีภคินีของเทพปริณายกซูส ส่วน 2 องค์หลังเป็นธิดา แต่ละองค์มีประวัติและความสำคัญดังจะกล่าวต่อไปนี้

      อันเทวดาของกรีกนั้นถึงแม้ไม่ตายก็หาความรู้สึกเจ็บปวดในกายองค์ไม่ การถือกำเนิดของเอเธน่านั้น กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่ง ซูส เทพบดีได้รับคำทำนายว่า โอรสธิดาที่ประสูติแต่มเหสีเจ้าปัญญานาม มีทิส (Metis) นั้นจะ มาโค่นบัลลังก์ ของพระองค์ ไท้เธอก็แก้ปัญหาด้วยการจับเอามีทิสซึ่งทรงตั้งครรภ์แก่นั้นกลืนเข้าไปในท้อง แต่เวลาไม่ นานนัก เทพปริณายกซูสบังเกิดอาการปวดเศียรขึ้นมา ให้รู้สีกปวดร้าวเป็นกำลัง ไท้เธอจึงมีเทวโองการสั่งให้เรียก ประชุมเทพ ทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ให้ช่วยกันหาทางบำบัดเยียวยา แต่ความอุสาหพยายามของทวยเทพก็ไม่เผล็ดผล ซูส ไม่อาจทนความ เจ็บปวดต่อไปได้ ในที่สุดจึงมีเทวบัญชาสั่งโอรสองค์หนึ่งของไท้เธอ คือ ฮีฟีสทัส (Hephaestus) หรือ วัลแคน (Vulcan) ให้ใช้ขวานแล่งเศียรของไท้เธอออก เทพฮีฟีสทัสปฏิบัติตาม เอาขวานจามลงไป ยังไม่ทัน เศียรซูสจะแยกดี เทวีเอเธน่าก็ผุด ขึ้นมาจากเศียรเทพบิดา ในลักษณะเจริญวัยเต็มที่แต่งฉลององค์หุ้มเกราะแวววาว พร้อมสรรพ ถือหอกเป็นอาวุธ และประกาศ ชัยชนะเป็นลำนำกัมปนาทเป็นที่พิศวงหวั่นหวาดแก่ทวยเทพเป็นที่สุด พร้อมกันนั้นทั่วพื้นพสุธาและมหาสมุทร ก็บังเกิด อาการสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นอย่างใหญ่ ประกาศกำเนิดเทวีองค์นี้สนั่นไป ทั้งโลก

      การอุบัติของเทวีองค์นี้ถือว่าเป็นไปเพื่อยังสันติสุขให้บังเกิดในโลกและขจัดความโฉดเขลาที่ครอง โลกจนตราบ เท่าบัดนั้นให้สิ้นไป ด้วยว่าพอเจ้าแม่ผุดจากเศียรซูส เทวีแห่งความโฉดเขลาซึ่งไม่ปรากฏรูป ก็ล่าหนีให้เจ้าแม่เข้า ครองแทนที่ ด้วยเหตุนี้เทวีเอเธน่าจึงเป็นที่นับถือบูชาในฐานะเทวีครองปัญญา นอกจากนั้น เจ้าแม่ยังมีฝีมือในการ เย็บปักถักร้อย และการยุทธศิลปป้องกันบ้านเมือง

       

      ภายหลังการอุบัติของเจ้าแม่เอเธน่าไม่นาน มีหัวหน้าชนชาวฟีนิเชียคนหนึ่งชื่อว่า ซีครอบส์ (Cecrop) พาบริษัทบริวาร อพยพเข้าไปในประเทศกรีซเลือก ได้ชัยภูมิอันตระการตาแห่งหนึ่งในแคว้น อัตติกะ (Attica) ตั้งภูมิลำเนาก่อสร้างบ้านเรือน ขึ้นเป็นนครอันสวยงามนครหนึ่ง เทพทั้งปวงเฝ้าดูงานสร้างเมืองนี้ด้วยความ เลื่อมใสยิ่ง ในที่สุดเมื่อเห็นว่าเมืองมีเค้าจะกลาย เป็นนครอันน่าอยู่ขึ้นมาแล้ว เทพแต่ละองค์ต่างก็แสดงความปรารถนาใคร่จะได้เอกสิทธิ์ประสาทชื่อนคร จึงประชุมกันถกถึงเรื่องนี้ เมื่อมีการอภิปรายโต้แย้งกันพอสมควรแล้ว เทพส่วนใหญ่ในที่ประชุมก็พากันยอมสละสิทธิ์ คงเหลือแต่เทพโปเซดอนและเทวีเอเธน่า 2 องค์เท่านั้นยังแก่งแย่งกันอยู่

      เพื่อยุติปัญหาว่าใครควรจะได้เอกสิทธิ์ประสาทชื่อนคร เทพปริณายกซูสไม่พึงประสงค์จะชี้ขาดโดยอำนาจตุลาการที่ไท้เธอ จะพึงใช้ได้ด้วยเกรงว่าจะเป็นที่ครหาว่าเข้า ข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไท้เธอจึงมีเทวโองการว่านครนั้นพึงอยู่ในความคุ้มครองของเทพ หรือเทวี ซึ่งสามารถเนรมิตของที่มีประโยชน์ที่สุดให้มนุษย์ใช้ได้ และมอบหน้าที่ตัดสิน ชี้ขาดให้แก่ที่ประชุม

       

      เทพโปเซดอนเป็นฝ่ายเนรมิตก่อน เธอยกตรีศูลคู่หัตถ์ขึ้นกระแทกลงกับพื้น บันดาลให้มีม้าลำยองตัวหนึ่งผุดขึ้นท่าม กลางเสียงแสดงความพิศวงและชื่นชมของ เหล่าเทพ เมื่อเทพผู้เนรมิตม้าอธิบายคุณประโยชน์ของม้าให้เป็นที่ตระหนักแก่เทพ ทั้งปวงแล้ว เทพต่างองค์ต่างก็คิดเห็นว่า เทวีเอเธน่าคงไม่สามารถเอาชนะเนปจูนเสีย เป็นแน่แล้ว ถึงกับพากันแย้มศรวลด้วย เสียงอันดังแกมเย้ยหยันเอาเสียด้วย เมื่อเจ้าแม่เอเธน่าเนรมิตต้นมะกอกต้นหนึ่งขึ้นมา แต่ครั้นเจ้าแม่อธิบายถึงคุณประโยชน์ ของต้นมะกอก ที่มนุษย์จะเอาไปใช้ได้นานัปการนับตั้งแต่ใช้เนื้อไม้ ผล กิ่งก้าน ไปจนใบ กับซ้ำว่ามะกอกยังเป็น เครื่องหมายถึงสันติภาพและความรุ่งเรืองวัฒนาอีกด้วย และเพราะฉะนั้นจึงเป็นที่พึงประสงค์ยิ่งกว่าม้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายของ สงครามดังนี้ มวลเทพก็เห็นพ้องต้องกันว่า ของที่เจ้าแม่เอเธน่าเนรมิตมีประโยชน์กว่า จึงลงมติตัดสิน ชี้ขาดให้เจ้าแม่เป็นฝ่าย ชนะ

      เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงชัยชนะครังนี้ เจ้าแม่เอเธน่าได้ประสาทชื่อนครนั้น ตามนามของเจ้าแม่เองว่า เอเธนส์ (Athens) และสืบจากนั้นมาชาวกรุงเอเธนส์ก็ นับถือบูชาเจ้าแม่ในฐานะเทวีผู้ปกครองนครของเขาอย่างแน่นแฟ้น

      ตามที่อ่านกันมานั้น เห็นได้ว่าเรื่องนี้ใช่จะแสดงตำนานที่มาของชื่อกรุงเอเธนส์เท่านั้นไม่ หากยังเป็นตำนานกำเนิดของม้าในเทพปกรณัมกรีก และเป็นต้นเรื่อง ของการที่ชาวตะวันตกถือว่า ช่อมะกอกเป็นสัญลักษณ์ของ สันติภาพสืบ ๆ กันมาจนตราบทุกวันนี้

      ยังมีอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับเทวีเอเธน่า แสดงที่มาหรือกำเนิดของสิ่งธรรมชาติสนองความอยากรู้ของคนโบราณดังจะ เล่าต่อไปนี้
      ในประเทศกรีซสมัยดึกดำบรรพกาลโพ้น มีดรุณีน้อยคนหนึ่งประกอบด้วยรูปโฉมสะคราญตาน่าพิสมัย ยิ่ง จนถึงแก่ว่า ถ้านางไม่มีความหยิ่งผยองในฝีมือทอผ้าและปั่นด้ายเป็นยอดเยี่ยมเสียอย่างเดียวเท่านั้น นางก็ คงจะเป็นที่รักของเทพและ มนุษย์ทั้งมวลอย่างไม่ต้องสงสัย

      แน่งน้อยมีชื่อว่า อาแรคนี (Arachne) ด้วยความลุ่มหลงทะนงตนนางสำคัญว่าไม่มีผู้ใดอีกแล้วจะมี ฝีมือเสมอกับนาง ในที่สุดจึงกำเริบถึงแก่คุยฟุ้งเฟื่องไปว่า ถึงเจ้าแม่เอเธน่าจะลงมาประกวดฝีมือกับเธอ นางก็ ยินดีจะขันสู้ไม่รอช้าเลย นางโอ้อวดดังนี้เนือง ๆ จนเจ้าแม่เอเธน่าสุดแสนจะทนรำคาญต่อไปได้ ต้องลงมาจาก เขาโอลิมปัสเพื่อลงโทษนางอาแรคนีมิให้ ใครเอาเป็นเยี่ยงอย่างสืบไป

      เจ้าแม่จำแลงองค์เป็นยายแก่ เดินเข้าไปในบ้านของนางอาแรคนี และนั่งลงชวนคุย ชั่วประเดี๋ยว เดียวนางแน่งน้อยก็จับคุยถึงฝีมือตน และเริ่มโวเรื่องจะแข่งขัน ประกวดฝีมือกับเจ้าแม่เอเธน่าอีก เจ้าแม่ ตักเตือนโดยละม่อมให้นางยับยั้งคำไว้เสียบ้าง เกลือกว่าคำของนางซึ่งพูดเอาเองเป็นเหตุให้เทพเจ้าขัดเคืองจะ ทำให้นางเคราะห์ร้าย แต่นางอาแรคนี้มีจิตมืดมนมัวเมาไปในความทรนงตนเสียแล้วจนไม่แยแสต่อคำตักเตือน กลับพูดสำทับว่า นางอยากให้เจ้าแม่ได้ยินและลงมาท้าประกวดฝีมือเสียด้วยซ้ำ นางจะได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์เพื่อพิสูจน์ว่า คำกล่าวอ้างของนางเป็นความจริง เพียงใด ไม่ใช่พูดเอาเอง คำหยาบหยามนี้ยั่วโมสะเจ้าแม่ถึงขีดสุด ถึงกับ สำแดงองค์ให้ปรากฏแก่อาแรคนีตามจริงและรับคำท้านั้นทันที

      ทั้ง 2 ฝ่ายจัดแจงตั้งหูก แล้วต่างฝ่ายต่างทอลายผ้าอันงามวิจิตรขึ้น เทวีเอเธน่าเลือกเอาภาพตอนเจ้าแม่แข่งขันกับเทพโปเซดอน ส่วนนางอาแรคนีเลือกเอาภาพซูส ลักพานางยูโรปาเป็นลาย ครั้นทอเสร็จ ต่างฝ่ายต่างเอาลายผ้ามาเทียบเคียงกัน สาวเจ้าอาแรคนีรู้สึกทันทีว่าของนางแพ้หลุดลุ่ย ลายรูปโคโลดแล่นลุยไปในทะเล มีคลื่นซัด สาดออกเป็นฟองฝอยกับนางยูโรปาเกาะเขาอยู่ดูอาการกึ่งยิ้มกึ่งตกใจประกอบด้วยเกศาและผ้าสไบปลิวสยายด้วยแรงลม ไม่สามารถจะเทียบกับลายรูปชมรมทวยเทพพร้อม ด้วยรูปม้าและต้นมะกอกเนรมิต ซึ่งดูประหนึ่งมีชีวิตกระดุกกระ-ดิกได้นั้นเลย อาแรคนีแน่งน้อยเสียใจนัก ทั้งเจ็บทั้งอายในความผิดพลาดของตนไม่อาจทนอยู่ได้ เอาเชือก ผูกคอหมายจะแขวนตัวตาย เจ้าแม่เอเธน่าเห็นนางจะด่วนหนีโทษทัณฑ์ไปดังนั้น จึงรีบแปรเปลี่ยนร่างของนางให้กลายเป็นแมงมุมห้อยโหนโตงเตง กับสาปนางให้ต้องปั่น และทอใยเรื่อยไปไม่มีเวลาหยุด เป็นการเตือนมนุษย์ผู้ทรนงทั้งปวงมิให้หลงไปว่าตนอาจจะเทียมเทพไดเป็นอันขาด

      ตามปกติเทวีเอเธน่าประทับอยู่เคียงข้างซูสเทพบิดามิได้ขาด ด้วยซูสมักจะโปรดหารือฟังความเห็น คำแนะนำอันแยบคายของเจ้าแม่เนือง ๆ ยามมีศึกสงคราม เกิดขึ้นในโลกเจ้าแม่ขอประทานยืมโล่อันพึงสยบสยอนของเทพบิดาสพายลงมาสนับสนุน ฝ่ายที่มีเหตุผลอันชอบธรรมในการสงครามเป็นนิตย์ ดังเช่น สงครามกรุงทรอยอัน ลือลั่นนั้น เอเธน่าก็เข้าร่วมด้วย โดยยืนอยู่ข้างฝ่ายกรีก ในขณะที่เทพองค์อื่น ๆ เช่น เทวีอโฟร์ไดที่กับเทพเอเรสเข้าข้างฝ่ายทรอย เรื่องราวความสามารถในการสงครามของ เทวีเอเธน่า จึงทำให้เจ้าแม่กลายเป็นเทวีอุปถัมภ์ของบรรดานักรบ อีกอย่างหนึ่งด้วย วีรบุรุษคนสำคัญ ๆจะไม่เกิดขึ้น หากขาดความช่วยเหลือของเจ้าแม่ เอเธน่าเคยช่วย เฮอร์คิวลิส ในการทำงาน 12 อย่างตามคำสั่งของเทวีฮีร่า เคยช่วยเปอร์เซอุสสังหารนางการ์กอนเมดูซ่า ช่วยโอดีสซีอุส (หรือยูลิซิส) ให้เดินทางกลับบ้านจากยุทธภูมิทรอย อย่างปลอดภัย กับทั้งยังช่วยเหลือเตเลมาคัส บุตรชายของโอดีสซีอุสให้ตามหาพ่อจนสำเร็จ

      ชาวกรีกนับถือเจ้าแม่อย่างแพร่หลายอยู่มาก ถึงกับสร้างวิหารและที่บูชาอุทิศถวายเจ้าแม่ไว้ เป็นจำนวนมากนับ ไม่ถ้วน ที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ วิหาร พาร์ธีนอน ณ กรุงเอเธนส์ ซึ่งเดี๋ยวนี้เหลือ แต่ซาก แต่ก็ยังมีเค้าของฝีมือก่อสร้าง อย่างวิจิตรพิสดารปรากฏอยู่ให้เห็น

       

      นอกจากชื่อเอเธน่าหรือมิเนอร์วาแล้ว ชาวกรีกและโรมันยังรู้จักเจ้าแม่ในชื่ออื่น ๆ อีกหลาย ชื่อ ในจำนวนนี้มี ชื่อที่แพร่หลายกว่าเพื่อนได้แก่ พัลลัส (Pallas) จนบางทีเขาเรียกควบกับชื่อ เดิมว่า พัลลัสเอเธน่า ก็มี ว่ากันว่า มูลเหตุของชื่อนี้สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมตอนเจ้าแม่ปราบยักษ์ชื่อ พัลลัส ซึ่งไม่ปรากฏตำนานชัดแจ้ง อาศัยเหตุที่ เจ้าแม่ถลกหนังยักษ์มาคลุมองค์ คนทั้งหลายเลยพลอย เรียกเจ้าแม่ในชื่อของยักษ์นั้นด้วย และเรียกรูปประติมา หรือ อนุสาวรีย์อันเป็นเครื่องหมายถึงเจ้าแม่ ว่า พัลเลเดียม (Palladium) ในที่สุดคำว่า Palladium ก็มีที่ใช้ใน ภาษาอังกฤษถึงภาวะหรือ ปัจจัยที่อำนวยความคุ้มครองหรือความปลอดภัยให้เกิดแก่ชุมชน ทำนอง Palladium ที่ชาวโรมัน อารักขาไว้ในวิหารเวสตาฉะนั้น

       

      เกี่ยวกับการครองความบริสุทธิ์ของเจ้าแม่ มีเรื่องเล่าว่า เทพฮีฟีสทัสหมายปองเจ้าแม่ใคร่จะได้วิวาห์ด้วย ได้ทูลขอต่อเทพ บิดา เทพบิดาประทานโปรดอนุญาต แต่ให้ฮีฟีทัสทาบทามความสมัครใจของเจ้าแม่เอาเอง เทพฮีฟีทัส ไปทำรุ่มร่ามเข้าอย่างไรไม่ปรากฏ เจ้าแม่ไม่เออออด้วย ในที่สุดฮีฟีสทัสก็เดินแบบเจ้าชู้ยักษ์ หมายจะรวบรัด ในระหว่างการ ฉุกละหุกอุตลุดนั้นของไม่บริสุทธิ์ของฮีฟีทัสตก ลงมายังพื้นโลก เป็นเหตุให้เกิดทารกผุดขึ้นมาเป็นเพศชาย เจ้าแม่รอดพ้น มลทินแปดเปื้อน แต่รับทารกไว้ในปกครอง เอาทารกบรรจุ หีบให้งูเฝ้า และฝากไว้ให้ลูกสาวท้าวซีครอปส์ดูแล โดยห้ามเด็ดขาด มิให้เปิดหีบดู แต่ลูกสาวท้าวซีครอปส์ไม่เชื่อฟัง พยายามจะเปิดหีบ ครั้นเห็นงูเข้าก็ตกใจวิ่งหนีตกเขาตาย ทารกนั้นได้ขนาน ชื่อว่า อิริคโธเนียส (Erichthonius) และดำรงชีวิตอยู่สืบมาจนภายหลัง ได้ครองกรุงเอเธนส์ ส่วนเจ้าแม่เอเธน่าก็ไม่ได้รับ การเกี้ยวพานของเทพองค์หนึ่งองค์ใดอีกต่อไปตั้งแต่บัดนั้น แม้ว่าจะมีบางตำนาน กล่าวว่าเอเธน่าเคยแอบรักบุรุษรูปงาม คนหนึ่งชื่อว่า เบลเลอโรฟอน จนถึงกับเอาอานม้าทองคำมาให้เขาในความฝัน เนื่องจาก เบลเลอโรฟอนต้องการขี่ม้าวิเศษ เปกาซัส แต่ไม่ปรากฏว่าเจ้าแม่ได้สานเรื่องราวระหว่างเจ้าแม่กับเบลเลอโรฟอนต่อไปแต่อย่างใด แต่ทว่าบุรุษหนุ่มผู้นั้นเสีย อีกที่เกิดตกม้าตายในตอนหลัง

      เทวีเอเธน่ามีต้นโอลีฟเป็นพฤกษาประจำตัว และนกฮูกเป็นนกคู่ใจ...

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×