สนามประลอง "สุวรรณภูมิ" - สนามประลอง "สุวรรณภูมิ" นิยาย สนามประลอง "สุวรรณภูมิ" : Dek-D.com - Writer

    สนามประลอง "สุวรรณภูมิ"

    ผู้เข้าชมรวม

    129

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    129

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 พ.ค. 52 / 00:00 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    สุวรรณภูมิ สนามปะลองหลัก "ปรัชญาพัฒนาชาติ"สนามบินสุวรรณภูมิกรณีศึกษาของผู้นำที่ทิ้งประเพณียึดตัวอักษรของกฏหมายเป็นหลักในการบริหารประเทศ
    บทวิเคราะห์โดย คุณหนูเอง
    ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐

    ทำไมเกือบทุกผลงานที่นายกทักษิณทำไว้ จึงกลายเป็นสิ่งไม่ดีไปหมดความไม่ดีคือเนื้อแท้ของผลงาน? หรือมีใครไปทำลาย? ทั้งหมดนี้เรื่องท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะเป็นกรณีศึกษาที่ดี
    1.      ก่อนที่ทักษิณเป็นนายกฯ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นหนึ่งในโครงการเจ็ดชั่วโคตร (รองจากโครงการคอคอดกระ) ใช้เวลาเกือบครึ่งศตวรรษ (45 ปี, คณะรัฐมนตรี 31ชุด and 14 นายกรัฐมนตรี) งานหลักๆ ๒ งานของการก่อสร้าง คือการปรับปรุงดินอ่อนให้รับน้ำหนักได้ กับงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารและท่าเทียบเครื่องบิน

    2.      ก่อนที่ทักษิณเข้ามา ปี๒๕๔๓ พรรคประชาธิปัตย์ได้ประมูลการก่อสร้างอาคารที่ออกแบบไว้เดิม ปรากฏว่า ต่ำสุด 57,590 ล้านบาท เกินงบไป 19% เมื่อทักษิณเข้ามา เป็นช่วงเศรษฐกิจวิกฤติจึงได้ให้ปรับแบบใช้วัสดุในประเทศ ทำให้ราคาประมูลลดเหลือ 36,666 ล้านบาท
    3.      ทักษิณเป็นผู้บริหารสมัยใหม่ คือ การบริหารที่มีเป้าหมายเป็นหลัก (Objective-based Management) ซึ่งต่างจากการบริหารตามประเพณีของราชการไทย ซึ่งยึดขั้นตอนหรือตัวอักษรเป็นหลัก (Procedure-based Management)
    4.      การบริหารยึดขั้นตอนเป็นหลัก (Procedure-based Management) ซึ่งเป็นการบริหารรูปแบบของนักกฎหมาย (ที่ชัดที่สุด คือ นายกชวน หลีกภัย)ถ้าเป็นสมัยก่อนที่ความเปลี่ยนแปลงช้าๆ ก็ยังพอไหว ถ้าเป็นสมัย Economy of Speed จะสำเร็จได้ยาก เพราะพลวัตของเป้าหมายเปลี่ยนเร็วและวิ่งหนีเร็วกว่าการคลานต้วมเตี้ยมตามหลังของระบบที่ยึดขั้นตอนเป็นหลักแต่วิธีนี้ เป็นวิธีที่ผู้นำไม่มีความเสี่ยงเลย ทำไม่ได้ ไม่มีผลงานก็ไม่มีความผิดใดๆ เพราะได้ทำตามขั้นตอนดีที่สุดแล้ว
    5.      การบริหารที่มีเป้าหมายเป็นหลัก (Objective-based Management) เป็นวิสัยทัศน์ของรัฐบุรุษ ไม่ว่าโครงการใด ผู้นำต้องรู้ว่าเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของโครงการคืออะไร เช่น สนามบินสุวรรณภูมิเป้าหมายที่ตั้งไว้มีมากกว่าแค่รองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นแต่สร้างเพื่อช่วงชิงโอกาสในการเป็นศูนย๋กลางการบินภูมิภาค (Regional Aviation Hub) ซึ่งทั้งสิงคโปร์ มาเลย์ แม้แต่เวียตนาม ก็จ้องจะแข่งกับเราถ้าใช้การบริหารที่ยึดขั้นตอนเป็นหลัก (เหมือนการบริหารในสี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา)เป้าหมายสำคัญนี้หลุดลอยไปแน่นอน นายกทักษิณจึงตัดสินใจใช้การบริหารสมัยใหม่โดยเบื้องต้น ต้องมีการกำหนดวันเปิดสนามบินอย่างชัดเจน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายแล้วจึงหาวิธีการที่มีความคล่องตัวโดยไม่ต้องยึดประเพณีตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดโดยจุดมุ่งหมายคือ ต้องสำเร็จตามเป้าหมายเท่านั้นแต่การบริหารโดยไม่ยึดขั้นตอนโดยเคร่งครัด แม้มีเจตนาดีแต่มีจุดอ่อนที่ถูกนำมาเป็นแยกส่วนๆเพื่อนำมาโจมตีท่านได้อย่างที่เราเห็นอยู่หลังรัฐประหาร
    6.      ระหว่างก่อสร้าง มีป้ญหามากมายปัญหาภายใน คือ แบบที่รีบเร่งแก้ เพื่อให้ทันเปิดประมูลใหม่โดยทิ้งปัญหาไว้หลายอย่างให้แก้ระหว่างก่อสร้าง ปัญหาภายนอก คือสถานการณ์การบินที่เปลี่ยนไป จากผู้โดยสารที่คาดไว้ 30 ล้านคนต่อปี ต้องขยายเป็น 45 ล้านคนต่อปี ปัญหาจากภัยก่อการร้าย ทำให้ต้องเปลี่ยระบบตรวจสอบกระเป๋าจากระบบเดิมเป็นระบบบูรณาการแบบ Inline Screening ที่ต้องใช้ระบบ CTX เป็นต้นการบีบคั้นของเวลา เพื่อรักษาเป้าหมายใหญ่แม้จะที่ต้องปรับไปตามสถานการณ์ทีเปลี่ยนไป ทำให้ผลงานมีมีจุดอ่อนทางเทคนิคซึ่งรัฐบาลเก่าก็ทราบดี ซึ่งถ้ารัฐบาลทักษิณยังอยู่ก็น่าจะแก้ไขได้สบายๆโดยวิธีการทางเทคนิค (ไม่ใช่โดยวิธีใช้น้ำลาย)
    7.      นายกทักษิณ กล้าใช้การบริหารที่มีเป้าหมายเป็นหลัก (Objective-based Management) เพราะท่านถือว่า ได้รับเลือกตั้งมาจากเสียงที่ท่วมท้นเป็นฉันทามติให้ท่านมารับใช้ประเทศ ท่านจึงกล้าเอาตัวเองเข้าเสี่ยงทำให้พรรคไทยรักไทยได้ผลงานมากมายและประเทศชาติได้ประโยชน์เกินกว่าสมัยใดๆที่ผ่านมา ดิฉันจึงเรียกท่านว่ารัฐบุรุษที่แท้จริง เพราะรัฐบุรุษ คือ ผู้ยอมเสียสละตัวเองเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน
    เมื่อพิจารณา 7 ข้อ เบื้องต้นเป็นมูลฐานจึงตอบได้ว่า ใครสร้างและใครทำลายสนามบินสุวรรณภูมิ ?สนามบินสุวรรณภูมิเป็นหนึ่งในผลงานจำนวนมาก (OTOP กองทุนหมู่บ้าน ๓๐ บาทรักษาทุกโรค หวยบนดิน ราคายางทุนการศึกษาหมู่บ้าน ฯลฯ) ที่ท่านนายกทักษิณได้สร้างให้สำเร็จในเวลาอันสั้นโดยการบริหารที่มีเป้าหมายเป็นหลัก (Objective-based Management) คณะ คมช.และพรรคการเมืองบางพรรค พยายามที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของโครงการเหล่านี้ให้หมดหายภายในพริบตา แต่ดิฉันเชื่อว่า เมื่อความจริงค่อยๆปรากฏประชาชนเริ่มตาสว่างและจะเข้าใจสถาณการณ์เหมือนอย่างที่ดิฉันเข้าใจคะ
    แต่สิ่งหนึ่งที่ดิฉันเป็นห่วงหลังจากที่ คณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ถูก คตส.ชี้มูลทำให้รัฐเสียหาย ในกรณีหวยบนดินจากนี้ไป เหตุการณ์นี้ จะทำให้รัฐบาลในอนาคต ต้องบริหารประเทศตามตัวอักษรอีกครั้งประเทศไทยจะกลายเป็น banana republic รัฐบาลจะมีแต่การทำงานแต่ไม่มีผลงานปรากฏใดๆ
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×